(กระทู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Reasoning Sec 3)
จากการแสดงความเห็นของผู้กำกับชาวอินเดียต่อเรื่องการข่มขืนหลังจากเกิดเหตุการณ์แพทย์หญิงถูกข่มขืนและถูกฆ่า โดยข้อสรุปของผู้กำกับคือ รัฐควรสนับสนุน "การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง"และรัฐบาลควรร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฆาตกรรมหลังถูกข่มขืน โดยเขาได้ให้ข้ออ้างต่างๆที่สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว โดยจากข้อความที่ผู้กำกับกล่าวมานั้น สามารถแยกออกมาได้เป็นข้ออ้างดังนี้
" การข่มขืนไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่การฆาตกรรมนั้นอภัยไม่ได้ และรัฐบาลควรให้มีกฎหมาย "การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง" เป็นอีกมาตรการหนึ่ง สำหรับการข่มขืนแล้วไม่ได้ฆ่า เพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงที่ถูกข่มขืน เขาแนะนำว่ารัฐบาลควรผ่านร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฆาตกรรมหลังถูกข่มขืน โดยซาลาวันมีความเชื่อว่าเมื่อผู้ข่มขืนสามารถทำการได้สำเร็จพวกเขาจะไม่ฆ่าเหยื่อ " และ ซาลาวันกล่าวเสริมว่าผู้หญิงควรร่วมมือกับผู้ข่มขืนและพกถุงยางอนามัย "หากคุณกำลังถูกข่มขืนควรมอบถุงยางอนามัยให้แก่ผู้ข่มขืนและร่วมมือกับเขาในขณะที่เขาเติมเต็มความต้องการทางเพศตัวเอง ด้วยวิธีนี้เขาจะไม่ทำร้ายคุณ" ซาลาวันกล่าว (ความคิดเห็นของผู้กำกับ) โดยสามารถแยกออกมาเป็นประเด็นได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การข่มขืนไม่ใช่สิ่งที่ผิด ผู้ข่มขืนกระทำเพียงเพราะต้องการตอบสนองความต้องการของตนเอง
ประเด็นที่ 2 การฆาตกรรมหลังข่มขืนเป็นสิ่งที่ผิด
ประเด็นที่ 3 ผู้ข่มขืนจะไม่ฆ่าผู้ถูกข่มขืน หากทำการสำเร็จ
ประเด็นที่ 4 ผู้หญิงที่พกถุงยางอนามัยและสมยอม จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆาตกรรมได้
จากประเด็นดังกล่าวที่ผู้กำกับเห็นว่า การข่มขืนไม่ใช่สิ่งที่ผิด การฆาตกรรมต่างหากคือสิ่งที่ผิด สิ่งที่ควรนำไปพิจารณาโทษ และออกกฎหมายคุ้มครองที่แท้จริงคือ การฆาตรกรรม ไม่ใช่การข่มขืน ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า “รัฐบาลควรให้มีกฎหมาย "การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง" และร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฆาตกรรมหลังถูกข่มขืน”
แต่จากประเด็นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะทำให้ข้อสรุปเป็นจริงได้ โดยเป็นลักษณะของ Fallacies of Weak Induction ที่ขัออ้างต่างๆ ไม่หนักแน่นเพียงพอ เนื่องจากขาดหลักฐาน แหล่งอ้างอิง ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ที่จะสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าข้ออ้างเหล่านี้นำไปสู่ข้อสรุปได้
จากข้ออ้างที่ 1 "การข่มขืนไม่ใช่สิ่งที่ผิด" การกระทำผิดในสากลสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า การกระทำผิด คือการกระทำที่เบียดเบียนผู้อื่นในสังคม ละเมิดสิทธิ หรือส่งผลเสียต่อผู้อื่นและส่วนรวม ซึ่งการข่มขืนเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้สามารถโต้ได้ว่าการข่มขืนนั้นจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ผิด
