จากกรณี ดราม่า โคมลอย ที่มีบางคนบอกว่า โคมลอยเป็นวัฒนธรรมของทางภาคเหนือ เกิดก่อนสนามบิน เครื่องบินจะตกก็ช่างมัน
มีนักวิชาการศึกษาข้อมูล พบว่าโคมลอยไม่ใช่วัฒนธรรมไทย เป็นวัฒนธรรมประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ในช่วง 10-20 ปีนี้เอง คาดว่าน่าจะมีครั้งแรกงาน ททท. ประยุกต์วัฒนธรรมลอยโคมของจีนมา แสดงแล้วดูสวยจึงเป็นที่นิยมกัน พร้อมกับความเชื่อที่มาจากไหนก็ไม่รู้ว่าเป็นการลอยเคราะห์ตามมาด้วย ในขณะที่สนามบินเชียงใหม่ เปืดใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2482 เจ็ดสิบกว่าปีมาแล้วเก่าแก่กว่าการลอยโคมหลายเท่า
ที่มาข่าวจากกระปุก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
นักวิชาการล้านนา ชี้ชัด การปล่อยโคมลอยไฟ เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ และกลายเป็นความเชื่อผิด ๆ เรื่องการปล่อยทุกข์ บอกคนก็แค่อยากปล่อยโคมตามกระแสเท่านั้น
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2558 มีรายงานว่า ในทุก ๆ ปี มักจะมีการปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่า การปล่อยโคมก็เพื่อลอยความทุกข์ออกไปจากชีวิต ทว่า การปล่อยโคมลอยนั้น ส่งผลกระทบต่อการบินมหาศาล ทำให้ต้องมีการสลับปรับเลื่อนตารางบิน และที่ร้ายที่สุดคือ มีข่าวเรื่องโคมลอยที่เข้าไปติดในใบพัดเครื่องบิน จนทำให้สายการบินต้องสั่งหยุดบิน ซึ่งล่าสุด เว็บไซต์ วอยซ์ทีวี ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ธิตินัดดา จินาจันทร์ นักวิจัยกลุ่มล้านนาคดี สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการปล่อยโคมลอย ซึ่งอาจารย์ธิตินัดดา ได้ออกมาบอกว่า การปล่อยโคมลอยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 - 20 ปีก่อน ไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของล้านนาอย่างที่เข้าใจกัน
ทั้งนี้ อาจารย์ธิตินัดดา กล่าวว่า ในอดีตเมื่ออาจารย์ยังเด็ก ได้มีการปล่อยโคมลม ที่ทำจากกระดาษว่าวหลายแผ่นมาต่อกัน ในเทศกาลยี่เป็ง หรือ วันเพ็ญเดือนสิบสอง เท่านั้น แทบไม่มีโคมลอยไฟอย่างทุกวันนี้ โดยที่โคมลมจะใช้ควันไฟอัดเข้าไปแล้วปล่อยขึ้นฟ้า และจะมีการปล่อยกันแค่ลูกเดียวเท่านั้น ไม่ได้ปล่อยพร่ำเพรื่อ ซึ่งการปล่อยโคมลมนั้น ก็เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี ที่เชื่อกันว่า ก่อนที่คนเราจะเกิดเป็นมนุษย์ วิญญาณก็จะไปประจำตามพระธาตุประจำปีเกิดก่อน เช่น คนเกิดปีชวด มีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุศรีจอมทอง คนเกิดปีชวดก็จะเดินทางไปสักการะ หรือแขวนภาพเขียนไว้ที่ผนังบ้าน แต่คนที่เกิดปีจอ มีพระธาตุประจำปีเกิดคือ พระเกศแก้วจุฬามณี ที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงมีการปล่อยโคมขึ้นฟ้าเพื่อไหว้พระเกศแก้วจุฬามณี
ส่วนการปล่อยโคมไฟนั้น เพิ่งจะเคยเห็นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โดยมีราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2443 ว่า ห้ามลอยโคมไฟในมณฑลพายัพ เพราะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีการปล่อยโคมไฟในบางพื้นที่ แต่ไม่ได้มีขนาดและรูปแบบเหมือนปัจจุบัน อีกอย่างคือ การปล่อยโคมในอดีตมักจะปล่อยกันในช่วงดึกของฤดูหนาว ความชื้นในอากาศก็จะช่วยดับไฟ แต่ตอนนี้ได้มีการดัดแปลงให้โคมอยู่ได้นาน ติดไฟแรง สร้างปัญหาตลอด 20-30 ปีที่ผ่านมา
ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ไม่พบการปล่อยโคมลอยในพื้นที่อื่น ๆ ใกล้เคียงที่สุดคงเป็นจีน ที่มีที่มาจากการที่เมื่อขงเบ้งป่วยหนัก จึงทำอุบายสร้างโคมลอยจากกระดาษแล้วลอยขึ้นฟ้า เพื่อหลอกศัตรูว่าขงเบ้งมีกองกำลังจากสวรรค์ลงมาช่วย และมีที่ไต้หวันที่คงได้รับอิทธิพลจากจีนเท่านั้น
