พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ TOT ร้อง คสช. 9 ประเด็น!! // เรื่องหลัก!! โครงสร้างองค์กร

พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ TOT ร้อง คสช. 9 ประเด็น!! // เรื่องหลัก!! ควรยุบโครงสร้างให้ถูกต้องเช่นสายงานบริการลูกค้ารายใหญ่ที่ควรจะยุบ,การจับกลุ่มของงานที่ไม่มีความเหมือนกัน,การใช้ITในการปฏิบัติงาน
ประเด็นหลัก

  
       1.ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunications technology) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) ได้ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน และต่างก็มีบทบาทที่สำคัญต่อการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบัน ที่ผ่านมา ทีโอที มีปัญหาในการมีผู้บริหารในตำแหน่ง CIO (Chief Information officer) ทำให้ขาดการวางนโยบาย/กำหนดทิศทาง/การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานในทีโอที ทำให้การเกิดปัญหา เช่น การแยกซื้อระบบ IT มาใช้ในเนื้องานการจัดทำบิล การดูแลลูกค้า การเก็บเงินลูกค้า แยกระบบกันทั้งๆ ที่ควรเป็นระบบที่รวมเข้าด้วยกันเป็นเนื้องานเดียวกัน
    
       การใช้เวลาที่นานมากเป็นเวลาหลายปีกว่าที่จะสามารถนำระบบที่จัดซื้อมาทั้ง 3 ระบบ (การจัดทำบิล การดูแลลูกค้า และการเก็บเงินลูกค้า) ใช้งาน (implement) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มฟังก์ชันที่จัดซื้อมาใช้งาน ปัญหาการจัดการซื้อระบบ IT เข้ามาช่วยบริหารงาน รวมทั้งการการวางแผนกำลังคนด้าน IT ยังไม่สอดคล้องต่อความรวดเร็วของการพัฒนา และการประยุกต์ใช้งานของเทคโนโลยี IT ในการออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ ควรจะได้นำปัญหานี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อที่จะออกแบบโครงสร้างองค์กรที่สะท้อนความสำคัญของเทคโนโลยี IT
    
       อย่างไรก็ตาม ในโครงสร้างองค์กรใหม่ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ พบว่า เนื้อหาของเทคโนโลยี IT ยังคงถูกแยกกระจัดกระจายลงในสายงานการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีเนื้องานของธุรกิจ IT, IDC และ Cloud แยกออกต่างหาก และลดความสำคัญลง โดยไปฝากไว้ให้ผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในงานสื่อสารโทรคมนาคมในการบริหารงานแทน ทำให้ ทีโอที ยังคงขาดผู้บริหารระดับสูงที่จะทำหน้าที่ CIO เพื่อให้ ทีโอที สามารถขับเคลื่อนเทคโนโลยี IT ในการวางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้าน IT รวมทั้งการเลือกใช้เทคโนโลยี IT เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรได้
    
       2.ที่ผ่านมา เคยมีการพูดคุยถึงสายงานบริการลูกค้ารายใหญ่ที่ควรจะยุบ และนำเนื้องานไปอยู่กับสายงานขาย และบริการลูกค้านครหลวง เพราะลูกค้ารายใหญ่ส่วนใหญ่จะมีสำนักงานอยู่ที่ กทม. โดยปัญหาของการมีสายงานให้บริการลูกค้ารายใหญ่ที่แยกออกมาจากพื้นที่ (สายงานขายและบริการลูกค้านครหลวง และสายงานขายและบริการลูกค้าภูมิภาค) ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการลูกค้า เพราะในทางปฏิบัติพนักงานให้บริการในพื้นที่ (นครหลวงและภูมิภาค) จะเป็นผู้ให้บริการลูกค้า (contact point ในการให้บริการลูกค้า) เนื้องานการให้บริการแก้ปัญหาเวลาเกิดเหตุเสีย หรือการให้บริการที่มีคุณภาพตามที่ตกลงในสัญญาให้บริการ (SLA: Service Level Agreement ที่ต้องให้เหตุเสียกลับมาดีภายใน 4 ชั่วโมง) ควบคุมไม่ได้เนื่องจากการดูแลลูกค้าไม่เบ็ดเสร็จในสายงานเดียวกัน
    
       และเมื่อมีการจัดสรรงบประมาณในการดูแลลูกค้า งบประมาณส่วนใหญ่จะลงไปที่สายงานให้บริการลูกค้ารายใหญ่ เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้สร้างรายได้ให้แก่องค์กรจำนวนมาก แต่งบประมาณจัดสรรลงในพื้นที่กลับน้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็น contact point
    
       จากการสอบถามทางวาจาจากพนักงานขาย พบข้อมูลว่า ในอดีต ทีโอที เคยมีการตั้งนิยามของลูกค้ารายใหญ่ที่ให้เกิดปัญหาในการให้บริการลูกค้า เช่น นิยามลูกค้ารายใหญ่คือ ลูกค้าที่สร้างรายได้ 1 แสนบาทขึ้นไป หากน้อยกว่าผลักไปอยู่ที่พื้นที่ดูแลแทน ความไม่ชัดเจนดังกล่าวทำให้เกิดการทับซ้อนในการดูแลลูกค้าอสังหาฯ ซึ่งเป็นลูกค้าที่ศูนย์การขายดูแล ส่งผลให้ไม่มีพนักงาน ทีโอที ไปดูแลลูกค้า ลูกค้าหนีไปอยู่กับผู้ให้บริการรายอื่น
    
