จับตาเทรนด์M&Aร้อนแรงไม่เลิก ชี้ญี่ปุ่นจ้องฮุบธุรกิจไทยบุกเออีซี
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400260290
โบรกฯชี้กระแส M&A คึกคักต่อเนื่อง จับตา "ญี่ปุ่น-สิงคโปร์" มาแรง สนใจเข้าฮุบธุรกิจ "อาหาร-ยา-ค้าปลีก-ขนส่ง" ขยายกิจการแบบก้าวกระโดดใช้เป็นฐานต่อยอดตลาดเออีซี "ธนชาต" ชี้การเมืองอึมครึม สถานการณ์ไม่แน่นอนหนุนปิดดีลง่ายขึ้น ฟาก ก.ล.ต.เผยตัวเลขควบรวมกิจการปี"56 เกิดดีลขนาดยักษ์มูลค่ารวม 2.3 แสนล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2554-2556) กระแสการควบรวมกิจการ และการเข้าซื้อหุ้นเพื่อครอบงำกิจการ (Mergers & Acquisitions) ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รวบรวมข้อมูลการเข้าครอบงำกิจการในหัวข้อ "การทำคำเสนอซื้อ" (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) พบว่าในปี 2554 บริษัทที่ถูกเสนอซื้อ 22 บริษัท รวมเป็นมูลค่าหุ้นที่เกิดรายการซื้อขายจริง 3.5 หมื่นล้านบาท
ปี 2555 จำนวน 15 บริษัท มูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.3 หมื่นล้านบาท ปี 2556 จำนวน 11 บริษัท มูลค่ารวม 2.3 แสนล้านบาท และในไตรมาส 1/57 มีบริษัทที่ถูกเสนอซื้อ 4 บริษัท มูลค่า 669 ล้านบาท นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า การควบรวมกิจการมักจะเกิดขึ้นตามจังหวะที่เหมาะสม บางดีลอาจต้องใช้เวลาในการเจรจาค่อนข้างนาน ดังนั้นตัวเลขสถิติของ ก.ล.ต. ในบางปีที่มีจำนวนดีลหรือมูลค่าน้อย ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ชี้ว่ากระแสความคึกคักของดีลมีน้อย เพียงแต่อาจจะอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปที่ลงตัวก็ได้
"เรื่องการเทกโอเวอร์ ควบรวมกิจการ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่หากเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ดีในการเสริมศักยภาพธุรกิจ ซึ่งในส่วนของ ก.ล.ต.ก็จะเข้าไปดูแลผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อว่า ได้รับข้อเสนอที่เป็นธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาหุ้นที่เสนอซื้อ" นายธวัชชัยกล่าว
ชี้ญี่ปุ่น-สิงคโปร์เล็งฮุบธุรกิจไทย
นางนลินี งามเศรษฐมาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (AIRA) กล่าวว่า ขณะนี้กระแสความต้องการซื้อและควบรวมกิจการยังมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการทำดีลเช่นกัน โดยพบว่าความสนใจที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ที่สนใจเข้ามาซื้อธุรกิจของไทยเพื่อหวังเข้ามาทำธุรกิจโดยตรง รวมถึงใช้เป็นสะพานในการต่อยอดธุรกิจ เนื่องจากมองเห็นโอกาสว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเขตการค้าเสรีอาเซียน (เออีซี)
ทั้งนี้พบว่าธุรกิจที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้ามาซื้อในประเทศไทย ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจยา ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจกระดาษ ฯลฯ ส่วนประเทศสิงคโปร์ พบว่าสนใจเข้ามาซื้อกิจการประเภทโรงงาน ซึ่งไม่ได้เน้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่สนใจเข้าซื้อธุรกิจในพม่า และเวียดนามด้วย ซึ่งถือเป็นแนวโน้มการขยายธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างคึกคัก
"เรามีบริษัทไอร่า อินเตอร์เนชั่นแนล แอดไวเซอรี่ (สิงคโปร์) ทำหน้าที่รับดีลที่ปรึกษาทางการเงินการควบรวม การซื้อขายกิจการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ขอยืนยันว่าตอนนี้ญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ยังสนใจเข้ามาลงทุนซื้อกิจการในบ้านเรา เพียงแต่อาจจะไม่ใช่หมวดอุตสาหกรรมหลักด้านยานยนต์ที่เรามีความโดดเด่น นักลงทุนต่างชาติเหล่านี้ต้องการมาลงทุนธุรกิจขนาดรองลงมาที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีมากกว่า" นางนลินีกล่าว
