ทำไมรัตนโกสินทร์(ช่วง ร.๑-ร.๕)ถึงถูกเรียกเป็นเพียง"อาณาจักร"แทนที่จะเป็น"จักรวรรดิ"ครับ?

สืบเนื่องจากคำตอบในกระทู้ http://ppantip.com/topic/33145889

สงสัยว่า รัตนโกสินทร์หรือสยามช่วง ร.๑ ถึง ร.๕ ที่เราปกครองอาณาจักรอื่นๆทั้งล้านนา มลายู ล้านช้าง และเขมรส่วนใน แต่ทำไมเราถึงถูกเรียกเป็นเพียง"อาณาจักร"แทนที่จะเป็น"จักรวรรดิ"ครับ? ยุคนั้นเรายังขาดปัจจัยอะไรที่จะทำให้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิครับ?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ความจริงจะเรียกก็เรียกได้ครับ     เพียงแต่เราเคยชินกับราชอาณาจักร - Kingdom แบบปัจจุบันมานาน     ทำให้เราไม่ค่อยมีใครเรียกจักรวรรดิ - Empire



ในการสำมะโนครัวประชากรตลอดพระราชอาณาจักร ร.ศ. ๑๒๒  รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ว่า

.... ลักษณะการปกครองแบบเดิม  นิยมให้เป็นอย่างประเทศราชาธิราช "Empire" อันเป็นเมืองคนต่างชาติต่างภาษาเป็นเมืองขึ้นอยู๋ในพระราชอาณาเขต  จึงถือว่าเมืองชายพระราชอาณาเขต ๓ มณฑลนั้นเป็นเมืองลาว  และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติไทยว่า "ลาว"  แต่การปกครองอย่างนั้นพ้นเวลาอันสมควรแล้ว  จึงแก้ลักษณะการปกครองเป็นอย่างพระราชอาณาเขต "Kingdom" ประเทศไทยรวมกัน  เลิกประเพณีที่มีเมืองประเทศราชถวายดอกไม้ทองเงิน และให้เปลี่ยนนามมณฑลที่เรียกว่า "ลาว" เป็นชื่อตามทิศที่ตั้งมณฑลทั้งหมด ....



จึงไม่เป็นที่ถกเถียงแล้วว่าสยามในอดีตมีฐานะเป็นจักรวรรดิหรือไม่     เพราะยืนยันได้แล้วว่าสยามในอดีตมีฐานะเป็นจักรวรรดิจริง     แต่ด้วยภัยอาณานิคมทำให้สยามต้องรวบอำนาจทั้งหมดและเปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรที่มีกษัตริย์เพียงองค์เดียวแทน

ส่วนที่ถามว่าจะเรียกกษัตริย์ไทยในรสมัยก่อนว่าจักรพรรดิได้รึไม่      ตามปกติทั่วไปจะไม่ได้เรียกแบบนั้น   แต่โดยลักษณะแล้วถ้าจะเรียกก็ไม่ผิดแต่ประการใด     

ทว่าที่จะเรียกนั้นต้องดูเป็นช่วงไป    ถ้าเป็นสมัยอยุธยาที่มีประเทศราชบ้าง   หลุดไปบ้าง   อำนาจหลักๆมีเพียงในอาณาจักรอยุธยา   อย่างนี้ก็ไม่น่าที่จะนับว่าอยุธยาช่วงนั้นเป็นจักรวรรดิ      พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาช่วงนั้นก็ไม่น่าที่จะนับเป็นจักรพรรดิ      แต่หากเป็นช่วงที่อยุธยายิ่งใหญ่มีประเทศราชมาขึ้นมากมายอย่างสมัยพระนเรศวร     จะเรียกว่าจักรวรรดิและจักรพรรดิก็ไม่น่าผิดอะไร

ส่วนสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-5 นั้นไม่มีปัญหาแต่ประการใด    เพราะคุณสมบัติเข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิสมบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่