       ทีโอที เคยมีรายได้จากการให้บริการลูกค้าหลักหมื่นล้านบาท และภายหลังการแบ่งลูกค้ารายใหญ่ออกไปจากการให้บริการของพื้นที่ ทำให้ยอดรายได้ตกเหลือเพียงประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาทเท่านั้น ในการออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ ควรจะได้นำปัญหานี้เข้าสู่การพิจารณา เพื่อที่จะออกแบบโครงสร้างองค์กรที่สะท้อนปัญหาการดูแลลูกค้ารายใหญ่ เพื่อให้เบ็ดเสร็จอยู่ในสายงานเดียวกันเป็นแบบ one stop service ตั้งแต่งานขาย งานดูแล และงานช่าง
    
       อย่างไรก็ตาม ในโครงสร้างองค์กรใหม่ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ พบว่า มีการตั้งสายงานขายและบริการภาครัฐ และภาคเอกชนแยกออกจากสายงานขายและบริการลูกค้านครหลวง และสายงานขายและบริการลูกค้าภูมิภาคเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังมีการตั้งฝ่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้นอีก โดยในขณะนี้มีแต่ผู้บริหาร ยังไม่มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานขายและดูแลลูกค้ามาอยู่ในสังกัด จริงๆ แล้วที่ผ่านมา ทีโอที เคยมีส่วนงานนี้มาก่อน และพบว่ามีความทับซ้อนต่อการให้บริการของพื้นที่ เพราะลูกค้า mass กับลูกค้า SME เป็นลูกค้ากลุ่มเดียวกัน สายงานดูแลลูกค้ารายใหญ่เคยยุบส่วนงานนี้ทิ้งไปเพื่อให้พนักงานในพื้นที่ดูแล
    
       ในปัจจุบันเมื่อพื้นที่ดูแลสร้างรายได้ที่ชัดเจนขึ้น ฝ่ายบริหารกลับจะนำส่วนงานนี้แยกกลับไปไว้ที่สายงานขายและบริการภาครัฐ และภาคเอกชน ตามโครงสร้างองค์กรใหม่ที่นำมาใช้งาน โดยกำลังจะนำปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีตให้กลับมาเกิดขึ้นอีกในทีโอที เสมือนกับ ทีโอที ไม่เคยที่จะนำประสบการณ์การเรียนรู้การแก้ไขปัญหาในอดีต มาวางแผนในการก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย เสมือนกับลองผิดลองถูกอยู่ร่ำไป
    
       3.การจับกลุ่มของงานที่ไม่มีความเหมือนกัน เพื่อสร้างเนื้องานให้มีตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เช่น การรวมฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ เข้ากับฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายเลขานุการผู้บริหาร เพื่อสร้างตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่จะดูแลงานของสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ผ่านมา ส่วนงานระดับฝ่ายทั้ง 3 ฝ่ายนี้แยกออกจากกันโดยอิสระ
    
       แต่ในโครงสร้างใหม่กลับถูกรวมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าในอนาคตจะเลือกใครเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หากได้ผู้บริหารที่มาจากงานเลขานุการ จะบริหารจัดการงานของรัฐกิจสัมพันธ์ได้อย่างไร หรือในทำนองกลับกัน กระบวนการค้นหาผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะทำอย่างไร ในเมื่อเนื้องานมีบริบทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
    












_____________________________________________________













“พงศ์ฐิติ” ยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” ร้องชะลอโครงสร้างใหม่ทีโอที



รักษาการประธานสหภาพฯ ทีโอที ยื่นหนังสือนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล ขอให้ชะลอการปรับโครงสร้างใหม่ ร่ายยาวรายละเอียด 9 ข้อไม่ชอบมาพากลหลังยื่นหนังสือผ่าน รมว.ไอซีทีแล้ว แต่เรื่องเงียบ ยันการประกาศใช้โครงสร้างใหม่ที่ทำขึ้นโดยคนไม่กี่คน รวมทั้งการคัดเลือกคนที่ไม่มีระบบการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถลงตำแหน่งบริหาร จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อทีโอที ย้ำต้องดำเนินการเพียงลำพัง เพราะกรรมการสหภาพฯ บางคนเป็นพวกผู้บริหารไม่เห็นความเดือดร้อนพนักงาน คอยขัดขวาง
      
       นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ชะลอการนำโครงสร้างองค์กรใหม่ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มาใช้งาน โดยยื่นหนังสือด้วยตัวเองที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้ทำหนังสือฉบับแรกส่งถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แล้ว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 57 แต่เรื่องดังกล่าวกลับไม่มีความคืบหน้า
      
