CK “ช.การช่าง” จัดทัพบริษัทลูกครั้งใหญ่ ควบรวม”บีอีซีแอล-บีเอ็มซีแอล” ตั้งบริษัทใหม่ ถือหุ้นใหญ่ 40%
หวังรองรับโครงการพื้นฐานต่อยอดธุรกิจ เสริมศักยภาพด้านการเงิน เพิ่มโอกาสการลงทุนใน-นอกประเทศ เผยแผนควบรวมเสร็จส.ค.นี้ พร้อมจ่ายปันผลทันที ขณะที่บริษัทใหม่พร้อมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เดือนก.ย.นี้
กลุ่มช.การช่าง ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มครั้งใหญ่ โดยคณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL มีมติเห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่างบีอีซีแอล และบีเอ็มซีแอล โดยเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ให้มีมติควบรวมบริษัท
ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลยุทธ์ผสานความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและต่อยอดธุรกิจ พร้อมช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย
กลุ่มบริษัทช.การช่าง แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา บริษัทและบริษัทลูกมีการปรับโครงสร้างภายในเครือทั้งหมด โดย ปัจจุบันช.การช่างถือหุ้นอยู่ในบีอีซีแอล 15.15% และถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 25.19% ขณะที่บีอีซีแอล ถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 10%
ควบรวม2บริษัทลูกตั้งบริษัทใหม่
ดังนั้นเพื่อเป็นการขจัดการถือหุ้นซ้ำซ้อน บริษัทช.การช่าง จะเข้าซื้อหุ้นบีเอ็มซีแอล ในส่วนที่บีอีซีแอลถือทั้งหมด โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.79 บาท หลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว จะทำให้ช.การช่างถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลเพิ่มเป็น 35.19%
ส่วนการควบรวมกิจการระหว่างบีอีซีและบีเอ็มซีแอลนั้น จะเป็นการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา จากนั้นจะเป็นการแลกหุ้นของบริษัทใหม่ โดย 1 หุ้น บีอีซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 8.065538 หุ้น และ 1 หุ้นบีเอ็มซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 0.42051 หุ้น ดังนั้นการแลกหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 15,285 หุ้น หรือ 15,285 ล้านบาทพาร์หุ้นละ 1 บาท สำหรับบริษัทตั้งใหม่นี้ จะถูกถือหุ้นโดยช.การช่างประมาณ 40% และที่เหลืออีก 60% จะเป็นหุ้นสภาพคล่อง หรือฟรีโฟลท ซึ่งถือโดยนักลงทุนทั่วไป
ขายหุ้นไซยะบุรีให้ซีเคพาวเวอร์
นอกจากนี้ ช.การช่าง ยังขายหุ้นโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี ให้กับบริษัทซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP ทั้งหมดที่ถืออยู่ 30% มูลค่า 4.34 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุน ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 0.34 หุ้นใหม่ ราคา 3 บาท ซึ่งจะทำให้ ซีเค พาวเวอร์ ได้รับเงินจากเพิ่มทุน 5.6 พันล้านบาท พร้อมแจกวอร์แรนท์สำหรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนท์ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน จะทำการแตกพาร์จาก 5 บาท เป็น 1 บาทก่อน
วานนี้ (22 ม.ค.) ราคาหุ้น ช.การช่าง (CK) ปิดตลาดที่ 28.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 6.54% มูลค่าซื้อขาย 4,072.09 ล้านบาท ขณะหุ้น บีอีซีแอล (BECL) ปิดตลาดที่ 42 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ ลดลง 1.18% มูลค่าซื้อขาย 800.37 ล้านบาท และบริษัทซีเค พาวเวอร์ ปิดตลาดที่ 18.60 บาท ลดลง 4.62 % มูลค่าซื้อขาย 889.13 ล้านบาท
ควบรวมหวังเตรียมรองรับแข่งขัน
ด้าน นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. แผนการเห็นชอบในการควบรวมกิจการ กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งการควบรวมดังกล่าว จะส่งผลให้ บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ศักยภาพในการเติบโต
“การควบรวมทั้ง 2 บริษัท จะช่วยให้ศักยภาพทั้ง 2 บริษัทเติบโตขึ้น ซึ่งบีอีซีแอล มีความพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางการเงินแข็งแกร่งอยู่แล้ว และบีเอ็มซีแอล มีอนาคตการเติบโตที่ดี จากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นการนำเอาความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งในอนาคตหากใครที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ หรือใครที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ต้องใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทแน่นอน”นายสมบัติ กล่าว
บีเอ็มซีแอลลดทุนล้างขาดทุนสะสม
เขากล่าวต่อว่า สิ่งที่บีเอ็มซีแอลจะได้ คือ เดิมทีผู้ถือหุ้นบีเอ็มซีแอล มักจะมีคำถามว่า บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันบริษัทมีขาดทุนสะสมอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทจะมีผลกำไรจากการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปี 2559 และต้องทยอยล้างขาดทุนสะสมก่อน ถึงจะปันผลได้
อ่านข่าวต่อ
http://setlnw.com/
ตลาดหุ้นสั่นสะเทือน...!!!! CK “ช.การช่าง” จัดทัพรับเมกะโปรเจค