การเมืองกระตุ้นดีลควบรวมคึกคัก
นางสาวสุวภา เจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนชาต กล่าวว่า แม้ขณะนี้การเมืองในประเทศไทยยังไม่สามารถหาบทสรุปได้ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำดีล M&A และควบรวมกิจการ ตรงกันข้ามกลับเป็นโอกาสที่ดีมากกว่า เนื่องจากในช่วงที่ภาวะตลาดมีความไม่แน่นอนนี้ ทำให้การตกลงราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายกิจการเกิดได้ง่ายขึ้น
"ในภาวะที่เศรษฐกิจร้อนแรง ดีลควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นยาก เพราะฝั่งผู้ขายอาจจะไม่ยินดีนัก เพราะยังมองเห็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจต้องการราคา ขณะที่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ฝั่งผู้ซื้อก็อาจจะยังไม่โอเคนัก ดังนั้นช่วงการเมืองอึมครึมที่มีความไม่แน่นอนแบบนี้ โอกาสที่จะเกิดดีลก็จะง่ายกว่า" นางสาวสุวภากล่าว
สำหรับปัจจุบันมีบริษัทที่ให้ความสนใจมาติดต่อเพื่อหารือทำดีลลักษณะควบรวมกิจการประมาณ 10 ดีล ซึ่งมีทั้งการซื้อกิจการโดยตรง และความสนใจของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาซื้อหุ้นของ บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การควบรวมกิจการในปี 2554-2555 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน คือเป็นการควบรวมระหว่างกิจการที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และสร้างความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจพื้นฐานให้มากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกิดจาก บจ.ในหมวดอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง อาทิ บจ.ในกลุ่ม SET50 ได้แก่ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่เหลือเป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม Non-SET 100 ได้แก่ บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (AS) บมจ.เอสเอ็มซี พาวเวอร์ (SMC) และ บมจ.กรุ๊ปลีส (GL) เป็นต้น
และในปี 2556 ได้เกิดดีลใหญ่แห่งปีที่เป็นที่กล่าวขวัญอย่างมาก คือ บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ประกอบธุรกิจร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ซื้อ "แม็คโคร" ด้วยเม็ดเงินสูงถึง 1.88 แสนล้านบาท
ขณะที่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ก็ได้ใช้เงินถึง 7.2 พันล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 85% ในไพร์มกรุ๊ป (Prime Group) ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกชั้นนำของประเทศเวียดนาม เจ้าของแบรนด์ Prime เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายเป็น 1 ใน 5 ผู้ผลิตกระเบื้องระดับโลกเชิงปริมาณในปี 2560
ทั้งนี้การทำ M&A มีหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนที่มากเพื่อให้มีอำนาจในการควบคุมบริหารจัดการ ซึ่งหากบุคคลหรือบริษัทได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จนแตะระดับที่กำหนดคือ 25% 50% 75% จะต้องเข้าไปทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ บจ.นั้น ๆ นอกจากนี้อาจเป็นการเข้าไปซื้อสินทรัพย์บางส่วนที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท และอาจเป็นการเข้าไปซื้อธุรกิจโดยตรงเพื่อควบรวมกิจการระหว่างกัน จนเกิดเป็นบริษัทใหม่ที่มาจากการผสมผสานของบริษัทเดิมก็ได้
