(เอาบทความมาฝาก)เหตุผลวิบัติ ภาค 2

คราวนี้กลับมาอีกครั้ง กับบทความตรรกะวิบัติ ภาค 2 คราวนี้จะมาเจาะลึก ว่า ตรรกะวิบัติสามารถบิดเบือนคนเราไปได้ยังใงบ้าง

1.Fallacy of accident - ละทิ้งข้อยกเว้น
การสรุปเหตุผลโดยไม่สนใจข้อยกเว้น เป็น fallacy ที่ดูออกง่ายที่สุด แต่ก็ยังมีคนใช้อยู่เนืองๆ เช่น
กระทู้ถามว่าเราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิตใดๆเลยเพราะการฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นการทำความชั่ว ดังนั้นจุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อราต่างๆเราก็ไม่ควรฆ่าใช่หรือไม่ กระทู้ดังกล่าวจัดเป็น Fallacy of accident แบบหนึ่ง
“เราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราไม่ควรกินยาฆ่าพยาธิหรือแบคทีเรีย”
“ฆ่าคนโดยเจตนาต้องโทษประหาร ถ้าอย่างนั้นทหารที่ยิงข้าศึกตายโดยจงใจควรถูกประหารด้วย”  


2.Fallacy of relative to absolute - เหมารวม
การสรุปแบบเหมารวม เป็นการสรุปตามโลกทัศน์ของผู้พูด เมื่อผู้พูดประสบกับเหตุการณ์หนึ่งๆเป็นประจำก็มักจะมองหาภาพรวมหรือรูปแบบของเหตุการณ์นั้นๆ ทั้งที่ความจริงแล้วสิ่งที่ผู้พูดประสบมาไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแทนของความจริงทั้งหมดก็ได้ ตรงข้ามกับอันแรก อันนี้ก็เจอบ่อยมากๆในเว็บบอร์ดเช่นกัน
กระทู้ถามว่าจบจากมหาวิทยาลัยไหนดีที่สุด เก่งที่สุด จัดเป็นกระทู้ล่อเป้า และจะล่อ fallacy ชนิดนี้เข้ามาตอบ
“ที่ทำงานผมมีแต่คนจบจากมหาวิทยาลัย A ซึ่งเก่งๆกันทุกคนเลย ดังนั้นคนที่จบจากมหาวิทยาลัย A เก่งทุกคน”
“เปิดเข้าไปดูกระทู้ห้องก้นควรทีไรก็เจอแต่หน้าม้าทุกที ห้องก้นควรเป็นห้องของพวกหน้าม้า อย่าไปเข้าไปเสียเวลาอ่าน”
"พวกเรียนสูงๆส่วนมากจะโง่ด้านการใช้ชีวิตทั้งนั้น เท่าที่ผมเคยพบเจอมาก็มีแต่แบบนี้"
“จากที่ผมรู้มาฝรั่งขึ้โกงทั้งนั้น ฝรั่งเป็นพวกขี้โกงและเห็นแก่ตัว”
ในเชิงสังคมศาสตร์ถือว่าข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็น มายาคติ (Myth) คือสิ่งที่เราเชื่อว่ามันเป็นจริงอยู่วันค่ำทั้งที่ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไปก็ได้


3.Fallacy of false cause (post hoc ergo propter hoc) - เพราะว่าสิ่งนี้เกิด…สิ่งนั้นจึงบังเกิด
คือการสรุปว่าเหตุการณ์ A เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ B โดยอาศัยแค่ว่า B เกิดขึ้นตาม A เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วอาจจะเป็นแค่ความบังเอิญหรือมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง (fallacy of ignoring a common cause) ซึ่งความจริงควรมีการทดลองภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมก่อนที่จะสรุป เช่น
กระทู้นำเสนอข่าวอาชญากรรม เด็กฆาตกรรมคนข้างบ้านโดยเลียนแบบพฤติกรรมในเกมที่เล่นเป็นประจำ
“เด็กคนนี้ติดเกมที่มีความรุนแรงสูงและฆ่าคนโดยเลียนแบบพฤติกรรมในเกม ดังนั้น เกมเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นฆาตกร”
กระทู้สร้างความชอบธรรมให้การประหารชีวิต
“ในประเทศสิงค์โปร์ อัตราการประหารชีวิตสูง ประเทศสิงค์โปร์มีอาชญากรรมทางเพศต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นการประหารช่วยลดอาชญากรรม”