CK “ช.การช่าง” จัดทัพบริษัทลูกครั้งใหญ่ ควบรวม”บีอีซีแอล-บีเอ็มซีแอล” ตั้งบริษัทใหม่ ถือหุ้นใหญ่ 40%
หวังรองรับโครงการพื้นฐานต่อยอดธุรกิจ เสริมศักยภาพด้านการเงิน เพิ่มโอกาสการลงทุนใน-นอกประเทศ เผยแผนควบรวมเสร็จส.ค.นี้ พร้อมจ่ายปันผลทันที ขณะที่บริษัทใหม่พร้อมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เดือนก.ย.นี้
กลุ่มช.การช่าง ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มครั้งใหญ่ โดยคณะกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL และ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL มีมติเห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่างบีอีซีแอล และบีเอ็มซีแอล โดยเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ให้มีมติควบรวมบริษัท
ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลยุทธ์ผสานความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ จากการเพิ่มโอกาสในการขยายและต่อยอดธุรกิจ พร้อมช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ และเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในอนาคตอีกด้วย
กลุ่มบริษัทช.การช่าง แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา บริษัทและบริษัทลูกมีการปรับโครงสร้างภายในเครือทั้งหมด โดย ปัจจุบันช.การช่างถือหุ้นอยู่ในบีอีซีแอล 15.15% และถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 25.19% ขณะที่บีอีซีแอล ถือหุ้นอยู่ในบีเอ็มซีแอล 10%
ควบรวม2บริษัทลูกตั้งบริษัทใหม่
ดังนั้นเพื่อเป็นการขจัดการถือหุ้นซ้ำซ้อน บริษัทช.การช่าง จะเข้าซื้อหุ้นบีเอ็มซีแอล ในส่วนที่บีอีซีแอลถือทั้งหมด โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.79 บาท หลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว จะทำให้ช.การช่างถือหุ้นในบีเอ็มซีแอลเพิ่มเป็น 35.19%
ส่วนการควบรวมกิจการระหว่างบีอีซีและบีเอ็มซีแอลนั้น จะเป็นการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา จากนั้นจะเป็นการแลกหุ้นของบริษัทใหม่ โดย 1 หุ้น บีอีซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 8.065538 หุ้น และ 1 หุ้นบีเอ็มซีแอล แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 0.42051 หุ้น ดังนั้นการแลกหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 15,285 หุ้น หรือ 15,285 ล้านบาทพาร์หุ้นละ 1 บาท สำหรับบริษัทตั้งใหม่นี้ จะถูกถือหุ้นโดยช.การช่างประมาณ 40% และที่เหลืออีก 60% จะเป็นหุ้นสภาพคล่อง หรือฟรีโฟลท ซึ่งถือโดยนักลงทุนทั่วไป
ขายหุ้นไซยะบุรีให้ซีเคพาวเวอร์
นอกจากนี้ ช.การช่าง ยังขายหุ้นโรงไฟฟ้า ไซยะบุรี ให้กับบริษัทซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP ทั้งหมดที่ถืออยู่ 30% มูลค่า 4.34 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุน ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 0.34 หุ้นใหม่ ราคา 3 บาท ซึ่งจะทำให้ ซีเค พาวเวอร์ ได้รับเงินจากเพิ่มทุน 5.6 พันล้านบาท พร้อมแจกวอร์แรนท์สำหรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในอัตราส่วน 1 หุ้นเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนท์ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน จะทำการแตกพาร์จาก 5 บาท เป็น 1 บาทก่อน
วานนี้ (22 ม.ค.) ราคาหุ้น ช.การช่าง (CK) ปิดตลาดที่ 28.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 6.54% มูลค่าซื้อขาย 4,072.09 ล้านบาท ขณะหุ้น บีอีซีแอล (BECL) ปิดตลาดที่ 42 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ ลดลง 1.18% มูลค่าซื้อขาย 800.37 ล้านบาท และบริษัทซีเค พาวเวอร์ ปิดตลาดที่ 18.60 บาท ลดลง 4.62 % มูลค่าซื้อขาย 889.13 ล้านบาท
ควบรวมหวังเตรียมรองรับแข่งขัน
ด้าน นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. แผนการเห็นชอบในการควบรวมกิจการ กับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งการควบรวมดังกล่าว จะส่งผลให้ บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ศักยภาพในการเติบโต
“การควบรวมทั้ง 2 บริษัท จะช่วยให้ศักยภาพทั้ง 2 บริษัทเติบโตขึ้น ซึ่งบีอีซีแอล มีความพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางการเงินแข็งแกร่งอยู่แล้ว และบีเอ็มซีแอล มีอนาคตการเติบโตที่ดี จากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นการนำเอาความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งในอนาคตหากใครที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ หรือใครที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ต้องใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทแน่นอน”นายสมบัติ กล่าว
บีเอ็มซีแอลลดทุนล้างขาดทุนสะสม
เขากล่าวต่อว่า สิ่งที่บีเอ็มซีแอลจะได้ คือ เดิมทีผู้ถือหุ้นบีเอ็มซีแอล มักจะมีคำถามว่า บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันบริษัทมีขาดทุนสะสมอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทจะมีผลกำไรจากการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปี 2559 และต้องทยอยล้างขาดทุนสะสมก่อน ถึงจะปันผลได้
อ่านข่าวต่อ http://setlnw.com/