โคมเจ้าเอ๋ย เจ้าลอยมาจากที่ใด ใยมาตกที่หลังบ้านข้าหนอ........
เรามาเริ่มรู้จัก "โคม" กันดีกว่า เพราะมีใครไม่น้อยที่ไม่รู้จักกับที่มาของโคมที่เราลอยกันอยู่ทุกปีเลย
-ในอดีต
หลังเทศกาลวันออกพรรษา เมื่อปลายฝนต้นหนาว เป็นสัญญาณบอกว่าเทศกาลยี่เป็งได้เข้ามาเยือนแล้ว ชาวล้านนาต่างพากันเตรียมเครื่องใช้ ไม้สอย และเครื่องไทยทานเพื่อไปทำบุญที่วัด เพราะในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน ยี่ (เหนือ) หรือ เดือน 12 ผู้เฒ่า ผู้แก่จะถือโอกาส ไปนอนค้างแรม ที่วัดเพื่อฟังธรรมอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนา
โคมไฟกับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมไฟใช้ไม่แพร่หลาย จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมไฟแต่เดิมจึงมักมีเฉพาะในพระราชสำนัก และบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น
โคมไฟ หรือ โคมแขวน เป็นงานหัถตกรรมพื้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือซึ่งชาวล้านนาใช้ในงานประเพณียี่เป็ง พึงสักการะบูชาพระพุทธเจ้า คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) ถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้วและประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
ประเภทของโคม มี 4 ประเภท
1. )โคมถือ หรือ โคมหูกระต่าย
2. )โคมลอย
3. )โคมแขวน
4. )โคมผัด
-ในปัจจุบัน
ในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ตกแต่ง โรงแรม รีสอร์ท วัด หรือ สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงามดูบรรยากาศสบายๆ แบบ ล้านนา ซึ่งโคมไฟล้านนาหลากหลายชนิดก็ได้รับความนิยมทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งนี้ในการทำโคมไฟ ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนา ประยุกต์ตกแต่งให้เกิดความเหมาะสม และความต้องการของลูกค้า โคมไฟที่ใช้ในงานบุญที่พบเห็นอยู่ในภาคเหนือตอนบน โคมไฟถูกนำมาใช้เพื่อประดับ ตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม และความเป็นศิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป
เเต่การปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง เป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลอันตรายต่อการโดยสารทางอากาศ ที่ผ่านมาศูนย์ควบคุมการบินได้มีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง ขอความร่วมมือหน่วยงานเกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงภัยจากการปล่อยโคมลอย โดยโคมลอย 1 ลูกที่มีเชื้อเพลิงประกอบกับท่าอากาศยานที่มีการใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก เมื่อหลุดเข้าไปในตัวเครื่องบินสามารถสร้างความเสียหายทำให้เครื่องบินเกิดระเบิดและผู้ที่ใช้บริการโดยสารเครื่องบินก็มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งจะเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ นอกจากนี้หากลอยมาติดหลังคาบ้าน หรือ กิ่งไม้ จนอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือ เป็นอันตรายต่อคนในบ้านได้ หรือหากลอยไปติดกับเสาไฟฟ้าแรงสูงสามารถทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน เมื่อไฟของโคมดับโคมก็จะกลายเป็นเศษขยะซึ่งเป็นมลพิษของสิ่งแวดล้อม
"ดังนั้นเราจึงมาเสนอเเนะเเนวทางการปล่อยโคมที่ถูกต้อง !!!!!!!"
