สืบเนื่องจากว่าหลายปีพักหลังๆมานี้ มีข่าวเกี่ยวกับการบินไทย "ในทางที่ไม่ดี" เริ่มถี่ขึ้นๆ จากกระแสการเมืองที่บอกว่า ผู้บริหารโกง , บริหารไม่ดี , การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และอื่นๆ ... แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งและเป็น Key factor มากๆ นั่นคือวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ เพราะจากข่าวล่าสุดจากนสพ.ไทยรัฐบอกว่า "บินไทยแจงพนง.โหลดกระเป๋าหยุดงาน ปมภายในบริษัทคู่ค้า" (
http://www.thairath.co.th/content/479917) ทำให้ผมต้องย้อนกลับไปหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทแรงงานภายนอก หรือ Outsource เริ่มทำให้เข้าใจถึงระบบการจ้างแรงงานมากขึ้น
จากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนหนึ่งเมื่อปี 2549 มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสัมผัสพนักงาน outsource ที่ครัวการบิน ดังนี้ครับ
โอกาสความก้าวหน้าในชีวิตไม่มี ทำงานมา 10 ปี ไม่ได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำ ไม่ได้รับโบนัสต่างๆ เสมือนกับทำงานไปวันๆ ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ทำงานเหมือนกับพนักงานประจำ และบางครั้งเหมือนทำมากกว่าด้วย แต่ไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ควรจะได้รับ และเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็หางานใหม่ที่จะทำได้ยาก จึงต้องจมปลักต่อไป เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะมีการบรรจุให้ (ปัจจุบันเหมือนจะทำการจ้างผ่านบริษัทวิงสแปน ซึ่งเป็นบริษัทรับแรงงานภายนอก ลูกการบินไทยอีกที แต่การบริหารงานจะเหมือนๆกับบริษัทแรงงานภายนอกอื่นๆครับ (
http://www.wingspantg.com/aboutus)
อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ เมื่อพนักงานแรงงานภายนอกป่วย จะไม่สามารถขอยา หรือเข้าใช้บริการห้องพยาบาลภายในบริษัทได้
การไล่พนักงาน Outsource ลงจากรถบริษัท (ตรงนี้ก็เข้าใจดีว่าเป็นรถของพนักงาน) แต่ในวิทยานิพนธ์ได้อ้างถึงการเหยียดหนามพนักงานแรงงานภายนอกผ่านเว็บบอร์ดของบริษัทฯ
แรงงานภายนอกของบริษัทการบินไทยจะไม่มี outsource อื่นๆที่ได้รับค่าจ้างมากๆ แต่จะได้รับในอัตราที่ต่ำกว่ามากๆ รวมถึงค่าอื่นๆที่ต้องโดนหักอีก
ดูวิทยานิพนธ์ได้ที่
http://digi.library.tu.ac.th/thesis/ig/0054/ (แต่เหมือนเว็บไซต์มีปัญหา) เลยเปลี่ยนเป็น Link นี้ครับ
https://drive.google.com/folderview?id=0B5PpKpoqIxEafk1vQ3RVZlVBN2xrbGl3ZUxlZE50LWVULUpQMW8wS05rMjlzcWhMQW5Cb28&usp=sharing
จากบทความดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ที่เราวิพากษ์วิจารณ์การบินไทยนั้น ยังมีอีกหลายๆเรื่องที่คนทั่วไปไม่รู้ เกี่ยวกับลักษณะการจ้างแรงงานภายนอกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ Performance บริษัท , พนักงานแรงงานภายนอกทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ไม่สามารถดึงศักยภาพของตัวเองมากพอ เพื่อองค์กรได้ ด้วยสถานะการเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า จึงทำให้เหมือนกับว่า "ทำงานไปวันๆ" และคุณภาพของสายการบินแห่งชาติก็จะต้องมีการ turnover บ่อยขึ้น, สมองไหลตลอด ทำให้กลายเป็นอคติของพนักงานประจำที่มีต่อแรงงานภายนอกว่า "ไม่ต้องสอนไรมาก...เดี๋ยวก็ออกและ เสียเวลา" (จากวิทยานิพนธ์)
โดยจากข่าวล่าสุดที่มีแผน Roadmap ที่จะปฏิรูปนั้น ตามข่าวที่ว่า
1) แผนการปรับเส้นทางบินแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เส้นทางบินที่ขาดทุนอย่างแน่นอนและขาดทุนอย่างต่อเนื่องจะให้หยุดบิน และใช้เวลา 6 เดือน 12 เดือน และ 18 เดือน ในการพิจารณาที่จะกลับมาบินใหม่อีกครั้ง ส่วนเส้นทางที่ขาดทุน แต่มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ ให้ปรับลดจำนวนเที่ยวบิน และให้ฟื้นฟูกิจการกลับมาภายใน 6-12 เดือน ส่วนเส้นทางที่พอมีกำไร ให้พัฒนาและเพิ่มการบริการ โดยเน้นการเชื่อมต่อเส้นทางบิน โดยเฉพาะส่วนของ 2 กลุ่มแรกที่มีการหยุดบินและลดจำนวนเที่ยวบินต้องมีการดำเนินการเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารไม่ได้รับผลกระทบ <<-- อันนี้ผมเห็นด้วยนะ แต่อีกมุมนึงพนักงานจะว่างงานล้นบริษัทรึเปล่า??
