เอพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ส - หลังมีข่าวลือมานานถึงสายการบินแห่งชาติ ไทยแอร์เวย์ที่มีรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ 51% ถึงการประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก และอาจต้องประกาศล้มละลายในที่สุด แต่ทว่า เมื่อวานนี้ (26) นายกรัฐมนตรีไทยที่มาจากการทำรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศอุ้มสายการบินแห่งชาติไม่ยอมให้ล้มละลาย แต่ยอมรับบริษัทสายการบินแห่งชาติต้องปรับตัว เดินหน้าเข้าสู่แผนฟื้นฟูใหญ่ ที่รวมไปถึงขายเครื่องบินบางส่วนที่มีอยู่ ซึ่งพบว่าบริษัทมีตัวเลขการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ยกฝูงถึง 62 ลำภายในปี 2018 และยกเลิกเส้นทางการบินลง 1 ใน 10 ของจำนวนทั้งหมดเพื่อยังให้สามารถบริษัทสามารถคงศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจการบินได้
บริษัทสายการบินแห่งชาติไทยแอร์เวย์ที่มีรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ ต้องประสบปัญหาการขาดทุนต่อเนื่องสะสมมาร่วม 2 ปีจากปัญหาสภาพอุตสาหกรรมการบินที่มีการแข่งขันสูงจากสายการบินต้นทุนต่ำ และปัญหาการบริหารขององค์การที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยมีรายงานตัวเลขขาดทุนในปี 2013 ร่วม 368ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะใน 9 เดือนแรกของปี 2014 การบินไทยขาดทุนไปแล้วถึง 282 ล้านดอลลาร์
เมื่อวานนี้(26) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียอมรับสภาพที่เตรียมล้มละลายของบริษัทสายการบินแห่งชาติ ว่าเป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ชี้ว่า ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่ยอมให้สายการบินแห่งชาตินี้ที่ก่อตั้งมานานต้องประสบปัญหาหนีสินจนถึงกับต้องล้มละลายไป โดยยอมรับว่า ทางรัฐบาลไทยจะเข้าไปช่วยเหลือทางการเงิน โดยที่ผ่านมาทางรัฐบาลได้หาหนทางเพื่อช่วยเหลือ และล่าสุดได้อนุมัติแผนฟื้นฟูที่เสนอโดยบริษัทการบินไทย
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีไทยยอมรับว่า บริษัทการบินไทยต้องตัดรายจ่าย เพิ่มรายได้ รวมไปถึงยกเลิกเส้นทางการบินที่ไม่ทำกำไร รวมไปถึงต้องขายเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้ โดยพบว่า ที่ผ่านมาบริษัทการบินไทยได้ทำการยกเครื่องฝูงบินใหม่โดยมีแผนสั่งซื้อเครื่องบินมาตลอดใน 4 ปีที่ผ่านมา และยังคงมีสัญญาการรับเครื่องบินใหม่ต่อเนื่องยาวไปจนถึงปี 2018 ที่คาดว่าจะมีจำนวนเครื่องบินใหม่ทั้งหมดถึง 62 ลำ ภายในปี 2018 และอาจเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้บริษัทมีตัวเลขขาดทุนหนักในกรณีของการบินไทย
เอพีรายงานเมื่อวานนี้(26)ว่า คำให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า จะมีการประกาศแถลงการณ์ล้มละลายของบริษัทไทย์แอร์เวย์ออกมาภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ในเบื้องต้น บริษัทการบินไทยออกแถลงการณ์ว่า จะทำการปรับลดการขาดทุนโดยการยกเลิกเส้นทางการบินที่ไม่ทำกำไร โดยวอลสตรีทเจอร์นัลรายงานเพิ่มเติมว่า คาดว่าจะยกเลิก 1 ใน 10 ของเส้นทางทั้งหมดที่สายการบินได้ทำการบินอยู่ในขณะนี้ และเสริมเพิ่มรายได้ในเส้นทางการบินที่สามารถสร้างผลกำไร