[left
ลักษณะของโคมลอยตามมาตรฐาน
1. โคมลอยที่ปล่อยต้องมีปริมาตรไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร และทำจากวัสดุธรรมชาติ
2. โคมลอย ส่วนที่เป็นตัวโคม ต้องทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ส่วนตัวโครงของโคมทำจากไม้ไผ่ และต้องไม่ติดอุปกรณ์หรือวัสดุตกแต่งใด ๆ ที่มีคุณสมบัติติดไฟหรือเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้ง่ายไว้กับโคมลอย
3. ส่วนที่เป็นเชื้อเพลิงทำจากกระดาษชุบเทียน ขี้ผึ้ง หรือพาราฟิน ซึ่งใช้สำหรับจุดไฟให้อากาศร้อนบรรจุในตัวโคม เพื่อให้โคมยกตัวลอยตัวสู่อากาศเองได้
4. การยึดติดเชื้อเพลิงกับตัวโคม ให้ยึดติดด้วยเชือกทนไฟ เชือก หรือลวดอ่อน เบอร์ 24 เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร จำนวน 2 เส้น แต่ละเส้นความยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร
5. โคมลอยขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องไม่เกิน 90 เซนติเมตร ความสูงต้องไม่เกิน 140 เซนติเมตร น้ำหนักเชื้อเพลิงไม่เกิน 55 กรัม ระยะเวลาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่เกิน 8 นาที สำหรับโคมลอยที่มีขนาดลดลงให้เป็นไปตามส่วนของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความสูง น้ำหนักเชื้อเพลิง และระยะเวลาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
- การปล่อยโคมลอยอย่างปลอดภัย
1.ควรปล่อยโคมลอยในสถานที่โล่งไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ และปล่อยในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้สังเกตว่าที่นั้น ๆ ไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือหากมีต้องแน่ใจว่าเมื่อปล่อยโคมลอยแล้วจะไม่ลอยไปแตะถูกสายไฟฟ้าได้
2.ควรหลีกเลี่ยงการใช้โคมลอยที่มีโครงเป็นโลหะ และหากพบเห็นโคมลอย ลอยไปแตะหรือเกี่ยวพันกับสายหรือเสาไฟฟ้า ต้องรีบแจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใกล้บ้านทราบโดยด่วน
-มาตรการการควบคุมและป้องกันอันตราย จากการปล่อยโคมลอย
1.ส่วนการปล่อยโคมลอย ขนาดของโคม ต้องมีปริมาตรไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ทำจากวัสดุธรรมชาติ และโคมลอยขนาดใหญ่ ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่เกิน 90 เซนติเมตร ความสูงต้องไม่เกิน 140 เซนติเมตร
2.ต้องประสานกับท่าอากาศยาน ก่อนทำการปล่อยโคมลอยอย่างน้อย 3 วัน (เดิมแจ้งล่วงหน้า 2 ชั่วโมง)
3.ส่วนการปล่อยโคมลอยในเทศกาลยี่เป็ง ทางภาคเหนือ จะต้องปล่อยในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น
4.การปล่อยโคมลอยและยิงบั้งไฟจะต้องทำหลังเวลา 23.00 น.(เดิมปล่อยหลัง21.00น.หรือหลังเที่ยวบินสุดท้ายที่สนามบินในจังหวัดนั้นๆกำหนด)
*หากฝ่าฝืน จะมีบทลงโทษตามพ.ร.บ. การเดินอากาศ ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ
เตือนภัยอันตรายจากโคมลอย ดวงไฟนับร้อยพันที่ทะยานสู่ท้องฟ้า มีใครใคร่รู้ว่าว่ามันจะไปตกนะที่เเห่งใด ?
เรามาเริ่มรู้จัก "โคม" กันดีกว่า เพราะมีใครไม่น้อยที่ไม่รู้จักกับที่มาของโคมที่เราลอยกันอยู่ทุกปีเลย
-ในอดีต
หลังเทศกาลวันออกพรรษา เมื่อปลายฝนต้นหนาว เป็นสัญญาณบอกว่าเทศกาลยี่เป็งได้เข้ามาเยือนแล้ว ชาวล้านนาต่างพากันเตรียมเครื่องใช้ ไม้สอย และเครื่องไทยทานเพื่อไปทำบุญที่วัด เพราะในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน ยี่ (เหนือ) หรือ เดือน 12 ผู้เฒ่า ผู้แก่จะถือโอกาส ไปนอนค้างแรม ที่วัดเพื่อฟังธรรมอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนา
โคมไฟกับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมไฟใช้ไม่แพร่หลาย จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมไฟแต่เดิมจึงมักมีเฉพาะในพระราชสำนัก และบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น
โคมไฟ หรือ โคมแขวน เป็นงานหัถตกรรมพื้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือซึ่งชาวล้านนาใช้ในงานประเพณียี่เป็ง พึงสักการะบูชาพระพุทธเจ้า คืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง (ยี่เป็งล้านนา) ถือว่าเมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้วและประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
ประเภทของโคม มี 4 ประเภท
1. )โคมถือ หรือ โคมหูกระต่าย
2. )โคมลอย
3. )โคมแขวน
4. )โคมผัด
-ในปัจจุบัน
ในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ตกแต่ง โรงแรม รีสอร์ท วัด หรือ สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงามดูบรรยากาศสบายๆ แบบ ล้านนา ซึ่งโคมไฟล้านนาหลากหลายชนิดก็ได้รับความนิยมทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งนี้ในการทำโคมไฟ ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนา ประยุกต์ตกแต่งให้เกิดความเหมาะสม และความต้องการของลูกค้า โคมไฟที่ใช้ในงานบุญที่พบเห็นอยู่ในภาคเหนือตอนบน โคมไฟถูกนำมาใช้เพื่อประดับ ตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม และความเป็นศิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป
เเต่การปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง เป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลอันตรายต่อการโดยสารทางอากาศ ที่ผ่านมาศูนย์ควบคุมการบินได้มีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง ขอความร่วมมือหน่วยงานเกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงภัยจากการปล่อยโคมลอย โดยโคมลอย 1 ลูกที่มีเชื้อเพลิงประกอบกับท่าอากาศยานที่มีการใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก เมื่อหลุดเข้าไปในตัวเครื่องบินสามารถสร้างความเสียหายทำให้เครื่องบินเกิดระเบิดและผู้ที่ใช้บริการโดยสารเครื่องบินก็มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งจะเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ นอกจากนี้หากลอยมาติดหลังคาบ้าน หรือ กิ่งไม้ จนอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือ เป็นอันตรายต่อคนในบ้านได้ หรือหากลอยไปติดกับเสาไฟฟ้าแรงสูงสามารถทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน เมื่อไฟของโคมดับโคมก็จะกลายเป็นเศษขยะซึ่งเป็นมลพิษของสิ่งแวดล้อม
"ดังนั้นเราจึงมาเสนอเเนะเเนวทางการปล่อยโคมที่ถูกต้อง !!!!!!!"
