โดย : ชาลินี กุลแพทย์
เพราะกล้าฝ่าดงวิกฤติซับไพรม์ เก็บหุ้นพื้นฐานราคาต่ำ เมื่อเกือบ 7 ปีก่อน ทว่าวันนี้ชื่อ “จักรพันธุ์ วชิรพงศ์”
“ห้ามเด็ดยอด” หนึ่งในหลายๆคำสอนของ “เสี่ยยักษ์-วิชัย วชิรพงศ์” เซียนหุ้นรุ่นลายคราม ที่ “แมกซ์-จักรพันธุ์ วชิรพงศ์” ในฐานะหลานชายแท้ๆ ยึดหลักไว้ใช้ลงทุนในตลาดหุ้น
แม้ “ชายหนุ่มวัย 27 ปี” จะขึ้นแท่น “เจ้าของพอร์ตหุ้นพันล้าน” เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังใช้เวลาลองผิดลองถูกในตลาดหุ้นเพียง 7 ปี แต่เขาเลือกที่จะตอบแทนความสำเร็จตามความฝันของตัวเอง ด้วยการถอย รถสปอร์ตป้ายแดง ยี่ห้อลัมโบร์กีนี สีแดงสด ค่าตัว 30 ล้านบาท เมื่อ 5-6 เดือนก่อน
แรงบันดาลใจอยากมีรถสปอร์ตของ “แมกซ์” เกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน หลังคุณอา (เสี่ยยักษ์) ขับรถหรูเฟอร์รารี่ ราคา 22 ล้านบาท มาอวดโฉมในวันไหว้อากง แม้จะไม่กล้าไปขอสำรวจรถในฝันใกล้ๆ แต่เขาให้คำมั่นกับตัวเองว่า “สักวันต้องมีให้ได้”
“จักรพันธุ์” เป็นลูกชายคนเล็ก จากจำนวนพี่น้อง 3 คน เกิดและเติบโตอยู่ในอำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา โรงงานผลิตเส้นหมี่ ยี่ห้อสิงห์ทอง และปล่อยเช่าอพารท์เมนท์ ย่านวงเวียนใหญ่ คือ ธุรกิจหลักของครอบครัว ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น คือ อาชีพเสริม
เมื่อคนในครอบครัวพร้อมใจกันยกเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นมาเป็นบทสนทนาหลักบนโต๊ะอาหาร ทำให้ “เด็กชายแมกซ์” ในวัย 16 ปี เริ่มซึมซับและเกิดการเรียนรู้ เขาตัดสินใจไปขอเบิกเงินแต๊ะเอียที่คุณแม่เก็บให้ทุกปีจำนวน 2 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนในตลาดหุ้นผ่านพอร์ตของพี่ชาย
เงินหลักล้านกับเด็กหนุ่มที่เพิ่งเปลี่ยนคำหน้าเป็นนายได้ไม่นาน ทำให้มารดาต่อรองลูกชายจาก 2 ล้านบาท เหลือ 2 แสนบาท แต่ความดื้อบวกความมั่นใจของเขาทำให้ผู้เป็นแม่ใจอ่อนยอมยกเงินให้น้องคนเล็กออกไปแสวงหาประสบการณ์
แม้จะเป็นการลงทุนครั้งแรกในชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แต่เขาก็สามารถโกยกำไรหลักแสน จากหุ้น ปตท.หรือ PTT หลังทุ่มเงินทั้งก้อนเข้าซื้อในช่วงราคา 90 บาท ก่อนจะขายออกที่ 120 บาท หลังถือลงทุนมาได้เพียง 3 เดือน “ธุรกิจไม่มีทางเจ๊ง” คือ เหตุผลที่เขากล้าเทเงินหมดหน้าตัก
“หนุ่มแมกซ์” ก้าวขาเข้าตลาดหุ้นเต็มตัวอีกครั้ง หลังจบการศึกษาจาก คณะบริหาร ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ด้วยการเปิดพอร์ตลงทุนกับบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ประจำของตระกูล ในวงเงินประมาณ 2 ล้านบาท
ประสบการณ์เท่าหางอึ่ง ทำให้เขาเลือกที่จะชิมลางการลงทุน ด้วยการเข้าซื้อหุ้นตามเส้นเทคนิค เช่น หุ้น ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP และหุ้น ไออาร์พีซี หรือ IRPC ผลปรากฎว่า “พอร์ตติดลบขาดทุน 30%” ไม่ตั้งใจลงทุน ไม่รู้ข้อมูลบริษัทอย่างลึกซึ้ง ไม่ติดตามข่าว คือ เหตุผลของการขาดทุนในครานั้น
