จากความหวังดีและตั้งใจดีของคุณตัน ที่เคยมีความคิดที่จะนำเกลือ หลังจบงานเทศกาลหิมะเทียม มาใช้ทำดินโป่งต่อนั้น (http://ppantip.com/topic/33050916)
สุดท้ายนี้ เพื่อทำความเข้าใจกับเกลือชนิดนี้ และวิธีการทำดินโป่ง ขออนุญาตแชร์ความรู้ จาก สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกของไทย ให้ทุกคนได้ทราบและเข้าใจตรงกัน ดังนี้ครับ
เหตุและผลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (ใครที่ร่วมกิจกรรมทำโป่งกับเรา ส่งเสียงหน่อยยยยย) ติดตามย้อนหลังได้ในรายการ ขยายข่าว ทิน โชคกมลกิจ ทางTNN24 นะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=6POWIeEHu7Q#t=15
ขอชื่นชมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนครับ กับความมุ่งมั่นและตั้งใจ ในการนำเกลือ Refined Salt ที่เสร็จสิ้นจากการจัดนิทรรศการ มาใช้ประโยชน์ต่อกับสัตว์ป่า ด้วยแนวคิด นำมาทำโป่งให้สัตว์ป่า เดิมที่เราก็ไม่รู้จักหรอกว่าเกลือชนิดนี้คือเกลืออะไร แต่พอมาดู ก็รู้ว่า Refined Salt เป็นเกลือที่ผลิตเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมันคือ Sodium chloride บริสุทธิ์ ที่มีความเข้มข้นสูง ไม่มีอะไรเจือปนเหมือนเกลือสมุทร หรือ เกลือสินเธาว์ ที่เอามากินกัน จึงไม่ได้เอามากินกัน ถ้าคนไม่กิน สัตว์ป่าก็ไม่ควรนำมากิน
มีอุตสาหกรรมหลายอย่างที่ต้องใช้เกลืออุตสาหกรรมแบบนี้เช่นใช้ในการฟอกย้อม และเป็นสารเคมีตั้งต้นเพื่อผลิต คลอรีน ใช้ในการฟอกสี และโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาแอช เพื่อกัดโลหะหรือล้างครื่องจักร ล้างท่อที่สกปรก และใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระจก และอุตสาหกรรมอื่นๆอีกหลายชนิด
ซึ่งเกลือชนิดนี้เป็นเกลือที่มีความเข้มข้นสูงมาก สูงถึง 99.60 % สูงกว่าเกลือแกง 97.00 % และละลายน้ำได้ดีกว่า มาลองคิดต่อว่า ถ้าสัตว์ป่ากินเกลือโซเดี่ยมคลอไรด์ที่มีความเข้มข้นสูงๆจะเกิดอะไรขึ้น
• โซเดียมคลอไรด์ที่สัตว์ป่ากินเข้าไปที่สัตว์ป่า จะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารและลำไส้ โซเดียมส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการจะถูกขับออกที่ไต
• ส่วนที่ไม่ถูกขับจะอยู่ในเลือดและเซลล์ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเลือด
• ถ้าสัตว์ป่าบริโภคโซเดียมมากเกินไป ร่างกายอาจขับออกไม่หมด เมื่อขับออกไม่หมด โซเดียมในเลือดมีปริมาณมาก ร่างกายจะต้องการน้ำมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้โซเดียมเข้มข้นเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ และเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สัตว์ป่าออกหากินนอกพื้นที่ป่าเพื่อลงมากินน้ำในแหล่งชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ป่าตามมา
• ปริมาณโซเดียมและน้ำที่สัตว์ป่ารับเข้าไปจะทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
• นอกจากนี้โซเดียมยังมีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือด ซึ่งเมื่อหลอดเลือดหดตัว ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ไต ตา ฯลฯ
ซึ่งถ้าเป็นสัตว์เลี้ยง ตรวจร่างกาย หรือแสดงอาการ หมอก็รักษาได้ และถ้าเป็นสัตว์ป่าละ มันคือภัยคุกคามที่แฝงอยู่ในตัว ที่รอวันตายอย่างทรมานเท่านั้น ดังนั้น ด้วยความเข้มข้นที่สูง และแท้จริงตามหลัก Wildlife Nutrition แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับสัตว์จัดเป็น ๒ กลุ่มคือ แร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรอง (ซึ่งมีมากกว่าโซเดียมคลอไรด์ตัวเดียว)
