เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปร่วมฟังงานอภิปรายในหัวข้อ “ชีวิตและผลงานของศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์)” ที่จัดขึ้น ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สุขุมวิท 55 โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปายคือ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการ , อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง นักเขียนอิสระ อดีตนายกสมาคมนักเขียนฯ , นพ.ประจวบ มงคลศิริ ผู้แทนคณะสร้างภาพยนตร์ไทย เรื่อง “ปีศาจ” , คุณพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยมี อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ผมจึงขออนุญาตนำเรื่องราวที่ได้อภิปรายในวันนั้นมาเขียนสรุปให้ได้อ่านกัน โดยผมอาจจะไม่สามารถเก็บรายละเอียดของการอภิปรายได้ครบถ้วน แต่ผมก็พยายามเขียนออกมาให้ตรงกับเนื้อหาการอภิปรายมากที่สุดครับ
การอภิปรายเริ่มขึ้นโดย อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นนักเขียนเชิงสังคม , เชิงอุดมคติคนสำคัญของเมืองไทย
อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง พูดถึงเสนีย์ เสาวพงศ์ในแง่ของความเป็นวรรณกรรมในชีวิตนักเขียน
@ ในวันนี้มีคนมาร่วมงานนี้เยอะมาก ก็เพราะว่าทุกคนรักและศรัทธาในผลงานของเสนีย์ เสาวพงศ์
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ สร้างงานเขียนที่แตกต่างออกไปจากงานเขียนทั่วไปในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง “ปีศาจ” ที่ใช้สำนวนการเขียนไม่เหมือนกับนิยายทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะมีแต่เรื่องรัก
@ นวนิยายเรื่อง “ความรักของวัลยา” สร้างตัวละครวัลยาที่เป็นนางเอกของเรื่องซึ่งมีวิธีการคิด , การพูด ไม่เหมือนกับนางเอกทั่วไป
@ ผลงานเขียนของเสนีย์ เสาวพงศ์ ถือว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงหักโค้งนวนิยายไทยต่อจาก ศรีบูรพา (จากผลงานเรื่อง “สงครามชีวิต” , “จนกว่าเราจะพบกันอีก” และ “แลไปข้างหน้า”)
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ ใช้ประเด็นเรื่อง “กาลเวลา” มาเขียนเพื่อย้ำเตือนให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวไว้ถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
@ นวนิยายเรื่อง “ความรักของวัลยา” ทำให้ผู้หญิงรู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองมากกว่าจะเป็นเพียงแค่แม่บ้านเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากนวนิยายทั่วไปในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ตัวตนของวัลยาทำให้ผู้หญิงภูมิใจในความเป็นผู้หญิงมากขึ้น
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ เขียนเรื่องสั้นไม่มากนัก แต่เรื่องสั้นที่เขียนก็สะท้อนถึงอะไรบางอย่างที่มีอยู่ในสังคมไทย อย่างเช่นเรื่อง “ทานตะวันดอกหนึ่ง” ซึ่งเขียนหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ที่เนื้อเรื่องพูดถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่องมงายทางไสยศาสตร์ของชาวบ้านทั่วไป โดยดอกทานตะวันในเรื่อง อาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงความเจริญก้าวหน้าทางประชาธิปไตยก็เป็นได้