นอกจากนี้ การลอยโคมในปัจจุบัน ไม่เหลือเค้าโครงความเชื่อใด ๆ ไม่มีใครรู้ว่า พระธาตุประจำปีเกิดคืออะไร พระเกศแก้วจุฬามณีคืออะไร ทุกคนปล่อยโคมเพราะคิดว่าจะปล่อยทุกข์ออกไป ปล่อยไปตาม ๆ กัน ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร แม้แต่การจุดผางประทีปก็ไม่รู้ว่าจุดทำไม มันเกี่ยวกับตำนานแม่กาเผือก ทุกวันนี้คนทำตาม ๆ กันไปเพราะเป็นประเพณีล้านนา ไม่รู้จริง ๆ ว่า ความเชื่อนั้น จริง ๆ แล้วมันคืออะไร
ส่วนเรื่องที่บอกว่า การปล่อยโคมเพื่อปล่อยทุกข์นั้น คงมาพร้อมกับธุรกิจท่องเที่ยว ใครเป็นต้นกำเนิดนั้นก็จับมือคนดมไม่ได้ แต่มันน่าจะเกิดเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะการสร้างชุดความเชื่อมันทำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะกับคนต่างถิ่น ต่างชาติ เพราะเขาไม่มีความรู้ก็เชื่อกันง่าย ๆ เพราะฉะนั้นจะบอกว่า การปล่อยโคมเพื่อให้ชีวิตเหมือนโคมไฟสว่างไสว มันก็พูดได้ เพราะไม่มีคนรู้ว่าวัฒนธรรมจริง ๆ เป็นอย่างไร
ในส่วนของการแก้ไข ควรเผยแพร่ความรู้ในวงกว้างอย่างถูกต้อง และขอความร่วมมือจากทั้งนักท่องเที่ยว ไกด์ คนในธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มาหาว่า กระปล่อยโคมลอยนั้น สร้างโทษ-ประโยชน์อะไรบ้าง เพราะตอนนี้ปัญหามันหนักขึ้นเรื่อย ๆ เราควรงดปล่อยโคมลอย เลิกคิดว่าการปล่อยโคมลอยคือการปล่อยเคราะห์ เพระมันไม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านน้า มันคือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่อาจจะสวยงาม แต่คนที่ต้องทุกข์เพราะได้รับความเสียหายจากโคมลอยนั้นทุกข์สาหัสยิ่งกว่า
โคมลอยเกิดที่หลังสนามบินไม่ต้องรักษาวัฒนธรรมไว้ก็ได้
จากกรณี ดราม่า โคมลอย ที่มีบางคนบอกว่า โคมลอยเป็นวัฒนธรรมของทางภาคเหนือ เกิดก่อนสนามบิน เครื่องบินจะตกก็ช่างมัน
มีนักวิชาการศึกษาข้อมูล พบว่าโคมลอยไม่ใช่วัฒนธรรมไทย เป็นวัฒนธรรมประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ในช่วง 10-20 ปีนี้เอง คาดว่าน่าจะมีครั้งแรกงาน ททท. ประยุกต์วัฒนธรรมลอยโคมของจีนมา แสดงแล้วดูสวยจึงเป็นที่นิยมกัน พร้อมกับความเชื่อที่มาจากไหนก็ไม่รู้ว่าเป็นการลอยเคราะห์ตามมาด้วย ในขณะที่สนามบินเชียงใหม่ เปืดใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2482 เจ็ดสิบกว่าปีมาแล้วเก่าแก่กว่าการลอยโคมหลายเท่า
ที่มาข่าวจากกระปุก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
นักวิชาการล้านนา ชี้ชัด การปล่อยโคมลอยไฟ เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ และกลายเป็นความเชื่อผิด ๆ เรื่องการปล่อยทุกข์ บอกคนก็แค่อยากปล่อยโคมตามกระแสเท่านั้น
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2558 มีรายงานว่า ในทุก ๆ ปี มักจะมีการปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่า การปล่อยโคมก็เพื่อลอยความทุกข์ออกไปจากชีวิต ทว่า การปล่อยโคมลอยนั้น ส่งผลกระทบต่อการบินมหาศาล ทำให้ต้องมีการสลับปรับเลื่อนตารางบิน และที่ร้ายที่สุดคือ มีข่าวเรื่องโคมลอยที่เข้าไปติดในใบพัดเครื่องบิน จนทำให้สายการบินต้องสั่งหยุดบิน ซึ่งล่าสุด เว็บไซต์ วอยซ์ทีวี ได้สัมภาษณ์ อาจารย์ธิตินัดดา จินาจันทร์ นักวิจัยกลุ่มล้านนาคดี สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการปล่อยโคมลอย ซึ่งอาจารย์ธิตินัดดา ได้ออกมาบอกว่า การปล่อยโคมลอยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 - 20 ปีก่อน ไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของล้านนาอย่างที่เข้าใจกัน