[left
ลักษณะของโคมลอยตามมาตรฐาน
1. โคมลอยที่ปล่อยต้องมีปริมาตรไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร และทำจากวัสดุธรรมชาติ
2. โคมลอย ส่วนที่เป็นตัวโคม ต้องทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ส่วนตัวโครงของโคมทำจากไม้ไผ่ และต้องไม่ติดอุปกรณ์หรือวัสดุตกแต่งใด ๆ ที่มีคุณสมบัติติดไฟหรือเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้ง่ายไว้กับโคมลอย
3. ส่วนที่เป็นเชื้อเพลิงทำจากกระดาษชุบเทียน ขี้ผึ้ง หรือพาราฟิน ซึ่งใช้สำหรับจุดไฟให้อากาศร้อนบรรจุในตัวโคม เพื่อให้โคมยกตัวลอยตัวสู่อากาศเองได้
4. การยึดติดเชื้อเพลิงกับตัวโคม ให้ยึดติดด้วยเชือกทนไฟ เชือก หรือลวดอ่อน เบอร์ 24 เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร จำนวน 2 เส้น แต่ละเส้นความยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร
5. โคมลอยขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องไม่เกิน 90 เซนติเมตร ความสูงต้องไม่เกิน 140 เซนติเมตร น้ำหนักเชื้อเพลิงไม่เกิน 55 กรัม ระยะเวลาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่เกิน 8 นาที สำหรับโคมลอยที่มีขนาดลดลงให้เป็นไปตามส่วนของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความสูง น้ำหนักเชื้อเพลิง และระยะเวลาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
- การปล่อยโคมลอยอย่างปลอดภัย
1.ควรปล่อยโคมลอยในสถานที่โล่งไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ และปล่อยในช่วงเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้สังเกตว่าที่นั้น ๆ ไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือหากมีต้องแน่ใจว่าเมื่อปล่อยโคมลอยแล้วจะไม่ลอยไปแตะถูกสายไฟฟ้าได้
2.ควรหลีกเลี่ยงการใช้โคมลอยที่มีโครงเป็นโลหะ และหากพบเห็นโคมลอย ลอยไปแตะหรือเกี่ยวพันกับสายหรือเสาไฟฟ้า ต้องรีบแจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใกล้บ้านทราบโดยด่วน
-มาตรการการควบคุมและป้องกันอันตราย จากการปล่อยโคมลอย
1.ส่วนการปล่อยโคมลอย ขนาดของโคม ต้องมีปริมาตรไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ทำจากวัสดุธรรมชาติ และโคมลอยขนาดใหญ่ ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่เกิน 90 เซนติเมตร ความสูงต้องไม่เกิน 140 เซนติเมตร
2.ต้องประสานกับท่าอากาศยาน ก่อนทำการปล่อยโคมลอยอย่างน้อย 3 วัน (เดิมแจ้งล่วงหน้า 2 ชั่วโมง)
3.ส่วนการปล่อยโคมลอยในเทศกาลยี่เป็ง ทางภาคเหนือ จะต้องปล่อยในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น
4.การปล่อยโคมลอยและยิงบั้งไฟจะต้องทำหลังเวลา 23.00 น.(เดิมปล่อยหลัง21.00น.หรือหลังเที่ยวบินสุดท้ายที่สนามบินในจังหวัดนั้นๆกำหนด)
*หากฝ่าฝืน จะมีบทลงโทษตามพ.ร.บ. การเดินอากาศ ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