@ โดยรวมแล้วต้องถือว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ สามารถสร้างผลงานวรรณกรรมขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางความคิดที่ดี
@ เรื่องสั้นที่ชื่อ “ขอให้การพายเรือของเจ้าเที่ยวนี้ จงเป็นเที่ยวสุดท้าย” เป็นเรื่องสั้นที่สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างมาก เพราะผู้อ่านไม่ต้องการให้ผู้หญิงต้องยากลำบากถึงขนาดนั้น
@ ในผลงานช่วงหลังของ เสนีย์ เสาวพงศ์ เช่นนวนิยายเรื่อง “คนดีศรีอยุธยา” และ “ดินน้ำดอกไม้” เป็นการเล่าเรื่องโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจทางสังคมเป็นผู้เล่าเรื่อง แต่เป็นการเล่าเรื่องจากมุมมองของสามัญชนคนธรรมดา ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เรื่องมักจะถูกเล่าโดยผู้ที่มีอิทธิพลเสมอ ดังนั้นการเล่าเรื่องจากมุมมองของคนธรรมดาจึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกมีส่วนร่วมในเรื่องมากขึ้นด้วย
อ. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ พูดถึงเสนีย์ เสาวพงศ์ในแง่ของ ชีวิต , ประวัติศาสตร์และวรรณกรรม
@ พวกเราต้องถือว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ ได้สร้างอะไรหลายอย่างไว้ให้แก่พวกเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของผลงานวรรณกรรม
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ เกิดในปีที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพิ่งจบลง ผลงานในช่วงแรก ๆ ใช้ชื่อว่า ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ จนกระทั่งเข้าสู่ช่วง ปี 2490 เสนีย์ เสาวพงศ์ ได้สร้างผลงานอันหลากหลายซึ่งถือว่าเป็นผลงานวรรณกรรมของนักเขียนที่ไฟแรงมาก
@ พอถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เรียกว่ายุค “สายลมและแสงแดด” เป็นช่วงเวลาที่มีการลบผลงานวรรณกรรมออกจากสังคมเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งถึงยุคปี 2510 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เริ่มมีการฟื้นฟูความทรงจำเก่า ในช่วงนั้นนักศึกษาไทยที่กรุงปารีสเริ่มพูดถึงตัวละครที่ชื่อ วัลยา และเริ่มพูดถึงผลงานของเสนีย์ เสาวพงศ์ มากขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ในปี 2510 ที่เริ่มมีการขุดค้นวรรณกรรม จึงทำให้เราค้นพบเสนีย์ เสาวพงศ์อีกครั้ง
@ “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ปัจจุบันได้แพร่พันธ์ไปมากแล้ว ตัวละครทั้ง สาย สีมาและรัชนี มีอยู่ในทุกแวดวงของสังคมไทย
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ มีความโดดเด่นด้วยงานเขียน แม้ว่าจะถูกลบชื่อออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์แล้ว แต่ภายหลังก็ถูกขุดค้นเพื่อนำกลับมาอีกครั้ง
@ เมื่อเสนีย์ เสาวพงศ์ หรือ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เกษียณจากราชการในปี 2520 เขาก็กลับมาสู่แวดวงวรรณกรรมใหม่อีกครั้ง
@ หลายคนอาจจะชอบนวนิยายเรื่อง “คนดีศรีอยุธยา” มากกว่าเรื่อง “ความรักของวัลยา” ซึ่งถือว่าเสนีย์ เสาวพงศ์ สามารถเรียกคืนสถานะความเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่กลับมาได้อีกครั้ง
@ โดยส่วนตัวแล้ว อ.ชาญวิทย์ โชคดีที่ได้สัมผัสตัวตนของเสนีย์ เสาวพงศ์ ตั้งแต่สมัยที่คุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เป็นทูตอยู่ที่ประเทศพม่า อ.ชาญวิทย์ เชื่อว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ได้ให้อะไรหลายอย่างแก่ผู้ที่ได้อ่านข้อคิดข้อเขียนของเขา
นพ. ประจวบ มงคลศิริ ผู้ที่เคยได้รับบทเป็นสาย สีมา ในภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” เมื่อ 35 ปีที่แล้ว ได้พูดในแง่ของการเป็นนักศึกษาในยุคหลังซึ่งได้รับอิทธิผลจากผลงานวรรณกรรมของ เสนีย์ เสาวพงศ์
@ ในสมัยที่เป็นนักศึกษาแพทย์อยู่ที่เชียงใหม่ (นพ. ประจวบ) เป็นนักศึกษาที่ทำงานกิจกรรมเยอะมาก จนมาพบกับคุณขรรค์ชัย บุญปาน ซึ่งจะสร้างภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” จึงได้รับร่วมแสดง โดยมีคุณสุพรรณ บูรณะพิมพ์เป็นผู้กำกับ
@ ในเรื่อง “ปีศาจ” นั้นมีการแบ่งชนชั้นออกจากกันอย่างชัดเจนคือ ชนชั้นผู้ปกครอง และ ชนชั้นสามัญชน ซึ่งชนชั้นปกครองนั้นยังแบ่งออกไปอีกเป็น เจ้าฟ้าและขุนนาง (ข้าราชการ) ดังนั้นในเรื่องนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างชนชั้นอย่างชัดเจน
@ ตัวละคร “สาย สีมา” นั้น ถือว่าเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สาย สีมาเป็นชนชั้นชาวนาชาวบ้านแต่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ จนทำให้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงชนชั้นของตัวเองได้ แต่สาย สีมาก็ไม่ได้ทำในที่สุด
@ ภาษาที่ใช้ในเรื่อง “ปีศาจ” เป็นภาษาของนักการทูตที่สุภาพ แต่มีความจริงที่เสียดแทงอยู่เบื้องลึกในคำพูดนั้น
@ นพ. ประจวบ บอกว่าในครั้งหนึ่งระหว่างการถ่ายทำ คุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์หรือเสนีย์ เสาวพงศ์ เจ้าของบทประพันธ์ ได้มาที่กองถ่ายจึงทำให้ได้พูดคุยกัน เสนีย์ เสาวพงศ์ ถามว่ารู้ไหมใครคือปีศาจ? ซึ่ง นพ. ประจวบตอบว่า “ปีศาจคือการปฏิเสธความคิดของคนรุ่นเก่า แล้วนำความคิดในแนวทางสมัยใหม่มาใช้” แต่เสนีย์ เสาวพงศ์ บอกว่า “ปีศาจที่แท้จริงคือตัวละครชื่อรัชนี ที่ประกาศตัวตนเป็นกบฏต่อชนชั้นของตัวเองมากที่สุด จึงถือว่าเป็นปีศาจที่หลอกหลอนชนชั้นของตัวเองอย่างแสนสาหัสที่สุด”
คุณพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู จากหอภาพยนตร์ พูดถึงแง่ของจากวรรณกรรมมาสู่ภาพยนตร์ เห็นคุณค่าอย่างไรบ้าง?
@ ภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” ตามข้อมูลบอกว่าสร้างเมื่อปี 2522 แล้วนำออกฉายในปี 2524 โดยมีตัวละครเอกของเรื่องคือ "สาย สีมา นักสู้สามัญชน"
@ ปีที่ภาพยนตร์เรื่องปีศาจออกฉาย เป็นปีที่รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประกาศขึ้นภาษีภาพยนตร์เยอะมาก จึงทำให้หลังจากนั้นไม่ค่อยมีภาพยนตร์จากต่างประเทศเข้ามาฉาย ในประเทศจึงมีการสร้างหนังไทยขึ้นมาเยอะมาก
@ ภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” ถือว่าเป็นหนังแนวสะท้อนสังคม จึงทำให้หลังจากนั้นมีการสร้างหนังแนวสะท้อนสังคมตามออกมาอีกเยอะมาก อาทิเช่น เขาชื่อกานต์ , ทองพูดโคกโพราษฎร์เต็มขั้น ฯลฯ
@ จากข้อมูลบอกว่า คุณเจน (จากมติชน) อยากสร้างหนังเรื่องนี้ โดยใช้เงินทุนของคุณขรรค์ชัย บุญปาน คนเขียนบทคือ คุณสมานและคุณเวช บูรณะ โดยมีผู้กำกับคือคุณสุพรรณ บูรณะพิมพ์ จึงถือว่าคนสร้างหนังอยู่ในแวดวงวรรณกรรม โดยเป็นการสร้างหนังในยุคที่หนังแนวสะท้อนสังคมกำลังเบ่งบาน
ก่อนจะจบการอภิปรายในวันนั้นมีคำคมสุดท้ายจาก อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ซึ่งได้พูดถึงการจากไปของเสนีย์ เสาวพงศ์ ว่า ...
