เนื้อหาในเน็ตก็อ่านแล้วแต่ก็ยังตอบโจทย์ที่สงสัยไม่ได้ การประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 1 รอบ 2 และ รอบ 3 ต่างกัน แล้วเหมือน ยังไงค่ะ นี่มีรอบ 4 ด้วย งง ไปใหญ่เลย แล้วแต่ละครั้งที่ประเมิน สมศ ต้องกำหนดตัวบ่งชี้ใหม่ หรือว่ายึด จากหลักสูตร
อ่านจากข่าวนี้ ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องลดชั่วโมงจิตอาสา
สถานศึกษาคุณภาพเจ๋งเฮ ไม่ต้องประเมินฯรอบสี่แบบเข้ม “ชาญณรงค์” เผยลดชั่วโมงจิตอาสาเหลือ 40 ชั่วโมง ขณะที่อุดมฯ ประเมินเป็นกลุ่มประเภทมหา'ลัย คาดกลางเดือน ธ.ค.นี้ ได้ข้อสรุปตัวบ่งชี้สถานศึกษาคุณภาพเจ๋งเฮ ไม่ต้องประเมินฯรอบสี่แบบเข้ม “ชาญณรงค์” เผยลดชั่วโมงจิตอาสาเหลือ 40 ชั่วโมง ขณะที่อุดมฯ ประเมินเป็นกลุ่มประเภทมหา'ลัย คาดกลางเดือน ธ.ค.นี้ ได้ข้อสรุปตัวบ่งชี้
วันนี้ (3 ธ.ค.)ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อพิจารณาตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่(ปีงบประมาณ2559-2563) โดยที่ประชุมได้มีการปรับลดจำนวนชั่วโมงจิตอาสาของการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ลงจากปีละ 50 ชั่วโมง เป็น 40 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กได้ทำจิตอาสาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ใน40 สัปดาห์ที่มีการจัดการเรียนการสอนของแต่ละปี ส่วนระดับอุดมศึกษานั้น ที่ประชุมเห็นว่าควรประเมินตามกลุ่มประเภทของมหาวิทยาลัย จึงได้มอบให้แต่ละกลุ่มมหาวิทยาลัยไปหารือเรื่องตัวบ่งชี้อีกครั้ง และเสนอกลับมายัง สมศ.ภายในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าตัวบ่งชี้อุดมศึกษาน่าจะแล้วเสร็จได้กลางเดือนธันวาคมนี้
“ในการประเมินฯรอบสี่ ซึ่งจะเริ่มประเมินในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 นั้น บอร์ด สมศ.ได้เห็นชอบในหลักการว่า หากสถานศึกษาใดมีคุณภาพสูง โดยมีผลการจัดอันดับติดอันดับโลก หรือผ่านการประเมินจากหน่วยงานต่างประเทศที่มีมาตรฐานสูงและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก หรือได้ผลการประเมินระดับดีมากจาก สมศ. 3 รอบต่อเนื่อง จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องประเมินตามรายตัวบ่งชี้ที่ สมศ.กำหนดแบบละเอียด แต่ สมศ.อาจเข้าไปตรวจเยี่ยมหรือเยี่ยมเยียนแทน เพราะถือว่าได้ผ่านการประเมินจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับมาแล้ว ส่วนรายละเอียดและวิธีดำเนินการนั้น จะต้องมีหารหารือกันอีก เช่น หน่วยงานการประเมินของต่างประเทศใดบ้างที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือ การติดอันดับโลกต้องติดอันดับที่เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น”ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว.
การประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 1 รอบ 2 และ รอบ 3 ต่างกันยังไงค่ะ
อ่านจากข่าวนี้ ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องลดชั่วโมงจิตอาสา
สถานศึกษาคุณภาพเจ๋งเฮ ไม่ต้องประเมินฯรอบสี่แบบเข้ม “ชาญณรงค์” เผยลดชั่วโมงจิตอาสาเหลือ 40 ชั่วโมง ขณะที่อุดมฯ ประเมินเป็นกลุ่มประเภทมหา'ลัย คาดกลางเดือน ธ.ค.นี้ ได้ข้อสรุปตัวบ่งชี้สถานศึกษาคุณภาพเจ๋งเฮ ไม่ต้องประเมินฯรอบสี่แบบเข้ม “ชาญณรงค์” เผยลดชั่วโมงจิตอาสาเหลือ 40 ชั่วโมง ขณะที่อุดมฯ ประเมินเป็นกลุ่มประเภทมหา'ลัย คาดกลางเดือน ธ.ค.นี้ ได้ข้อสรุปตัวบ่งชี้
วันนี้ (3 ธ.ค.)ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อพิจารณาตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่(ปีงบประมาณ2559-2563) โดยที่ประชุมได้มีการปรับลดจำนวนชั่วโมงจิตอาสาของการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ลงจากปีละ 50 ชั่วโมง เป็น 40 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กได้ทำจิตอาสาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ใน40 สัปดาห์ที่มีการจัดการเรียนการสอนของแต่ละปี ส่วนระดับอุดมศึกษานั้น ที่ประชุมเห็นว่าควรประเมินตามกลุ่มประเภทของมหาวิทยาลัย จึงได้มอบให้แต่ละกลุ่มมหาวิทยาลัยไปหารือเรื่องตัวบ่งชี้อีกครั้ง และเสนอกลับมายัง สมศ.ภายในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าตัวบ่งชี้อุดมศึกษาน่าจะแล้วเสร็จได้กลางเดือนธันวาคมนี้
“ในการประเมินฯรอบสี่ ซึ่งจะเริ่มประเมินในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 นั้น บอร์ด สมศ.ได้เห็นชอบในหลักการว่า หากสถานศึกษาใดมีคุณภาพสูง โดยมีผลการจัดอันดับติดอันดับโลก หรือผ่านการประเมินจากหน่วยงานต่างประเทศที่มีมาตรฐานสูงและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก หรือได้ผลการประเมินระดับดีมากจาก สมศ. 3 รอบต่อเนื่อง จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องประเมินตามรายตัวบ่งชี้ที่ สมศ.กำหนดแบบละเอียด แต่ สมศ.อาจเข้าไปตรวจเยี่ยมหรือเยี่ยมเยียนแทน เพราะถือว่าได้ผ่านการประเมินจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับมาแล้ว ส่วนรายละเอียดและวิธีดำเนินการนั้น จะต้องมีหารหารือกันอีก เช่น หน่วยงานการประเมินของต่างประเทศใดบ้างที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือ การติดอันดับโลกต้องติดอันดับที่เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น”ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว.