นามปากกา ‘เสนีย์ เสาวพงศ์’ เป็นที่รู้จักมากกับงานเขียนนิยายเรื่อง ปีศาจ โดยเฉพาะคำพูดเรื่อง ‘ปีศาจแห่งกาลเวลา’ ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสักคมกับการพยามเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคมนำไปสู่สิ่งที่ สาย สีมา ตัวเอกของเรื่องเรียกว่า “ความละเมอหวาดกลัว” เสนีย์ เป็น นักการทูต นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2533
เฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ (Herbert Phillips) นักวิจัยอเมริกันที่มาวิจัยเรื่องวัฒนธรรมปัญญาชนสยามยกให้เขาเป็น 1 ใน 8 ปัญญาชนสยามคนสำคัญในยุคนั้นทั้งยังได้กล่าวถึงหนังสือเรื่อง ปีศาจ อย่างชื่นชมว่าไม่เป็นการเกินเลยแต่อย่างใดถ้าจะถือว่า ปีศาจ เป็นนิยายไทยที่เทียบได้กับเรื่อง "สงครามและสันติภาพ (War and Peace)"
เสนีย์ เสาวพงศ์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 29 พ.ย.2557
คำพูดเรื่อง ‘ปีศาจแห่งกาลเวลา’ ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสักคมกับการพยามเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคมนำไปสู่สิ่งที่ สาย สีมา ตัวเอกของเรื่องเรียกว่า “ความละเมอหวาดกลัว” สะท้อนจากคำพูดของตัวเอกของเรื่องคือ สาย สีมา ที่พูดต่อหน้าคนรุ่นเก่าที่มีฐานะร่ำรวยและมีสถานภาพสูงในนิยายนั้นว่า
"ความคิดผิดแผกแตกต่างกันในสมัยและเวลาทำให้คนเรามีความคิดผิดแผกแตกต่างกันด้วย
ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้
เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่าง(ที่ท่านยึดติดอยู่ในเวลานี้)ไว้ได้ตลอดไป..."
คนที่ยึดติดในซากความคิดเก่าไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะหวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงเสมอ และมองผู้ที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงนั้นๆว่าเป็นปีศาจ บางครั้งจึงใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมต่างๆนานา
สาย สีมา ตัวเอกในนิยายนี้เป็นผู้รักความคิดเสรี เชื่อในความเสมอภาคทางสังคม เป็นสามัญชน รักความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้น เชื่อว่าสมาชิกในห้องราชดำเนินนี้ไม่ว่าท่านเป็นใคร หากท่านใดที่มีความคิดเสรี รักความเสมอภาคทางสังคม เคารพสามัญชน รักความเป็นประชาธิปไตย ก็คงเปรียบได้เป็น สาย สีมา ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องจากประชาชนที่ต้องการความคิดเสรี รักความเสมอภาคทางสังคม และความเป็นประชาธิปไตย
ขอแวะมาให้กำลังใจท่านเหล่านั้นครัช
۞۞-۞۞ :::หรือว่าพวกเราต่างก็เป็น ปีศาจแห่งกาลเวลา หรือสาย สีมา ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ::: ۞۞-۞۞
เฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ (Herbert Phillips) นักวิจัยอเมริกันที่มาวิจัยเรื่องวัฒนธรรมปัญญาชนสยามยกให้เขาเป็น 1 ใน 8 ปัญญาชนสยามคนสำคัญในยุคนั้นทั้งยังได้กล่าวถึงหนังสือเรื่อง ปีศาจ อย่างชื่นชมว่าไม่เป็นการเกินเลยแต่อย่างใดถ้าจะถือว่า ปีศาจ เป็นนิยายไทยที่เทียบได้กับเรื่อง "สงครามและสันติภาพ (War and Peace)"
เสนีย์ เสาวพงศ์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 29 พ.ย.2557
คำพูดเรื่อง ‘ปีศาจแห่งกาลเวลา’ ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสักคมกับการพยามเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลงของสังคมนำไปสู่สิ่งที่ สาย สีมา ตัวเอกของเรื่องเรียกว่า “ความละเมอหวาดกลัว” สะท้อนจากคำพูดของตัวเอกของเรื่องคือ สาย สีมา ที่พูดต่อหน้าคนรุ่นเก่าที่มีฐานะร่ำรวยและมีสถานภาพสูงในนิยายนั้นว่า
"ความคิดผิดแผกแตกต่างกันในสมัยและเวลาทำให้คนเรามีความคิดผิดแผกแตกต่างกันด้วย ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว และไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้ เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้ เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่าง(ที่ท่านยึดติดอยู่ในเวลานี้)ไว้ได้ตลอดไป..."
คนที่ยึดติดในซากความคิดเก่าไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะหวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงเสมอ และมองผู้ที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงนั้นๆว่าเป็นปีศาจ บางครั้งจึงใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมต่างๆนานา
สาย สีมา ตัวเอกในนิยายนี้เป็นผู้รักความคิดเสรี เชื่อในความเสมอภาคทางสังคม เป็นสามัญชน รักความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้น เชื่อว่าสมาชิกในห้องราชดำเนินนี้ไม่ว่าท่านเป็นใคร หากท่านใดที่มีความคิดเสรี รักความเสมอภาคทางสังคม เคารพสามัญชน รักความเป็นประชาธิปไตย ก็คงเปรียบได้เป็น สาย สีมา ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องจากประชาชนที่ต้องการความคิดเสรี รักความเสมอภาคทางสังคม และความเป็นประชาธิปไตย
ขอแวะมาให้กำลังใจท่านเหล่านั้นครัช