การลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงค่อนข้างมาก การซื้อหุ้นโดยเหล่มองแค่ “กำไรสุทธิ” แม้จะถือเป็นการลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานอย่างหนึ่ง แต่ก็นับว่าค่อนข้างหยาบ และไม่น่าจะรับรองผลสำเร็จได้เท่าใดนัก
ปัจจัยพื้นฐานมีทั้งที่เป็นตัวเลขและที่เป็นเชิงคุณภาพ ปัจจัยพื้นฐานเชิงตัวเลขที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุด คือ กำไรสุทธิ ทั้งที่จริงแล้วตัวเลขอื่นๆ ที่มีความสำคัญก็ยังมีอีกมาก เช่น ยอดขาย กำไรขั้นต้น หนี้สินระยะสั้น ฯลฯ ส่วนปัจจัยพื้นฐานที่เป็นเชิงคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพของสินค้า ขีดความสามารถในการแข่งขัน ศักยภาพในการเติบโต เป็นต้น
แต้มต่อของนักลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน อยู่ที่ความสามารถในการวิเคราะห์ความแข็งแกร่งและศักยภาพของกิจการที่เหนือกว่าคนทั่วไป และนำไปสู่ความได้เปรียบในการซื้อและขายหุ้น
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ผมขอแยก “ข้อต่อ” ในการลงทุนหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานออกมาเป็นท่อนๆ ดังนี้
สังเกตว่าความได้เปรียบที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นใน “ทุกท่อน” ของการลงทุน ตั้งแต่ท่อนแรก คือ การเข้าซื้อหุ้น ไปจนถึงท่อนสุดท้าย คือ การขายหุ้น
ทั้งนี้ คนจำนวนมากพยายามมองหา หุ้นพื้นฐานดี จากนั้นก็รีบร้อนซื้อหุ้นทันที ทั้งที่ยังไม่มีความได้เปรียบหรือแต้มต่อในการเข้าซื้อแต่อย่างใด ผลก็คือ พวกเขามีความได้เปรียบเพียงแค่ “ท่อนกลาง” ท่อนเดียว ซึ่งก็คือการถือครองหุ้นที่เพิ่มมูลค่าในตัวเอง เมื่อเวลาผ่านไป
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะหนักกว่านั้น หากหุ้นที่เข้าซื้อไม่ได้ดีจริงอย่างที่คาดหวัง หรือพูดอีกอย่างได้ว่า แม้แต่ความได้เปรียบท่อนกลางก็ยังไม่มี จึงกลายเป็นว่าการลงทุนดังกล่าวไม่มีความได้เปรียบหรือแต้มต่อใดๆ อยู่เลย และนักลงทุนที่ “ติดดอย” ส่วนมากก็มาตามเส้นทางนี้นี่เอง
การวิเคราะห์ความแข็งแกร่งและศักยภาพของกิจการแต่เพียงอย่างเดียว ถือว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างแต้มต่อให้ครบทั้งสามส่วน เพราะนักลงทุนจำต้องรู้จัก
ประเมินมูลค่าหุ้น ให้เป็น เพื่อจะได้สร้างความได้เปรียบในการซื้อและขายหุ้น หากเราประเมินมูลค่าหุ้นไม่เป็น ความได้เปรียบท่อนแรกและท่อนสุดท้ายย่อมไม่มีทางเกิดขึ้น
เครดิต เรียบเรียงจากหนังสือ
แต้มต่อในตลาดหุ้น
"ข้อต่อ" ของการลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน
ปัจจัยพื้นฐานมีทั้งที่เป็นตัวเลขและที่เป็นเชิงคุณภาพ ปัจจัยพื้นฐานเชิงตัวเลขที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุด คือ กำไรสุทธิ ทั้งที่จริงแล้วตัวเลขอื่นๆ ที่มีความสำคัญก็ยังมีอีกมาก เช่น ยอดขาย กำไรขั้นต้น หนี้สินระยะสั้น ฯลฯ ส่วนปัจจัยพื้นฐานที่เป็นเชิงคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพของสินค้า ขีดความสามารถในการแข่งขัน ศักยภาพในการเติบโต เป็นต้น
แต้มต่อของนักลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน อยู่ที่ความสามารถในการวิเคราะห์ความแข็งแกร่งและศักยภาพของกิจการที่เหนือกว่าคนทั่วไป และนำไปสู่ความได้เปรียบในการซื้อและขายหุ้น
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ผมขอแยก “ข้อต่อ” ในการลงทุนหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานออกมาเป็นท่อนๆ ดังนี้
สังเกตว่าความได้เปรียบที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นใน “ทุกท่อน” ของการลงทุน ตั้งแต่ท่อนแรก คือ การเข้าซื้อหุ้น ไปจนถึงท่อนสุดท้าย คือ การขายหุ้น
ทั้งนี้ คนจำนวนมากพยายามมองหา หุ้นพื้นฐานดี จากนั้นก็รีบร้อนซื้อหุ้นทันที ทั้งที่ยังไม่มีความได้เปรียบหรือแต้มต่อในการเข้าซื้อแต่อย่างใด ผลก็คือ พวกเขามีความได้เปรียบเพียงแค่ “ท่อนกลาง” ท่อนเดียว ซึ่งก็คือการถือครองหุ้นที่เพิ่มมูลค่าในตัวเอง เมื่อเวลาผ่านไป
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะหนักกว่านั้น หากหุ้นที่เข้าซื้อไม่ได้ดีจริงอย่างที่คาดหวัง หรือพูดอีกอย่างได้ว่า แม้แต่ความได้เปรียบท่อนกลางก็ยังไม่มี จึงกลายเป็นว่าการลงทุนดังกล่าวไม่มีความได้เปรียบหรือแต้มต่อใดๆ อยู่เลย และนักลงทุนที่ “ติดดอย” ส่วนมากก็มาตามเส้นทางนี้นี่เอง
การวิเคราะห์ความแข็งแกร่งและศักยภาพของกิจการแต่เพียงอย่างเดียว ถือว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างแต้มต่อให้ครบทั้งสามส่วน เพราะนักลงทุนจำต้องรู้จัก ประเมินมูลค่าหุ้น ให้เป็น เพื่อจะได้สร้างความได้เปรียบในการซื้อและขายหุ้น หากเราประเมินมูลค่าหุ้นไม่เป็น ความได้เปรียบท่อนแรกและท่อนสุดท้ายย่อมไม่มีทางเกิดขึ้น
เครดิต เรียบเรียงจากหนังสือ แต้มต่อในตลาดหุ้น