เขา เล่าว่า หลังพอร์ตแดงได้ไม่นานก็เกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2551 ช่วงนั้นหุ้นพื้นฐานดีๆหลายตัวทิ่มหัวลงอย่างรุนแรง เช่น หุ้น ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ปัจจุบันควบรวมกิจการกับ บมจ.ปตท.เคมิคอล หรือ PTTCH และเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC โดยราคาได้ลดลงจาก 45 บาท เหลือเพียง 8 บาท เป็นต้น
เหตุการณ์ในครานั้น ทำให้นักลงทุนรายใหญ่จำนวนมากเจ็บตัวเป็นแถว เราเองในฐานะนักลงทุนรายย่อยในขณะนั้นก็หวาดกลัวไปด้วย แต่เมื่อลองกลับมาทบทวน ทำให้ตกผลึกทางความคิดที่ว่า “เราต้องฉวยโอกาสในช่วงวิกฤติการเงินแจ้งเกิดเรื่องหุ้นให้ได้”
ด้วยความที่หุ้นไทยลดลงมาซื้อขายระดับ 300-400 จุด และมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 4,000-5,000 บาท ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่หลายตัวมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานเกือบร้อย เปอร์เซ็นต์ จึงตัดสินใจของเงินพ่อ “หลักสิบล้าน” หลังตั้งใจจะเดินทางนี้อย่างจริงจัง จริงๆที่บ้านอยากให้เรียนต่อปริญญาโท แต่เรารู้สึกว่า มาทางนี้น่าจะเหมาะกับตัวเองมากกว่า
“ผมโชคดีที่มีครอบครัวคอยช่วยเหลือเรื่องเงินลงทุน ทำให้วันนี้สามารถเดินมาได้เร็วกว่านักลงทุนคนอื่นๆ เพราะหากไม่มีทุนจากที่บ้าน ก็คงต้องใช้เวลาอีกนาน”
หลังได้เงินลงทุนก้อนใหญ่จากพ่อ เราแบ่งเงินมาลงทุนหุ้น ไทยออลย์ หรือ TOP ต้นทุน 18 บาท ถือได้เพียง 1 เดือน ขายออก 20 บาท ได้กำไรกลับหลักล้านบาท จากนั้นในช่วงเดือนก.พ.2552 ตัดสินใจทุ่มเงินหมดหน้าตักบวกเล่นมาร์จิ้น 10% เพื่อซื้อหุ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จำนวน 10 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 8 บาท
ก่อนจะมาปล่อยออกในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ราคา 11.40 บาท ใจจริงตั้งใจจะรอขายที่ราคา 15 บาท แต่ด้วยความที่ “ไม่มีวิชา และไม่เก่ง” เมื่อเห็นกำไรนิดหน่อยก็รีบขายทำกำไร ทุกวันนี้ยังรู้สึกเสียดาย เพราะหากยังถืออยู่คงได้กำไรมากกว่านี้ ปัจจุบันหุ้น BAY ซื้อขายเฉลี่ย 60 บาท
แต่แม้จะไม่ได้ปล่อยออกตามราคาเป้าหมาย แต่หุ้น BAY ได้สร้าง “จุดเปลี่ยนของพอร์ต” เพราะได้กำไรจากหุ้นตัวนี้ 30 ล้านบาท ส่งผลให้พอร์ตหุ้นพุ่งแตะ “หลักร้อยล้านบาท” ช่วงนั้นดีใจมากที่สุดในชีวิต ดีใจยิ่งกว่าตอนที่พอร์ตแตะหลักพันล้านเสียอีก เพราะเราสามารถหากุญแจมาไขปริศนาได้แล้ว ที่สำคัญหุ้นตัวนี้ทำให้รู้ว่า จากนี้ชีวิตจะเดินไปทางไหน
เขา เล่าต่อว่า หลังขายหุ้น BAY ได้ระยะหนึ่ง ในช่วงปลายปี 2552 ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น หุ้น ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ปัจจุบัน คือ หุ้น พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC แต่ความไม่กล้าเล่น ทำให้ซื้อขายเป็นช่วงๆ ซื้อ 8 บาท ขาย 12 บาท ซื้อ 14 บาท ขาย 18 บาท การลงทุนในลักษณะนั้น ทำให้ได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมถึงไม่ได้กำไรจากหุ้น PTTAR เต็มๆ แบบที่พี่ชายทำได้?
