สำหรับละครญี่ปุ่น นอกจากละครแนวสืบสวนสอบสวนแล้ว ละครแนวอาชีพก็เป็นละครอีกแนวหนึ่งที่พบเห็นได้มากในละครญี่ปุ่นค่ะ ใครที่ยังไม่แน่ใจว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” หรือ “ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน” ละครญี่ปุ่นช่วยคุณได้ค่ะ
วันนี้ก็เลยอยากจะมาแนะนำอาชีพ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานผ่านละครญี่ปุ่น แต่ละครญี่ปุ่นแนวอาชีพมีจำนวนเยอะมากๆ ค่ะ ก็เลยขอคัดเลือกแค่อาชีพที่น่าสนใจที่ไม่ควรพลาดมาให้ได้รู้จักกัน จะมีอาชีพอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
1. หมอ
ถ้าพูดถึงละครญี่ปุ่น อาชีพนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ค่ะ ถ้าพูดถึงละครญี่ปุ่นแนวอาชีพ จะต้องนึกถึงละครอาชีพหมอเป็นอันดับแรกค่ะ และยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เด็กๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น ละครแนวหมอที่ดังสุดๆ ในหมู่คนไทยก็คงจะเป็นเรื่อง “Team Dragon” ค่ะ “ทีมแพทย์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด” มีตัวละครเอกคือ “คุณหมออาซาดะ” ผู้มีฝีมือการผ่าตัดสุดเทพ พร้อมอุดมการณ์อันแรงกล้าที่อยากจะช่วยเหลือผู้คนมากกว่าสิ่งอื่นใด นอกจากนี้เนื้อเรื่องก็ยังแทรกความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ เทคนิคการผ่าตัด ผ่าท้องกันให้เห็นกันสดๆ หัวใจยังเต้นตุ๊บๆ เลยค่ะ
ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกก็อย่างเช่น “Doctor X” แพทย์ฟรีแลนซ์ แพทย์ทางเลือกใหม่ที่ไม่ยึดติดกับองค์กร ขอเพียงแค่มีฝีมืออันเฉียบคม ก็สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้ และละครญี่ปุ่นก็ไม่ได้มีแค่หมอในโรงพยาบาลเท่านั้นนะคะ ละครญี่ปุ่นยังนำเสนอหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน “Code Blue” และหน่วยแพทย์สาธารณภัยอย่างเรื่อง “Dr.DMAT” ที่เอาไว้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติโดยเฉพาะค่ะ เวลาดูละครแนวนี้แล้วเหมือนกับว่าเรากำลังได้เข้าคอร์สเรียนวิชาแพทย์เล็กๆ คอร์สหนึ่งผ่านทางจอโทรทัศน์เลยค่ะ แล้วก็ยังได้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต” ความรู้สึกที่ได้ช่วยใครสักคนให้มีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นความรู้สึกที่ดีจริงๆ ค่ะ
2. งานด้านสายการบิน
ถ้าพูดถึงอาชีพเกี่ยวกับสายการบิน อาชีพที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คงหนีไม่พ้นนักบิน แอร์โอสเตส และกราวด์ ใช่ไหมคะ ซึ่งละครญี่ปุ่นเองก็มีการสร้างเกี่ยวกับอาชีพพวกนี้ค่ะ อย่างเช่นเรื่อง “Attention Please” ละครเกี่ยวกับสาวห้าวผู้มีความฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตส เป็นละครฟอร์มใหญ่เลยทีเดียวค่ะ เป็นการร่วมมือกันระหว่างช่อง Fuji TV กับสายการบินญี่ปุ่น JAL เนื้อเรื่องก็จะเล่าถึงเส้นทางกว่าจะมาเป็นแอร์โฮสเตสค่ะ
ส่วนอาชีพกราวด์หรือพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินก็คือเรื่อง “Big Wing” สาวน้อยผู้มีความเพียรพยายามในหน้าที่ของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน ที่พร้อมจะพิสูจน์ฝีมือ และความรักอาชีพนี้ให้เพื่อนร่วมงานได้เห็นและยอมรับ
อาชีพนักบินก็มีด้วยเช่นกันค่ะ มีทั้งนักบินชายและนักบินหญิงเลยทีเดียว อย่างเช่นเรื่อง “Good Luck” กับ “Miss Pilot” ดูเหมือนจะจบแค่นี้ แต่ก็ยังไม่จบค่ะ ละครญี่ปุ่นยังสร้างละครอาชีพทางสายการบินเพิ่มขึ้นมาอีกอาชีพหนึ่งก็คือ “Tokyo Airport” ละครเกี่ยวกับ “ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ” หรือ Traffic Controller ใครอยากรู้ว่าพวกเขามีวิธีการทำงานแบบไหนสามารถศึกษาได้ที่ละครเรื่องนี้เลยค่ะ