“เป็นความตายที่ยังอยู่ ถือว่าเสนีย์ เสาวพงศ์เป็นอมตะในวงการวรรณกรรมไทย”
ภาพบรรยายกาศบางส่วนจากงานอภิปรายในครั้งนี้
หลังจากจบการอภิปรายมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง "ปีศาจ" โดยหอิภาพยนตร์ แต่ว่าผมไม่ได้อยู่ดูเนื่องจากต้องรีบไปงานเลี้ยงของพันทิปต่อครับ
ท้ายสุดนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมกระทู้นี้ หากข้อมูลใดที่ผิดพลาดไปจากเนื้อหาในการอภิปรายผมต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ขอบคุณครับ
รำลึกถึงชีวิตและผลงานของศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์)
การอภิปรายเริ่มขึ้นโดย อ.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย ผู้ดำเนินรายการกล่าวว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นนักเขียนเชิงสังคม , เชิงอุดมคติคนสำคัญของเมืองไทย
อ.ชมัยภร แสงกระจ่าง พูดถึงเสนีย์ เสาวพงศ์ในแง่ของความเป็นวรรณกรรมในชีวิตนักเขียน
@ ในวันนี้มีคนมาร่วมงานนี้เยอะมาก ก็เพราะว่าทุกคนรักและศรัทธาในผลงานของเสนีย์ เสาวพงศ์
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ สร้างงานเขียนที่แตกต่างออกไปจากงานเขียนทั่วไปในยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง “ปีศาจ” ที่ใช้สำนวนการเขียนไม่เหมือนกับนิยายทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะมีแต่เรื่องรัก
@ นวนิยายเรื่อง “ความรักของวัลยา” สร้างตัวละครวัลยาที่เป็นนางเอกของเรื่องซึ่งมีวิธีการคิด , การพูด ไม่เหมือนกับนางเอกทั่วไป
@ ผลงานเขียนของเสนีย์ เสาวพงศ์ ถือว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงหักโค้งนวนิยายไทยต่อจาก ศรีบูรพา (จากผลงานเรื่อง “สงครามชีวิต” , “จนกว่าเราจะพบกันอีก” และ “แลไปข้างหน้า”)
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ ใช้ประเด็นเรื่อง “กาลเวลา” มาเขียนเพื่อย้ำเตือนให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวไว้ถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
@ นวนิยายเรื่อง “ความรักของวัลยา” ทำให้ผู้หญิงรู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองมากกว่าจะเป็นเพียงแค่แม่บ้านเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากนวนิยายทั่วไปในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ตัวตนของวัลยาทำให้ผู้หญิงภูมิใจในความเป็นผู้หญิงมากขึ้น
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ เขียนเรื่องสั้นไม่มากนัก แต่เรื่องสั้นที่เขียนก็สะท้อนถึงอะไรบางอย่างที่มีอยู่ในสังคมไทย อย่างเช่นเรื่อง “ทานตะวันดอกหนึ่ง” ซึ่งเขียนหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ที่เนื้อเรื่องพูดถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่องมงายทางไสยศาสตร์ของชาวบ้านทั่วไป โดยดอกทานตะวันในเรื่อง อาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงความเจริญก้าวหน้าทางประชาธิปไตยก็เป็นได้
@ โดยรวมแล้วต้องถือว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ สามารถสร้างผลงานวรรณกรรมขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางความคิดที่ดี
@ เรื่องสั้นที่ชื่อ “ขอให้การพายเรือของเจ้าเที่ยวนี้ จงเป็นเที่ยวสุดท้าย” เป็นเรื่องสั้นที่สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างมาก เพราะผู้อ่านไม่ต้องการให้ผู้หญิงต้องยากลำบากถึงขนาดนั้น
