ศาสนาใดไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะผู้สงบถึงที่สุด
ในสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ก็ไม่มีในศาสนานั้น
ศาสนาใดมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ในศาสนานั้นมีสมณะผู้สงบถึงที่สุดทั้ง ๔ ประเภทนั้น อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึง ซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”
"...กาย เปรียบเหมือนลำเรือ, ใจ เปรียบเหมือนนายเรือ, สังสารวัฏ เปรียบเหมือนทะเลหลวง, โลกนั้นโลกนี้ ที่เราไปผุดเกิดวนเวียนนั้น เปรียบเหมือนท่าเรือสำหรับทำการค้าขาย, ผลบุญ ผลบาป ในชาติหนึ่ง ๆ ในโลกหนึ่ง ๆ คือกำไรขาดทุนในการค้าของนายเรือ ตามท่าเรือแต่ละแห่งที่ผ่านไป, การได้ลุถึง “เกาะ” แห่งหนึ่ง ซึ่งนายเรือนั้นพอใจ ถึงกับหยุดการท่องเที่ยวไปในทะเลอย่างเด็ดขาด นั่นคือ พระนิพพาน..."อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นพระธรณีมีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ ตัวเรามีลักษณะอาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้นก็ได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ ถ้าทำไม่ได้ แต่พูดว่าอยากได้ จะพูด มากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะได้จะถึงเลย ถ้า ปรารถนาจะถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตทำใจของตน ให้เป็นเหมือนแผ่นดินเสียก่อน ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วยง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจะได้ จะเข้าใจว่าปรารถนา เอาด้วยปากก็คงจะได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไปใช้ไม่ได้ พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ให้เห็นให้ได้ให้ถึงไว้เสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตายไปก็จะได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้วเห็นแล้วพยายามจะให้ได้ให้ถึง ก็แสนยากแสนลำบากยิ่งนักหนา ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนหลง ผู้ที่เข้าใจว่า ใจเป็นของตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง *ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่างเพราะเป็นของตัว **อันที่แท้จริง จิตใจนั้น ....."หากเป็นลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา ซึ่งโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลม จิตใจ ณ กาลภายหลัง ถ้าหากเป็นจิตใจของเรา ที่พาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี้ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิด ก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วเป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่าสมมุติเป็นจิตใจของตนนั้น ก็เพื่อให้รู้ การบุญการกุศล บาปอกุศล และเพียงให้รู้ สุข ทุกข์ สวรรค์ นรกแลพระนิพพานเท่านั้น ถ้าถึงนิพพานแล้ว ก็ต้องวางใจให้แก่โลกเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้เป็นโทษ ไม่อาจจะถึงนิพพานได้"อันบุคคลใดรู้สึกตนเองเหมือนดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ซึ่งถูก ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ, เหมือนผ้าเช็ดธุลีที่เช็ดของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ, เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเจียมตัวอยู่เสมอ เวลาเข้าไปสู่ที่ต่าง ๆ, เหมือนโคที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดดีแล้ว ไม่ทำร้ายใคร ๆ, เบื่อหน่ายต่อกายนี้ เหมือน ชายหนุ่มหญิงสาวที่คล้องซากงูไว้ที่คอ,บริหารกายนี้ เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันรั่วทะลุ มีน้ำมันไหลออกอยู่ จิตของบุคคลนั้นย่อมเป็นเหมือนแผ่นดิน โดยการหยุด การติดบัญญัติเหมือนคนธรรมดาสามัญที่บัญญัติไว้โดยสมมุติ อันเป็นของคู่ๆกันขึ้นมา ทั้งคำว่า"มี และคำว่าไม่มี"เช่น มีได้มีเสีย มีแพ้มีชนะ มีหญิงมีชาย มีกำไรมีขาดทุน มีดีมีชั่ว มีสุขมีทุกข์ มีนรกมีสวรรค์ มีโลภมีกลัว เสียออกจากใจนี้ ให้เป็นเพียงสิ่งที่มีเหตุและปัจจัยประกอบขึ้นมาด้วยกัน ด้วยกำลังของสติปัญญาล้วนๆเท่านั้น เมื่อรู้สมมุติ ใช้สมมุติ ได้ประโยชน์จากสมมุติ สุดท้ายไม่ยึดติดในสมมุติ...ทั้งหมด เป็น"ธาตุ" ไม่มีใครเลย.!เมื่อนั้น....ก็เป็น "ปัญญา" ที่รู้ ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัจจัยให้สิ่งใดเกิด...สิ่งนั้นก็เกิด สภาพธรรมเกิดขึ้น เพราะ "เหตุ-ปัจจัย"เมื่อเป็นสิ่งที่ว่างจากคำว่า มี หรือ ไม่มี ว่างจากตัวตน จึงไม่สุดโตงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลย หมดความรู้สึกทั้งสองอย่างทั้งทางบวกและทางลบ อันเกี่ยวกับตัวตน ถอนสิ่งทั้งปวงเสียได้
{{{{{{{{ นิพพานสำหรับทุกคน }}}}}}}} ปฏิบัติอย่างไร ???
ในสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ก็ไม่มีในศาสนานั้น
ศาสนาใดมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ในศาสนานั้นมีสมณะผู้สงบถึงที่สุดทั้ง ๔ ประเภทนั้น อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึง ซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”
"...กาย เปรียบเหมือนลำเรือ, ใจ เปรียบเหมือนนายเรือ, สังสารวัฏ เปรียบเหมือนทะเลหลวง, โลกนั้นโลกนี้ ที่เราไปผุดเกิดวนเวียนนั้น เปรียบเหมือนท่าเรือสำหรับทำการค้าขาย, ผลบุญ ผลบาป ในชาติหนึ่ง ๆ ในโลกหนึ่ง ๆ คือกำไรขาดทุนในการค้าของนายเรือ ตามท่าเรือแต่ละแห่งที่ผ่านไป, การได้ลุถึง “เกาะ” แห่งหนึ่ง ซึ่งนายเรือนั้นพอใจ ถึงกับหยุดการท่องเที่ยวไปในทะเลอย่างเด็ดขาด นั่นคือ พระนิพพาน..."อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นพระธรณีมีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ ตัวเรามีลักษณะอาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้นก็ได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ ถ้าทำไม่ได้ แต่พูดว่าอยากได้ จะพูด มากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะได้จะถึงเลย ถ้า ปรารถนาจะถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตทำใจของตน ให้เป็นเหมือนแผ่นดินเสียก่อน ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วยง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจะได้ จะเข้าใจว่าปรารถนา เอาด้วยปากก็คงจะได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไปใช้ไม่ได้ พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ให้เห็นให้ได้ให้ถึงไว้เสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตายไปก็จะได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้วเห็นแล้วพยายามจะให้ได้ให้ถึง ก็แสนยากแสนลำบากยิ่งนักหนา ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนหลง ผู้ที่เข้าใจว่า ใจเป็นของตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง *ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่างเพราะเป็นของตัว **อันที่แท้จริง จิตใจนั้น ....."หากเป็นลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา ซึ่งโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลม จิตใจ ณ กาลภายหลัง ถ้าหากเป็นจิตใจของเรา ที่พาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี้ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิด ก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วเป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่าสมมุติเป็นจิตใจของตนนั้น ก็เพื่อให้รู้ การบุญการกุศล บาปอกุศล และเพียงให้รู้ สุข ทุกข์ สวรรค์ นรกแลพระนิพพานเท่านั้น ถ้าถึงนิพพานแล้ว ก็ต้องวางใจให้แก่โลกเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้เป็นโทษ ไม่อาจจะถึงนิพพานได้"อันบุคคลใดรู้สึกตนเองเหมือนดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ซึ่งถูก ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ, เหมือนผ้าเช็ดธุลีที่เช็ดของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ, เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเจียมตัวอยู่เสมอ เวลาเข้าไปสู่ที่ต่าง ๆ, เหมือนโคที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดดีแล้ว ไม่ทำร้ายใคร ๆ, เบื่อหน่ายต่อกายนี้ เหมือน ชายหนุ่มหญิงสาวที่คล้องซากงูไว้ที่คอ,บริหารกายนี้ เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันรั่วทะลุ มีน้ำมันไหลออกอยู่ จิตของบุคคลนั้นย่อมเป็นเหมือนแผ่นดิน โดยการหยุด การติดบัญญัติเหมือนคนธรรมดาสามัญที่บัญญัติไว้โดยสมมุติ อันเป็นของคู่ๆกันขึ้นมา ทั้งคำว่า"มี และคำว่าไม่มี"เช่น มีได้มีเสีย มีแพ้มีชนะ มีหญิงมีชาย มีกำไรมีขาดทุน มีดีมีชั่ว มีสุขมีทุกข์ มีนรกมีสวรรค์ มีโลภมีกลัว เสียออกจากใจนี้ ให้เป็นเพียงสิ่งที่มีเหตุและปัจจัยประกอบขึ้นมาด้วยกัน ด้วยกำลังของสติปัญญาล้วนๆเท่านั้น เมื่อรู้สมมุติ ใช้สมมุติ ได้ประโยชน์จากสมมุติ สุดท้ายไม่ยึดติดในสมมุติ...ทั้งหมด เป็น"ธาตุ" ไม่มีใครเลย.!เมื่อนั้น....ก็เป็น "ปัญญา" ที่รู้ ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัจจัยให้สิ่งใดเกิด...สิ่งนั้นก็เกิด สภาพธรรมเกิดขึ้น เพราะ "เหตุ-ปัจจัย"เมื่อเป็นสิ่งที่ว่างจากคำว่า มี หรือ ไม่มี ว่างจากตัวตน จึงไม่สุดโตงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลย หมดความรู้สึกทั้งสองอย่างทั้งทางบวกและทางลบ อันเกี่ยวกับตัวตน ถอนสิ่งทั้งปวงเสียได้