4.การโจมตีตัวบุคคล (appeal to the person; argumentum ad hominem) คือการโจมตีที่ผู้ตั้งหรือผู้กล่าวประเด็นถกเถียง โดยไม่สนใจเนื้อหาของประเด็นนั้นๆ ในกรณีโลกออนไลน์ โดยมากจะนำไปสู่การแฉ หรือการลากใส่มาประจาน ทั้งๆที่ไม่สนสิ่งที่คนๆนั้นพูดเช่น
นาย ก: การขายอาวุธเถื่อนมันผิดกฏหมายนะ ส่งเสริมอาชญากรรมด้วย
นาย ข: ตอนหนุ่มๆคุณเคยฆ่าคนตายมาแล้วนี่นา ฉันไม่เชื่อฆาตกรแบบคุณหรอก
หรือ
สมาชิก A:การทำร้ายคนเพราะแค่ความเห็นที่ต่างกัน เป็นเรื่องที่ไม่สมควร การฆ่าคนเพราะเห็นต่างมันถูกตรงใหน
สมาชิก B:อย่าเชื่อ หมอนี่มันพวก กปปส ครับ อย่าไปให้เครดิตมันมาก มันพวกสลิ่ม พวกปิดกรุงเทพ พวกโลกสวยมันก็ใช้ตรรกะโง่ๆนั่นละ
ปัญหาที่เกิด: พฤติกรรมส่วนตัวของเจ้าของประเด็นไม่มีผลต่อเนื้อหาของประเด็นนั้นๆในทุกกรณี ไม่ว่าผู้พูดเป็นใคร ความถูกความผิด
ก็ควรดูจากบริบทคำพูด ไม่ใช่พฤติกรรมส่วนตัว หรือจุดยืนทางการเมืองครับ


5.False dilemma – ทางเลือกลวง

ผู้ให้เหตุผลสร้างทางเลือกขึ้นมาสองทางและบังคับให้เลือกทางใดทางหนึ่งเท่านั้นสำหรับแก้ปัญหา และเนื่องจากทางเลือกหนึ่งในนั้นไม่เป็นที่น่าปรารถนา จึงเป็นการบีบบังคับโดยกลายๆให้อีกฝ่ายเลือกทางที่ตนเองต้องการ ทั้งที่ในความจริงแล้ว คำถามดังกล่าวมีทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นจริงหรือ?

เช่น สมาชิกพันทิป C เล่าว่าเขาเคยปะทะกับเสือดาวมือเปล่า และเคยลุยป่าทั่วโลก มีผู้ให้ข้อสงสัยและจับผิดเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก โดยที่ผู้ไม่เชื่อถือนั้นมีจำนวนมากกว่า เมื่อสมาชิกบางคนออกมาแสดงความเห็นว่า เป็นการจับผิดกันเกินจริงหรือเปล่า บางทีอาจจะเป็นเรื่องเข้าใจผิดกันก็ได้ ก็มีคนออกมากล่าวว่า ความเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับการจับผิดเป็นสาวกคุณCที่คอยออกมาแก้ต่าง ทำให้เกิด false dilemma ขึ้นว่าในเว็บบอร์ดมีคนอยู่เพียงสองประเภทเท่านั้นคือ คนที่ไม่เชื่อคุณC กับ สาวกคุณC

หรือ คุณ F อมยิ้มเก่าแก่ประจำพันทิป โปรโมท+จัดทริปทัวร์ร้านอาหารจีน มีคนที่ไม่ชอบออกมาตำหนิการจัด และมีคนที่ชอบออกมาค้านว่าไม่ได้ห่วย
คนที่ชอบก็โดนหาว่า เป็นม้าให้คุณ F อันนี้ก็ใช้ได้ได้

6.Argumentum ad Populum – คนหมู่มากต้องถูกเสมอ
การอ้างตรรกะนี้มักเอาหลักประชาธิปไตยมาใช้ผิดๆ อ้างเสียงข้างมาก คือสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ ประชาทัณท์ รับสินบน
หรือ การให้สินบน การละเมิดกฏหมายต่างมันเป็นคณิตศาสตร์ง่ายๆว่า“พลัง” = “ความถูกต้อง”
คุณ ALPHA:การโหลดเกมและโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ผิด ใครๆก็ทำ
คุณ Delta:ไม่ผิดได้ยังใง มันผิดกฏหมายชัดๆ
คุณ ALPHA:คนส่วนมากในประเทศก็ทำ ตำรวจไม่มีปัญญาจะมาจับหรอกทุกคนก็ทำนี่

