ตอนที่ 10. หลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่
กำหนดการการเดินทาง อาหารเช้า ร้านเราเอมโอช ภาคเช้า นมัสการหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ อาหารเที่ยง ร้านข้าวหมูแดงสุพรรณ หลังจากนั้นเดินทางกลับกรุงเทพฯ
และแล้วการเดินทาง 2,200 กิโลเมตร 3 แผ่นดิน ไทย-พม่า-ลาว ก็มาถึงจุดสิ้นสุดลงของการเดินทางในวันสุดท้าย วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2558 ใจหายครับ สำหรับการจบของการเดินทางครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม “The show must go on” ครับ
ตอนเช้าก็ตื่นตามกำหนดการคือ 6-7-8 แต่เช้านี้แทนที่จะออกไปทานอาหารเช้าที่ร้านเราเอมโอชในตัวเมืองตามกำหนดการที่ได้วางไว้ ทางโรงแรมจัดข้าวต้มหมูสับหม้อใหญ่สมนาคุณให้กับลูกค้า ซึ่งในราคาที่พัก ไม่ได้รวมอาหารเช้าไว้ให้ ก็สะดวกดี ตักข้าวต้มร้อน ๆ ทานกันคนละชามสองชาม เชิญชมภาพครับ :
ทางโรงแรมมีข้ามต้ม ชากาแฟ ให้ทานตอนเช้า ดีครับ เป็นบริการที่คาดไม่ถึง:
สภาพโรงแรมครับ อยู่ริมถนนใหญ่ สมควรกับราคาที่พัก:
เค้าเตอร์เช็คอิน ข้าง ๆ มี ชากาแฟให้บริการ:
สภาพห้อง (แหะ แหะ เละตามเคย) ดีครับ แอร์เย็น มีน้ำอุ่นฝักบัว:
สภาพท้ายรถวันเดินทางกลับ อัดแน่นทั้งของฝาก ของไม่ฝาก (ทานเอง):
อิ่มแล้วก็ออกเดินทางจากตัวเมืองชัยภูมิ ดูเข็มไมล์ อยู่ที่ 1,846 กิโลเมตร โดยใช้ถนนสาย 201 มุ่งตรงไปอำเภอจัตุรัส อำเภอด่าขุนทด ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ทางขวามือมีป้ายบอกทางไปวัดบ้านไร่ เลี้ยวเข้าไป ถนนเป็นทางเหมือนเข้าหมู่บ้าน แล้วกลับกลายเป็นวิ่งอยู่กลางทุ่งนา วิ่งไปสักพัก พบป้ายบอกทางไปวัดบ้านไร่อีกไม่ไกล ขับไปเรื่อย ๆ ก็มาถึงทางเข้าวัดบ้านไร่ทางขวามือ จอดรถเรียบร้อย เดินเข้าไปในวัด ขึ้นไปไหว้พระในโบสถ์ ออกจากโบสถ์ เห็นอาคารที่กำลังก่อสร้างเมื่อครั้งที่ได้มาเมื่อปีก่อน สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นวิหารสวยงามมาก เชิญชมภาพครับ :
วิหารที่สร้างเสร็จแล้ว:
ก็เดินไปตามทางจนถึงทางสะพานข้ามไปวิหารแห่งนั้น ในบริเวณนั้น มีเต็นท์ตั้งอยู่ทางด้านขวา เชิญชวนให้ลูกค้า เอ้ย ไม่ใช่ พุทธศาสนิกชน ที่สนใจจะเข้าไปในวิหารให้มารวมกลุ่มกัน (เขาจัดให้เข้าไปเป็นรอบ ๆ) พอคนมากพอ เขาจะสาธยายถึงความเป็นมาของวิหารแห่งนี้ และบอกวิธีการทำบุญแบบใหม่โดยใช้การ์ดแตะที่ที่ต้องการจะทำบุญ จากนั้น ก็พาทั้งหมดเดินข้ามสะพานไปส่งที่หน้าวิหาร แล้วจะมีมัคคุเทศก์ อีกคนรับช่วงต่อเพื่ออธิบายความเป็นมาของรูปปั้นที่อยู่หน้าประตู เสร็จแล้วก็เดินวนทางซ้ายตามเข็มนาฬิกา พาไปส่งยังมัคคุเทศก์ คนต่อไปเพื่อฟังคำบรรยาย ทำอย่างนี้จนเข้าไปในวิหาร และพาไปถึงชั้นดาดฟ้า และกลับลงมาใต้ดิน วิหารนี้สร้างได้วิจิตรมากทั้งด้านนอกและด้านใน แต่ละรูปปั้น แต่ละจิตรกรรมมีความหมายทางพุทธธรรมทั้งสิ้น ยากที่จะอธิบาย เชิญชมภาพครับ :