2) การปรับแผนการตลาด เน้นการปรับกลยุทธ์การขายตั๋วเพิ่มสัดส่วนขายผ่านระบบออนไลน์และขายเอง <<--- ผมมีคำถามที่ว่าการขายตั๋วออนไลน์เพิ่มขึ้น สามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ทำให้บริษัทดีขึ้นนะครับ และส่วนนี้จะเอาพนักงานไปไว้ตรงไหน??
3) แผนขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น การเร่งขายเครื่องบิน 22 ลำ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดเส้นทางบินที่ขาดทุน โดยเฉพาะเครื่อง บินเก่าและเครื่องที่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน เพื่อช่วยลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและค่าจอดต่างๆ <<-- ถ้าทำได้จริงก็ดี
4) การปรับโครงสร้างอัตรากำลัง ตามแผน จะปรับลดพนักงานจำนวน 5,000 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่จำนวน 25,000 คน แต่ยังไม่กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน โดยต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนการเกษียณก่อนกำหนดและแผนสมัครใจลาออกด้วย <<<-- สหภาพแรงงานการบินไทยไม่น่าจะยอมแน่ๆ เป้าจึงจะตกไปอยู่ที่แรงงานภายนอกซึ่งเป็นคนที่พร้อมทำงาน แต่ต้องออก
5) ปรับปรุงพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย (Non-Core) เช่น กิจการโรงแรม กิจการขนส่งน้ำมัน อาจต้องพิจารณาว่าอาจมีการขายกิจการหรือโอนออกไปยังส่วนอื่นๆ <<-- ยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจน
(Ref.
http://manager.co.th/astvweekend/viewnews.aspx?NewsID=9580000012102)
เป็นไปได้มั้ยว่า ที่ "การบินไทย" ขาดทุนมากๆ เป็นเพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ปลูกฝังกันมาให้มีระดับชั้นวรรณะ?
จากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนหนึ่งเมื่อปี 2549 มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสัมผัสพนักงาน outsource ที่ครัวการบิน ดังนี้ครับ
โอกาสความก้าวหน้าในชีวิตไม่มี ทำงานมา 10 ปี ไม่ได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำ ไม่ได้รับโบนัสต่างๆ เสมือนกับทำงานไปวันๆ ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ทำงานเหมือนกับพนักงานประจำ และบางครั้งเหมือนทำมากกว่าด้วย แต่ไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ควรจะได้รับ และเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็หางานใหม่ที่จะทำได้ยาก จึงต้องจมปลักต่อไป เพื่อหวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะมีการบรรจุให้ (ปัจจุบันเหมือนจะทำการจ้างผ่านบริษัทวิงสแปน ซึ่งเป็นบริษัทรับแรงงานภายนอก ลูกการบินไทยอีกที แต่การบริหารงานจะเหมือนๆกับบริษัทแรงงานภายนอกอื่นๆครับ (http://www.wingspantg.com/aboutus)
อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ เมื่อพนักงานแรงงานภายนอกป่วย จะไม่สามารถขอยา หรือเข้าใช้บริการห้องพยาบาลภายในบริษัทได้
การไล่พนักงาน Outsource ลงจากรถบริษัท (ตรงนี้ก็เข้าใจดีว่าเป็นรถของพนักงาน) แต่ในวิทยานิพนธ์ได้อ้างถึงการเหยียดหนามพนักงานแรงงานภายนอกผ่านเว็บบอร์ดของบริษัทฯ
แรงงานภายนอกของบริษัทการบินไทยจะไม่มี outsource อื่นๆที่ได้รับค่าจ้างมากๆ แต่จะได้รับในอัตราที่ต่ำกว่ามากๆ รวมถึงค่าอื่นๆที่ต้องโดนหักอีก