หรือกรณีผู้ต้องสงสัยคดีข่มขืน
คุณ Y:นั่นนักโทษฆ่าข่มขืนนี่ ไปกระทีบมันกัน
คุณ Z:ยังไม่มีหลักฐานมาพิจารณาเลย แค่ผู้ต้องสงสัย แน่ใจได้ใงว่าเขาไม่ใช่แพะ
คุณ Y:ก็ทีคนส่วนใหญ่ยังไปประชาทัณท์นักโทษได้นี่นา ทำๆตามเขาไปเถอะ

จะเห็นได้ว่าการกระทำหรือความเชื่อของคนหมู่มากไม่จำเป็นต้องถูกต้องหรือดีงามเสมอไป
เราควรพิจารณาว่าเมื่อใดควรอ้างคนส่วนมาก ไม่ควรอ้างพร่ำเพรื่อ มิฉะนั้น เราจะไม่สามารถละทิ้งความคิดที่ผิด ค่านิยมที่ไม่เหมาะสมได้ (อันนี้นอกจากจะเป็นการใช้ตรรกะไม่เหมาะสมแล้ว ยังส่งเสริมให้เกิดปัญหาสังคมอีกด้วย)

7.การขอความเห็นใจ (appeal to pity; argumentum ad misericordiam) คือการสร้างความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อสนับสนุนประเด็นของตัวเอง เช่น
การกล่าวอ้าง: ที่นาย ข ค้ายาเสพติดเพราะเขาต้องการเงินจำนวนมากเพื่อรักษาพ่อแม่ของเขา การที่ตำรวจจับเขาติดคุกเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่เกิด: การค้ายาเสพติดสร้างความเสียหายแก่สังคมในวงกว้าง ดังนั้นไม่ว่านาย ข จะมีแรงจูงใจอะไร ก็ไม่สามารถใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องในการค้ายาเสพติดของเขา

8.การตั้งประเด็นซ้อน
การตั้งประเด็นซ้อน (อังกฤษ: complex question; ละติน: plurium interrogationum) คือการตั้งประเด็นคำถามหลายอย่างลงในคำถามเดียว ซึ่งลวงให้ผู้ตอบตอบอย่างไม่ระมัดระวัง ตัวอย่างเช่น
การกล่าวอ้าง: คุณเลิกวางแผนฆ่าใครสักคนหรือยัง
ปัญหาที่เกิด: ไม่ว่าผู้ตอบจะตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็จะนำไปสู่การยอมรับผิดว่าเคยวางแผนฆ่าคน การตอบอย่างไม่หลงกลอาจตอบว่า
ผมไม่เคยวางแผนฆ่าคน
การกล่าวอ้าง: เธอยังขายแผ่นซีดีเถื่อนใช้มั้ย
ปัญหาที่เกิด: ไม่ว่าผู้ตอบจะตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็จะนำไปสู่การยอมรับผิดว่าเคยลอกข้อสอบ การตอบอย่างไม่หลงกลอาจตอบว่า ผมไม่เคยขายซีดีเถื่อน
9.เหตุผลวิบัติสืบทอด (genetic fallacy)
การยืนยันผลและการปฏิเสธเหตุ
การยืนยันผล (อังกฤษ: affirming the consequent) และการปฏิเสธเหตุ (อังกฤษ: denying the antecedent) คือการสรุปสมมติฐานโดยปราศจากเงื่อนไขสำคัญหรือเพียงพอมารองรับ ตัวอย่างเช่นการยืนยันผล
การกล่าวอ้าง: คนเจ็บหน้าอกจะเป็นโรคหัวใจ ครูวินัยเจ็บหน้าอก แปลว่าครูวินัยเป็นโรคหัวใจ
ปัญหาที่เกิด: อาการอื่นเช่นโรคกระเพาะก็สามารถทำให้เกิดการเจ็บหน้าอกได้ มิได้หมายความว่าคนที่เจ็บหน้าอกต้องเป็นหวัดเสมอไป

การกล่าวอ้าง: ถ้าโดนฝ่าผ่าตาย ศพจะมีรอยไหม้ทั่วร่าง ศพนี้มีรอยไหม้ทั่วร่าง แปลว่าโดนฟ้าฝ่าตาย
ปัญหาที่เกิด: มีกรณีอื่นอีกมากที่สามารถทำให้ศพไหม้เป็นจุดได้นอกจากไฟฟ้า เช่น ที่เจียรของช่างโลหะ
การเผาด้วยอุปกรณ์พวกปืนไฟ เป็นต้น