ระหว่างที่คิดไม่ตกก็ยังคงควักเงินซื้อหุ้น PTTAR อีกจำนวน 7 ล้านหุ้น ต้นทุน 22 บาท ซื้อไม่นานราคาทิ่มหัวลงมาอยู่ 18 บาท ด้วยความที่กังวลมาก ทำให้ตัดสินใจขายขาดทุนจำนวน 6 ล้านหุ้น และเหลือหุ้นติดพอร์ตไว้ 1 ล้านหุ้น ผลปรากฎว่า ผ่านมา 1 ปี ราคาหุ้นเด้งทะลุ 30 บาท ทำให้พอร์ตหุ้นทะยานเป็น “หลักหลายร้อยล้าน” ทันที
“เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้คิดได้ว่า หากเรากล้ารวยสักนิด ทนถือหุ้นที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนต่อไป มูลค่าการลงทุนคงมาไกลกว่านี้ แต่เราดันเห็นแก่กำไรเพียงเล็กน้อย ผลจึงออกมาเป็นเช่นนี้”
“เซียนหุ้นหนุ่ม” เล่าต่อว่า จากนั้นในช่วงเดือนเม.ย.2553 ควักเงินลงทุนก้อนใหญ่อีกครั้ง เพื่อเข้าซื้อหุ้น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF คราวนี้อัดเต็มพอร์ตเหมือนเคย เรียกว่า จัดเต็มทั้งเงินสดและมาร์จิ้น หลังเริ่มเห็นอนาคตที่ดีของ CPF เนื่องจากบริษัทได้เปลี่ยนจากการทำอาหารสัตว์มาเป็นอาหารคน
เริ่มปฎิบัติการณ์ไล่เก็บหุ้น CPF มาตั้งแต่ 6-9 บาท ผ่านมา 2 ปี ขายทำกำไรที่ระดับ 25 บาท จริงๆ ราคาหุ้น CPF ไม่ได้วิ่งรวดเดียวจาก 6 บาท ไปยืน 25 บาท แต่วิ่งจาก 6 บาท มาสร้างสูงสุดที่ 15 บาท ก่อนจะกลับลงไปยืน 13 บาท หลังการเมืองไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ แต่หลังจากทุกอย่างได้รับการคลี่คลาย ราคาก็เด้งขึ้นทันที
ในช่วง 2 ปีที่ถือหุ้น CPF ยอมรับว่า ไม่ง่ายเลย เพราะการเมืองไทยที่ไม่ปกติ ทำให้คิดอยากขายหุ้นออกตลอด เพื่อตัดความเสี่ยง แต่เมื่อย้อนกลับไปคิดถึงช่วงที่ขายหุ้นออก เพราะเห็นแก่กำไรเพียงน้อยนิด ทำให้เราและพี่ชายตัดสินใจกอดหุ้น CPF ไม่ยอมปล่อยออกเหมือนนักลงทุนคนอื่นๆ เพราะมีความเชื่อว่า สักวันม็อบต้องเลิก และคนยังต้องกินต้องใช้ ระหว่างที่การเมืองวุ่นวาย ก็อาศัยหากำไรจากหุ้นตัวเล็กๆ เล่นแก้เบื่อ แต่สุดท้ายก็ขาดทุนอีก (หัวเราะ) สงสัยไม่ใช่แนว
หลังจากนอนกอดกำไรจากหุ้น CPF ได้ไม่นาน ต้นปี 2555 ตัดสินใจทุ่มเงินซื้อหุ้น บ้านปู หรือ BANPU ที่ระดับราคา 600 กว่าบาท หลังราคาปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด 800 บาท แต่ซื้อได้ไม่นานราคาลงมายืน 400 บาท เนื่องจากราคาถ่านหินปรับตัวลดลง สุดท้ายต้องยอมตัดขาดทุน “เฉียดร้อยล้าน” ตอนนั้นรู้สึกแย่มากๆ
“การตัดขาดทุนหุ้น บ้านปู ในวันนั้น ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด ในบางครั้งเราต้องยอมเจ็บตัวบ้าง เพื่อรักษาเงินต้นเอาไว้ เพราะหากไม่มีเงินต้น เราคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะกลับเข้ามาทางเดิม”
“เซียนหน้าใส” ยอมรับว่า ช่วงนั้นต้องใช้เวลาทำใจนานถึง 3 เดือน ก่อนจะมีแรงกลับมาเล่นหุ้นใหม่อีกครั้ง คราวนี้เปลี่ยนมาลงทุน “กลุ่มสื่อสาร” ด้วยการซื้อหุ้น ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE หลายคนอาจคิดว่า ซื้อพร้อมกับคุณอา (เสี่ยยักษ์) แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เลย เพราะช่วงนั้นยังไม่ได้สนิทกันมากเหมือนทุกวันนี้ที่เมื่อมีเวลาว่างจะชวนกันไปปั่นจักรยานและทำกิจกรรมต่างๆด้วยกัน เพราะตอนนั้นต่างคนต่างลงทุน กว่าจะมารู้ว่า สนใจหุ้นตัวเดียวกัน ก็ช่วงราคาหุ้นทำท่าจะทิ่มหัวลง
ช่วงแรกของการลงทุนหุ้น TRUE เราไล่ช้อนมาตั้งแต่ราคา 3-7 บาท ทำให้มีหุ้น TRUE อยู่ในมือ “เฉียดร้อยล้านหุ้น” แม้หุ้นจะขึ้นมายืนจุดสูงสุดที่ 11.40 บาท ภายในระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้มี “กำไรเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์” แต่ดีใจได้ไม่นาน ราคาก็ลดลงเหลือ 5.80 บาท ช่วงนั้นทั้งคุณอาและพี่น้องนักลงทุนคนสนิทต่างช่วยกันพูดสร้างกำลังใจว่า “ต้องสู้และศรัทธาเท่านั้นจึงจะอยู่รอด”
ช่วงนั้นต้องฝึกทำหัวใจให้เข้มแข็ง และต้องเก็บมือ อดทนไม่ขาย เพราะเชื่อว่า อีกไม่นานระบบ 3 จี ต้องมา สุดท้ายเมื่อระบบเกิด ราคาหุ้น TRUE พุ่งแตะ 9.80 บาท ก่อนจะไหลลงมาหลุด 6 บาทอีกครั้ง ด้วยความที่ไม่ได้ตัดขาย ทำให้กลับมาเครียดเหมือนเดิม เราต้องคอยเตือนตัวเองเสมอว่า “ต้องสู้”
สุดท้ายบริษัทประกาศเพิ่มทุนให้ ไชน่าโมบายล์ คราวนี้ราคาเด้งแตะ 13.10 บาท เราไม่รอช้ารีบขายทำกำไรในช่วง 11 บาท ก่อนจะมาปล่อยออกทั้งหมดที่ 12 บาท เมื่อต้นปี 2558 เมื่อลองกลับมานั่งคำนวณกำไรที่ได้จากหุ้น TRUE พบว่า ตลอด 2 ปีที่ถือมาหุ้นตัวนี้มามีกำไรแล้วประมาณ 180%
ล่าสุดได้โยกกำไรที่ได้จากหุ้น TRUE มาไว้ที่หุ้น อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือITD ซึ่งได้ทยอยเข้าลงทุนมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ปัจจุบันหุ้น ITD คิดเป็น 80% ของพอร์ตลงทุน สาเหตุที่สนใจหุ้นตัวนี้ เพราะเชื่อว่าโครงการทวาย และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้
ขณะเดียวกันหากโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ที่ ITD ดำเนินการผ่านบริษัทในเครือ “แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น” หรือ APPC เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ ราคาหุ้นคงไปไกลกว่านี้มาก แต่จะไกลแค่ไหนคงแล้วแต่ฟ้าจะลิขิต
“โดยปกติผมจะไม่ค่อยซื้อหุ้นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรม แต่จะชอบเบอร์ 3 หรื 4 ที่กำลังจะเติบโตไปเป็นผู้นำ ที่สำคัญชอบเล่นหุ้นทางต่ำมากกว่าหุ้นที่วิ่งไปไกลแล้ว หุ้นทางต่ำมักโผล่มายามวิกฤติ”
“หลานชายเสี่ยยักษ์” บอกว่า ปกติจะสั่งซื้อขายหุ้นอยู่ที่บ้าน แต่เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ได้ย้ายมานั่งซื้อขายที่ห้อง VIP บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ของคุณอา หลังท่านเอ่ยปากชวน เคยมีคนถามว่า จะเล่นหุ้นไปจนถึงเมื่อไหร่ ซึ่งก็มักจะตอบไปว่า ตราบใดที่ยังสามารถหากุญแจเพื่อไขปริศนาได้ ก็ยังคงลงทุนไปเรื่อยๆ เพราะเรายังจะได้ลิ้มลองรสชาติของความสำเร็จต่อไป
ที่ผ่านมาคุณอาไม่เคยสอนเรื่องการลงทุนเป็นคำพูด แต่จะสอนด้วยการกระทำ สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากท่าน คือ ถ้าคิดมารอบคอบแล้วจะตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ออกแนวกล้าได้กล้าเสีย ตรงไปตรงมา ที่สำคัญยังเป็นคนใจกว้างกับพี่น้องเพื่อนฝูง เข้าคอนเซ็ปต์ “พี่นี้มีแต่ให้” ด้วยความที่ท่านเป็นคนเช่นนี้ ทำให้นักลงทุนรุ่นใหม่มักยกให้ท่านเป็นนักลงทุนต้นแบบ
ต่อ..