3. นายธนาคาร
อาชีพนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ค่ะ เป็นละครแนวอาชีพที่กวาดเรตติ้งมาถล่มทลาย ซึ่งก็คือเรื่อง “Hanzawa Naoki” ละครญี่ปุ่นเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของนายธนาคาร เรื่องมันก็เริ่มจากนาย Hanzawa ถูก Asano ผู้จัดการสาขาบีบให้เขาต้องปล่อยสินเชื่อ 500 ล้านเยนให้กับบริษัทนิชิโอซากาสตีล โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Hanzawa ก็ไม่เห็นด้วยค่ะ แต่ก็จำยอมทำไป ผลสุดท้ายนิชิโอซากาสตีลก็ล้มละลาย นั่นหมายความว่าธนาคารได้สูญเสียเงินไป 500 ล้านเยน! ความผิดคราวนี้ทุกคนก็โยนให้ Hanzawa เต็มๆ แต่... Hanzawa ไม่ยอมแพ้กับความผิดที่ไม่ได้ตั้งใจก่อหรอกค่ะ เขาหันมาฮึดสู้อีกครั้ง และประกาศลั่นว่าเขาจะหาเงิน 500 ล้านเยนกลับมาให้ได้
นอกจากพล็อตเรื่องที่สนุกแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องที่สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับอาชีพธนาคารด้วยค่ะ มีศัพท์เกี่ยวกับธนาคารเยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ เพราะว่ามีผู้เล่าเรื่องที่คอยอธิบายความหมายของศัพท์เฉพาะพวกนั้น รวมไปถึงขั้นตอนการทำงานด้วยค่ะ อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ทำให้เราได้มองเห็นว่า...นายธนาคารแท้จริงแล้วคือผู้ที่ทำหน้าที่อะไร เชื่อหรือไม่ว่าผู้ที่มีอำนาจทางการเงินก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สามารถทำลาย และสร้างชีวิตคนคนหนึ่งให้ลุกขึ้นมาก้าวเดินได้อีกครั้ง
“ท่านประธานคิดว่ายังไงครับ เขามีค่ามากกว่า 500 ล้านเยนเหรอครับ”
“โอวาดะ คุณค่าของคนน่ะเอาเงินมาวัดไม่ได้หรอกนะนั่นคือสิ่งที่ฉันเชื่อ
ในฐานะนายธนาคารที่มีพลังความสามารถเคลื่อนย้ายเงินจำนวนมหาศาลได้
ถ้าเรารู้สึกเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พลังนั้นจะสามารถสร้างหรือทำลายชีวิตของคนได้”
4. นักดำน้ำงมหอยเม่น
อาชีพนักดำน้ำงมหอยเม่น ต้องเป็นละครเรื่องนี้เลยค่ะ “Amachan” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวคนหนึ่งที่มักจะทำอะไรไม่สำเร็จ ไม่มีความฝัน และความหวังในชีวิต แต่เมื่อได้กลับมาที่บ้านยายที่ต่างจังหวัด ได้ไปเห็นคุณยาย (ที่ตอนแรกไม่รู้ว่าเป็นยายตัวเอง) งมหอยเม่น แล้วเอามาให้เธอกิน จากการดำผุดดำว่ายในท้องทะเล ทำให้เธอมีความใฝ่ฝันอยากจะเป็น “อามะจัง” หรือนักดำน้ำงมหอยเม่นดูบ้าง
Amachan เป็นละครที่นำเสนออาชีพของคนในท้องถิ่น ที่คนในเมืองอาจจะหลงลืมไป หรือไม่ได้ให้ความสำคัญมาก แต่พอดูเรื่องนี้แล้ว รู้สึกว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจจริงๆ เริ่มแรกอาจจะดูน่ากลัวค่ะ เพราะท้องทะเลมันทั้งกว้างใหญ่และลึก น้ำมันจะเย็นจนเราทนไม่ไหวหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจเป็นความรู้สึกกลัวที่เราคิดไปเอง แต่พอถึงคราวลงมือทำ เราอาจจะไม่มีเวลาจะมาคิดเรื่องพวกนี้หรอกค่ะ นอกจากความตั้งใจต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรา
“ไม่มีเวลาจะไปคิดเรื่องน้ำเย็น หรือจะไปไม่ถึงน้ำลึกหรอกนะ ก่อนดำน้ำอาจคิดหลายเรื่องในหัว
แต่... มันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดหรอก เพราะอย่างนั้นก็แค่โดดไปเลย ยังไงก็ไม่มีใครอยากตายหรอก”
ฝันอยากจะเป็นอะไร ก็กระโดดเข้าไปพุ่งชนมันเลยค่ะ!
5. เชฟ
มาที่อาชีพเชฟกันบ้าง ละครแนวนี้ที่อยากจะแนะนำก็คือเรื่อง “Bambino” ค่ะ เชฟทำอาหารมือใหม่ ที่ทะนงตัวว่าตัวเองมีความสามารถ แต่แท้จริงแล้วระดับความสามารถของเขาก็ไม่ต่างอะไรจาก Bambino หรือเด็กอมมือ ที่มีระดับฝีมืออ่อนหัด! เขาจึงต้องฝึกงานตั้งแต่เด็กล้างจานไปจนถึงระดับเชฟ สำหรับเรื่องนี้ก็จะแทรกแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพอื่นๆ ในร้านอาหารที่ไม่ใช่แค่เชฟด้วยค่ะ อย่างเช่น อาชีพเด็กเสิร์ฟ เราอาจจะมองว่าอาชีพนี้ไม่ค่อยมีความโดดเด่นอะไรมาก แต่ถ้าขาดอาชีพนี้ไปก็ถึงกับเปิดร้านอาหารไม่ได้ และเชฟก็ไม่สามารถทำอาหารได้เลยทีเดียวค่ะ เพราะ...
“อาชีพนักเสิร์ฟ คือคนที่ส่งต่อความรู้สึกจากลูกค้ามายังเชฟ
ถ้าไม่มีพนักงานเสิร์ฟ เชฟก็จะไม่มีทางทำอาหารแต่ละจานออกมาได้เลย!”
หรือจะเป็นเรื่อง “Hungry” อดีตนักดนตรีร็อกผันตัวมาเป็นเชฟมืออาชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วเขาเองก็เรียนจบด้านการทำอาหารมา แต่ดันไปหลงเสน่ห์ดนตรีร็อก เลยทำให้เขาต้องทิ้งร้านอาหารให้แม่ดูแลเอง และเดินไปตามเส้นทางของสายดนตรีแทน แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แม่ของเขาได้เสียชีวิตลง เพื่อปกป้องร้านอาหารที่แม่รัก เขาจึงต้องหันมาเป็นเชฟ และสร้างร้านอาหารให้กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งให้ได้
6. ครู
อาชีพนี้ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เด็กไทยหลายคนใฝ่ฝันที่อยากจะเป็น ครูอาจารย์นั้นไม่ใช่ผู้ที่สอนวิชาความรู้อยากเดียว แต่เป็นบุคคลหนึ่งที่ช่วยอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี ละครญี่ปุ่นที่สร้างแรงบันดาลใจในอาชีพครูที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นก็คือ “GTO Great Teacher Onizuka” เรื่องราวของนักเลงจอมซ่าที่ผันชีวิตมาเป็นครู เขาต้องมาจัดการกับนักเรียนจอมแสบ และสั่งสอนเด็กเหล่านั้นให้เป็นคนดีในสังคมต่อไป ถึงแม้เขาจะเป็นนักเลง แต่ก็มีจิตวิญญาณของความเป็นครูไม่แพ้ใครเลย
หรือจะเป็นเรื่อง “Gokusen” ครูสาวยังกุมิ ทายาทของแก๊งยากูซ่าผู้มีความฝันที่อยากจะเป็นครู เพื่อที่จะทำให้ฝันนั้นมันจริง ทำให้เธอต้องปกปิดสถานะที่แท้จริงของตัวเอง เพื่อที่จะมาให้ความรู้และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ที่ตัวเองรัก แต่งานนี้ก็ไม่ได้ง่ายนัก เธอต้องมาเป็นครูประจำชั้นนักเรียนห้องที่เด็กเกเรที่สุด และคอยให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งสั่งสอน ชี้แนะแนวทางไม่ให้เด็กเหล่านั้นหลงเดินไปในทางที่ผิด
7. อาชีพด้านสื่อสารมวลชน
- นักข่าว
เรื่อง “Top Caster” เรื่องราวเกี่ยวกับ Tsubaki Haruka (รับบทโดย Yuki Amami) ผู้ประกาศข่าวผู้บ้าบิ่น ที่ถูกเรียกตัวกลับมาจากอเมริกา เพื่อให้มาทำรายการข่าวใหม่ของสถานีโทรทัศน์ อีกทั้งยังต้องร่วมงานกับผู้ช่วยหน้าใหม่ที่ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่เป็นนักข่าวพยากรณ์อากาศ ละครญี่ปุ่นเรื่องนี้จะทำให้เราได้เห็นถึงจรรยาบรรณการเป็นนักข่าว และวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จค่ะ
หรือจะเป็นเรื่อง “Perfect Report” เรื่องราวของ Aoyama Kanae (รับบทโดย Matsuyuki Yasuko) นักข่าวหญิงวัย 40 ปี เป็นคนหัวแข็ง มากฝีมือ แต่เป็นปฏิปักษ์กับองค์กร ทำให้เธอถูกย้ายไปเป็นหัวหน้าทีมหน่วยข่าวสำรองที่รวบรวมนักข่าวด้อยฝีมือให้มาอยู่ด้วยกัน ทำให้เธอต้องใช้ความสามารถเพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเอง และดึงศักยภาพของลูกน้องออกมา เพื่อให้เห็นว่านี่คือหน่วยข่าวที่ไม่แพ้ใคร
- บรรณาธิการ
อาชีพเกี่ยวกับการสร้างสรรค์หนังสือละครญี่ปุ่นก็ไม่พลาดค่ะ มีทั้งหนังสือเล่ม และนิตยสาร อาชีพบรรณาธิการหนังสือเล่มก็คือ เรื่อง “Itsumo Futari de” เริ่มแรกของเรื่องจะเน้นไปที่อาชีพ “นักเขียน” ซึ่งเป็นความฝันของนางเอก แต่วันดีคืนดีชีวิตผลิกผันได้มาเป็นบรรณาธิการหนังสือ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ละทิ้งอาชีพนักเขียนของตัวเองค่ะ ก็ถือว่าเป็นละครที่นำเสนอทั้งอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการเลยทีเดียว
ส่วนละครเกี่ยวกับบรรณาธิการนิตยสาร ก็คือเรื่อง “First Class” ที่กำลังฉายในละครฤดูใบไม้ผลิ ปี 2014 ค่ะ รับบทนำโดย Sawajiri Erika เป็นการหวนคืนสู่จอแก้วเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีของเธอเลยค่ะ เนื้อเรื่องก็จะเป็นเรื่องราวของกองบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่นที่ชื่อว่า “ First Class” ที่ต่างคนก็ต่างชิงดีชิงเด่นกัน หนทางเดียวที่นางเอกสาวของเราจะอยู่รอดได้ก็คือ การก้าวขึ้นไปเป็นบรรณาธิการอันดับ 1 เท่านั้น !
“ผู้ที่ชนะเท่านั้น จึงจะมีสิทธิครอบครองความฝัน”
- ครีเอทีฟ
ละครญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครีเอทีฟต้องเรื่องนี้เลยค่ะ “Sapuri” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสาวครีเอทีฟบริษัทโฆษณาผู้บ้างานกับหนุ่มพาร์ทไทม์ที่มีคติว่า “ชีวิตไม่ได้มีแค่งาน” ทั้งสองมีแนวคิดในการทำงาน และลักษณะนิสัยที่ต่างกันสุดขั้ว รวมทั้งอายุที่ห่างกัน แต่แล้วพวกเขาทั้งสองกลับหลงรักกันอย่างไม่รู้ตัว ! เป็นละครแนวอาชีพที่สร้างแรงบันดาลใจในสายงานครีเอทีฟบริษัทโฆษณา ผสมไปกับเรื่องราวความรักต่างวัยที่มาให้คนดูอย่างเราต้องคอยเอาใจช่วยไปตามๆ กันค่ะ
สร้างแรงบันดาลใจไปกับละครญี่ปุ่นแนวอาชีพ (ภาค1-2)...โดยคุณชามะนาว
วันนี้ก็เลยอยากจะมาแนะนำอาชีพ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานผ่านละครญี่ปุ่น แต่ละครญี่ปุ่นแนวอาชีพมีจำนวนเยอะมากๆ ค่ะ ก็เลยขอคัดเลือกแค่อาชีพที่น่าสนใจที่ไม่ควรพลาดมาให้ได้รู้จักกัน จะมีอาชีพอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
1. หมอ
ถ้าพูดถึงละครญี่ปุ่น อาชีพนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ค่ะ ถ้าพูดถึงละครญี่ปุ่นแนวอาชีพ จะต้องนึกถึงละครอาชีพหมอเป็นอันดับแรกค่ะ และยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เด็กๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น ละครแนวหมอที่ดังสุดๆ ในหมู่คนไทยก็คงจะเป็นเรื่อง “Team Dragon” ค่ะ “ทีมแพทย์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด” มีตัวละครเอกคือ “คุณหมออาซาดะ” ผู้มีฝีมือการผ่าตัดสุดเทพ พร้อมอุดมการณ์อันแรงกล้าที่อยากจะช่วยเหลือผู้คนมากกว่าสิ่งอื่นใด นอกจากนี้เนื้อเรื่องก็ยังแทรกความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ เทคนิคการผ่าตัด ผ่าท้องกันให้เห็นกันสดๆ หัวใจยังเต้นตุ๊บๆ เลยค่ะ
ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกก็อย่างเช่น “Doctor X” แพทย์ฟรีแลนซ์ แพทย์ทางเลือกใหม่ที่ไม่ยึดติดกับองค์กร ขอเพียงแค่มีฝีมืออันเฉียบคม ก็สามารถช่วยเหลือคนไข้ได้ และละครญี่ปุ่นก็ไม่ได้มีแค่หมอในโรงพยาบาลเท่านั้นนะคะ ละครญี่ปุ่นยังนำเสนอหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน “Code Blue” และหน่วยแพทย์สาธารณภัยอย่างเรื่อง “Dr.DMAT” ที่เอาไว้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติโดยเฉพาะค่ะ เวลาดูละครแนวนี้แล้วเหมือนกับว่าเรากำลังได้เข้าคอร์สเรียนวิชาแพทย์เล็กๆ คอร์สหนึ่งผ่านทางจอโทรทัศน์เลยค่ะ แล้วก็ยังได้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต” ความรู้สึกที่ได้ช่วยใครสักคนให้มีชีวิตอยู่ต่อไป เป็นความรู้สึกที่ดีจริงๆ ค่ะ
2. งานด้านสายการบิน
ถ้าพูดถึงอาชีพเกี่ยวกับสายการบิน อาชีพที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คงหนีไม่พ้นนักบิน แอร์โอสเตส และกราวด์ ใช่ไหมคะ ซึ่งละครญี่ปุ่นเองก็มีการสร้างเกี่ยวกับอาชีพพวกนี้ค่ะ อย่างเช่นเรื่อง “Attention Please” ละครเกี่ยวกับสาวห้าวผู้มีความฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตส เป็นละครฟอร์มใหญ่เลยทีเดียวค่ะ เป็นการร่วมมือกันระหว่างช่อง Fuji TV กับสายการบินญี่ปุ่น JAL เนื้อเรื่องก็จะเล่าถึงเส้นทางกว่าจะมาเป็นแอร์โฮสเตสค่ะ
ส่วนอาชีพกราวด์หรือพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินก็คือเรื่อง “Big Wing” สาวน้อยผู้มีความเพียรพยายามในหน้าที่ของพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน ที่พร้อมจะพิสูจน์ฝีมือ และความรักอาชีพนี้ให้เพื่อนร่วมงานได้เห็นและยอมรับ