10.การ การอ้างปฐมาจารย์
การสรุปนอกประเด็น (อังกฤษ: irrelevant conclusion; ละติน: ignoratio elenchi) คือการหันเหความสนใจออกจากข้อเท็จจริงในการโต้แย้ง
ด้วยการเอาบุคคลต้นแบบมาเป็นโล่ป้องกัน
การกล่าวอ้าง: เจ้าลัทธิบอกว่าแมวคือคือสัตว์เทพ แมวจึงเป็นสัตว์เทพ
ปัญหาที่เกิด: เจ้าลัทธิผู้ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบอาจคิดผิด และผู้พูดประโยคนี้ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมแมวเป็นสัตว์เทพ

11.การอ้างอำนาจ (appeal to force; argumentum ad baculum) เป็นการใช้อำนาจหรือกำลังที่มีอยู่ ข่มขู่คุกคามให้ประเด็นดังกล่าวอ่อนลงไป เช่น
นาย ก: ท่านควรจะทำการแก้ไขระบบเกณท์ทหาร เป็นการรับสมัครทหารแทน ปรับโครงสร้างการเงินสักหน่อยคนก็น่าจะมาสมัครเพิ่มแล้ว
นาย ข: ผมไม่รับข้อเสนอหรอก แล้วถ้าคุณขออีก ผมจะยิงหัวคุณ
หรือ
ลูกชาย:พ่อ การขับรถ130 แบบนี้ผิดกฏหมายจราจรนะ
พ่อ:อยากให้ฉันไล่แกออกขากบ้านหรือใง
ปัญหาที่เกิด: การประทุษร้ายไม่มีผลกับตัวประเด็นในทุกกรณี เนื่องจากมันไม่ใช่เหตุผล

12.fallacy fallacy,argumentum ad logicam
อันนี้มักเกิดกับคนเรียนตรรกะเก่งๆ และถูกใช้งานในแวดวงอย่างแพร่หลาย
คือการยึดถือว่า ถ้ามีการใช้ตรรกะวิบัติสนับสนุนประโยคใหน ก็เป็นอันว่าประโยคนั้นเท็จแน่ เพราะเชื่อไม่ได้ เช่น

คุณ A:1+1=2 แน่นอน ใครๆก็พูดแบบนี้
คุณ B: เธอกำลังใช้ตรรกะวับัติ ในการเชื่อมโยง ว่าด้วยการอ้างคนหมู่มาก และมันผิด 1+1=2 ก็ไม่จริง

K:คนทุกคนต้องตาย ทอมเป็นคน ทอมต้องตาย
L:K นั่นคุณใช้ตรรกะเหมารวม มันผิด แปลว่าทอมไม่ต้องตาย



13.Slippery slope – ทางลาดชันสู่หุบเหวหายนะ

ผู้พูดนำพาผู้ฟังไปสู่ชุดของเหตุและผลจำนวนมาก และสรุปไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายที่แย่ที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเอาจริงเข้าแล้ว เหตุการณ์สุดท้ายไม่จำเป็นต้องเกิดจากเหตุการณ์แรกสุด เช่น
กระทู้ด่าเด็กมาสาย
"การมาสายเป็นการไม่เคารพกฏโรงเรียน คนที่ไม่เคารพกฏโรงเรียน โตไปก็จะไม่เคารพกฏหมาย คนที่ไม่เคารพกฏหมายก็จะกลายเป็นฆาตกร"
กระทู้การุณยฆาต
“การอนุญาตให้กระทำการุณยฆาตจะนำไปสู่ การเปลี่ยนทัศนคติความคิดของแพทย์ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นการลดคุณค่า ให้ความสำคัญกับชีวิตน้อยลง โดยให้ดูกระแสสถานะของการแพทย์ใน US ที่การบีบบังคับด้านการเงินทำให้ลำบากในการดูแลรักษาจัดการซึ่งเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์แพทย์-คนไข้ ในวิถีทางที่ย่ำแย่ทางศีลธรรม สำหรับระบบการดูแลสุขภาพการตัดสินเรื่องค่าใช้จ่ายจะครอบงำการตัดสินใจของแพทย์ที่จะปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยป่วยมากๆ หรือ ย่ำแย่มากๆ และการดูแลที่พิเศษและค่าใช้จ่ายที่แพงสำหรับคุณภาพชีวิตที่ลดน้อยลงเท่านั้น ดังนั้นทัศนะนี้จะเป็นการเย้ายวนกดดันให้แพทย์ถามถึงการุณยฆาตหรือบางทีก็ฆ่าพวกเขา(ผู้ป่วย)ซึ่งฝืนโดยตรงกับเจตจำนงของพวกเขา”


ต่อด้านล่างครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่