คำเตือน : กรุณาอ่านฉลากก่อนใช้ยา เพราะอาจจะมี Side Effects
***ระวังโดนสปอยสำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู YURI KUMA ARASHI***
(ที่สำคัญคือใครก็ตามที่ตั้งใจมาก ๆ ที่จะใช้ความคิดของตนเองในการติดตามเนื้อเรื่อง โดยวิธีการปล่อยให้มีพื้นที่ว่างทางจินตนาการ สมควรใช้วิจารณญาณ และความระมัดระวังในขณะที่อ่านเป็นพิเศษ หรือถ้าให้ดีจะเลือกไม่อ่านก็ย่อมได้ คนที่ต้องการจะดูเอา “สนุก” ไม่อยากคิดเรื่อง “ไร้สาระ” ก็เช่นกัน เราเตือนท่านแล้ว)
***เรื่องความมั่ว และการพร่ำพรรณนาที่มาก(ส์)เกินพอดี จำเป็นต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย***
สวัสดีปีใหม่ค่ะ และขอท้าวความสักเล็กน้อยถ้าใครจำกันได้ (หรือจำไม่ได้ก็จะยิ่งดีเลยละ) ตั้งแต่ปีนู้นที่ตัวเองพิมพ์ไป เงิบไปกับ Kill la Kill จนกระทั่งติดงาน แล้วก็ไม่มีเวลามาพิมพ์ต่อ มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายจนเรียงลำดับแทบจะไม่ได้ (ด้านอื่น ๆ ของชีวิต) ที่จำได้มีอยู่เรื่องเดียวคือ impact ของเรื่องนั้นมันแรงมาก (แรงจนจขกท.สาบานได้เลยว่าสามารถเขียนจนเป็นหนังสือเพื่ออธิบายความเข้าใจของตัวเองได้เลย) แล้วด้วยความแรงที่ว่านั้น ถึงซีรีย์มันจะจบไปแล้ว แต่ก็ยังมีผลต่อการมองโลกที่เปลี่ยนไปของตัวเอง จนในที่สุดมันก็ได้ส่งผลมาถึง “เรื่องนี้” คิดว่าหลายคนน่าจะเข้าใจ คนเราบางทีมันมี input อย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมี output ด้วยไม่งั้นมันจะทรมานมาก ๆ ดังที่จขกท.ได้ประสบกับความอัดอั้นที่อยากจะพิมพ์เกี่ยวกับ Yuri Kuma Arashi จนแทบจะทนไม่ไหว ส่วนหนึ่งก็แน่นอนหละ เพราะผู้กำกับเรื่องนี้ไม่ใช่ใครอื่นใดแต่เป็น Kunihiko Ikuhara ผู้สร้างตำนานความอาร์ตแบบทะลวงสมองอย่าง Utena มาแล้ว หรืออย่าง Mawaru Penguindrum ที่ก็ผ่านไปได้สักพักใหญ่ ๆ แต่ถ้าหากจะถามว่าทำไมจขกท.คิดจะพิมพ์แต่ Yuri Kuma Arashi เนี่ย อันนั้นก็เป็นเพราะ “ความอวย” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักนั่นเอง (เห็นแก่ตัวชะมัดเลย) “ยูริ” มันมีอยู่ในสายเลือดไงละ เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้เลยใช่ไหม
และด้วยความที่ “ยูริ” มันจะมาถึงจุด “Turning Point” ในเร็ววันนี้ ดังที่ Ikuhara ได้คุยเอาไว้ ทำให้จขกท.ไม่สามารถเก็บอาการเอาไว้ได้อีกต่อไป จนต้องมาบอกกล่าวว่าเรื่องนี้แหละที่น่าจะเป็น “The Storm” (Arashi) ของ genre นี้อย่างแท้จริง ในขณะที่ตัวเองดู PV ก็เจ็บปวด หวั่นไหว (ระคนสยอง) และตื่นเต้นดีใจในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากใครก็ตามที่เป็นสาวกวาย (ยูริ) แบบเข้าขั้นจริงๆ ก็ “ไม่ควร(?)” พลาดเรื่องนี้ด้วยประการทั้งปวง (555555 < หัวเราะแบบมีเลศนัย)
เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็จะขอเข้าเรื่องเลยนะ
ก่อนอื่น เหล่าผู้รู้ทั้งหลาย (ที่บางทีก็รู้แก่นของอนิเมเรื่องนี้อยู่แล้วแต่อุบไว้) และผู้ที่อยู่ในวงการหนังคงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” (โดยเฉพาะในต่างประเทศ วงการหนัง ถ้าคุณเป็นคนไทยแล้วบอกว่าไม่รู้จักนี่...) ถามว่าทำไมจขกท.ต้องยกชื่อผู้กำกับคนนี้ขึ้นมา มันก็เป็นเพราะว่าหนังอันสุดยอดของเขาเรื่องหนึ่งที่ชื่อ “สัตว์ประหลาด!” หรือ “Tropical Malady” (โรคร้ายในป่าร้อน) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 นั้นมีความเกี่ยวพันสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำมาวิเคราะห์ และอธิบายถึงความเป็นไปได้ของอนิเม Yuri Kuma Arashi เป็นอย่างมากจนถึงขั้นอัศจรรย์ (ผู้กำกับสองคนนี้รู้จักกันรึเปล่าเนี่ย หรือแค่ inspiration เฉยๆ?) ที่บอกว่ามันสอดคล้องกันไม่ใช่สาเหตุหลักเพราะว่ามันเป็น “หนังเกย์” นะ แต่เป็นเพราะว่ามันใช้องค์ประกอบ หรือ element ในการเล่าเรื่องคล้ายๆ กันเลย เพราะฉะนั้นถ้าใครก็ตามที่อยากจะรู้ให้ลึกขึ้นถึงแก่นของอนิเมเรื่องนี้ จขกท.แนะนำอย่างยิ่งให้หามาดูค่ะ จะในเน็ตก็มีนะเดี๋ยวนี้มีหลายเส้นทาง
เรื่องขององค์ประกอบที่ว่าสัมพันธ์กันก็ยกตัวอย่างเช่น “เสือสมิง” (“สัตว์” หรือ “สัตว์ประหลาด” อะไรก็แล้วแต่ ที่ในอนิเมจะแทนได้ว่าเป็น “หมี”) / “ป่า” / “ปืน” / “นายทหาร” (แหม จะใครซะอีกละก็ Kureha ไง) / “โต้ง” (หรือคนรักของนายทหารที่จะต้องแทนได้อย่างแน่นอนว่าเป็น Sumika) ฯลฯ ทีนี้ละพอจะเข้าใจกันมากขึ้นไหม สิ่งที่อนิเมได้ทำการเล่าเรื่องมาตลอดตั้งแต่แรก มันก็คือโลกของ “สภาวะทางจิต” นั่นเอง ถึงแม้ว่าจะมีหลายองค์ประกอบที่ต่างกันอย่างมากระหว่างสองงานนี้ โดยเฉพาะทางด้านวัฒนธรรมหรือ subculture ที่ไม่เหมือนกันเลย อย่างความเป็น “ไทย” แบบชนบท และ “ยูริ” (ความสัมพันธ์แบบหญิง-หญิง) ซึ่งเป็นกระแสที่ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในแดนอาทิตย์อุทัย และในโลก แต่ถ้าหากเราลองสังเกตกันลึกๆแล้วมันจะมีส่วนที่เหมือนกันอย่างที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นไปได้มากเลยที่อนิเมเรื่องนี้อาจจะเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต ความรัก ความทุกข์ และนิพพาน เหมือนกับที่ “สัตว์ประหลาด!” ได้เคยนำเสนอ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าจะต้องมีข้อแตกต่างอยู่แน่นอน และมันก็มีอยู่มากเสียด้วย โดยเฉพาะตรรกะที่หากใครพึ่งได้ยินได้ฟังก็คงต้องคิดว่าไร้สาระแน่ๆ ตรรกะที่ Ikuhara พูดเอาไว้ว่า ความเป็น “ยูริ” [Yuri <ซึ่งอีตาผู้กำกับบอกว่าไม่ใช่ (แค่) ดอกไม้ หรือดอกลิลลี่อันเป็นสัญลักษณ์ของ Genre นี้มานาน] เมื่อนำมารวมกับ “หมี” (Kuma) ก็จะทำให้เกิด “พายุ” (Arashi) …นี่มันสอนบวกเลขกันหรือไงเนี่ย!!! เห็นไหมละว่า Ikuhara นี่สุดยอดจะ creative เลย!!! (ถ้าใครเข้าใจแล้วก็จะรู้เอง) ด้วยส่วนผสมพิศดารนี้อีกไม่นานเราก็น่าจะได้เห็นภาพลักษณ์ หรือความเป็น “ยูริ” ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนก็เป็นได้ ซึ่งถึงแม้จะมีแค่ 12 ตอนจบก็ตาม แต่ก็คงจะทำให้อนิเมเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาสุดๆ เหมือนอย่างที่ Madoka เคยทำมาแล้ว
“ภายในตัวเราทุกคนมีสัตว์ป่าแฝงอยู่
มนุษย์มีหน้าที่เป็นผู้คุมสัตว์เหล่านี้ให้เชื่อง
แม้แต่สอนมันให้ทำในสิ่งที่ขัดกับสันดานดิบของตนเอง”
“สัตว์ดงดิบ” – ทอน นาคาจิมา (2452 – 2485)
ประโยคเปิดหนังเรื่อง “สัตว์ประหลาด!” ที่ยกมานี้สามารถตอบคำถามเราได้มากมายเลยว่าอนิเม Yuri Kuma Arashi เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตั้งแต่แพลงเปิด OP จนถึงแพลงปิด ED หลายต่อหลายอย่างเต็มไปด้วย “ความหื่น” ทั้งเสียง ทั้งภาพ เราสามารถไปนั่งอ่านความหมายในเนื้อเพลงแล้วแทบจะตรัสรู้ได้เลยทีเดียว ถ้าตอบเพื่ออธิบายให้ชัด อนิเมเรื่องนี้ก็กำลังจะสื่อถึงการต่อสู้ หรือความขัดแย้งกันระหว่าง
“สัญชาติญาณสัตว์ในตัวคน” กับ
“ความเป็นมนุษย์” ทีนี้เราก็จะปิ๊งขึ้นมาแล้วว่าทำไมถึงต้องเป็น “หมี” (สัตว์) กับ “เด็กสาว” (มนุษย์) ใช่ไหม “ความหื่น” ที่มันถูกสร้างขึ้นมาในสภาวะทางจิตซึ่งอนิเมทำอย่างกับมิติชวนฝัน จากนั้นก็ repeat มันเรื่อยๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า สิ่งนี้ก็คือกระบวนการที่ต้องการจะสื่อว่ามันมี “หมี” อยู่ภายในตัวของคนทุกคน (ซึ่งเชื่อว่า “หมี” ของหลายๆ คนจะต้องเต้นไปเต้นมาด้วยความน่ารักน่าเอ็นดูในระหว่างที่เชยชมภาพที่สวยสดงดงามเหล่านั้นชัวร์)
ความดิบเถื่อนของ “สัตว์” และ ความรู้จักผิดชอบชั่วดีของ “มนุษย์” สองสิ่งนี้อยู่ภายในตัวเราทุกคน (ถึงได้บอกว่ามันเป็นโลกสภาวะทางจิตไง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการทับซ้อนของความหมายในด้านอื่น ๆ เช่น สภาวะทางสังคม ด้วยนะ) “ศาล” ที่เราเห็นในอนิเมซึ่งเรียกกันว่า Danzetsu no Court หรือมีแปลเป็นอังกฤษคือ The Severance Court (Severance หมายถึง “การตัดขาด”) หากจะแปลเป็นไทย ก็อาจจะเป็น “ศาลแห่งการตัดสัมพันธ์” ก็ได้ ซึ่งศาลที่เราเห็นในเรื่องมันก็คือการชั่งตวง ตัดสินใจที่จะทำอะไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเป็นการประนีประนอมกันระหว่าง “หมี” ซึ่งก็คือด้านสัตว์ และ “คน” ซึ่งก็คือด้านมนุษย์ (เหมือนการคิดกลับไปกลับมาในจิตของเรานั่นแหละ) เป็นการทำเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยังสามารถอยู่ร่วมกันได้ ยังมี “ชีวิต” อยู่ต่อไปได้ บางทีอาจจะเป็นสาเหตุของการที่ต้องตั้งชื่อผู้พิพากษา