☆
☆
☆
☆
ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า
ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่ง
ลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีใน
อาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัยเห็นได้ยาก แม้
ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้น
กำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
ท้าวสหัมบดีพรหม กราบทูลว่า สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
พระพุทธเจ้าทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ
แล้วทรงอุปมาเหล่าสัตว์ที่
พรหมกล่าวถึง เหมือนบัว 3 เหล่า
อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค
ว่าดังนี้:-
บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว
โดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.
----
[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ
บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้1
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ2 บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว3.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๘๗ - ๒๕๘. หน้าที่ ๙ - ๑๑.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=187&Z=258&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=7
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[7-9] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=4&A=7&Z=9
และในโพธิราชกุมารสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ดูกรราชกุมาร ที่นั้น คาถาอันอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏแจ่มแจ้งกะอาตมภาพว่า
บัดนี้ ยังไม่สมควรจะประกาศธรรมที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรม
นี้อันสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะ โทสะครอบงำ ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย
สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อมแล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว
จักไม่เห็นธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก เป็นอณู ดังนี้.
ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมภาพก็น้อมไปเพื่อความ
เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.
----
[๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัย
ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัว
หลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้1 บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ2
บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด3 ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น
ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๗๖๖๓ - ๘๒๓๖. หน้าที่ ๓๓๔ - ๓๕๗.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=7663&Z=8236&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=486
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[486-520] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=13&A=486&Z=520
☆☆☆☆
ปทปรมะ
อ่านว่า ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ
บาลีเขียน “ปทปรม” อ่านเหมือนกัน
ประกอบด้วย ปท + ปรม = ปทปรม
“ปท” โดยทั่วไปแปลว่า เท้า, รอยเท้า, ทาง (foot, footstep, track) มักใช้ทับศัพท์ว่า “บท”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คำว่า ปท-บท ยังมีความหมายอื่นๆ อีก ดูตามที่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลไว้ อาจช่วยให้เห็นความหมายอื่นๆ ได้ดี คือ “ปท” หมายถึง step, way, path, position, place, case, lot, principle, part, constituent, characteristic, ingredient, item, thing, element, a word, verse (or a quarter of a verse), stanza, line, sentence (การก้าว, ทาง, ตำแหน่ง, สถานที่ กรณี, โชคชะตา, หลักการ, ส่วน, องค์ประกอบ, ลักษณะ, ส่วนประกอบ, รายการ, สิ่งของ, มูลฐาน, คำ, ฉันท์ (หรือหนึ่งในสี่ของฉันท์), โศลก, บท, ประโยค)
ในที่นี้ ปท-บท หมายถึง คำ (word)
“ปรม” เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้“ปรม” ภาษาไทยใช้ว่า “บรม” (บอ-รม) พจน.54 บอกไว้ว่า -
“บรม, บรม- : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ”
“ปรม” คงเป็น ปรม- เมื่อสมาสกับคำอื่นก็มี เช่น ปรมินทร์ ปรเมนทร์
ปท + ปรม = ปทปรม แปลตามศัพท์ว่า “มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง”
เป็นชื่อเรียกบุคคลประเภทหนึ่งในจำนวน 4 ประเภท คือ -
1 เนยยะ (เน็ย-ยะ) ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ (เหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ แต่จักโผล่ขึ้นและบานในวันต่อๆ ไป)
2 วิปจิตัญญู (วิ-ปะ-จิ-ตัน-ยู) ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อได้ฟังคำขยายความ (เหมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้)
3 อุคฆฏิตัญญู (อุก-คะ-ติ-ตัน-ยู) ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลันเพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดง (เหมือนดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ พอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็บานทันที)
4 ปทปรมะ (ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ) ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย (เหมือนดอกบัวจมอยู่ใต้น้ำที่จะกลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ปทปรมะ อาจใช้แบบไทยๆ ว่า “บทบรม” (บด-บอ-รม) หรือ “บรมบท” (บอ-รม-มะ-บด)
คำแปลว่า “มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง” อาจตีความได้ ๒ นัย คือ -
(1) หมายความว่า เอาดีได้ แค่จำถ้อยคำ เกินกว่านี้เอาดีไม่ได้ คือไม่รู้ความหมายและไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้น อาจเทียบได้กับ-จำเหมือนนกแก้วนกขุนทอง