"พันล้าน" ทำได้แค่คิดต่าง "จักรพันธุ์ วชิรพงศ์"
เพราะกล้าฝ่าดงวิกฤติซับไพรม์ เก็บหุ้นพื้นฐานราคาต่ำ เมื่อเกือบ 7 ปีก่อน ทว่าวันนี้ชื่อ “จักรพันธุ์ วชิรพงศ์”
“ห้ามเด็ดยอด” หนึ่งในหลายๆคำสอนของ “เสี่ยยักษ์-วิชัย วชิรพงศ์” เซียนหุ้นรุ่นลายคราม ที่ “แมกซ์-จักรพันธุ์ วชิรพงศ์” ในฐานะหลานชายแท้ๆ ยึดหลักไว้ใช้ลงทุนในตลาดหุ้น
แม้ “ชายหนุ่มวัย 27 ปี” จะขึ้นแท่น “เจ้าของพอร์ตหุ้นพันล้าน” เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังใช้เวลาลองผิดลองถูกในตลาดหุ้นเพียง 7 ปี แต่เขาเลือกที่จะตอบแทนความสำเร็จตามความฝันของตัวเอง ด้วยการถอย รถสปอร์ตป้ายแดง ยี่ห้อลัมโบร์กีนี สีแดงสด ค่าตัว 30 ล้านบาท เมื่อ 5-6 เดือนก่อน
แรงบันดาลใจอยากมีรถสปอร์ตของ “แมกซ์” เกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน หลังคุณอา (เสี่ยยักษ์) ขับรถหรูเฟอร์รารี่ ราคา 22 ล้านบาท มาอวดโฉมในวันไหว้อากง แม้จะไม่กล้าไปขอสำรวจรถในฝันใกล้ๆ แต่เขาให้คำมั่นกับตัวเองว่า “สักวันต้องมีให้ได้”
“จักรพันธุ์” เป็นลูกชายคนเล็ก จากจำนวนพี่น้อง 3 คน เกิดและเติบโตอยู่ในอำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา โรงงานผลิตเส้นหมี่ ยี่ห้อสิงห์ทอง และปล่อยเช่าอพารท์เมนท์ ย่านวงเวียนใหญ่ คือ ธุรกิจหลักของครอบครัว ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น คือ อาชีพเสริม
เมื่อคนในครอบครัวพร้อมใจกันยกเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นมาเป็นบทสนทนาหลักบนโต๊ะอาหาร ทำให้ “เด็กชายแมกซ์” ในวัย 16 ปี เริ่มซึมซับและเกิดการเรียนรู้ เขาตัดสินใจไปขอเบิกเงินแต๊ะเอียที่คุณแม่เก็บให้ทุกปีจำนวน 2 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนในตลาดหุ้นผ่านพอร์ตของพี่ชาย
เงินหลักล้านกับเด็กหนุ่มที่เพิ่งเปลี่ยนคำหน้าเป็นนายได้ไม่นาน ทำให้มารดาต่อรองลูกชายจาก 2 ล้านบาท เหลือ 2 แสนบาท แต่ความดื้อบวกความมั่นใจของเขาทำให้ผู้เป็นแม่ใจอ่อนยอมยกเงินให้น้องคนเล็กออกไปแสวงหาประสบการณ์
แม้จะเป็นการลงทุนครั้งแรกในชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แต่เขาก็สามารถโกยกำไรหลักแสน จากหุ้น ปตท.หรือ PTT หลังทุ่มเงินทั้งก้อนเข้าซื้อในช่วงราคา 90 บาท ก่อนจะขายออกที่ 120 บาท หลังถือลงทุนมาได้เพียง 3 เดือน “ธุรกิจไม่มีทางเจ๊ง” คือ เหตุผลที่เขากล้าเทเงินหมดหน้าตัก
“หนุ่มแมกซ์” ก้าวขาเข้าตลาดหุ้นเต็มตัวอีกครั้ง หลังจบการศึกษาจาก คณะบริหาร ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ด้วยการเปิดพอร์ตลงทุนกับบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ประจำของตระกูล ในวงเงินประมาณ 2 ล้านบาท
ประสบการณ์เท่าหางอึ่ง ทำให้เขาเลือกที่จะชิมลางการลงทุน ด้วยการเข้าซื้อหุ้นตามเส้นเทคนิค เช่น หุ้น ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP และหุ้น ไออาร์พีซี หรือ IRPC ผลปรากฎว่า “พอร์ตติดลบขาดทุน 30%” ไม่ตั้งใจลงทุน ไม่รู้ข้อมูลบริษัทอย่างลึกซึ้ง ไม่ติดตามข่าว คือ เหตุผลของการขาดทุนในครานั้น