“แผนฟื้นฟูนี้จะทำให้บริษัทสามารถกลับมาทำกำไรในระยะยาวอีกครั้ง และจะทำให้เป็นความภาคภูมิใจของประเทศได้” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย จรัมพร โชติกเสถียร แถลง
แต่อย่างไรก็ตาม ดีดีการบินไทย จรัมพร เผยกับวอลสตรีทเจอร์นัลว่า ในแผนการฟื้นฟูยังไม่รวมไปถึง “การเลิกจ้างพนักงาน” แต่เผยว่าทางบริษัทอาจต้องขายทรัพย์สินบางส่วนของบริษัทออกไป เช่น ตึกสำนักงาน หากสถานการณ์ตัวเลขทางบัญชียังไม่ฟื้น ส่วนในเส้นทางที่คาดว่าจะทำการยกเลิกบินนั้น ในเบื้องต้นของการแถลงข่าว จรัมพรยังไม่เปิดเผยถึงรายละเอียดว่าจะมีเส้นทางบินใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ โดยเปิดเผยเพียงว่า แผนฟื้นฟูนี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบริษัท “แผนการฟื้นฟูจะครอบคลุมไปถึงทุกแผนกของบริษัทการบินไทย” ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การเลิกจ้างพนักงานที่ถือเป็นตัวเลือกต้นๆในการลดค่าใช้จ่ายยังไม่ได้ถูกรวมไว้ เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนต่อเที่ยวบินของการบินไทย ทั้งนี้พบว่า ในเที่ยวบิน 5 ชม.ของบางเส้นทาง การบินไทยมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องอย่างน้อย 6 คน เมื่อเทียบกับสายการบินต่างชาติที่บินในเส้นทาง 12 ชม. กลับใช้จำนวนพนักงานต้อนรับจำนวนที่ต่ำกว่า และประกอบกับที่ผ่านมา ในรอบ 4 ปีล่าสุดสายการบินไทยเปิดตัวฝูงบินใหม่เข้าประจำการที่มีเครื่องบินจำนวนมากถึง 40 ลำ และยังมีกำหนดเตรียมรับมอบเครื่องบินใหม่เพิ่มอีก 22 ลำตั้งแต่ปี 2015 ไปจนถึงปี 2018
ด้านนักวิเคราะห์แห่งบัวหลวงซีคิวริตีเปิดเผยว่า เมื่อดูจากแฟนฟื้นฟูที่เสนอโดยบริษัทการบินไทย โดยเฉพาะเมื่อมองไปที่ข้อเสนอยกเลิกเส้นทางเที่ยวบินที่ขาดทุน คาดว่าจะสามารถทำให้บริษัทการบินไทยฟื้นตัวไตรมาสต่อเนื่องจากการขาดทุนได้ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า แต่กระนั้นคาดการณ์ว่าทางการบินไทยจะสามารถมีผลกอบการเป็นบวกได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อปี 2017 ไปแล้ว
เหตุการณ์ครั้งนี้คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสายการบินแห่งชาติมาเลเซีย มาเลเซียแอร์ไลน์สที่ต้องถูกรัฐบาลมาเลเซียประกาศเข้าเทกโอเวอร์ในเดือนสิงหาคม 2014 โดยคาซานาห์ แนชันแนล (Khazanah Nasional) กองทุนรัฐบาลมาเลเซียได้เข้าซื้อกิจการหลังจากบริษัทประสบปัญหาอย่างหนักหลังวิกฤต MH370 และ MH17 ซึ่งในครั้งนั้นมีการระบุถึงปัญหาการเข้าโอบอุ้มกิจการบริษัทซึ่งไม่ต่างจากปัญหาของการบินไทยมากนักคือ ปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ของสายการบินแห่งนี้ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2002 มีสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากปัญหาบินในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรและมีจำนวนพนักงานมากเกินไป และเนื่องจากมาเลเซียแอร์ไลน์สเป็นสายการบินประจำชาติ จึงข้อกำหนดให้ทางบริษัทต้องบินภายในประเทศในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรได้ ประกอบกับมีสหภาพแรงงานพนักงานที่เข้มแข็งที่ต่อต้านการปฏิรูปโครงสร้างของบริษัท ในขณะที่สายการบินคู่แข่ง เช่น แอร์เอเชียเติบโตอย่างรวดเร็ว
