<Salmon Fishing in the Yemen> ความศรัทธา ความรัก และ ความเป็นไปไม่ได้ในทางทฤษฎี



''It's theoretically possible in the same way as a manned mission to Mars is theoretically possible.''

- Salmon Fishing in Yemen (2011)

ดูผิวเผินแล้วSalmon Fishing in Yemenเป็นหนังรักโรแมนติกเรื่องหนึ่ง ที่เดินเรื่องผ่าน ตัวเอกที่ชื่อ โจนส์ และได้พบกับ สาวสวยผู้ช่วยของชีค ซึ่งทั้งสองต่างมีปัญหาที่พบในชีวิตที่ผ่านมาในอดีตเหมือนกัน และแล้ววันหนึ่ง กลับต้องมาทำงานร่วมกัน ถ้าได้อ่านแล้วจะเห็นว่า มันไม่ต่างจากหนังรักหลายๆเรื่องที่พวกคุณเคยชมมาแล้วแต่ตัวหนังกลับใส่ความแตกต่างลงมาด้วยการที่ภารกิจที่ทั้งสองต้องทำนั้น ถ้าหลายคนฟังคงหัวเราะ และ เบือนหน้าหนี เพราะมันดูเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ในทางทฤษฎี

คำว่า 'ในทางทฤษฎี'ถูกนำมาใช้โดย โจนส์ หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นการตอกย้ำ คาแลกเตอร์ การใช้ชีวิตในกรอบที่แสนจะจำเจ โดยใช้คำว่า 'ในทางทฤษฎี' มาเป็นข้ออ้าง

หนังเรื่องนี้แก่นแท้แล้ว สื่อถึง ความหมายของความศรัทธา คำคำหนึ่งที่ไม่สามารถ นิยามเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ได้ เราเพียงแค่เชื่อ เชื่อ แล้วก็เชื่อเหมือตอนลงเบ็ดไปนั้นมันไม่มีสูตรสำเร็จคำนวณออกมาได้ว่า ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ปลาถึงจะมากินเบ็ด เราได้แค่รอและศรัทธาเท่านั้น ถ้าจะพูดให้สวยๆก็คงเป็นคำพูดที่ว่า  ''ใช้ร่างกายในการเหวี่ยงเบ็ด แต่จะทำให้สำเร็จคงยากถ้าไร้ซึ่งความศรัทธา(ใจ) ''

คำว่าศรัทธานั้นถูกเอ่ยถึงหลายต่อหลายครั้งโดย การพูดคำคำนี้ออกมาตรงๆและ สื่อออกมาทางทางสัญลักษณ์ ซึ่งสัญลักษณ์ของความศรัทธา ที่หนังเรื่องนี้เอามาใช้ให้เห็นชัดที่สุดคือ 'การว่ายสวนกระแสน้ำ' Salmon Fishing in Yemen ถ่ายทอดถึงการว่ายสวนกระแสน้ำ ให้ผู้ชมเห็น สองกรณี กรณีแรกคือการ ว่ายสวนกระแสน้ำของปลาแซลม่อน ซึ่งต้องใช้สัญชาตญานและกำลังในการว่ายสวนน้ำ ไปวางใข่ โดยหนังเรื่องนี้ได้ตั้งใจแบ่งแซลม่อนออกเป็นสองประเภท ซึ่งก็คือ แซลม่อนธรรมชาติ และแซลม่อนเลี้ยง แซลม่อนธรรมชาตินั้นใช้สัญชาตญาณสัตว์มาเป็นตัวแทนของคนคิดต่างและไฟแรงพร้อมที่จะว่ายสวนน้ำเพื่อตามหาจุดหมายของชีวิต ต่างกับแซลม่อนเลี้ยงซึ่งได้ถูกเลี้ยงอยู่ในน้ำนิ่งมาตลอดจนละทิ้งสัญชาตญานการว่ายสวนกระแสไป และเลือกที่จะว่ายตามกระแสน้ำอย่างว่าง่ายเมื่อเจอกระแสน้ำ(อุปสรรคในการใช้ชีวิต) ถ้าคิดให้ดีปลาแซลม่อนเลี้ยงก็คงเป็นตัวแทนของคนในกรอบแบบดร.โจนส์(ตอนต้นเรื่อง)นั่นเอง

ในอีกแง่หนึ่งหนังได้ เผยให้เห็นการว่ายผ่านกระแสน้ำของตัวละครหลัก(ดร.โจนส์) แต่การว่ายน้ำครั้งนี้ไม่ใช่การว่ายทวนน้ำเหมือนอย่างปลาแซลม่อนแต่อย่างใด แต่กลับสื่อถึงการว่ายน้ำทวนกระแสสังคมที่ตนเองได้ตีกรอบไว้ผ่านคำพูดที่ว่า'ในทางทฤษฎี' การกระทำต่างๆของตัวเอกทำให้ผู้ชมเข้าใจ และเอาใจช่วยในการเปลี่ยนตัวเอง กล้าทำในสิ่งที่เป็น ไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ ซึ่งต้องใช้ความกล้าในการว่ายน้ำสวนกระแสออกจากกรอบชีวิตแห่งความเป็นไปไม่ได้ในทางทฤษฎี และที่สำคัญที่สุดคือ ความศรัทธาซึ่งป็นแก่นของเนื้อเรื่อง เรื่องนี้ นั่นเอง

นอกจากประเด็นนี้แล้วตัวหนังยังแอบใส่ประเด็น เสียดสี ถึงความเน่าเฟะของ นักการเมือง การแบ่งแยกชนชั้นทางสังคม และ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอาหรับที่มีแนวโน้มไปในด้านความรุนแรงอีกด้วย

Credit: บทความผ่านแผ่นฟิล์ม

ติดตามผลงานของผมได้ผ่านช่องทางนี้ครับ


https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่