@ ในผลงานช่วงหลังของ เสนีย์ เสาวพงศ์ เช่นนวนิยายเรื่อง “คนดีศรีอยุธยา” และ “ดินน้ำดอกไม้” เป็นการเล่าเรื่องโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจทางสังคมเป็นผู้เล่าเรื่อง แต่เป็นการเล่าเรื่องจากมุมมองของสามัญชนคนธรรมดา ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เรื่องมักจะถูกเล่าโดยผู้ที่มีอิทธิพลเสมอ ดังนั้นการเล่าเรื่องจากมุมมองของคนธรรมดาจึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกมีส่วนร่วมในเรื่องมากขึ้นด้วย
อ. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ พูดถึงเสนีย์ เสาวพงศ์ในแง่ของ ชีวิต , ประวัติศาสตร์และวรรณกรรม
@ พวกเราต้องถือว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ ได้สร้างอะไรหลายอย่างไว้ให้แก่พวกเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของผลงานวรรณกรรม
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ เกิดในปีที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพิ่งจบลง ผลงานในช่วงแรก ๆ ใช้ชื่อว่า ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ จนกระทั่งเข้าสู่ช่วง ปี 2490 เสนีย์ เสาวพงศ์ ได้สร้างผลงานอันหลากหลายซึ่งถือว่าเป็นผลงานวรรณกรรมของนักเขียนที่ไฟแรงมาก
@ พอถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เรียกว่ายุค “สายลมและแสงแดด” เป็นช่วงเวลาที่มีการลบผลงานวรรณกรรมออกจากสังคมเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งถึงยุคปี 2510 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เริ่มมีการฟื้นฟูความทรงจำเก่า ในช่วงนั้นนักศึกษาไทยที่กรุงปารีสเริ่มพูดถึงตัวละครที่ชื่อ วัลยา และเริ่มพูดถึงผลงานของเสนีย์ เสาวพงศ์ มากขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ในปี 2510 ที่เริ่มมีการขุดค้นวรรณกรรม จึงทำให้เราค้นพบเสนีย์ เสาวพงศ์อีกครั้ง
@ “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ปัจจุบันได้แพร่พันธ์ไปมากแล้ว ตัวละครทั้ง สาย สีมาและรัชนี มีอยู่ในทุกแวดวงของสังคมไทย
@ เสนีย์ เสาวพงศ์ มีความโดดเด่นด้วยงานเขียน แม้ว่าจะถูกลบชื่อออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์แล้ว แต่ภายหลังก็ถูกขุดค้นเพื่อนำกลับมาอีกครั้ง
@ เมื่อเสนีย์ เสาวพงศ์ หรือ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เกษียณจากราชการในปี 2520 เขาก็กลับมาสู่แวดวงวรรณกรรมใหม่อีกครั้ง
@ หลายคนอาจจะชอบนวนิยายเรื่อง “คนดีศรีอยุธยา” มากกว่าเรื่อง “ความรักของวัลยา” ซึ่งถือว่าเสนีย์ เสาวพงศ์ สามารถเรียกคืนสถานะความเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่กลับมาได้อีกครั้ง
@ โดยส่วนตัวแล้ว อ.ชาญวิทย์ โชคดีที่ได้สัมผัสตัวตนของเสนีย์ เสาวพงศ์ ตั้งแต่สมัยที่คุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ เป็นทูตอยู่ที่ประเทศพม่า อ.ชาญวิทย์ เชื่อว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ได้ให้อะไรหลายอย่างแก่ผู้ที่ได้อ่านข้อคิดข้อเขียนของเขา
นพ. ประจวบ มงคลศิริ ผู้ที่เคยได้รับบทเป็นสาย สีมา ในภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” เมื่อ 35 ปีที่แล้ว ได้พูดในแง่ของการเป็นนักศึกษาในยุคหลังซึ่งได้รับอิทธิผลจากผลงานวรรณกรรมของ เสนีย์ เสาวพงศ์
@ ในสมัยที่เป็นนักศึกษาแพทย์อยู่ที่เชียงใหม่ (นพ. ประจวบ) เป็นนักศึกษาที่ทำงานกิจกรรมเยอะมาก จนมาพบกับคุณขรรค์ชัย บุญปาน ซึ่งจะสร้างภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” จึงได้รับร่วมแสดง โดยมีคุณสุพรรณ บูรณะพิมพ์เป็นผู้กำกับ
@ ในเรื่อง “ปีศาจ” นั้นมีการแบ่งชนชั้นออกจากกันอย่างชัดเจนคือ ชนชั้นผู้ปกครอง และ ชนชั้นสามัญชน ซึ่งชนชั้นปกครองนั้นยังแบ่งออกไปอีกเป็น เจ้าฟ้าและขุนนาง (ข้าราชการ) ดังนั้นในเรื่องนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างชนชั้นอย่างชัดเจน
@ ตัวละคร “สาย สีมา” นั้น ถือว่าเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สาย สีมาเป็นชนชั้นชาวนาชาวบ้านแต่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ จนทำให้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงชนชั้นของตัวเองได้ แต่สาย สีมาก็ไม่ได้ทำในที่สุด
@ ภาษาที่ใช้ในเรื่อง “ปีศาจ” เป็นภาษาของนักการทูตที่สุภาพ แต่มีความจริงที่เสียดแทงอยู่เบื้องลึกในคำพูดนั้น
@ นพ. ประจวบ บอกว่าในครั้งหนึ่งระหว่างการถ่ายทำ คุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์หรือเสนีย์ เสาวพงศ์ เจ้าของบทประพันธ์ ได้มาที่กองถ่ายจึงทำให้ได้พูดคุยกัน เสนีย์ เสาวพงศ์ ถามว่ารู้ไหมใครคือปีศาจ? ซึ่ง นพ. ประจวบตอบว่า “ปีศาจคือการปฏิเสธความคิดของคนรุ่นเก่า แล้วนำความคิดในแนวทางสมัยใหม่มาใช้” แต่เสนีย์ เสาวพงศ์ บอกว่า “ปีศาจที่แท้จริงคือตัวละครชื่อรัชนี ที่ประกาศตัวตนเป็นกบฏต่อชนชั้นของตัวเองมากที่สุด จึงถือว่าเป็นปีศาจที่หลอกหลอนชนชั้นของตัวเองอย่างแสนสาหัสที่สุด”
คุณพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู จากหอภาพยนตร์ พูดถึงแง่ของจากวรรณกรรมมาสู่ภาพยนตร์ เห็นคุณค่าอย่างไรบ้าง?
@ ภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” ตามข้อมูลบอกว่าสร้างเมื่อปี 2522 แล้วนำออกฉายในปี 2524 โดยมีตัวละครเอกของเรื่องคือ "สาย สีมา นักสู้สามัญชน"
@ ปีที่ภาพยนตร์เรื่องปีศาจออกฉาย เป็นปีที่รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประกาศขึ้นภาษีภาพยนตร์เยอะมาก จึงทำให้หลังจากนั้นไม่ค่อยมีภาพยนตร์จากต่างประเทศเข้ามาฉาย ในประเทศจึงมีการสร้างหนังไทยขึ้นมาเยอะมาก
@ ภาพยนตร์เรื่อง “ปีศาจ” ถือว่าเป็นหนังแนวสะท้อนสังคม จึงทำให้หลังจากนั้นมีการสร้างหนังแนวสะท้อนสังคมตามออกมาอีกเยอะมาก อาทิเช่น เขาชื่อกานต์ , ทองพูดโคกโพราษฎร์เต็มขั้น ฯลฯ
@ จากข้อมูลบอกว่า คุณเจน (จากมติชน) อยากสร้างหนังเรื่องนี้ โดยใช้เงินทุนของคุณขรรค์ชัย บุญปาน คนเขียนบทคือ คุณสมานและคุณเวช บูรณะ โดยมีผู้กำกับคือคุณสุพรรณ บูรณะพิมพ์ จึงถือว่าคนสร้างหนังอยู่ในแวดวงวรรณกรรม โดยเป็นการสร้างหนังในยุคที่หนังแนวสะท้อนสังคมกำลังเบ่งบาน
ก่อนจะจบการอภิปรายในวันนั้นมีคำคมสุดท้ายจาก อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ซึ่งได้พูดถึงการจากไปของเสนีย์ เสาวพงศ์ ว่า ...
“เป็นความตายที่ยังอยู่ ถือว่าเสนีย์ เสาวพงศ์เป็นอมตะในวงการวรรณกรรมไทย”
รางวัลเกียรติยศของคุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์)
ภาพบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่อง ปีศาจ
หลังจากจบการอภิปรายมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง "ปีศาจ" โดยหอิภาพยนตร์ แต่ว่าผมไม่ได้อยู่ดูเนื่องจากต้องรีบไปงานเลี้ยงของพันทิปต่อครับ
ท้ายสุดนี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมกระทู้นี้ หากข้อมูลใดที่ผิดพลาดไปจากเนื้อหาในการอภิปรายผมต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ขอบคุณครับ