จากข้ออ้างที่ 3 “ผู้ข่มขืนจะไม่ฆ่าผู้ถูกข่มขืน หากผู้ข่มขืนทำการสำเร็จ” ในส่วนนี้ข้ออ้างไม่มีน้ำหนักมากพอ เนื่องจากในส่วนนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่อยู่บนพื้นฐานของผู้กำกับเท่านั้น ไม่ได้มีงานวิจัยหรือสถิติออกมายอมรับในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นผู้ข่มขืนบางคน ถึงแม้จะทำการสำเร็จ ก็ยังมีโอกาสที่จะฆ่าผู้ถูกข่มขืนอยู่ดี
จากข้ออ้างที่ 4 “ผู้หญิงที่พกถุงยางอนามัยและสมยอม จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆาตกรรมได้” สืบเนื่องจากข้อสามที่กล่าวว่าหากผู้ข่มขืนทำการสำเร็จ ก็จะไม่ฆ่าผู้ถูกข่มขืน (ซึ่งความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากความคิดของผู้กำกับเท่านั้น) ไม่มีความหนักแน่นมากพอ ดังนั้นการที่บอกให้ผู้หญิงพกถุงยางอนามัยและการให้ผู้หญิงสมยอม ย่อมไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ข่มขืนจะไม่ถูกฆ่า
จึงสรุปได้ว่าข้อสรุปของผู้กำกับมี fallacy แฝงอยู่โดย fallacy นั้นคือ Weak Induction เนื่องจากผู้พูดไม่มีหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่รองับหนักแน่นพอ และตั้งข้อสรุปนี้ผ่านทางความคิดของตนเพียงผู้เดียว นอกจากนี้จริงๆแล้วการข่มขืนก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ผิด เพราะเป็นการละเมิดผู้อื่น สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นนั้นเอง
แหล่งข่าว
http://tnews.teenee.com/world/157267.html
การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง? ข้อเสนอจากผู้กำกับชาวอินเดีย
จากการแสดงความเห็นของผู้กำกับชาวอินเดียต่อเรื่องการข่มขืนหลังจากเกิดเหตุการณ์แพทย์หญิงถูกข่มขืนและถูกฆ่า โดยข้อสรุปของผู้กำกับคือ รัฐควรสนับสนุน "การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง"และรัฐบาลควรร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฆาตกรรมหลังถูกข่มขืน โดยเขาได้ให้ข้ออ้างต่างๆที่สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว โดยจากข้อความที่ผู้กำกับกล่าวมานั้น สามารถแยกออกมาได้เป็นข้ออ้างดังนี้
" การข่มขืนไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่การฆาตกรรมนั้นอภัยไม่ได้ และรัฐบาลควรให้มีกฎหมาย "การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง" เป็นอีกมาตรการหนึ่ง สำหรับการข่มขืนแล้วไม่ได้ฆ่า เพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงที่ถูกข่มขืน เขาแนะนำว่ารัฐบาลควรผ่านร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฆาตกรรมหลังถูกข่มขืน โดยซาลาวันมีความเชื่อว่าเมื่อผู้ข่มขืนสามารถทำการได้สำเร็จพวกเขาจะไม่ฆ่าเหยื่อ " และ ซาลาวันกล่าวเสริมว่าผู้หญิงควรร่วมมือกับผู้ข่มขืนและพกถุงยางอนามัย "หากคุณกำลังถูกข่มขืนควรมอบถุงยางอนามัยให้แก่ผู้ข่มขืนและร่วมมือกับเขาในขณะที่เขาเติมเต็มความต้องการทางเพศตัวเอง ด้วยวิธีนี้เขาจะไม่ทำร้ายคุณ" ซาลาวันกล่าว (ความคิดเห็นของผู้กำกับ) โดยสามารถแยกออกมาเป็นประเด็นได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การข่มขืนไม่ใช่สิ่งที่ผิด ผู้ข่มขืนกระทำเพียงเพราะต้องการตอบสนองความต้องการของตนเอง
