จากมติชนออนไลน์
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาค เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)หรือซุปเปอร์บอร์ดว่า ที่ปะชุมได้เห็นชอบแผนฟื้นฟูของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) การรถแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)แล้ว ส่วนราละเอียดของแผนที่จะต้องใช้เงินงบประมาณจะต้องสรุปเพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า สำหรับของแผนฟื้นฟูการบินไทยมี 5 ประเด็นหลัก คือ 1.การปรับเส้นทางบิน 2.การปรับแผนการตลาด 3.การขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน 4.การปรับโครงสร้างอัตรากำลังลดจาก 2.5 หมื่นคน ให้เหลือ 2 หมื่นคน 5.การปรับปรุงและพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย เช่น กิจการโรงแรม และกิจการขนส่งน้ำมัน เป็นต้น
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า 1.การปรับเส้นทางบิน จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เส้นทางบินที่ขาดทุนอย่างแน่นอนและขาดทุนอย่างต่อเนื่องจะให้หยุดบินไปก่อน และใช้เวลา 6 เดือน 12 เดือน และ18 เดือน ในการพิจารณาที่จะกลับมาฟื้นฟูการบินอีกครั้ง ส่วนเส้นทางที่ขาดทุนแต่มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ก็ให้พิจารณาปรับลดจำนวนเที่ยวบินลงและให้ฟื้นฟูกลับมาภายใน 6 – 12 เดือน ส่วนเส้นทางที่พอมีกำไรให้พิจารณาในการพัฒนาและเพิ่มการบริการ โดยเน้นการเชื่อมต่อเส้นทางบินเพื่อมิให้ขาดช่วง โดยเฉพาะในส่วนของ 2 กลุ่มแรกที่มีการหยุดบินและลดจำนวนเที่ยวบินจะต้องดำเนินการเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารไม่ได้รับผลกระทบ 2. การปรับแผนการตลาด จะเน้นการปรับกลยุทธ์ในการขายตั๋ว ให้เพิ่มสัดส่วนการขายตั๋วผ่านระบบออนไลน์และการจำหน่ายตั๋วเอง รวมทั้งการขยายเครือข่ายการขายตั๋วให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้มากขึ้น
3.แผนการขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น ปลดระวางเครื่องบิน 22 ลำ เพราะมีการปรับลดและเลิกเส้นทางบินจึงต้องปรับลดจำนวนเครื่องบินให้เหมาะสมด้วย ดังนั้นเครื่องบินที่ไม่เหมาะสมหรือสิ้นเปลืองน้ำมันก็ต้องปลดระวางหรือดำเนินการขายทิ้ง เพื่อช่วยลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและค่าจอดต่างๆ 4.ปรับโครงสร้างอัตรากำลัง ยังไม่กำหนดช่วงเวลา ซึ่งจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนการเกษียณก่อนกำหนดและแผนสมัครใจลาออกด้วย 5.ปรับปรุงพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย จะต้องไปพิจารณารายละเอียดว่าส่วนใดจะโอนออกไปหรือขายอีกครั้ง
“การหยุดเลือดของการบินไทยได้ ต้องตัดในส่วนที่ทำให้ติดลบมากๆอออกไปก่อน เช่น เคยลงทุน 2 แสนล้านต่อปี อาจลดลงเหลือ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี ส่วนแผนการรับมอบเครื่องบินใหม่และการชำระหนี้เครื่องบินนั้นก็ให้มีการเจรจาเพื่อขอยืดเวลาการรับมอบและการชำระหนี้ออกไป แต่ไม่ได้ยกเลิกแผนการสั่งซื้อเครื่องบิน”พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของฝ่ายบริหารและบอร์ดการบินไทย ส่วนการปรับลดหรือยกเลิกเส้นทางบินหรือการขายตั๋วนั้นฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการได้ทันที แต่แผนที่จะต้องมีการใช้งบประมาณจะต้องเสนอขออนุมัติจาก ครม. เช่น การปรับลดบุคลากร ต้องเสนอ ครม.ก่อน
“เรื่องการขายสินทรัพย์ของการบินไทยมี 2 ส่วน คือ การขายเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานกับการขายที่ดินหรืออาคารหากพิจารณาว่าไม่ได้มีการใช้งาน ส่วนรายละเอียดฝ่ายบริหารจะไปพิจารณาเพื่อนำข้อมูลเสนอ คนร.ในครั้งต่อไป”พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในส่วนของแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.นั้น คนร.เห็นชอบให้เพิ่มบริการที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพทางรถไฟ ปรับปรุงการให้บริการตรวจสภาพรถไฟ เพื่อให้บริการได้ตรงเวลาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนปัญหาหนี้สินรวม 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ ร.ฟ.ท.