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000010408
สื่อนอกตีข่าว นายกฯไทยยอมรับ “การบินไทยเกือบเจ๊ง!!” ต้องขายเครื่องบิน-ตัดเส้นทางบิน เตรียมเข้าแผนฟื้นฟูใหญ่
บริษัทสายการบินแห่งชาติไทยแอร์เวย์ที่มีรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของ ต้องประสบปัญหาการขาดทุนต่อเนื่องสะสมมาร่วม 2 ปีจากปัญหาสภาพอุตสาหกรรมการบินที่มีการแข่งขันสูงจากสายการบินต้นทุนต่ำ และปัญหาการบริหารขององค์การที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยมีรายงานตัวเลขขาดทุนในปี 2013 ร่วม 368ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะใน 9 เดือนแรกของปี 2014 การบินไทยขาดทุนไปแล้วถึง 282 ล้านดอลลาร์
เมื่อวานนี้(26) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียอมรับสภาพที่เตรียมล้มละลายของบริษัทสายการบินแห่งชาติ ว่าเป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ชี้ว่า ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จะไม่ยอมให้สายการบินแห่งชาตินี้ที่ก่อตั้งมานานต้องประสบปัญหาหนีสินจนถึงกับต้องล้มละลายไป โดยยอมรับว่า ทางรัฐบาลไทยจะเข้าไปช่วยเหลือทางการเงิน โดยที่ผ่านมาทางรัฐบาลได้หาหนทางเพื่อช่วยเหลือ และล่าสุดได้อนุมัติแผนฟื้นฟูที่เสนอโดยบริษัทการบินไทย
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีไทยยอมรับว่า บริษัทการบินไทยต้องตัดรายจ่าย เพิ่มรายได้ รวมไปถึงยกเลิกเส้นทางการบินที่ไม่ทำกำไร รวมไปถึงต้องขายเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้ โดยพบว่า ที่ผ่านมาบริษัทการบินไทยได้ทำการยกเครื่องฝูงบินใหม่โดยมีแผนสั่งซื้อเครื่องบินมาตลอดใน 4 ปีที่ผ่านมา และยังคงมีสัญญาการรับเครื่องบินใหม่ต่อเนื่องยาวไปจนถึงปี 2018 ที่คาดว่าจะมีจำนวนเครื่องบินใหม่ทั้งหมดถึง 62 ลำ ภายในปี 2018 และอาจเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้บริษัทมีตัวเลขขาดทุนหนักในกรณีของการบินไทย
เอพีรายงานเมื่อวานนี้(26)ว่า คำให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า จะมีการประกาศแถลงการณ์ล้มละลายของบริษัทไทย์แอร์เวย์ออกมาภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ในเบื้องต้น บริษัทการบินไทยออกแถลงการณ์ว่า จะทำการปรับลดการขาดทุนโดยการยกเลิกเส้นทางการบินที่ไม่ทำกำไร โดยวอลสตรีทเจอร์นัลรายงานเพิ่มเติมว่า คาดว่าจะยกเลิก 1 ใน 10 ของเส้นทางทั้งหมดที่สายการบินได้ทำการบินอยู่ในขณะนี้ และเสริมเพิ่มรายได้ในเส้นทางการบินที่สามารถสร้างผลกำไร
“แผนฟื้นฟูนี้จะทำให้บริษัทสามารถกลับมาทำกำไรในระยะยาวอีกครั้ง และจะทำให้เป็นความภาคภูมิใจของประเทศได้” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย จรัมพร โชติกเสถียร แถลง
แต่อย่างไรก็ตาม ดีดีการบินไทย จรัมพร เผยกับวอลสตรีทเจอร์นัลว่า ในแผนการฟื้นฟูยังไม่รวมไปถึง “การเลิกจ้างพนักงาน” แต่เผยว่าทางบริษัทอาจต้องขายทรัพย์สินบางส่วนของบริษัทออกไป เช่น ตึกสำนักงาน หากสถานการณ์ตัวเลขทางบัญชียังไม่ฟื้น ส่วนในเส้นทางที่คาดว่าจะทำการยกเลิกบินนั้น ในเบื้องต้นของการแถลงข่าว จรัมพรยังไม่เปิดเผยถึงรายละเอียดว่าจะมีเส้นทางบินใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ โดยเปิดเผยเพียงว่า แผนฟื้นฟูนี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบริษัท “แผนการฟื้นฟูจะครอบคลุมไปถึงทุกแผนกของบริษัทการบินไทย” ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การเลิกจ้างพนักงานที่ถือเป็นตัวเลือกต้นๆในการลดค่าใช้จ่ายยังไม่ได้ถูกรวมไว้ เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนต่อเที่ยวบินของการบินไทย ทั้งนี้พบว่า ในเที่ยวบิน 5 ชม.ของบางเส้นทาง การบินไทยมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องอย่างน้อย 6 คน เมื่อเทียบกับสายการบินต่างชาติที่บินในเส้นทาง 12 ชม. กลับใช้จำนวนพนักงานต้อนรับจำนวนที่ต่ำกว่า และประกอบกับที่ผ่านมา ในรอบ 4 ปีล่าสุดสายการบินไทยเปิดตัวฝูงบินใหม่เข้าประจำการที่มีเครื่องบินจำนวนมากถึง 40 ลำ และยังมีกำหนดเตรียมรับมอบเครื่องบินใหม่เพิ่มอีก 22 ลำตั้งแต่ปี 2015 ไปจนถึงปี 2018
ด้านนักวิเคราะห์แห่งบัวหลวงซีคิวริตีเปิดเผยว่า เมื่อดูจากแฟนฟื้นฟูที่เสนอโดยบริษัทการบินไทย โดยเฉพาะเมื่อมองไปที่ข้อเสนอยกเลิกเส้นทางเที่ยวบินที่ขาดทุน คาดว่าจะสามารถทำให้บริษัทการบินไทยฟื้นตัวไตรมาสต่อเนื่องจากการขาดทุนได้ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า แต่กระนั้นคาดการณ์ว่าทางการบินไทยจะสามารถมีผลกอบการเป็นบวกได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อปี 2017 ไปแล้ว
เหตุการณ์ครั้งนี้คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสายการบินแห่งชาติมาเลเซีย มาเลเซียแอร์ไลน์สที่ต้องถูกรัฐบาลมาเลเซียประกาศเข้าเทกโอเวอร์ในเดือนสิงหาคม 2014 โดยคาซานาห์ แนชันแนล (Khazanah Nasional) กองทุนรัฐบาลมาเลเซียได้เข้าซื้อกิจการหลังจากบริษัทประสบปัญหาอย่างหนักหลังวิกฤต MH370 และ MH17 ซึ่งในครั้งนั้นมีการระบุถึงปัญหาการเข้าโอบอุ้มกิจการบริษัทซึ่งไม่ต่างจากปัญหาของการบินไทยมากนักคือ ปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ของสายการบินแห่งนี้ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2002 มีสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากปัญหาบินในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรและมีจำนวนพนักงานมากเกินไป และเนื่องจากมาเลเซียแอร์ไลน์สเป็นสายการบินประจำชาติ จึงข้อกำหนดให้ทางบริษัทต้องบินภายในประเทศในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรได้ ประกอบกับมีสหภาพแรงงานพนักงานที่เข้มแข็งที่ต่อต้านการปฏิรูปโครงสร้างของบริษัท ในขณะที่สายการบินคู่แข่ง เช่น แอร์เอเชียเติบโตอย่างรวดเร็ว
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000010408