เขา เล่าว่า หลังพอร์ตแดงได้ไม่นานก็เกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2551 ช่วงนั้นหุ้นพื้นฐานดีๆหลายตัวทิ่มหัวลงอย่างรุนแรง เช่น หุ้น ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ปัจจุบันควบรวมกิจการกับ บมจ.ปตท.เคมิคอล หรือ PTTCH และเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC โดยราคาได้ลดลงจาก 45 บาท เหลือเพียง 8 บาท เป็นต้น
เหตุการณ์ในครานั้น ทำให้นักลงทุนรายใหญ่จำนวนมากเจ็บตัวเป็นแถว เราเองในฐานะนักลงทุนรายย่อยในขณะนั้นก็หวาดกลัวไปด้วย แต่เมื่อลองกลับมาทบทวน ทำให้ตกผลึกทางความคิดที่ว่า “เราต้องฉวยโอกาสในช่วงวิกฤติการเงินแจ้งเกิดเรื่องหุ้นให้ได้”
ด้วยความที่หุ้นไทยลดลงมาซื้อขายระดับ 300-400 จุด และมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 4,000-5,000 บาท ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่หลายตัวมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานเกือบร้อย เปอร์เซ็นต์ จึงตัดสินใจของเงินพ่อ “หลักสิบล้าน” หลังตั้งใจจะเดินทางนี้อย่างจริงจัง จริงๆที่บ้านอยากให้เรียนต่อปริญญาโท แต่เรารู้สึกว่า มาทางนี้น่าจะเหมาะกับตัวเองมากกว่า
“ผมโชคดีที่มีครอบครัวคอยช่วยเหลือเรื่องเงินลงทุน ทำให้วันนี้สามารถเดินมาได้เร็วกว่านักลงทุนคนอื่นๆ เพราะหากไม่มีทุนจากที่บ้าน ก็คงต้องใช้เวลาอีกนาน”
หลังได้เงินลงทุนก้อนใหญ่จากพ่อ เราแบ่งเงินมาลงทุนหุ้น ไทยออลย์ หรือ TOP ต้นทุน 18 บาท ถือได้เพียง 1 เดือน ขายออก 20 บาท ได้กำไรกลับหลักล้านบาท จากนั้นในช่วงเดือนก.พ.2552 ตัดสินใจทุ่มเงินหมดหน้าตักบวกเล่นมาร์จิ้น 10% เพื่อซื้อหุ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จำนวน 10 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 8 บาท
ก่อนจะมาปล่อยออกในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ราคา 11.40 บาท ใจจริงตั้งใจจะรอขายที่ราคา 15 บาท แต่ด้วยความที่ “ไม่มีวิชา และไม่เก่ง” เมื่อเห็นกำไรนิดหน่อยก็รีบขายทำกำไร ทุกวันนี้ยังรู้สึกเสียดาย เพราะหากยังถืออยู่คงได้กำไรมากกว่านี้ ปัจจุบันหุ้น BAY ซื้อขายเฉลี่ย 60 บาท
แต่แม้จะไม่ได้ปล่อยออกตามราคาเป้าหมาย แต่หุ้น BAY ได้สร้าง “จุดเปลี่ยนของพอร์ต” เพราะได้กำไรจากหุ้นตัวนี้ 30 ล้านบาท ส่งผลให้พอร์ตหุ้นพุ่งแตะ “หลักร้อยล้านบาท” ช่วงนั้นดีใจมากที่สุดในชีวิต ดีใจยิ่งกว่าตอนที่พอร์ตแตะหลักพันล้านเสียอีก เพราะเราสามารถหากุญแจมาไขปริศนาได้แล้ว ที่สำคัญหุ้นตัวนี้ทำให้รู้ว่า จากนี้ชีวิตจะเดินไปทางไหน
เขา เล่าต่อว่า หลังขายหุ้น BAY ได้ระยะหนึ่ง ในช่วงปลายปี 2552 ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น หุ้น ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ปัจจุบัน คือ หุ้น พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC แต่ความไม่กล้าเล่น ทำให้ซื้อขายเป็นช่วงๆ ซื้อ 8 บาท ขาย 12 บาท ซื้อ 14 บาท ขาย 18 บาท การลงทุนในลักษณะนั้น ทำให้ได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมถึงไม่ได้กำไรจากหุ้น PTTAR เต็มๆ แบบที่พี่ชายทำได้?