อาชีพนักบินก็มีด้วยเช่นกันค่ะ มีทั้งนักบินชายและนักบินหญิงเลยทีเดียว อย่างเช่นเรื่อง “Good Luck” กับ “Miss Pilot” ดูเหมือนจะจบแค่นี้ แต่ก็ยังไม่จบค่ะ ละครญี่ปุ่นยังสร้างละครอาชีพทางสายการบินเพิ่มขึ้นมาอีกอาชีพหนึ่งก็คือ “Tokyo Airport” ละครเกี่ยวกับ “ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ” หรือ Traffic Controller ใครอยากรู้ว่าพวกเขามีวิธีการทำงานแบบไหนสามารถศึกษาได้ที่ละครเรื่องนี้เลยค่ะ
3. นายธนาคาร
อาชีพนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ค่ะ เป็นละครแนวอาชีพที่กวาดเรตติ้งมาถล่มทลาย ซึ่งก็คือเรื่อง “Hanzawa Naoki” ละครญี่ปุ่นเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของนายธนาคาร เรื่องมันก็เริ่มจากนาย Hanzawa ถูก Asano ผู้จัดการสาขาบีบให้เขาต้องปล่อยสินเชื่อ 500 ล้านเยนให้กับบริษัทนิชิโอซากาสตีล โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Hanzawa ก็ไม่เห็นด้วยค่ะ แต่ก็จำยอมทำไป ผลสุดท้ายนิชิโอซากาสตีลก็ล้มละลาย นั่นหมายความว่าธนาคารได้สูญเสียเงินไป 500 ล้านเยน! ความผิดคราวนี้ทุกคนก็โยนให้ Hanzawa เต็มๆ แต่... Hanzawa ไม่ยอมแพ้กับความผิดที่ไม่ได้ตั้งใจก่อหรอกค่ะ เขาหันมาฮึดสู้อีกครั้ง และประกาศลั่นว่าเขาจะหาเงิน 500 ล้านเยนกลับมาให้ได้
นอกจากพล็อตเรื่องที่สนุกแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องที่สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับอาชีพธนาคารด้วยค่ะ มีศัพท์เกี่ยวกับธนาคารเยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ เพราะว่ามีผู้เล่าเรื่องที่คอยอธิบายความหมายของศัพท์เฉพาะพวกนั้น รวมไปถึงขั้นตอนการทำงานด้วยค่ะ อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ทำให้เราได้มองเห็นว่า...นายธนาคารแท้จริงแล้วคือผู้ที่ทำหน้าที่อะไร เชื่อหรือไม่ว่าผู้ที่มีอำนาจทางการเงินก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สามารถทำลาย และสร้างชีวิตคนคนหนึ่งให้ลุกขึ้นมาก้าวเดินได้อีกครั้ง
“ท่านประธานคิดว่ายังไงครับ เขามีค่ามากกว่า 500 ล้านเยนเหรอครับ”
“โอวาดะ คุณค่าของคนน่ะเอาเงินมาวัดไม่ได้หรอกนะนั่นคือสิ่งที่ฉันเชื่อ
ในฐานะนายธนาคารที่มีพลังความสามารถเคลื่อนย้ายเงินจำนวนมหาศาลได้
ถ้าเรารู้สึกเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง พลังนั้นจะสามารถสร้างหรือทำลายชีวิตของคนได้”
4. นักดำน้ำงมหอยเม่น
อาชีพนักดำน้ำงมหอยเม่น ต้องเป็นละครเรื่องนี้เลยค่ะ “Amachan” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวคนหนึ่งที่มักจะทำอะไรไม่สำเร็จ ไม่มีความฝัน และความหวังในชีวิต แต่เมื่อได้กลับมาที่บ้านยายที่ต่างจังหวัด ได้ไปเห็นคุณยาย (ที่ตอนแรกไม่รู้ว่าเป็นยายตัวเอง) งมหอยเม่น แล้วเอามาให้เธอกิน จากการดำผุดดำว่ายในท้องทะเล ทำให้เธอมีความใฝ่ฝันอยากจะเป็น “อามะจัง” หรือนักดำน้ำงมหอยเม่นดูบ้าง
Amachan เป็นละครที่นำเสนออาชีพของคนในท้องถิ่น ที่คนในเมืองอาจจะหลงลืมไป หรือไม่ได้ให้ความสำคัญมาก แต่พอดูเรื่องนี้แล้ว รู้สึกว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจจริงๆ เริ่มแรกอาจจะดูน่ากลัวค่ะ เพราะท้องทะเลมันทั้งกว้างใหญ่และลึก น้ำมันจะเย็นจนเราทนไม่ไหวหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ถึงอย่างนั้นก็อาจเป็นความรู้สึกกลัวที่เราคิดไปเอง แต่พอถึงคราวลงมือทำ เราอาจจะไม่มีเวลาจะมาคิดเรื่องพวกนี้หรอกค่ะ นอกจากความตั้งใจต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรา
“ไม่มีเวลาจะไปคิดเรื่องน้ำเย็น หรือจะไปไม่ถึงน้ำลึกหรอกนะ ก่อนดำน้ำอาจคิดหลายเรื่องในหัว
แต่... มันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดหรอก เพราะอย่างนั้นก็แค่โดดไปเลย ยังไงก็ไม่มีใครอยากตายหรอก”
ฝันอยากจะเป็นอะไร ก็กระโดดเข้าไปพุ่งชนมันเลยค่ะ!