จับตาเทรนด์M&Aร้อนแรงไม่เลิก ชี้ญี่ปุ่นจ้องฮุบธุรกิจไทยบุกเออีซี
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400260290
โบรกฯชี้กระแส M&A คึกคักต่อเนื่อง จับตา "ญี่ปุ่น-สิงคโปร์" มาแรง สนใจเข้าฮุบธุรกิจ "อาหาร-ยา-ค้าปลีก-ขนส่ง" ขยายกิจการแบบก้าวกระโดดใช้เป็นฐานต่อยอดตลาดเออีซี "ธนชาต" ชี้การเมืองอึมครึม สถานการณ์ไม่แน่นอนหนุนปิดดีลง่ายขึ้น ฟาก ก.ล.ต.เผยตัวเลขควบรวมกิจการปี"56 เกิดดีลขนาดยักษ์มูลค่ารวม 2.3 แสนล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2554-2556) กระแสการควบรวมกิจการ และการเข้าซื้อหุ้นเพื่อครอบงำกิจการ (Mergers & Acquisitions) ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รวบรวมข้อมูลการเข้าครอบงำกิจการในหัวข้อ "การทำคำเสนอซื้อ" (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) พบว่าในปี 2554 บริษัทที่ถูกเสนอซื้อ 22 บริษัท รวมเป็นมูลค่าหุ้นที่เกิดรายการซื้อขายจริง 3.5 หมื่นล้านบาท
ปี 2555 จำนวน 15 บริษัท มูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.3 หมื่นล้านบาท ปี 2556 จำนวน 11 บริษัท มูลค่ารวม 2.3 แสนล้านบาท และในไตรมาส 1/57 มีบริษัทที่ถูกเสนอซื้อ 4 บริษัท มูลค่า 669 ล้านบาท นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า การควบรวมกิจการมักจะเกิดขึ้นตามจังหวะที่เหมาะสม บางดีลอาจต้องใช้เวลาในการเจรจาค่อนข้างนาน ดังนั้นตัวเลขสถิติของ ก.ล.ต. ในบางปีที่มีจำนวนดีลหรือมูลค่าน้อย ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ชี้ว่ากระแสความคึกคักของดีลมีน้อย เพียงแต่อาจจะอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปที่ลงตัวก็ได้
"เรื่องการเทกโอเวอร์ ควบรวมกิจการ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่หากเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ดีในการเสริมศักยภาพธุรกิจ ซึ่งในส่วนของ ก.ล.ต.ก็จะเข้าไปดูแลผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อว่า ได้รับข้อเสนอที่เป็นธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาหุ้นที่เสนอซื้อ" นายธวัชชัยกล่าว
ชี้ญี่ปุ่น-สิงคโปร์เล็งฮุบธุรกิจไทย
นางนลินี งามเศรษฐมาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (AIRA) กล่าวว่า ขณะนี้กระแสความต้องการซื้อและควบรวมกิจการยังมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการทำดีลเช่นกัน โดยพบว่าความสนใจที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ที่สนใจเข้ามาซื้อธุรกิจของไทยเพื่อหวังเข้ามาทำธุรกิจโดยตรง รวมถึงใช้เป็นสะพานในการต่อยอดธุรกิจ เนื่องจากมองเห็นโอกาสว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเขตการค้าเสรีอาเซียน (เออีซี)
ทั้งนี้พบว่าธุรกิจที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้ามาซื้อในประเทศไทย ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจยา ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจกระดาษ ฯลฯ ส่วนประเทศสิงคโปร์ พบว่าสนใจเข้ามาซื้อกิจการประเภทโรงงาน ซึ่งไม่ได้เน้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่สนใจเข้าซื้อธุรกิจในพม่า และเวียดนามด้วย ซึ่งถือเป็นแนวโน้มการขยายธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างคึกคัก
"เรามีบริษัทไอร่า อินเตอร์เนชั่นแนล แอดไวเซอรี่ (สิงคโปร์) ทำหน้าที่รับดีลที่ปรึกษาทางการเงินการควบรวม การซื้อขายกิจการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ขอยืนยันว่าตอนนี้ญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ยังสนใจเข้ามาลงทุนซื้อกิจการในบ้านเรา เพียงแต่อาจจะไม่ใช่หมวดอุตสาหกรรมหลักด้านยานยนต์ที่เรามีความโดดเด่น นักลงทุนต่างชาติเหล่านี้ต้องการมาลงทุนธุรกิจขนาดรองลงมาที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีมากกว่า" นางนลินีกล่าว
