ผมขอสอบถามเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "ธุดงควัตร" ด้วยครับ
เพราะเห็นว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า คือ "การเดินของพระ"
แม้แต่การแปลไทยอังกฤษก็ยังแปล ธุดงค์ ว่า pilgrim (แสดงบุญ,จาริกบุญ)
แต่จากการสืบค้นข้อมูลดู
พบว่า ธุดงควัตร แบ่งออกเป็น 4 หมวด
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร — connected with robes)
หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต — connected with almsfood)
หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ — connected with the resting place)
หมวดที่ 4 วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร — connected with energy)
ซึ่งผมก็ไม่เห็นข้อธุดงค์ใดที่เกี่ยวกับการเดินทองเที่ยวไปเรื่อยๆแต่อย่างใด
ข้อที่น่าจะเกี่ยวทางอ้อมน่าจะเป็นหมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต
สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้—”
และหมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต
8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—”
9. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—”
10. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้—”
11. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้—”
12. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า “เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—”
แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ไม่ได้กำหนดเรื่องการเดินแต่อย่างใด ดังนั้นเรากำลังเข้าใจการธุดงค์ผิดเพี้ยนไปจากคำนิยามในพระไตรปิฎกรึเปล่าครับ
หากจะบอกว่าพระถือธุดงค์วัตร ต้องไปอยู่ที่ป่าช้า โคนไม้ เสนาสนะที่จัดให้ พระเหล่านั้นจำเป็นต้องเดินไปเองหรือครับ นั่งรถไปได้รึเปล่า ถือว่าผิดกฏการสมาทานธุดงค์ในหมวด 2และ 3 รึเปล่าครับ แล้วถ้าได้ทำไมต้องเดินกันตามถนนให้เกิดการจราจรติดขัดครับ ขอทัศนะจากผู้รู้ทั้งหลายด้วยครับ
ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ
ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการธุดงค์ครับ เห็นว่ากันว่าคือ"การเดินของพระ" จริงหรือครับ
เพราะเห็นว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า คือ "การเดินของพระ"
แม้แต่การแปลไทยอังกฤษก็ยังแปล ธุดงค์ ว่า pilgrim (แสดงบุญ,จาริกบุญ)
แต่จากการสืบค้นข้อมูลดู
พบว่า ธุดงควัตร แบ่งออกเป็น 4 หมวด
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร — connected with robes)
หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต — connected with almsfood)
หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ — connected with the resting place)
หมวดที่ 4 วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร — connected with energy)
ซึ่งผมก็ไม่เห็นข้อธุดงค์ใดที่เกี่ยวกับการเดินทองเที่ยวไปเรื่อยๆแต่อย่างใด
ข้อที่น่าจะเกี่ยวทางอ้อมน่าจะเป็นหมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต
สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้—”
และหมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต
8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—”
9. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—”
10. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้—”
11. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้—”
12. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า “เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—”
แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็ไม่ได้กำหนดเรื่องการเดินแต่อย่างใด ดังนั้นเรากำลังเข้าใจการธุดงค์ผิดเพี้ยนไปจากคำนิยามในพระไตรปิฎกรึเปล่าครับ
หากจะบอกว่าพระถือธุดงค์วัตร ต้องไปอยู่ที่ป่าช้า โคนไม้ เสนาสนะที่จัดให้ พระเหล่านั้นจำเป็นต้องเดินไปเองหรือครับ นั่งรถไปได้รึเปล่า ถือว่าผิดกฏการสมาทานธุดงค์ในหมวด 2และ 3 รึเปล่าครับ แล้วถ้าได้ทำไมต้องเดินกันตามถนนให้เกิดการจราจรติดขัดครับ ขอทัศนะจากผู้รู้ทั้งหลายด้วยครับ
ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