5. เชฟ
มาที่อาชีพเชฟกันบ้าง ละครแนวนี้ที่อยากจะแนะนำก็คือเรื่อง “Bambino” ค่ะ เชฟทำอาหารมือใหม่ ที่ทะนงตัวว่าตัวเองมีความสามารถ แต่แท้จริงแล้วระดับความสามารถของเขาก็ไม่ต่างอะไรจาก Bambino หรือเด็กอมมือ ที่มีระดับฝีมืออ่อนหัด! เขาจึงต้องฝึกงานตั้งแต่เด็กล้างจานไปจนถึงระดับเชฟ สำหรับเรื่องนี้ก็จะแทรกแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพอื่นๆ ในร้านอาหารที่ไม่ใช่แค่เชฟด้วยค่ะ อย่างเช่น อาชีพเด็กเสิร์ฟ เราอาจจะมองว่าอาชีพนี้ไม่ค่อยมีความโดดเด่นอะไรมาก แต่ถ้าขาดอาชีพนี้ไปก็ถึงกับเปิดร้านอาหารไม่ได้ และเชฟก็ไม่สามารถทำอาหารได้เลยทีเดียวค่ะ เพราะ...
“อาชีพนักเสิร์ฟ คือคนที่ส่งต่อความรู้สึกจากลูกค้ามายังเชฟ
ถ้าไม่มีพนักงานเสิร์ฟ เชฟก็จะไม่มีทางทำอาหารแต่ละจานออกมาได้เลย!”
หรือจะเป็นเรื่อง “Hungry” อดีตนักดนตรีร็อกผันตัวมาเป็นเชฟมืออาชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วเขาเองก็เรียนจบด้านการทำอาหารมา แต่ดันไปหลงเสน่ห์ดนตรีร็อก เลยทำให้เขาต้องทิ้งร้านอาหารให้แม่ดูแลเอง และเดินไปตามเส้นทางของสายดนตรีแทน แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แม่ของเขาได้เสียชีวิตลง เพื่อปกป้องร้านอาหารที่แม่รัก เขาจึงต้องหันมาเป็นเชฟ และสร้างร้านอาหารให้กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งให้ได้
6. ครู
อาชีพนี้ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เด็กไทยหลายคนใฝ่ฝันที่อยากจะเป็น ครูอาจารย์นั้นไม่ใช่ผู้ที่สอนวิชาความรู้อยากเดียว แต่เป็นบุคคลหนึ่งที่ช่วยอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี ละครญี่ปุ่นที่สร้างแรงบันดาลใจในอาชีพครูที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นก็คือ “GTO Great Teacher Onizuka” เรื่องราวของนักเลงจอมซ่าที่ผันชีวิตมาเป็นครู เขาต้องมาจัดการกับนักเรียนจอมแสบ และสั่งสอนเด็กเหล่านั้นให้เป็นคนดีในสังคมต่อไป ถึงแม้เขาจะเป็นนักเลง แต่ก็มีจิตวิญญาณของความเป็นครูไม่แพ้ใครเลย
หรือจะเป็นเรื่อง “Gokusen” ครูสาวยังกุมิ ทายาทของแก๊งยากูซ่าผู้มีความฝันที่อยากจะเป็นครู เพื่อที่จะทำให้ฝันนั้นมันจริง ทำให้เธอต้องปกปิดสถานะที่แท้จริงของตัวเอง เพื่อที่จะมาให้ความรู้และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ที่ตัวเองรัก แต่งานนี้ก็ไม่ได้ง่ายนัก เธอต้องมาเป็นครูประจำชั้นนักเรียนห้องที่เด็กเกเรที่สุด และคอยให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งสั่งสอน ชี้แนะแนวทางไม่ให้เด็กเหล่านั้นหลงเดินไปในทางที่ผิด
7. อาชีพด้านสื่อสารมวลชน
- นักข่าว