แร่ธาตุหลัก คือแร่ธาตุที่สัตว์จำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก ในการดำเนินชีวิตประจำวันประกอบด้วยแร่ธาตุ ๗ ตัวคือ แคลเชียม ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม ซัลเฟอร์ โซเดียม คลอไรด์ และแม็กนีเซียม ซึ่งธาตุทั้ง ๗ ตัวนี้ในร่างการของสัตว์มีอยู่ประมาณ ๔% ของน้ำหนักตัว
แร่ธาตุรอง คือกลุ่มแร่ธาตุที่สัตว์ไม่ต้องการในปริมาณมากแต่ขาดไม่ได้ เนื่องจากหากขาดกลไกของร่างการจะสะดุดหรือชะงัก ประกอบด้วย ธาตุ ๑๕ ตัวคือ เหล็ก โคบอลท์ นิเกล ทองแดง สังกะสี วานาเดียม โคเมียม แมงกานีส โมลิบดีนัม ซิลิคอน ดีบุก อาเซนิค ซิลิเนียม ฟูโอไล และไอโอดีน ซึ่งธาตุทั้ง ๑๕ ตัวนี้ในร่างการของสัตว์มีอยู่ประมาณ ๐.๐๑% ของน้ำหนักตัว
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว การเสริมโป่งโดยใช้เกลือ Refined Salt เพียงตัวเดียว มีความเข้มข้นของ Sodium Chloride สูงและปริมาณมาก ซึ่งพืชอาหารสัตว์ป่า แหล่งน้ำ แหล่งดินโป่ง ในธรรมชาติ ก็ม็แร่ธาตุชนิดนี้อยู่แล้ว ก็จะมากเกินความจำเป็น (สารอาหารใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน หรือแร่ธาตุ หากขาดก็เกิดปัญหา หากเกินก็เป็นโทษ) และแร่ธาตุที่นำมาเสริมดินโป่งให้กับสัตว์ป่านั้นต้องมีความปลอดภัย ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม ไม่มีการปนเปื้อน
อย่าลืมว่าเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้วมีสิ่งที่ปนเปื้อนและเป็นพาหะนำโรคสู่สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ สัตว์ป่าตายเป็นจำนวนมากมาแล้ว.....บอบช้ำครับ
"แค่คนไม่ทาน สัตว์ป่าก็ไม่ควรจะกิน โอเคนะ"
ขอบพระคุณมากครับ
ที่มา : FB : Patarapol Lotter Maneeorn
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/Lotterwildlifevet/posts/10204573949241994z
ประวัติ
นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ
หมอล็อต สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกของไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000081947
----------------------------
แนวทางการจัดทำโป่งเทียม
ในความจริงแล้วองค์ประกอบของดินในพื้นที่แต่ละแห่งย่อมมีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันไป เป็นเหตุให้พืชอาหารของสัตว์กินพืชเหล่านั้นในแต่ละพื้นที่มีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อสังเกตที่ว่าสัตว์ป่าในป่าภาคใต้จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่จัดทำโป่งเทียมน้อยมาก (Bumpakphan, 1997) ดังนั้นจุดประสงค์ของการทำโป่งเทียม จึงมิได้มุ่งหมายที่จะจัดทำแหล่งแร่ธาตุให้ สัตว์ป่าได้รับแร่ธาตุครบถ้วนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเป้าหมายถึงการสร้างพื้นที่ที่เป็นแหล่งดึงดูดให้สัตว์เข้ามาเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถได้พบเห็นสัตว์ป่าได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการสร้างโป่งเทียมนั้น มีวิธีการที่แตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ดังนี้
วิธีที่ 1
จากการทดลองศึกษาการทำโป่งเทียมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้พบว่าสัตว์ชอบกินดินโป่งที่มีอัตราส่วนของดิน : กระดูกป่น : เกลือแกง ประมาณ 40 : 2 :1 (แคลเซียม 1,450 ppm และโซเดียม 825 ppm) และในอัตราส่วน 20 : 2 : 1 (แคลเซียม 2900 ppm และโซเดียม 1,650 ppm) มากกว่าสูตรอื่นๆ โดยพบว่าดินโป่งเทียมทั้ง 2 สูตร มีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติ และได้ทำการสร้างโป่งเทียมในพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติ โดยเลือกพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีสัตว์ป่ามากินเป็นประจำ มีพืชอาหารจำนวนมาก มีลักษณะเป็นเนินเตี้ย มีเนื้อดินร่วนปนดินเหนียว ให้ทำการเปิดหน้าดิน และขุดหน้าดินให้เป็นหน้าตัดในแนวตั้งฉาก ขุดหลุมบริเวณด้านบนของหน้าตัด และนำกระดูกป่นและเกลือแกงผสมกันในอัตราส่วน 2 : 1 ไปผสมกับดินบริเวณที่จัดทำโป่งเทียม โป่งเทียมที่จัดทำขึ้นจะมีขนาดกว้างประมาณ 4 เมตร ยาว 5 เมตร ลึกประมาณ 1.5 เมตร (อนุชยา, 2529)