ประเด็นที่ 2 การฆาตกรรมหลังข่มขืนเป็นสิ่งที่ผิด
ประเด็นที่ 3 ผู้ข่มขืนจะไม่ฆ่าผู้ถูกข่มขืน หากทำการสำเร็จ
ประเด็นที่ 4 ผู้หญิงที่พกถุงยางอนามัยและสมยอม จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆาตกรรมได้
จากประเด็นดังกล่าวที่ผู้กำกับเห็นว่า การข่มขืนไม่ใช่สิ่งที่ผิด การฆาตกรรมต่างหากคือสิ่งที่ผิด สิ่งที่ควรนำไปพิจารณาโทษ และออกกฎหมายคุ้มครองที่แท้จริงคือ การฆาตรกรรม ไม่ใช่การข่มขืน ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า “รัฐบาลควรให้มีกฎหมาย "การข่มขืนโดยไม่ใช่ความรุนแรง" และร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการฆาตกรรมหลังถูกข่มขืน”
แต่จากประเด็นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะทำให้ข้อสรุปเป็นจริงได้ โดยเป็นลักษณะของ Fallacies of Weak Induction ที่ขัออ้างต่างๆ ไม่หนักแน่นเพียงพอ เนื่องจากขาดหลักฐาน แหล่งอ้างอิง ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ที่จะสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าข้ออ้างเหล่านี้นำไปสู่ข้อสรุปได้
จากข้ออ้างที่ 1 "การข่มขืนไม่ใช่สิ่งที่ผิด" การกระทำผิดในสากลสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า การกระทำผิด คือการกระทำที่เบียดเบียนผู้อื่นในสังคม ละเมิดสิทธิ หรือส่งผลเสียต่อผู้อื่นและส่วนรวม ซึ่งการข่มขืนเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้สามารถโต้ได้ว่าการข่มขืนนั้นจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ผิด
จากข้ออ้างที่ 3 “ผู้ข่มขืนจะไม่ฆ่าผู้ถูกข่มขืน หากผู้ข่มขืนทำการสำเร็จ” ในส่วนนี้ข้ออ้างไม่มีน้ำหนักมากพอ เนื่องจากในส่วนนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่อยู่บนพื้นฐานของผู้กำกับเท่านั้น ไม่ได้มีงานวิจัยหรือสถิติออกมายอมรับในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นผู้ข่มขืนบางคน ถึงแม้จะทำการสำเร็จ ก็ยังมีโอกาสที่จะฆ่าผู้ถูกข่มขืนอยู่ดี
จากข้ออ้างที่ 4 “ผู้หญิงที่พกถุงยางอนามัยและสมยอม จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆาตกรรมได้” สืบเนื่องจากข้อสามที่กล่าวว่าหากผู้ข่มขืนทำการสำเร็จ ก็จะไม่ฆ่าผู้ถูกข่มขืน (ซึ่งความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากความคิดของผู้กำกับเท่านั้น) ไม่มีความหนักแน่นมากพอ ดังนั้นการที่บอกให้ผู้หญิงพกถุงยางอนามัยและการให้ผู้หญิงสมยอม ย่อมไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ข่มขืนจะไม่ถูกฆ่า
จึงสรุปได้ว่าข้อสรุปของผู้กำกับมี fallacy แฝงอยู่โดย fallacy นั้นคือ Weak Induction เนื่องจากผู้พูดไม่มีหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่รองับหนักแน่นพอ และตั้งข้อสรุปนี้ผ่านทางความคิดของตนเพียงผู้เดียว นอกจากนี้จริงๆแล้วการข่มขืนก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ผิด เพราะเป็นการละเมิดผู้อื่น สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นนั้นเอง
แหล่งข่าว http://tnews.teenee.com/world/157267.html