เรื่อง “Top Caster” เรื่องราวเกี่ยวกับ Tsubaki Haruka (รับบทโดย Yuki Amami) ผู้ประกาศข่าวผู้บ้าบิ่น ที่ถูกเรียกตัวกลับมาจากอเมริกา เพื่อให้มาทำรายการข่าวใหม่ของสถานีโทรทัศน์ อีกทั้งยังต้องร่วมงานกับผู้ช่วยหน้าใหม่ที่ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่เป็นนักข่าวพยากรณ์อากาศ ละครญี่ปุ่นเรื่องนี้จะทำให้เราได้เห็นถึงจรรยาบรรณการเป็นนักข่าว และวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จค่ะ
หรือจะเป็นเรื่อง “Perfect Report” เรื่องราวของ Aoyama Kanae (รับบทโดย Matsuyuki Yasuko) นักข่าวหญิงวัย 40 ปี เป็นคนหัวแข็ง มากฝีมือ แต่เป็นปฏิปักษ์กับองค์กร ทำให้เธอถูกย้ายไปเป็นหัวหน้าทีมหน่วยข่าวสำรองที่รวบรวมนักข่าวด้อยฝีมือให้มาอยู่ด้วยกัน ทำให้เธอต้องใช้ความสามารถเพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเอง และดึงศักยภาพของลูกน้องออกมา เพื่อให้เห็นว่านี่คือหน่วยข่าวที่ไม่แพ้ใคร
- บรรณาธิการ
อาชีพเกี่ยวกับการสร้างสรรค์หนังสือละครญี่ปุ่นก็ไม่พลาดค่ะ มีทั้งหนังสือเล่ม และนิตยสาร อาชีพบรรณาธิการหนังสือเล่มก็คือ เรื่อง “Itsumo Futari de” เริ่มแรกของเรื่องจะเน้นไปที่อาชีพ “นักเขียน” ซึ่งเป็นความฝันของนางเอก แต่วันดีคืนดีชีวิตผลิกผันได้มาเป็นบรรณาธิการหนังสือ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ละทิ้งอาชีพนักเขียนของตัวเองค่ะ ก็ถือว่าเป็นละครที่นำเสนอทั้งอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการเลยทีเดียว
ส่วนละครเกี่ยวกับบรรณาธิการนิตยสาร ก็คือเรื่อง “First Class” ที่กำลังฉายในละครฤดูใบไม้ผลิ ปี 2014 ค่ะ รับบทนำโดย Sawajiri Erika เป็นการหวนคืนสู่จอแก้วเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีของเธอเลยค่ะ เนื้อเรื่องก็จะเป็นเรื่องราวของกองบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่นที่ชื่อว่า “ First Class” ที่ต่างคนก็ต่างชิงดีชิงเด่นกัน หนทางเดียวที่นางเอกสาวของเราจะอยู่รอดได้ก็คือ การก้าวขึ้นไปเป็นบรรณาธิการอันดับ 1 เท่านั้น !
“ผู้ที่ชนะเท่านั้น จึงจะมีสิทธิครอบครองความฝัน”
- ครีเอทีฟ
ละครญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครีเอทีฟต้องเรื่องนี้เลยค่ะ “Sapuri” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสาวครีเอทีฟบริษัทโฆษณาผู้บ้างานกับหนุ่มพาร์ทไทม์ที่มีคติว่า “ชีวิตไม่ได้มีแค่งาน” ทั้งสองมีแนวคิดในการทำงาน และลักษณะนิสัยที่ต่างกันสุดขั้ว รวมทั้งอายุที่ห่างกัน แต่แล้วพวกเขาทั้งสองกลับหลงรักกันอย่างไม่รู้ตัว ! เป็นละครแนวอาชีพที่สร้างแรงบันดาลใจในสายงานครีเอทีฟบริษัทโฆษณา ผสมไปกับเรื่องราวความรักต่างวัยที่มาให้คนดูอย่างเราต้องคอยเอาใจช่วยไปตามๆ กันค่ะ