การเมืองกระตุ้นดีลควบรวมคึกคัก
นางสาวสุวภา เจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนชาต กล่าวว่า แม้ขณะนี้การเมืองในประเทศไทยยังไม่สามารถหาบทสรุปได้ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำดีล M&A และควบรวมกิจการ ตรงกันข้ามกลับเป็นโอกาสที่ดีมากกว่า เนื่องจากในช่วงที่ภาวะตลาดมีความไม่แน่นอนนี้ ทำให้การตกลงราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายกิจการเกิดได้ง่ายขึ้น
"ในภาวะที่เศรษฐกิจร้อนแรง ดีลควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นยาก เพราะฝั่งผู้ขายอาจจะไม่ยินดีนัก เพราะยังมองเห็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจต้องการราคา ขณะที่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ฝั่งผู้ซื้อก็อาจจะยังไม่โอเคนัก ดังนั้นช่วงการเมืองอึมครึมที่มีความไม่แน่นอนแบบนี้ โอกาสที่จะเกิดดีลก็จะง่ายกว่า" นางสาวสุวภากล่าว
สำหรับปัจจุบันมีบริษัทที่ให้ความสนใจมาติดต่อเพื่อหารือทำดีลลักษณะควบรวมกิจการประมาณ 10 ดีล ซึ่งมีทั้งการซื้อกิจการโดยตรง และความสนใจของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาซื้อหุ้นของ บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การควบรวมกิจการในปี 2554-2555 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน คือเป็นการควบรวมระหว่างกิจการที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และสร้างความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจพื้นฐานให้มากขึ้น โดยส่วนใหญ่เกิดจาก บจ.ในหมวดอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง อาทิ บจ.ในกลุ่ม SET50 ได้แก่ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่เหลือเป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม Non-SET 100 ได้แก่ บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (AS) บมจ.เอสเอ็มซี พาวเวอร์ (SMC) และ บมจ.กรุ๊ปลีส (GL) เป็นต้น
และในปี 2556 ได้เกิดดีลใหญ่แห่งปีที่เป็นที่กล่าวขวัญอย่างมาก คือ บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ประกอบธุรกิจร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ซื้อ "แม็คโคร" ด้วยเม็ดเงินสูงถึง 1.88 แสนล้านบาท
ขณะที่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ก็ได้ใช้เงินถึง 7.2 พันล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 85% ในไพร์มกรุ๊ป (Prime Group) ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกชั้นนำของประเทศเวียดนาม เจ้าของแบรนด์ Prime เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายเป็น 1 ใน 5 ผู้ผลิตกระเบื้องระดับโลกเชิงปริมาณในปี 2560
ทั้งนี้การทำ M&A มีหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนที่มากเพื่อให้มีอำนาจในการควบคุมบริหารจัดการ ซึ่งหากบุคคลหรือบริษัทได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จนแตะระดับที่กำหนดคือ 25% 50% 75% จะต้องเข้าไปทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ บจ.นั้น ๆ นอกจากนี้อาจเป็นการเข้าไปซื้อสินทรัพย์บางส่วนที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท และอาจเป็นการเข้าไปซื้อธุรกิจโดยตรงเพื่อควบรวมกิจการระหว่างกัน จนเกิดเป็นบริษัทใหม่ที่มาจากการผสมผสานของบริษัทเดิมก็ได้