ก่อนเข้าชมวิหาร แวะคำนับสุขาก่อน ต้องบอกว่า ว้าว ว้าว ว้าว เพราะประตูสุขาเป็นประตูเปิดปิดอัตโนมัติ ในห้องสุขาสวย สะอาด แอร์เย็นฉ่ำน่านอน สุขภัณฑ์เป็นแบบสมัยใหม่ น่ายืนคำนับจริง ๆ:
ประตูเปิดปิดอัตโนมัติ:
เจ้าหน้าที่ให้มารวมกลุ่มกันเพื่อเดินข้ามสะพานไปที่วิหารพร้อมกัน:
ต่อจากนี้ ขอเชิญชมภาพรูปปั้นและจิตรกรรมต่าง ๆ ด้านนอกวิหารโดยไม่มีคำบรรยาย ถ้าสนใจอยากทราบรายละเอียด ขอเชิญไปวัดบ้านไร่เองนะครับ (ขอบอกตามตรงว่าจำไม่ได้ซักองค์):
ห้องสุขาด้านหลังวิหาร:
ใครไม่รู้ว่า ห้องสุขาชายหญิง เลี้ยวไปทางไหน ก็ให้ดูรูปปั้น:
ด้านในวิหาร:
เพดานวิหาร:
เครดิตภาพจากกล้อง ปัจจัย 6+ ของแม่บ้าน:
ชั้นบนของวิหาร:
ชอบคำพูดนี้:
ดาดฟ้าวิหารมีรูปปั้นหลวงพ่อคูณ:
วิวจากดาดฟ้าวิหาร:
ชั้นใต้ดินวิหารมีต้นไม้ใหญ่:
ออกจากวิหาร เดินตรงไปจะมีศาลาเล็ก ๆ มีเสียงคล้ายเป็นน้ำพุ มีรูปปั้นหลวงพ่อนั่งยอง ๆ ด้านบนและมีสัตว์ประจำราศีต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ พ่นน้ำออกมา ก็เอากะลาที่ตั้งอยู่แถวนั้น เดินหาราศีตัวเอง รองน้ำจากสัตว์ราศีนั้นมาโชลมหน้าและลูบหัวเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง:
ก็ขออนุญาติช่วยทางวัดประชาสัมพันธ์ (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ ทำด้วยจิตศรัทธา) ครับว่า ใครที่เคยแวะเวียนไปวัดบ้านไร่ เห็นวิหารรูปช้างกำลังก่อสร้างอยู่ ตอนนี้สร้างเสร็จแล้ว สวยงามวิจิตรมากทั้งภายในและภายนอก ส่วนใครที่ไม่เคยไป ขอเชิญชวนครับ (ใครที่มีเพื่อนชาวต่างชาติก็น่าจะพาไปชมนะครับ ซึบซับความยิ่งใหญ่ ตระการตา และความรู้เรื่องโลกแห่งธรรมะ) ไม่ผิดหวังแน่นอน
ออกจากวัดบ้านไร่ กลับไปถนนสาย 201 วิ่งตรงไปอำเภอสีคิ้ว ผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง เข้าปากช่อง เพื่อไปทานอาหารเที่ยงร้านหมูแดงสุพรรณ ร้านนี้ มีหมูกรอบที่สุดยอดมาก เนื้อนุ่มหนังกรอบ ทานกับข้าวหมูแดงที่มีน้ำราดกลมกล่อม แถมมีต้มเลือดหมูใส่จิงจูฉ่าย น้ำแกงร้อน ๆ เชง ๆ เชิญชมภาพครับ :
พระเอกของงาน หมูกรอบล้วน:
อิ่มกันแล้ว เรียกคิดตัง ทั้งหมด 314 บาท จบสถานที่ท่องเที่ยวในโปรแกรมทั้งหมดแล้ว ก็ออกเดินทางจากปากช่อง วิ่งกลับกรุงเทพฯ ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ
การเดินทางด้วยระยะทาง 2,200 กิโลเมตร โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 10 วัน 9 คืน ได้สิ้นสุดลงแล้ว การเดินทางผ่านหลายจังหวัด จากภาคกลาง เริ่มต้นจากจังหวัดกรุงศรีอยุธยา ไปสุดประจิมที่ริมเมย ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามไปฝั่งพม่า แล่นไปทางตะวันออกโดยใช้ส่วนหนึ่งของถนนหลวงสาย 12 (ซึ่งกำลังจะเป็นถนนสายเศรษฐกิจสำคัญในอนาคต) ถึงสุดชายแดนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามไปฝั่งลาวที่อำเภอท่าลี่ และสุดเขตที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย รวม 3 แผ่นดิน (ในกำหนดการเดิม มีแค่ 2 แผ่นดินเอง) ได้มีโอกาสท่องเที่ยวหลายสถานที่ ไหว้พระหลายวัด (ความสมบูรณ์ของทริปนี้ คือ ได้ไหว้พระ 3 แผ่นดิน ตามหัวเรื่อง) ได้ทานอาหารที่ได้ถูกแนะนำโดยรายการชวนชิมชื่อดัง ได้พักโรงแรมที่ได้จองไว้กับ Agoda และจองเองซึ่งส่วนใหญ่ไม่ผิดหวัง
สุดท้ายนี้ ขอสวัสดีมีชัยมีแด่ผู้อ่านทุก ๆ ท่านครับ นอนหลับฝันดี
คราวหน้า เป็นตอนบทสรุปสุดท้ายของการเดินทาง 2,200 กิโลเมตร 3 แผ่นดิน ไทย-พม่า-ลาว เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงให้กับทุกท่านครับ สวัสดี
[CR] เล่าเรื่องการเดินทาง 2,200 กิโลเมตร 3 แผ่นดิน ไทย-พม่า-ลาว ตอนที่ 10. การเดินทางวันที่ 10..หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
กำหนดการการเดินทาง อาหารเช้า ร้านเราเอมโอช ภาคเช้า นมัสการหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ อาหารเที่ยง ร้านข้าวหมูแดงสุพรรณ หลังจากนั้นเดินทางกลับกรุงเทพฯ
และแล้วการเดินทาง 2,200 กิโลเมตร 3 แผ่นดิน ไทย-พม่า-ลาว ก็มาถึงจุดสิ้นสุดลงของการเดินทางในวันสุดท้าย วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2558 ใจหายครับ สำหรับการจบของการเดินทางครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม “The show must go on” ครับ
ตอนเช้าก็ตื่นตามกำหนดการคือ 6-7-8 แต่เช้านี้แทนที่จะออกไปทานอาหารเช้าที่ร้านเราเอมโอชในตัวเมืองตามกำหนดการที่ได้วางไว้ ทางโรงแรมจัดข้าวต้มหมูสับหม้อใหญ่สมนาคุณให้กับลูกค้า ซึ่งในราคาที่พัก ไม่ได้รวมอาหารเช้าไว้ให้ ก็สะดวกดี ตักข้าวต้มร้อน ๆ ทานกันคนละชามสองชาม เชิญชมภาพครับ :
ทางโรงแรมมีข้ามต้ม ชากาแฟ ให้ทานตอนเช้า ดีครับ เป็นบริการที่คาดไม่ถึง:
สภาพโรงแรมครับ อยู่ริมถนนใหญ่ สมควรกับราคาที่พัก:
เค้าเตอร์เช็คอิน ข้าง ๆ มี ชากาแฟให้บริการ:
สภาพห้อง (แหะ แหะ เละตามเคย) ดีครับ แอร์เย็น มีน้ำอุ่นฝักบัว:
สภาพท้ายรถวันเดินทางกลับ อัดแน่นทั้งของฝาก ของไม่ฝาก (ทานเอง):
อิ่มแล้วก็ออกเดินทางจากตัวเมืองชัยภูมิ ดูเข็มไมล์ อยู่ที่ 1,846 กิโลเมตร โดยใช้ถนนสาย 201 มุ่งตรงไปอำเภอจัตุรัส อำเภอด่าขุนทด ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ทางขวามือมีป้ายบอกทางไปวัดบ้านไร่ เลี้ยวเข้าไป ถนนเป็นทางเหมือนเข้าหมู่บ้าน แล้วกลับกลายเป็นวิ่งอยู่กลางทุ่งนา วิ่งไปสักพัก พบป้ายบอกทางไปวัดบ้านไร่อีกไม่ไกล ขับไปเรื่อย ๆ ก็มาถึงทางเข้าวัดบ้านไร่ทางขวามือ จอดรถเรียบร้อย เดินเข้าไปในวัด ขึ้นไปไหว้พระในโบสถ์ ออกจากโบสถ์ เห็นอาคารที่กำลังก่อสร้างเมื่อครั้งที่ได้มาเมื่อปีก่อน สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นวิหารสวยงามมาก เชิญชมภาพครับ :
วิหารที่สร้างเสร็จแล้ว:
ก็เดินไปตามทางจนถึงทางสะพานข้ามไปวิหารแห่งนั้น ในบริเวณนั้น มีเต็นท์ตั้งอยู่ทางด้านขวา เชิญชวนให้ลูกค้า เอ้ย ไม่ใช่ พุทธศาสนิกชน ที่สนใจจะเข้าไปในวิหารให้มารวมกลุ่มกัน (เขาจัดให้เข้าไปเป็นรอบ ๆ) พอคนมากพอ เขาจะสาธยายถึงความเป็นมาของวิหารแห่งนี้ และบอกวิธีการทำบุญแบบใหม่โดยใช้การ์ดแตะที่ที่ต้องการจะทำบุญ จากนั้น ก็พาทั้งหมดเดินข้ามสะพานไปส่งที่หน้าวิหาร แล้วจะมีมัคคุเทศก์ อีกคนรับช่วงต่อเพื่ออธิบายความเป็นมาของรูปปั้นที่อยู่หน้าประตู เสร็จแล้วก็เดินวนทางซ้ายตามเข็มนาฬิกา พาไปส่งยังมัคคุเทศก์ คนต่อไปเพื่อฟังคำบรรยาย ทำอย่างนี้จนเข้าไปในวิหาร และพาไปถึงชั้นดาดฟ้า และกลับลงมาใต้ดิน วิหารนี้สร้างได้วิจิตรมากทั้งด้านนอกและด้านใน แต่ละรูปปั้น แต่ละจิตรกรรมมีความหมายทางพุทธธรรมทั้งสิ้น ยากที่จะอธิบาย เชิญชมภาพครับ :
ก่อนเข้าชมวิหาร แวะคำนับสุขาก่อน ต้องบอกว่า ว้าว ว้าว ว้าว เพราะประตูสุขาเป็นประตูเปิดปิดอัตโนมัติ ในห้องสุขาสวย สะอาด แอร์เย็นฉ่ำน่านอน สุขภัณฑ์เป็นแบบสมัยใหม่ น่ายืนคำนับจริง ๆ:
ประตูเปิดปิดอัตโนมัติ:
เจ้าหน้าที่ให้มารวมกลุ่มกันเพื่อเดินข้ามสะพานไปที่วิหารพร้อมกัน:
ต่อจากนี้ ขอเชิญชมภาพรูปปั้นและจิตรกรรมต่าง ๆ ด้านนอกวิหารโดยไม่มีคำบรรยาย ถ้าสนใจอยากทราบรายละเอียด ขอเชิญไปวัดบ้านไร่เองนะครับ (ขอบอกตามตรงว่าจำไม่ได้ซักองค์):
ห้องสุขาด้านหลังวิหาร:
ใครไม่รู้ว่า ห้องสุขาชายหญิง เลี้ยวไปทางไหน ก็ให้ดูรูปปั้น:
ด้านในวิหาร:
เพดานวิหาร:
เครดิตภาพจากกล้อง ปัจจัย 6+ ของแม่บ้าน:
ชั้นบนของวิหาร:
ชอบคำพูดนี้:
ดาดฟ้าวิหารมีรูปปั้นหลวงพ่อคูณ:
วิวจากดาดฟ้าวิหาร:
ชั้นใต้ดินวิหารมีต้นไม้ใหญ่:
ออกจากวิหาร เดินตรงไปจะมีศาลาเล็ก ๆ มีเสียงคล้ายเป็นน้ำพุ มีรูปปั้นหลวงพ่อนั่งยอง ๆ ด้านบนและมีสัตว์ประจำราศีต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ พ่นน้ำออกมา ก็เอากะลาที่ตั้งอยู่แถวนั้น เดินหาราศีตัวเอง รองน้ำจากสัตว์ราศีนั้นมาโชลมหน้าและลูบหัวเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง:
ก็ขออนุญาติช่วยทางวัดประชาสัมพันธ์ (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ ทำด้วยจิตศรัทธา) ครับว่า ใครที่เคยแวะเวียนไปวัดบ้านไร่ เห็นวิหารรูปช้างกำลังก่อสร้างอยู่ ตอนนี้สร้างเสร็จแล้ว สวยงามวิจิตรมากทั้งภายในและภายนอก ส่วนใครที่ไม่เคยไป ขอเชิญชวนครับ (ใครที่มีเพื่อนชาวต่างชาติก็น่าจะพาไปชมนะครับ ซึบซับความยิ่งใหญ่ ตระการตา และความรู้เรื่องโลกแห่งธรรมะ) ไม่ผิดหวังแน่นอน
ออกจากวัดบ้านไร่ กลับไปถนนสาย 201 วิ่งตรงไปอำเภอสีคิ้ว ผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง เข้าปากช่อง เพื่อไปทานอาหารเที่ยงร้านหมูแดงสุพรรณ ร้านนี้ มีหมูกรอบที่สุดยอดมาก เนื้อนุ่มหนังกรอบ ทานกับข้าวหมูแดงที่มีน้ำราดกลมกล่อม แถมมีต้มเลือดหมูใส่จิงจูฉ่าย น้ำแกงร้อน ๆ เชง ๆ เชิญชมภาพครับ :
พระเอกของงาน หมูกรอบล้วน:
อิ่มกันแล้ว เรียกคิดตัง ทั้งหมด 314 บาท จบสถานที่ท่องเที่ยวในโปรแกรมทั้งหมดแล้ว ก็ออกเดินทางจากปากช่อง วิ่งกลับกรุงเทพฯ ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ
การเดินทางด้วยระยะทาง 2,200 กิโลเมตร โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 10 วัน 9 คืน ได้สิ้นสุดลงแล้ว การเดินทางผ่านหลายจังหวัด จากภาคกลาง เริ่มต้นจากจังหวัดกรุงศรีอยุธยา ไปสุดประจิมที่ริมเมย ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามไปฝั่งพม่า แล่นไปทางตะวันออกโดยใช้ส่วนหนึ่งของถนนหลวงสาย 12 (ซึ่งกำลังจะเป็นถนนสายเศรษฐกิจสำคัญในอนาคต) ถึงสุดชายแดนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามไปฝั่งลาวที่อำเภอท่าลี่ และสุดเขตที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย รวม 3 แผ่นดิน (ในกำหนดการเดิม มีแค่ 2 แผ่นดินเอง) ได้มีโอกาสท่องเที่ยวหลายสถานที่ ไหว้พระหลายวัด (ความสมบูรณ์ของทริปนี้ คือ ได้ไหว้พระ 3 แผ่นดิน ตามหัวเรื่อง) ได้ทานอาหารที่ได้ถูกแนะนำโดยรายการชวนชิมชื่อดัง ได้พักโรงแรมที่ได้จองไว้กับ Agoda และจองเองซึ่งส่วนใหญ่ไม่ผิดหวัง
สุดท้ายนี้ ขอสวัสดีมีชัยมีแด่ผู้อ่านทุก ๆ ท่านครับ นอนหลับฝันดี
คราวหน้า เป็นตอนบทสรุปสุดท้ายของการเดินทาง 2,200 กิโลเมตร 3 แผ่นดิน ไทย-พม่า-ลาว เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงให้กับทุกท่านครับ สวัสดี