คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ในอดีตมีไม่กี่ที่หรอกครับที่นิยมให้แต่งงานกับตระกูลที่ห่างไกล ส่วนใหญ่จะยึดแนวสายเลือดขัตติยะมากกว่า บวกกับแนวคิดที่ต้องการให้ราชสมบัติต่างๆคงอยู่กับสายเลือดของตนตราบนานเท่านาน ไม่ต้องการให้สายเลือดอื่น-ตระกูลอื่นเข้ามามีส่วนแบ่ง ทำนองเรือล่มในหนองทองจะไปไหนเสีย
อย่างจีนเท่าที่เห็นว่าไม่สนับสนุนการแต่งงานในสายเลือดใกล้ชิด ก็เห็นมีชัดๆแค่ราชวงศ์ซ้อง ที่กำหนดว่าห้ามฮ่องเต้ (น่าจะรวมถึงบรรดาเชื้อพระวงศ์ด้วย) แต่งงานกับสตรีที่มีแซ่จ้าว กำหนดเป็นเด็ดขาดฮ่องเต้องค์ไหนก็แก้ไม่ได้ คาดว่าก็เพราะมองเห็นถึงความเสี่ยงในกรณีแต่งงานระหว่างสายเลือดใกล้ชิด แต่กระนั้นราชวงศ์ซ้องเองก็ประสบปัญหาทายาทอย่างมาก ช่วงท้ายๆราชวงศ์หาเชื้อพระวงศ์ชายที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมาเป็นฮ่องเต้ไม่ได้เลย เหลือแต่บรรดาเชื้อพระวงศ์เด็กๆ ฮ่องเต้บางองค์ต้องครองราชย์ตั้งแต่ 2 ขวบก็มี
อย่างจีนเท่าที่เห็นว่าไม่สนับสนุนการแต่งงานในสายเลือดใกล้ชิด ก็เห็นมีชัดๆแค่ราชวงศ์ซ้อง ที่กำหนดว่าห้ามฮ่องเต้ (น่าจะรวมถึงบรรดาเชื้อพระวงศ์ด้วย) แต่งงานกับสตรีที่มีแซ่จ้าว กำหนดเป็นเด็ดขาดฮ่องเต้องค์ไหนก็แก้ไม่ได้ คาดว่าก็เพราะมองเห็นถึงความเสี่ยงในกรณีแต่งงานระหว่างสายเลือดใกล้ชิด แต่กระนั้นราชวงศ์ซ้องเองก็ประสบปัญหาทายาทอย่างมาก ช่วงท้ายๆราชวงศ์หาเชื้อพระวงศ์ชายที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมาเป็นฮ่องเต้ไม่ได้เลย เหลือแต่บรรดาเชื้อพระวงศ์เด็กๆ ฮ่องเต้บางองค์ต้องครองราชย์ตั้งแต่ 2 ขวบก็มี
แสดงความคิดเห็น
มีกษัตริย์หรือราชวงศ์ไหนบ้างครับที่มีราชประเพณีนิยมเลือกคู่ครองที่สายเลือดใกล้ชิดกัน
หากเป็นของจีน นางในก็จะคัดเลือกมาจากบรรดาลูกหลานของเหล่าข้าราชการขุนนางระดับสูง
ผมเลยสงสัยว่า ธรรมเนียมราชประเพณีสยามในการมีคู่ครองเพื่อสืบราชสันตติวงศ์โดยการนิยมเลือกเอาจากสายเลือดที่ใกล้ชิด อาทิเช่นพี่น้องต่างมารดาหรือญาติๆนั้น
ได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด และมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรือสมัยอยุธยาแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ มีราชอาณาจักรใดในอุษาคเนย์ที่มีคตินิยมแบบเดียวกัน