ระหว่างที่คิดไม่ตกก็ยังคงควักเงินซื้อหุ้น PTTAR อีกจำนวน 7 ล้านหุ้น ต้นทุน 22 บาท ซื้อไม่นานราคาทิ่มหัวลงมาอยู่ 18 บาท ด้วยความที่กังวลมาก ทำให้ตัดสินใจขายขาดทุนจำนวน 6 ล้านหุ้น และเหลือหุ้นติดพอร์ตไว้ 1 ล้านหุ้น ผลปรากฎว่า ผ่านมา 1 ปี ราคาหุ้นเด้งทะลุ 30 บาท ทำให้พอร์ตหุ้นทะยานเป็น “หลักหลายร้อยล้าน” ทันที
“เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้คิดได้ว่า หากเรากล้ารวยสักนิด ทนถือหุ้นที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนต่อไป มูลค่าการลงทุนคงมาไกลกว่านี้ แต่เราดันเห็นแก่กำไรเพียงเล็กน้อย ผลจึงออกมาเป็นเช่นนี้”
“เซียนหุ้นหนุ่ม” เล่าต่อว่า จากนั้นในช่วงเดือนเม.ย.2553 ควักเงินลงทุนก้อนใหญ่อีกครั้ง เพื่อเข้าซื้อหุ้น เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF คราวนี้อัดเต็มพอร์ตเหมือนเคย เรียกว่า จัดเต็มทั้งเงินสดและมาร์จิ้น หลังเริ่มเห็นอนาคตที่ดีของ CPF เนื่องจากบริษัทได้เปลี่ยนจากการทำอาหารสัตว์มาเป็นอาหารคน
เริ่มปฎิบัติการณ์ไล่เก็บหุ้น CPF มาตั้งแต่ 6-9 บาท ผ่านมา 2 ปี ขายทำกำไรที่ระดับ 25 บาท จริงๆ ราคาหุ้น CPF ไม่ได้วิ่งรวดเดียวจาก 6 บาท ไปยืน 25 บาท แต่วิ่งจาก 6 บาท มาสร้างสูงสุดที่ 15 บาท ก่อนจะกลับลงไปยืน 13 บาท หลังการเมืองไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ แต่หลังจากทุกอย่างได้รับการคลี่คลาย ราคาก็เด้งขึ้นทันที
ในช่วง 2 ปีที่ถือหุ้น CPF ยอมรับว่า ไม่ง่ายเลย เพราะการเมืองไทยที่ไม่ปกติ ทำให้คิดอยากขายหุ้นออกตลอด เพื่อตัดความเสี่ยง แต่เมื่อย้อนกลับไปคิดถึงช่วงที่ขายหุ้นออก เพราะเห็นแก่กำไรเพียงน้อยนิด ทำให้เราและพี่ชายตัดสินใจกอดหุ้น CPF ไม่ยอมปล่อยออกเหมือนนักลงทุนคนอื่นๆ เพราะมีความเชื่อว่า สักวันม็อบต้องเลิก และคนยังต้องกินต้องใช้ ระหว่างที่การเมืองวุ่นวาย ก็อาศัยหากำไรจากหุ้นตัวเล็กๆ เล่นแก้เบื่อ แต่สุดท้ายก็ขาดทุนอีก (หัวเราะ) สงสัยไม่ใช่แนว
หลังจากนอนกอดกำไรจากหุ้น CPF ได้ไม่นาน ต้นปี 2555 ตัดสินใจทุ่มเงินซื้อหุ้น บ้านปู หรือ BANPU ที่ระดับราคา 600 กว่าบาท หลังราคาปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด 800 บาท แต่ซื้อได้ไม่นานราคาลงมายืน 400 บาท เนื่องจากราคาถ่านหินปรับตัวลดลง สุดท้ายต้องยอมตัดขาดทุน “เฉียดร้อยล้าน” ตอนนั้นรู้สึกแย่มากๆ
“การตัดขาดทุนหุ้น บ้านปู ในวันนั้น ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด ในบางครั้งเราต้องยอมเจ็บตัวบ้าง เพื่อรักษาเงินต้นเอาไว้ เพราะหากไม่มีเงินต้น เราคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะกลับเข้ามาทางเดิม”
“เซียนหน้าใส” ยอมรับว่า ช่วงนั้นต้องใช้เวลาทำใจนานถึง 3 เดือน ก่อนจะมีแรงกลับมาเล่นหุ้นใหม่อีกครั้ง คราวนี้เปลี่ยนมาลงทุน “กลุ่มสื่อสาร” ด้วยการซื้อหุ้น ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE หลายคนอาจคิดว่า ซื้อพร้อมกับคุณอา (เสี่ยยักษ์) แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เลย เพราะช่วงนั้นยังไม่ได้สนิทกันมากเหมือนทุกวันนี้ที่เมื่อมีเวลาว่างจะชวนกันไปปั่นจักรยานและทำกิจกรรมต่างๆด้วยกัน เพราะตอนนั้นต่างคนต่างลงทุน กว่าจะมารู้ว่า สนใจหุ้นตัวเดียวกัน ก็ช่วงราคาหุ้นทำท่าจะทิ่มหัวลง