โจทก์ และทนายเป็นคำว่า “Life” ก็เป็นได้ (ส่วนสาเหตุที่ให้ทั้งสามคนนั้นเป็นผู้ชาย ทั้งที่ทั้งเรื่องมีแต่หญิง อันนี้คิดว่าต้องการจะให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือจะพูดถึงสภาวะทางสังคมที่ “ยูริ” เป็นสิ่งที่พุ่งเป้าหมายหลักไปที่ “ผู้ชาย” อันนี้หมายความว่าอะไร มันก็อย่างเดียวกันกับที่ Yaoi (สัมพันธ์แบบชาย-ชาย) พุ่งเป้าไปที่ “ผู้หญิง” นั่นแหละ ลูกค้าหลักที่ยังคงเป็น “ชาย” โดยส่วนใหญ่ ทำให้ “การตัดสิน” ในความรักระหว่าง “ผู้หญิง” ถูกตัดสินโดย “ผู้ชาย” นั่นเอง ทั้งสามหนุ่มที่ศาลนั้นก็เลยถูกจัดเป็นกลุ่มแบบเหมารวมว่าเป็น “Judgemens” ไงละ (โลกเรานี่น้า เฮ้อ...)
[การที่อนิเมเล่าเรื่องแบบพยายามชู “ความบังเอิญ” ขึ้นมาเป็นสำคัญ เช่นว่า อยู่ดีๆดาว Kumaria ก็ระเบิดขึ้นมา จนส่งผลให้เกิดการแยกออกจากกันเพื่อการอยู่รอด เป็นต้น สิ่งนี้มันต้องการจะแสดงว่าทั้ง “คน” ทั้ง “หมี” เป็นสิ่งที่ได้อุบัติมาก่อนแล้ว มันเป็น “จุดเริ่มต้น” (The Beginning) ของทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะไปแก้ไขอดีตอะไรที่ว่าได้ ดังเช่นที่เราเป็นมนุษย์ แต่เราก็เป็นสัตว์ในเวลาเดียวกัน มันคือ “ความจริง” ที่เป็นไปอย่างนั้นเอง]
แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าการประนีประนอมจะทำให้ความขัดแย้งหมดไป หากอธิบายตามแนวทางของพุทธแล้ว สภาวะของโลกที่เรากำลังดำรงอยู่นี้มันก็คือโลกแห่ง “ทุกข์” นะ ความทุกข์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับ “การดิ้นรน” แบบอยู่ไม่สุข หรือ “Suffering” เมื่อ “คน” และ “หมี” มีการปะทะต่อกันมากๆเข้า ไม่ว่าจะเป็นการดึงเข้าหากัน ผลักออก หรือพยายามควบคุมก็ตาม ย่อมทำให้เกิด “การดิ้นรน” ที่ว่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจขกท.ก็จะขอตีความไปว่าสิ่งนี้ก็คือ “The Invisible Storm” หรือ “พายุที่มองไม่เห็น” [หากใครยังไม่เข้าใจบางทีขอให้นึกถึงเพลง Let it Go ของ Frozen ที่ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเคยมีใครบางคนมาโพสวิเคราะห์ไว้แถวนี้ว่าหนังมันมี “กลิ่นยูริ” แบบชัดเจน แถมพยายามแปลความหมายเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ นานา น่าเชื่อถือในระดับหนึ่งเลยละ โดยคำว่า storm ที่มีอยู่ในเนื้อเพลงที่ว่านั้นมันก็คือสิ่งเดียวกัน เรามองไม่เห็นมัน แต่มันมีอยู่ และพยายามกดข่มไว้เท่าไรมันก็ไม่หายไป หรือถ้าหากจะลองยกอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนกว่านี้ก็อย่างเช่น ชื่อตอน 8 ในตำนานของ Kannazuki no Miko ซึ่งก็คือ "Storm of the Silver Moon" หรือ "Gingetsuei no Arashi" (銀月の嵐) ทีนี้เราคงเข้าใจตรงกันมากขึ้นแล้วนะ เหล่าสาวกวาย]