       สำหรับการไปยื่นหนังสือครั้งนี้ ไม่ได้เชิญชวนพนักงานที่ไม่เห็นด้วยต่อโครงสร้างใหม่ให้เดินทางมาด้วย เนื่องจากเกรงว่าพนักงานเหล่านั้นจะถูกถ่ายรูป และถูกเอาผิดทางวินัย ดังนั้น ในการดำเนินการครั้งนี้จึงเดินทางมายื่นหนังสือเพียงคนเดียว
      
       “ผมไม่ได้ทำในนามสหภาพฯ ก็เพราะว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่ในสหภาพฯ เข้าข้างผู้บริหารใหม่ เพราะคิดว่าเขาจะให้ผลประโยชน์ที่ต้องการได้ ซึ่งส่วนตัวผมก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับประธานบอร์ด และก็ไม่มีใครขู่ผมไม่ให้เคลื่อนไหวเรื่องนี้ แต่การปรับโครงสร้างครั้งนี้ผมก็ได้ยินพนักงานจำนวนหนึ่งไม่ชอบสิ่งที่คุณธันวา (รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที) ทำ”
      
       ทั้งนี้ ในช่วงเช้าวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานบอร์ดทีโอทีได้ให้โอวาทในโอกาสปีใหม่แก่พนักงานถึงการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้สั้นๆ เพียง 15 นาที โดยมีใจความว่า ขอให้พนักงานทีโอทีอดทนต่อการปรับโครงสร้างใหม่ครั้งนี้ และเขาได้พยายามทำให้องค์กรทีโอทีดีขึ้นตั้งแต่ที่เคยขาดทุนเกือบ 8,000 ล้านบาท ก็จะสามารถพลิกฟื้นจนมีกำไรได้นิดหน่อย เขาพยายามทำให้เห็นแล้วว่า ทีโอทีได้พยายามปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างดีที่สุด และกรรมการบริษัททำงานหนักมาตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ทำงานเป็นกรรมการบริษัทมา ขณะที่พนักงานไม่ได้มีคำถาม หรือคัดค้านอะไรได้แต่นั่งฟังจนจบ และออกมาวิจารณ์กันภายหลังว่าไม่มีอะไรที่ทำให้เชื่อมั่นได้เลย
      
       ด้าน นายพรชัย รุจิประภา รมว.ไอซีที กล่าวว่า ได้เห็นหนังสือฉบับดังกล่าวแล้ว และแม้ว่าหนังสือดังกล่าวจะเป็นการทำในนามของพนักงานคนเดียว ไม่ได้ทำในนามของสหภาพฯ ทั้งหมด แต่ก็รับปากว่าจะดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด
      
       ***รายละเอียดหนังสือร้องนายกฯ
      
       สำหรับเนื้อหาในหนังสือ ที่นายพงศ์ฐิติ ได้นำไปยื่นถึงนายกรัฐมนตรีนั้นมีเนื้อหาดังนี้
      
       สภาพปัญหา
      
       ข้าพเจ้า นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนขอให้ชะลอการนำโครงสร้างองค์กรใหม่ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มาใช้งาน เนื่องจากเชื่อว่าการจัดทำโครงสร้างองค์กรใหม่ ดำเนินการอย่างรีบเร่งจนเกินไป และดำเนินการโดยคนไม่กี่คนอาจทำให้โครงสร้างใหม่จะมีปัญหาในการขับเคลื่อนองค์กร รวมทั้งการดำเนินการคัดเลือกผู้บริหารระดับผู้จัดการส่วน ผู้จัดการฝ่าย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ขาดความโปร่งใส และขาดหลักการของธรรมาภิบาล โดยผู้บริหารใหม่บางท่านได้รับการคัดเลือก และผู้บริหารบางท่านตามโครงสร้างเดิมที่ไม่ผ่านการคัดเลือกมีลักษณะเข้าข่ายของการเลือกพวกพ้อง แทนการพิจารณาตามความรู้ และสมรรถนะความสามารถในสายงาน/ส่วนงานที่รับผิดชอบ
      
       ข้าพเจ้าขอกราบเรียนมายังท่าน เพื่อให้ความเห็นที่มีต่อโครงสร้างองค์กรใหม่เพิ่มเติม ที่ข้าพเจ้าเชื่อว่า หากดำเนินการต่อไปจะส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้
      
       1.ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunications technology) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) ได้ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน และต่างก็มีบทบาทที่สำคัญต่อการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบัน ที่ผ่านมา ทีโอที มีปัญหาในการมีผู้บริหารในตำแหน่ง CIO (Chief Information officer) ทำให้ขาดการวางนโยบาย/กำหนดทิศทาง/การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานในทีโอที ทำให้การเกิดปัญหา เช่น การแยกซื้อระบบ IT มาใช้ในเนื้องานการจัดทำบิล การดูแลลูกค้า การเก็บเงินลูกค้า แยกระบบกันทั้งๆ ที่ควรเป็นระบบที่รวมเข้าด้วยกันเป็นเนื้องานเดียวกัน
      
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000003969
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่