ล่าช้า กรณีรถไฟฟรี หรือการไม่ได้ปรับขึ้นค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งภาระจากเงินบำนาญของพนักงานนั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท. และกระทรวงการคลังหารือถึงแนวทางให้ได้ข้อสรุปภายใน2 สัปดาห์ และรายงาน คนร.ต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า สำหรับการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการทำงานตามภารกิจใหม่ เพราะต่อไปจะมีการเดินรถไฟทั้งระบบเดิมทางคู่ขนาด 1 เมตร และรางมาตรฐาน 1.435เมตรนั้น ที่ประชุมมอบให้ ร.ฟ.ท.กลับไปศึกษาแนวทางการปรับลดสัดส่วนของพนักงานแต่ละกลุ่มให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับภารกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของผู้บริหาร วิศวกร ช่างเทคนิค และพนักงานทั่วไป จะมีการเสนอที่ประชุม คนร.ในครั้งหน้า โดยจะเสนอขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี ปี 2541 ที่กำหนดให้ ร.ฟ.ท. รับพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 5% ของพนักงานที่เกษียนด้วย เพราะตามแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.กำหนดให้รับพนักงานเพิ่มระหว่างปี 2558-2565 รวม 2,500 คน ซึ่งจะทำให้อัตรากำลังของ ร.ฟ.ท.ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 - 1.7หมื่นคน จากปัจจุบันมี 1.4 หมื่นคน
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ส่วนแผนฟื้นฟู ขสมก. เห็นชอบให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและผู้บริหารให้สอดคล้องกับการทำงานและการกิจ โดยกำหนดบทบาทให้ ขสมก.เป็นผู้ให้บริการเดินรถ ดังนั้นงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลจะโอนให้กรมการขนส่งทางบก(ขบ.)เข้ามารับผิดชอบแทน แต่ในเรื่องของสัดส่วนการเดินรถและเส้นทางเดินรถต่างๆจะให้สิทธิกับ ขสมก.มากกว่ารถร่วมบริการ ซึ่งรายละเอียดจะต้องไปหารือร่วมกันอีกครั้ง ส่วนที่หนี้สินสะสม 92,000 ล้านบาทนั้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ก่อนที่จะเสนอ คนร.ต่อไป
"บิ๊กจิน"โชว์แผนผ่าบินไทย โละ5พันคน พัฒนาบริการรถไฟไทย ดึงบทบาทกำกับดูแลพ้นขสมก.
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาค เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)หรือซุปเปอร์บอร์ดว่า ที่ปะชุมได้เห็นชอบแผนฟื้นฟูของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) การรถแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)แล้ว ส่วนราละเอียดของแผนที่จะต้องใช้เงินงบประมาณจะต้องสรุปเพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า สำหรับของแผนฟื้นฟูการบินไทยมี 5 ประเด็นหลัก คือ 1.การปรับเส้นทางบิน 2.การปรับแผนการตลาด 3.การขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน 4.การปรับโครงสร้างอัตรากำลังลดจาก 2.5 หมื่นคน ให้เหลือ 2 หมื่นคน 5.การปรับปรุงและพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย เช่น กิจการโรงแรม และกิจการขนส่งน้ำมัน เป็นต้น
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า 1.การปรับเส้นทางบิน จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เส้นทางบินที่ขาดทุนอย่างแน่นอนและขาดทุนอย่างต่อเนื่องจะให้หยุดบินไปก่อน และใช้เวลา 6 เดือน 12 เดือน และ18 เดือน ในการพิจารณาที่จะกลับมาฟื้นฟูการบินอีกครั้ง ส่วนเส้นทางที่ขาดทุนแต่มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ก็ให้พิจารณาปรับลดจำนวนเที่ยวบินลงและให้ฟื้นฟูกลับมาภายใน 6 – 12 เดือน ส่วนเส้นทางที่พอมีกำไรให้พิจารณาในการพัฒนาและเพิ่มการบริการ โดยเน้นการเชื่อมต่อเส้นทางบินเพื่อมิให้ขาดช่วง โดยเฉพาะในส่วนของ 2 กลุ่มแรกที่มีการหยุดบินและลดจำนวนเที่ยวบินจะต้องดำเนินการเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารไม่ได้รับผลกระทบ 2. การปรับแผนการตลาด จะเน้นการปรับกลยุทธ์ในการขายตั๋ว ให้เพิ่มสัดส่วนการขายตั๋วผ่านระบบออนไลน์และการจำหน่ายตั๋วเอง รวมทั้งการขยายเครือข่ายการขายตั๋วให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้มากขึ้น
3.แผนการขายทรัพย์สินและอากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น ปลดระวางเครื่องบิน 22 ลำ เพราะมีการปรับลดและเลิกเส้นทางบินจึงต้องปรับลดจำนวนเครื่องบินให้เหมาะสมด้วย ดังนั้นเครื่องบินที่ไม่เหมาะสมหรือสิ้นเปลืองน้ำมันก็ต้องปลดระวางหรือดำเนินการขายทิ้ง เพื่อช่วยลดภาระด้านการซ่อมบำรุงและค่าจอดต่างๆ 4.ปรับโครงสร้างอัตรากำลัง ยังไม่กำหนดช่วงเวลา ซึ่งจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนการเกษียณก่อนกำหนดและแผนสมัครใจลาออกด้วย 5.ปรับปรุงพัฒนากิจการที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของการบินไทย จะต้องไปพิจารณารายละเอียดว่าส่วนใดจะโอนออกไปหรือขายอีกครั้ง
“การหยุดเลือดของการบินไทยได้ ต้องตัดในส่วนที่ทำให้ติดลบมากๆอออกไปก่อน เช่น เคยลงทุน 2 แสนล้านต่อปี อาจลดลงเหลือ 1.5 แสนล้านบาทต่อปี ส่วนแผนการรับมอบเครื่องบินใหม่และการชำระหนี้เครื่องบินนั้นก็ให้มีการเจรจาเพื่อขอยืดเวลาการรับมอบและการชำระหนี้ออกไป แต่ไม่ได้ยกเลิกแผนการสั่งซื้อเครื่องบิน”พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวได้ทันที ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของฝ่ายบริหารและบอร์ดการบินไทย ส่วนการปรับลดหรือยกเลิกเส้นทางบินหรือการขายตั๋วนั้นฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการได้ทันที แต่แผนที่จะต้องมีการใช้งบประมาณจะต้องเสนอขออนุมัติจาก ครม. เช่น การปรับลดบุคลากร ต้องเสนอ ครม.ก่อน
“เรื่องการขายสินทรัพย์ของการบินไทยมี 2 ส่วน คือ การขายเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานกับการขายที่ดินหรืออาคารหากพิจารณาว่าไม่ได้มีการใช้งาน ส่วนรายละเอียดฝ่ายบริหารจะไปพิจารณาเพื่อนำข้อมูลเสนอ คนร.ในครั้งต่อไป”พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในส่วนของแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.นั้น คนร.เห็นชอบให้เพิ่มบริการที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพทางรถไฟ ปรับปรุงการให้บริการตรวจสภาพรถไฟ เพื่อให้บริการได้ตรงเวลาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนปัญหาหนี้สินรวม 8.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ ร.ฟ.ท.ล่าช้า กรณีรถไฟฟรี หรือการไม่ได้ปรับขึ้นค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งภาระจากเงินบำนาญของพนักงานนั้น ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท. และกระทรวงการคลังหารือถึงแนวทางให้ได้ข้อสรุปภายใน2 สัปดาห์ และรายงาน คนร.ต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า สำหรับการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการทำงานตามภารกิจใหม่ เพราะต่อไปจะมีการเดินรถไฟทั้งระบบเดิมทางคู่ขนาด 1 เมตร และรางมาตรฐาน 1.435เมตรนั้น ที่ประชุมมอบให้ ร.ฟ.ท.กลับไปศึกษาแนวทางการปรับลดสัดส่วนของพนักงานแต่ละกลุ่มให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับภารกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของผู้บริหาร วิศวกร ช่างเทคนิค และพนักงานทั่วไป จะมีการเสนอที่ประชุม คนร.ในครั้งหน้า โดยจะเสนอขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี ปี 2541 ที่กำหนดให้ ร.ฟ.ท. รับพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 5% ของพนักงานที่เกษียนด้วย เพราะตามแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.กำหนดให้รับพนักงานเพิ่มระหว่างปี 2558-2565 รวม 2,500 คน ซึ่งจะทำให้อัตรากำลังของ ร.ฟ.ท.ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 - 1.7หมื่นคน จากปัจจุบันมี 1.4 หมื่นคน
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ส่วนแผนฟื้นฟู ขสมก. เห็นชอบให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและผู้บริหารให้สอดคล้องกับการทำงานและการกิจ โดยกำหนดบทบาทให้ ขสมก.เป็นผู้ให้บริการเดินรถ ดังนั้นงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลจะโอนให้กรมการขนส่งทางบก(ขบ.)เข้ามารับผิดชอบแทน แต่ในเรื่องของสัดส่วนการเดินรถและเส้นทางเดินรถต่างๆจะให้สิทธิกับ ขสมก.มากกว่ารถร่วมบริการ ซึ่งรายละเอียดจะต้องไปหารือร่วมกันอีกครั้ง ส่วนที่หนี้สินสะสม 92,000 ล้านบาทนั้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ก่อนที่จะเสนอ คนร.ต่อไป