ทั้งนี้ อาจารย์ธิตินัดดา กล่าวว่า ในอดีตเมื่ออาจารย์ยังเด็ก ได้มีการปล่อยโคมลม ที่ทำจากกระดาษว่าวหลายแผ่นมาต่อกัน ในเทศกาลยี่เป็ง หรือ วันเพ็ญเดือนสิบสอง เท่านั้น แทบไม่มีโคมลอยไฟอย่างทุกวันนี้ โดยที่โคมลมจะใช้ควันไฟอัดเข้าไปแล้วปล่อยขึ้นฟ้า และจะมีการปล่อยกันแค่ลูกเดียวเท่านั้น ไม่ได้ปล่อยพร่ำเพรื่อ ซึ่งการปล่อยโคมลมนั้น ก็เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี ที่เชื่อกันว่า ก่อนที่คนเราจะเกิดเป็นมนุษย์ วิญญาณก็จะไปประจำตามพระธาตุประจำปีเกิดก่อน เช่น คนเกิดปีชวด มีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุศรีจอมทอง คนเกิดปีชวดก็จะเดินทางไปสักการะ หรือแขวนภาพเขียนไว้ที่ผนังบ้าน แต่คนที่เกิดปีจอ มีพระธาตุประจำปีเกิดคือ พระเกศแก้วจุฬามณี ที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงมีการปล่อยโคมขึ้นฟ้าเพื่อไหว้พระเกศแก้วจุฬามณี
ส่วนการปล่อยโคมไฟนั้น เพิ่งจะเคยเห็นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โดยมีราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2443 ว่า ห้ามลอยโคมไฟในมณฑลพายัพ เพราะสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีการปล่อยโคมไฟในบางพื้นที่ แต่ไม่ได้มีขนาดและรูปแบบเหมือนปัจจุบัน อีกอย่างคือ การปล่อยโคมในอดีตมักจะปล่อยกันในช่วงดึกของฤดูหนาว ความชื้นในอากาศก็จะช่วยดับไฟ แต่ตอนนี้ได้มีการดัดแปลงให้โคมอยู่ได้นาน ติดไฟแรง สร้างปัญหาตลอด 20-30 ปีที่ผ่านมา
ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ไม่พบการปล่อยโคมลอยในพื้นที่อื่น ๆ ใกล้เคียงที่สุดคงเป็นจีน ที่มีที่มาจากการที่เมื่อขงเบ้งป่วยหนัก จึงทำอุบายสร้างโคมลอยจากกระดาษแล้วลอยขึ้นฟ้า เพื่อหลอกศัตรูว่าขงเบ้งมีกองกำลังจากสวรรค์ลงมาช่วย และมีที่ไต้หวันที่คงได้รับอิทธิพลจากจีนเท่านั้น
นอกจากนี้ การลอยโคมในปัจจุบัน ไม่เหลือเค้าโครงความเชื่อใด ๆ ไม่มีใครรู้ว่า พระธาตุประจำปีเกิดคืออะไร พระเกศแก้วจุฬามณีคืออะไร ทุกคนปล่อยโคมเพราะคิดว่าจะปล่อยทุกข์ออกไป ปล่อยไปตาม ๆ กัน ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร แม้แต่การจุดผางประทีปก็ไม่รู้ว่าจุดทำไม มันเกี่ยวกับตำนานแม่กาเผือก ทุกวันนี้คนทำตาม ๆ กันไปเพราะเป็นประเพณีล้านนา ไม่รู้จริง ๆ ว่า ความเชื่อนั้น จริง ๆ แล้วมันคืออะไร
ส่วนเรื่องที่บอกว่า การปล่อยโคมเพื่อปล่อยทุกข์นั้น คงมาพร้อมกับธุรกิจท่องเที่ยว ใครเป็นต้นกำเนิดนั้นก็จับมือคนดมไม่ได้ แต่มันน่าจะเกิดเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะการสร้างชุดความเชื่อมันทำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะกับคนต่างถิ่น ต่างชาติ เพราะเขาไม่มีความรู้ก็เชื่อกันง่าย ๆ เพราะฉะนั้นจะบอกว่า การปล่อยโคมเพื่อให้ชีวิตเหมือนโคมไฟสว่างไสว มันก็พูดได้ เพราะไม่มีคนรู้ว่าวัฒนธรรมจริง ๆ เป็นอย่างไร
ในส่วนของการแก้ไข ควรเผยแพร่ความรู้ในวงกว้างอย่างถูกต้อง และขอความร่วมมือจากทั้งนักท่องเที่ยว ไกด์ คนในธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มาหาว่า กระปล่อยโคมลอยนั้น สร้างโทษ-ประโยชน์อะไรบ้าง เพราะตอนนี้ปัญหามันหนักขึ้นเรื่อย ๆ เราควรงดปล่อยโคมลอย เลิกคิดว่าการปล่อยโคมลอยคือการปล่อยเคราะห์ เพระมันไม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านน้า มันคือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่อาจจะสวยงาม แต่คนที่ต้องทุกข์เพราะได้รับความเสียหายจากโคมลอยนั้นทุกข์สาหัสยิ่งกว่า