“คน” หรือ “หมี”... “หนังอินดี้” หรือ “อนิเมวาย” ไม่มีเกี่ยง... เมื่อประสบปัญหากับการ “ย่อย” เราก็มียาวิเศษมานำเสนอ
***ระวังโดนสปอยสำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู YURI KUMA ARASHI***
(ที่สำคัญคือใครก็ตามที่ตั้งใจมาก ๆ ที่จะใช้ความคิดของตนเองในการติดตามเนื้อเรื่อง โดยวิธีการปล่อยให้มีพื้นที่ว่างทางจินตนาการ สมควรใช้วิจารณญาณ และความระมัดระวังในขณะที่อ่านเป็นพิเศษ หรือถ้าให้ดีจะเลือกไม่อ่านก็ย่อมได้ คนที่ต้องการจะดูเอา “สนุก” ไม่อยากคิดเรื่อง “ไร้สาระ” ก็เช่นกัน เราเตือนท่านแล้ว)
***เรื่องความมั่ว และการพร่ำพรรณนาที่มาก(ส์)เกินพอดี จำเป็นต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย***
สวัสดีปีใหม่ค่ะ และขอท้าวความสักเล็กน้อยถ้าใครจำกันได้ (หรือจำไม่ได้ก็จะยิ่งดีเลยละ) ตั้งแต่ปีนู้นที่ตัวเองพิมพ์ไป เงิบไปกับ Kill la Kill จนกระทั่งติดงาน แล้วก็ไม่มีเวลามาพิมพ์ต่อ มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายจนเรียงลำดับแทบจะไม่ได้ (ด้านอื่น ๆ ของชีวิต) ที่จำได้มีอยู่เรื่องเดียวคือ impact ของเรื่องนั้นมันแรงมาก (แรงจนจขกท.สาบานได้เลยว่าสามารถเขียนจนเป็นหนังสือเพื่ออธิบายความเข้าใจของตัวเองได้เลย) แล้วด้วยความแรงที่ว่านั้น ถึงซีรีย์มันจะจบไปแล้ว แต่ก็ยังมีผลต่อการมองโลกที่เปลี่ยนไปของตัวเอง จนในที่สุดมันก็ได้ส่งผลมาถึง “เรื่องนี้” คิดว่าหลายคนน่าจะเข้าใจ คนเราบางทีมันมี input อย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมี output ด้วยไม่งั้นมันจะทรมานมาก ๆ ดังที่จขกท.ได้ประสบกับความอัดอั้นที่อยากจะพิมพ์เกี่ยวกับ Yuri Kuma Arashi จนแทบจะทนไม่ไหว ส่วนหนึ่งก็แน่นอนหละ เพราะผู้กำกับเรื่องนี้ไม่ใช่ใครอื่นใดแต่เป็น Kunihiko Ikuhara ผู้สร้างตำนานความอาร์ตแบบทะลวงสมองอย่าง Utena มาแล้ว หรืออย่าง Mawaru Penguindrum ที่ก็ผ่านไปได้สักพักใหญ่ ๆ แต่ถ้าหากจะถามว่าทำไมจขกท.คิดจะพิมพ์แต่ Yuri Kuma Arashi เนี่ย อันนั้นก็เป็นเพราะ “ความอวย” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักนั่นเอง (เห็นแก่ตัวชะมัดเลย) “ยูริ” มันมีอยู่ในสายเลือดไงละ เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้เลยใช่ไหม
และด้วยความที่ “ยูริ” มันจะมาถึงจุด “Turning Point” ในเร็ววันนี้ ดังที่ Ikuhara ได้คุยเอาไว้ ทำให้จขกท.ไม่สามารถเก็บอาการเอาไว้ได้อีกต่อไป จนต้องมาบอกกล่าวว่าเรื่องนี้แหละที่น่าจะเป็น “The Storm” (Arashi) ของ genre นี้อย่างแท้จริง ในขณะที่ตัวเองดู PV ก็เจ็บปวด หวั่นไหว (ระคนสยอง) และตื่นเต้นดีใจในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากใครก็ตามที่เป็นสาวกวาย (ยูริ) แบบเข้าขั้นจริงๆ ก็ “ไม่ควร(?)” พลาดเรื่องนี้ด้วยประการทั้งปวง (555555 < หัวเราะแบบมีเลศนัย)
เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็จะขอเข้าเรื่องเลยนะ
ก่อนอื่น เหล่าผู้รู้ทั้งหลาย (ที่บางทีก็รู้แก่นของอนิเมเรื่องนี้อยู่แล้วแต่อุบไว้) และผู้ที่อยู่ในวงการหนังคงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” (โดยเฉพาะในต่างประเทศ วงการหนัง ถ้าคุณเป็นคนไทยแล้วบอกว่าไม่รู้จักนี่...) ถามว่าทำไมจขกท.ต้องยกชื่อผู้กำกับคนนี้ขึ้นมา มันก็เป็นเพราะว่าหนังอันสุดยอดของเขาเรื่องหนึ่งที่ชื่อ “สัตว์ประหลาด!” หรือ “Tropical Malady” (โรคร้ายในป่าร้อน) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 นั้นมีความเกี่ยวพันสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำมาวิเคราะห์ และอธิบายถึงความเป็นไปได้ของอนิเม Yuri Kuma Arashi เป็นอย่างมากจนถึงขั้นอัศจรรย์ (ผู้กำกับสองคนนี้รู้จักกันรึเปล่าเนี่ย หรือแค่ inspiration เฉยๆ?) ที่บอกว่ามันสอดคล้องกันไม่ใช่สาเหตุหลักเพราะว่ามันเป็น “หนังเกย์” นะ แต่เป็นเพราะว่ามันใช้องค์ประกอบ หรือ element ในการเล่าเรื่องคล้ายๆ กันเลย เพราะฉะนั้นถ้าใครก็ตามที่อยากจะรู้ให้ลึกขึ้นถึงแก่นของอนิเมเรื่องนี้ จขกท.แนะนำอย่างยิ่งให้หามาดูค่ะ จะในเน็ตก็มีนะเดี๋ยวนี้มีหลายเส้นทาง
เรื่องขององค์ประกอบที่ว่าสัมพันธ์กันก็ยกตัวอย่างเช่น “เสือสมิง” (“สัตว์” หรือ “สัตว์ประหลาด” อะไรก็แล้วแต่ ที่ในอนิเมจะแทนได้ว่าเป็น “หมี”) / “ป่า” / “ปืน” / “นายทหาร” (แหม จะใครซะอีกละก็ Kureha ไง) / “โต้ง” (หรือคนรักของนายทหารที่จะต้องแทนได้อย่างแน่นอนว่าเป็น Sumika) ฯลฯ ทีนี้ละพอจะเข้าใจกันมากขึ้นไหม สิ่งที่อนิเมได้ทำการเล่าเรื่องมาตลอดตั้งแต่แรก มันก็คือโลกของ “สภาวะทางจิต” นั่นเอง ถึงแม้ว่าจะมีหลายองค์ประกอบที่ต่างกันอย่างมากระหว่างสองงานนี้ โดยเฉพาะทางด้านวัฒนธรรมหรือ subculture ที่ไม่เหมือนกันเลย อย่างความเป็น “ไทย” แบบชนบท และ “ยูริ” (ความสัมพันธ์แบบหญิง-หญิง) ซึ่งเป็นกระแสที่ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในแดนอาทิตย์อุทัย และในโลก แต่ถ้าหากเราลองสังเกตกันลึกๆแล้วมันจะมีส่วนที่เหมือนกันอย่างที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นไปได้มากเลยที่อนิเมเรื่องนี้อาจจะเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต ความรัก ความทุกข์ และนิพพาน เหมือนกับที่ “สัตว์ประหลาด!” ได้เคยนำเสนอ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าจะต้องมีข้อแตกต่างอยู่แน่นอน และมันก็มีอยู่มากเสียด้วย โดยเฉพาะตรรกะที่หากใครพึ่งได้ยินได้ฟังก็คงต้องคิดว่าไร้สาระแน่ๆ ตรรกะที่ Ikuhara พูดเอาไว้ว่า ความเป็น “ยูริ” [Yuri <ซึ่งอีตาผู้กำกับบอกว่าไม่ใช่ (แค่) ดอกไม้ หรือดอกลิลลี่อันเป็นสัญลักษณ์ของ Genre นี้มานาน] เมื่อนำมารวมกับ “หมี” (Kuma) ก็จะทำให้เกิด “พายุ” (Arashi) …นี่มันสอนบวกเลขกันหรือไงเนี่ย!!! เห็นไหมละว่า Ikuhara นี่สุดยอดจะ creative เลย!!! (ถ้าใครเข้าใจแล้วก็จะรู้เอง) ด้วยส่วนผสมพิศดารนี้อีกไม่นานเราก็น่าจะได้เห็นภาพลักษณ์ หรือความเป็น “ยูริ” ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนก็เป็นได้ ซึ่งถึงแม้จะมีแค่ 12 ตอนจบก็ตาม แต่ก็คงจะทำให้อนิเมเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาสุดๆ เหมือนอย่างที่ Madoka เคยทำมาแล้ว
มนุษย์มีหน้าที่เป็นผู้คุมสัตว์เหล่านี้ให้เชื่อง
แม้แต่สอนมันให้ทำในสิ่งที่ขัดกับสันดานดิบของตนเอง”
“สัตว์ดงดิบ” – ทอน นาคาจิมา (2452 – 2485)
ประโยคเปิดหนังเรื่อง “สัตว์ประหลาด!” ที่ยกมานี้สามารถตอบคำถามเราได้มากมายเลยว่าอนิเม Yuri Kuma Arashi เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตั้งแต่แพลงเปิด OP จนถึงแพลงปิด ED หลายต่อหลายอย่างเต็มไปด้วย “ความหื่น” ทั้งเสียง ทั้งภาพ เราสามารถไปนั่งอ่านความหมายในเนื้อเพลงแล้วแทบจะตรัสรู้ได้เลยทีเดียว ถ้าตอบเพื่ออธิบายให้ชัด อนิเมเรื่องนี้ก็กำลังจะสื่อถึงการต่อสู้ หรือความขัดแย้งกันระหว่าง “สัญชาติญาณสัตว์ในตัวคน” กับ “ความเป็นมนุษย์” ทีนี้เราก็จะปิ๊งขึ้นมาแล้วว่าทำไมถึงต้องเป็น “หมี” (สัตว์) กับ “เด็กสาว” (มนุษย์) ใช่ไหม “ความหื่น” ที่มันถูกสร้างขึ้นมาในสภาวะทางจิตซึ่งอนิเมทำอย่างกับมิติชวนฝัน จากนั้นก็ repeat มันเรื่อยๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า สิ่งนี้ก็คือกระบวนการที่ต้องการจะสื่อว่ามันมี “หมี” อยู่ภายในตัวของคนทุกคน (ซึ่งเชื่อว่า “หมี” ของหลายๆ คนจะต้องเต้นไปเต้นมาด้วยความน่ารักน่าเอ็นดูในระหว่างที่เชยชมภาพที่สวยสดงดงามเหล่านั้นชัวร์)
ความดิบเถื่อนของ “สัตว์” และ ความรู้จักผิดชอบชั่วดีของ “มนุษย์” สองสิ่งนี้อยู่ภายในตัวเราทุกคน (ถึงได้บอกว่ามันเป็นโลกสภาวะทางจิตไง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการทับซ้อนของความหมายในด้านอื่น ๆ เช่น สภาวะทางสังคม ด้วยนะ) “ศาล” ที่เราเห็นในอนิเมซึ่งเรียกกันว่า Danzetsu no Court หรือมีแปลเป็นอังกฤษคือ The Severance Court (Severance หมายถึง “การตัดขาด”) หากจะแปลเป็นไทย ก็อาจจะเป็น “ศาลแห่งการตัดสัมพันธ์” ก็ได้ ซึ่งศาลที่เราเห็นในเรื่องมันก็คือการชั่งตวง ตัดสินใจที่จะทำอะไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเป็นการประนีประนอมกันระหว่าง “หมี” ซึ่งก็คือด้านสัตว์ และ “คน” ซึ่งก็คือด้านมนุษย์ (เหมือนการคิดกลับไปกลับมาในจิตของเรานั่นแหละ) เป็นการทำเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายยังสามารถอยู่ร่วมกันได้ ยังมี “ชีวิต” อยู่ต่อไปได้ บางทีอาจจะเป็นสาเหตุของการที่ต้องตั้งชื่อผู้พิพากษา โจทก์ และทนายเป็นคำว่า “Life” ก็เป็นได้ (ส่วนสาเหตุที่ให้ทั้งสามคนนั้นเป็นผู้ชาย ทั้งที่ทั้งเรื่องมีแต่หญิง อันนี้คิดว่าต้องการจะให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือจะพูดถึงสภาวะทางสังคมที่ “ยูริ” เป็นสิ่งที่พุ่งเป้าหมายหลักไปที่ “ผู้ชาย” อันนี้หมายความว่าอะไร มันก็อย่างเดียวกันกับที่ Yaoi (สัมพันธ์แบบชาย-ชาย) พุ่งเป้าไปที่ “ผู้หญิง” นั่นแหละ ลูกค้าหลักที่ยังคงเป็น “ชาย” โดยส่วนใหญ่ ทำให้ “การตัดสิน” ในความรักระหว่าง “ผู้หญิง” ถูกตัดสินโดย “ผู้ชาย” นั่นเอง ทั้งสามหนุ่มที่ศาลนั้นก็เลยถูกจัดเป็นกลุ่มแบบเหมารวมว่าเป็น “Judgemens” ไงละ (โลกเรานี่น้า เฮ้อ...)
[การที่อนิเมเล่าเรื่องแบบพยายามชู “ความบังเอิญ” ขึ้นมาเป็นสำคัญ เช่นว่า อยู่ดีๆดาว Kumaria ก็ระเบิดขึ้นมา จนส่งผลให้เกิดการแยกออกจากกันเพื่อการอยู่รอด เป็นต้น สิ่งนี้มันต้องการจะแสดงว่าทั้ง “คน” ทั้ง “หมี” เป็นสิ่งที่ได้อุบัติมาก่อนแล้ว มันเป็น “จุดเริ่มต้น” (The Beginning) ของทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะไปแก้ไขอดีตอะไรที่ว่าได้ ดังเช่นที่เราเป็นมนุษย์ แต่เราก็เป็นสัตว์ในเวลาเดียวกัน มันคือ “ความจริง” ที่เป็นไปอย่างนั้นเอง]
แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าการประนีประนอมจะทำให้ความขัดแย้งหมดไป หากอธิบายตามแนวทางของพุทธแล้ว สภาวะของโลกที่เรากำลังดำรงอยู่นี้มันก็คือโลกแห่ง “ทุกข์” นะ ความทุกข์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับ “การดิ้นรน” แบบอยู่ไม่สุข หรือ “Suffering” เมื่อ “คน” และ “หมี” มีการปะทะต่อกันมากๆเข้า ไม่ว่าจะเป็นการดึงเข้าหากัน ผลักออก หรือพยายามควบคุมก็ตาม ย่อมทำให้เกิด “การดิ้นรน” ที่ว่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจขกท.ก็จะขอตีความไปว่าสิ่งนี้ก็คือ “The Invisible Storm” หรือ “พายุที่มองไม่เห็น” [หากใครยังไม่เข้าใจบางทีขอให้นึกถึงเพลง Let it Go ของ Frozen ที่ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเคยมีใครบางคนมาโพสวิเคราะห์ไว้แถวนี้ว่าหนังมันมี “กลิ่นยูริ” แบบชัดเจน แถมพยายามแปลความหมายเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ นานา น่าเชื่อถือในระดับหนึ่งเลยละ โดยคำว่า storm ที่มีอยู่ในเนื้อเพลงที่ว่านั้นมันก็คือสิ่งเดียวกัน เรามองไม่เห็นมัน แต่มันมีอยู่ และพยายามกดข่มไว้เท่าไรมันก็ไม่หายไป หรือถ้าหากจะลองยกอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนกว่านี้ก็อย่างเช่น ชื่อตอน 8 ในตำนานของ Kannazuki no Miko ซึ่งก็คือ "Storm of the Silver Moon" หรือ "Gingetsuei no Arashi" (銀月の嵐) ทีนี้เราคงเข้าใจตรงกันมากขึ้นแล้วนะ เหล่าสาวกวาย]