ช่วงแรกของการลงทุนหุ้น TRUE เราไล่ช้อนมาตั้งแต่ราคา 3-7 บาท ทำให้มีหุ้น TRUE อยู่ในมือ “เฉียดร้อยล้านหุ้น” แม้หุ้นจะขึ้นมายืนจุดสูงสุดที่ 11.40 บาท ภายในระยะเวลา 1 ปี ส่งผลให้มี “กำไรเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์” แต่ดีใจได้ไม่นาน ราคาก็ลดลงเหลือ 5.80 บาท ช่วงนั้นทั้งคุณอาและพี่น้องนักลงทุนคนสนิทต่างช่วยกันพูดสร้างกำลังใจว่า “ต้องสู้และศรัทธาเท่านั้นจึงจะอยู่รอด”
ช่วงนั้นต้องฝึกทำหัวใจให้เข้มแข็ง และต้องเก็บมือ อดทนไม่ขาย เพราะเชื่อว่า อีกไม่นานระบบ 3 จี ต้องมา สุดท้ายเมื่อระบบเกิด ราคาหุ้น TRUE พุ่งแตะ 9.80 บาท ก่อนจะไหลลงมาหลุด 6 บาทอีกครั้ง ด้วยความที่ไม่ได้ตัดขาย ทำให้กลับมาเครียดเหมือนเดิม เราต้องคอยเตือนตัวเองเสมอว่า “ต้องสู้”
สุดท้ายบริษัทประกาศเพิ่มทุนให้ ไชน่าโมบายล์ คราวนี้ราคาเด้งแตะ 13.10 บาท เราไม่รอช้ารีบขายทำกำไรในช่วง 11 บาท ก่อนจะมาปล่อยออกทั้งหมดที่ 12 บาท เมื่อต้นปี 2558 เมื่อลองกลับมานั่งคำนวณกำไรที่ได้จากหุ้น TRUE พบว่า ตลอด 2 ปีที่ถือมาหุ้นตัวนี้มามีกำไรแล้วประมาณ 180%
ล่าสุดได้โยกกำไรที่ได้จากหุ้น TRUE มาไว้ที่หุ้น อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือITD ซึ่งได้ทยอยเข้าลงทุนมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ปัจจุบันหุ้น ITD คิดเป็น 80% ของพอร์ตลงทุน สาเหตุที่สนใจหุ้นตัวนี้ เพราะเชื่อว่าโครงการทวาย และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้
ขณะเดียวกันหากโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ที่ ITD ดำเนินการผ่านบริษัทในเครือ “แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น” หรือ APPC เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ ราคาหุ้นคงไปไกลกว่านี้มาก แต่จะไกลแค่ไหนคงแล้วแต่ฟ้าจะลิขิต
“โดยปกติผมจะไม่ค่อยซื้อหุ้นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรม แต่จะชอบเบอร์ 3 หรื 4 ที่กำลังจะเติบโตไปเป็นผู้นำ ที่สำคัญชอบเล่นหุ้นทางต่ำมากกว่าหุ้นที่วิ่งไปไกลแล้ว หุ้นทางต่ำมักโผล่มายามวิกฤติ”
“หลานชายเสี่ยยักษ์” บอกว่า ปกติจะสั่งซื้อขายหุ้นอยู่ที่บ้าน แต่เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ได้ย้ายมานั่งซื้อขายที่ห้อง VIP บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ของคุณอา หลังท่านเอ่ยปากชวน เคยมีคนถามว่า จะเล่นหุ้นไปจนถึงเมื่อไหร่ ซึ่งก็มักจะตอบไปว่า ตราบใดที่ยังสามารถหากุญแจเพื่อไขปริศนาได้ ก็ยังคงลงทุนไปเรื่อยๆ เพราะเรายังจะได้ลิ้มลองรสชาติของความสำเร็จต่อไป
ที่ผ่านมาคุณอาไม่เคยสอนเรื่องการลงทุนเป็นคำพูด แต่จะสอนด้วยการกระทำ สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากท่าน คือ ถ้าคิดมารอบคอบแล้วจะตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ออกแนวกล้าได้กล้าเสีย ตรงไปตรงมา ที่สำคัญยังเป็นคนใจกว้างกับพี่น้องเพื่อนฝูง เข้าคอนเซ็ปต์ “พี่นี้มีแต่ให้” ด้วยความที่ท่านเป็นคนเช่นนี้ ทำให้นักลงทุนรุ่นใหม่มักยกให้ท่านเป็นนักลงทุนต้นแบบ
ต่อ..