ดูวิทยานิพนธ์ได้ที่ http://digi.library.tu.ac.th/thesis/ig/0054/ (แต่เหมือนเว็บไซต์มีปัญหา) เลยเปลี่ยนเป็น Link นี้ครับ https://drive.google.com/folderview?id=0B5PpKpoqIxEafk1vQ3RVZlVBN2xrbGl3ZUxlZE50LWVULUpQMW8wS05rMjlzcWhMQW5Cb28&usp=sharing
จากบทความดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ที่เราวิพากษ์วิจารณ์การบินไทยนั้น ยังมีอีกหลายๆเรื่องที่คนทั่วไปไม่รู้ เกี่ยวกับลักษณะการจ้างแรงงานภายนอกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ Performance บริษัท , พนักงานแรงงานภายนอกทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ไม่สามารถดึงศักยภาพของตัวเองมากพอ เพื่อองค์กรได้ ด้วยสถานะการเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า จึงทำให้เหมือนกับว่า "ทำงานไปวันๆ" และคุณภาพของสายการบินแห่งชาติก็จะต้องมีการ turnover บ่อยขึ้น, สมองไหลตลอด ทำให้กลายเป็นอคติของพนักงานประจำที่มีต่อแรงงานภายนอกว่า "ไม่ต้องสอนไรมาก...เดี๋ยวก็ออกและ เสียเวลา" (จากวิทยานิพนธ์)
โดยจากข่าวล่าสุดที่มีแผน Roadmap ที่จะปฏิรูปนั้น ตามข่าวที่ว่า
1) แผนการปรับเส้นทางบินแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เส้นทางบินที่ขาดทุนอย่างแน่นอนและขาดทุนอย่างต่อเนื่องจะให้หยุดบิน และใช้เวลา 6 เดือน 12 เดือน และ 18 เดือน ในการพิจารณาที่จะกลับมาบินใหม่อีกครั้ง ส่วนเส้นทางที่ขาดทุน แต่มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ ให้ปรับลดจำนวนเที่ยวบิน และให้ฟื้นฟูกิจการกลับมาภายใน 6-12 เดือน ส่วนเส้นทางที่พอมีกำไร ให้พัฒนาและเพิ่มการบริการ โดยเน้นการเชื่อมต่อเส้นทางบิน โดยเฉพาะส่วนของ 2 กลุ่มแรกที่มีการหยุดบินและลดจำนวนเที่ยวบินต้องมีการดำเนินการเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารไม่ได้รับผลกระทบ <<-- อันนี้ผมเห็นด้วยนะ แต่อีกมุมนึงพนักงานจะว่างงานล้นบริษัทรึเปล่า??
2) การปรับแผนการตลาด เน้นการปรับกลยุทธ์การขายตั๋วเพิ่มสัดส่วนขายผ่านระบบออนไลน์และขายเอง <<--- ผมมีคำถามที่ว่าการขายตั๋วออนไลน์เพิ่มขึ้น สามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ทำให้บริษัทดีขึ้นนะครับ และส่วนนี้จะเอาพนักงานไปไว้ตรงไหน??
3) แผนขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น การเร่งขายเครื่องบิน 22 ลำ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดเส้นทางบินที่ขาดทุน โดยเฉพาะเครื่อง บินเก่าและเครื่องที่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน เพื่อช่วยลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและค่าจอดต่างๆ <<-- ถ้าทำได้จริงก็ดี
4) การปรับโครงสร้างอัตรากำลัง ตามแผน จะปรับลดพนักงานจำนวน 5,000 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่จำนวน 25,000 คน แต่ยังไม่กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน โดยต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนการเกษียณก่อนกำหนดและแผนสมัครใจลาออกด้วย <<<-- สหภาพแรงงานการบินไทยไม่น่าจะยอมแน่ๆ เป้าจึงจะตกไปอยู่ที่แรงงานภายนอกซึ่งเป็นคนที่พร้อมทำงาน แต่ต้องออก
5) ปรับปรุงพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย (Non-Core) เช่น กิจการโรงแรม กิจการขนส่งน้ำมัน อาจต้องพิจารณาว่าอาจมีการขายกิจการหรือโอนออกไปยังส่วนอื่นๆ <<-- ยังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจน
(Ref. http://manager.co.th/astvweekend/viewnews.aspx?NewsID=9580000012102)