(2) หมายความว่า แม้จะใช้คำ อบรม แนะนำ สั่งสอนไปมากมาย สักเท่าไร ก็ไม่เกิดผล คือไม่รับรู้ ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตาม อาจเทียบได้กับ-ปากเปียกปากแฉะ (ว่ากล่าวตักเตือนซํ้าแล้วซํ้าเล่าก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย-พจน.54)
อุปมาอีกนัยหนึ่งอาจช่วยให้เข้าใจความหมายของ “ปทปรมะ” ได้ชัดเจนขึ้น
- อุคฆฏิตัญญู เหมือนคนที่พอบอกว่า “ไปแกงส้มมา” ก็สามารถไปทำแกงส้มมาได้โดยไม่ต้องอธิบายอะไรอีก
- วิปจิตัญญู เหมือนคนที่บอกว่า “ไปแกงส้มมา” ยังต้องอธิบายว่าแกงส้มต้องใส่อะไรบ้าง ต้องปรุงอย่างไร จึงจะแกงส้มได้
- เนยยะ เหมือนคนที่บอกว่า “ไปแกงส้มมา” ก็ยังไม่เข้าใจ บอกว่าต้องใช้เครื่องปรุงอะไรบ้าง ก็ยังไม่รู้จัก ต้องพาไปชี้ให้ดูว่า นี่หอม นี่กระเทียม ฯลฯ บอกว่าต้องตำเครื่องแกงอย่างนี้ ต้องปรุงอย่างนี้ ก็ยังทำไม่เป็นทันที ต่อเมื่อได้ฝึกสอนให้ทำไปเรื่อยๆ จึงพอจะแกงส้มกินได้
- ปทปรมะ เป็นประเภทไม่รู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น แกงส้มคืออะไรก็ไม่รู้ เครื่องแกงส้มมีอะไรบ้างก็ไม่รู้ หอมกระเทียมหน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่รู้จัก ทั้งไม่ประสงค์จะรู้ด้วย บอกว่า “แกงส้ม” ก็จำได้คำเดียวแค่นี้ นอกเหนือไปจากนี้ไม่รับรู้อะไรหมด นี่คือ ปทปรมะ = เอาดีได้คำเดียว
บุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ มีในพระไตรปิฎก
แต่พระพุทธพจน์ที่ตรัสเปรียบเทียบบุคคลทั้ง ๔ กับบัว ตรัสไว้แค่ ๓ คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู และ เนยยะ
ส่วนประเภทที่ ๔ มิได้ตรัสเปรียบเทียบกับบัวเหล่าใด แต่ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายเปรียบเทียบกับบัวครบทั้ง ๔ เหล่า
สรุปว่า
(๑) พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุคคลไว้ครบทั้ง ๔ ประเภท
(๒) แต่เรื่องการเปรียบเทียบกับบัว ทรงเปรียบเทียบไว้ ๓ ประเภท
(๓) คัมภีร์อรรถกถานำมาอธิบายเปรียบเทียบกับบัวครบทั้ง ๔ ประเภท
(
http://84000.org/tipitaka/attha/seek.php?text=%BB%B7%BB%C3%C1&t=b&b=1&bs=45&a=0102&original=1 )
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=772081436218929&pnref=story
☆ บาลีวันละคำ .... ปทปรมะ (บุคคลจำพวกที่ 4) ☆
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3712&Z=3834&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=131
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[131-140] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=21&A=131&Z=140
☆
☆
☆
ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า
ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
ท้าวสหัมบดีพรหม กราบทูลว่า สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
พระพุทธเจ้าทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ
แล้วทรงอุปมาเหล่าสัตว์ที่พรหมกล่าวถึง เหมือนบัว 3 เหล่า
อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค
ว่าดังนี้:-
บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว
โดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.
----
[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้1
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ2 บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว3.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และในโพธิราชกุมารสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปทปรมะ
อ่านว่า ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ
บาลีเขียน “ปทปรม” อ่านเหมือนกัน
ประกอบด้วย ปท + ปรม = ปทปรม
“ปท” โดยทั่วไปแปลว่า เท้า, รอยเท้า, ทาง (foot, footstep, track) มักใช้ทับศัพท์ว่า “บท”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในที่นี้ ปท-บท หมายถึง คำ (word)
“ปรม” เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปท + ปรม = ปทปรม แปลตามศัพท์ว่า “มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง”
เป็นชื่อเรียกบุคคลประเภทหนึ่งในจำนวน 4 ประเภท คือ -
1 เนยยะ (เน็ย-ยะ) ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ (เหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ แต่จักโผล่ขึ้นและบานในวันต่อๆ ไป)
2 วิปจิตัญญู (วิ-ปะ-จิ-ตัน-ยู) ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อได้ฟังคำขยายความ (เหมือนดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้)
3 อุคฆฏิตัญญู (อุก-คะ-ติ-ตัน-ยู) ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลันเพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดง (เหมือนดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ พอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็บานทันที)
4 ปทปรมะ (ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ) ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย (เหมือนดอกบัวจมอยู่ใต้น้ำที่จะกลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ มีในพระไตรปิฎก
แต่พระพุทธพจน์ที่ตรัสเปรียบเทียบบุคคลทั้ง ๔ กับบัว ตรัสไว้แค่ ๓ คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู และ เนยยะ
ส่วนประเภทที่ ๔ มิได้ตรัสเปรียบเทียบกับบัวเหล่าใด แต่ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายเปรียบเทียบกับบัวครบทั้ง ๔ เหล่า
สรุปว่า
(๑) พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุคคลไว้ครบทั้ง ๔ ประเภท
(๒) แต่เรื่องการเปรียบเทียบกับบัว ทรงเปรียบเทียบไว้ ๓ ประเภท
(๓) คัมภีร์อรรถกถานำมาอธิบายเปรียบเทียบกับบัวครบทั้ง ๔ ประเภท
( http://84000.org/tipitaka/attha/seek.php?text=%BB%B7%BB%C3%C1&t=b&b=1&bs=45&a=0102&original=1 )
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=772081436218929&pnref=story