วิธีที่ 2
การจัดทำโป่งเทียมของหน่วยงานหรือชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปจากรูปแบบง่ายๆ ที่นำเอาเกลือแกงเพียงอย่างเดียวเทลงบริเวณโป่งดินที่สัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์แล้วเอาน้ำราดให้เกลือซึมลงดิน ซึ่งก็พบว่ามีสัตว์ป่าจำนวนมากเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนั้น จนถึงวิธีการทำโป่งเทียม ที่อ้างอิงหลักการทางวิชาการของค่ายเยาวชนของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่นำก้อนแร่ธาตุอาหารสัตว์ที่มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมนำมาทุบให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับเกลือแกง และไดแคลเซียมฟอสเฟต ในอัตราส่วน 60 : 20: 20 โดยนำธาตุอาหารที่ผสมแล้วเหล่านี้ไปฝังกลบบริเวณที่ขุดไว้กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ฯลฯ หลังจากเทส่วนผสม ทั้ง 3 ชนิด ลงไปและคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงกลบพร้อมกับราดน้ำให้ชุ่ม เพื่อที่แร่ธาตุจะได้ซึมลงดินและส่งกลิ่นเรียกสัตว์ให้เข้ามาในพื้นที่
วิธีที่ 3
โดยหลักวิชาการเรื่องการให้แร่ธาตุเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์จำพวกวัว ควาย นั้น อาจให้ในรูปของแร่ธาตุก้อน ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำหรับโค กระบือ ที่มีขายตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไป เป็นก้อนทรงกลม หรือสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ขนาด 2 กิโลกรัม สำหรับวางไว้ให้สัตว์เลีย ซึ่งในต่างประเทศจะใช้วิธีการแขวนแท่งเกลือให้สัตว์เลียกิน (นริศ, 2543) แต่สำหรับประเทศไทยที่มีสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้างป่า อาจจะไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากในกรณีที่ก้อนแร่ธาตุละลายมีขนาดเล็กลง ช้างหรือกระทิง วัวแดง อาจกิน ก้อนแร่ธาตุขนาดเล็กทั้งก้อนได้
วิธีที่ 4
เป็นการผสมแร่ธาตุผงขึ้นมาเองโดยใช้สูตรแร่ธาตุผงที่พัฒนาสำหรับสัตว์จำพวกวัว ควาย ซึ่งประกอบด้วย กระดูกป่น 50 ส่วน เกลือป่น 50 ส่วน จุนสีป่น 1 ส่วน โคบอลท์ซัลเฟต 0.06 ส่วน (ยอดชาย และไพโรจน์ ศูนย์วิจัยบำรุงพันธุ์สัตว์ จังหวัดตาก) โดยในส่วนของกระดูกป่นซึ่งเป็นแหล่งของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัส อาจะมีราคาแพงจึงอาจนำเปลือกหอยป่น หรือหินปูน ซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมที่อยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต มาผสม เมื่อผสมแร่ธาตุผงได้แล้ว จึงนำแร่ธาตุผงที่ผสมขึ้นมานั้น ไปฝังกลบในดินบริเวณโป่งเดิม ที่เป็นโป่งร้างหรืออาจเลือกพื้นที่เหมาะสมที่ไม่เคยเป็นโป่งมาก่อน แต่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าเข้ามาใช้พื้นที่บ่อยและอยู่ใกล้ลำห้วย ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ที่มีชื่อกลุ่มเหนือล้อ ได้จัดทำโป่งเทียมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน โดยใช้สูตรแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ เกลือสมุทร 1,500 กิโลกรัม เปลือกหอยบดละเอียด 250 กิโลกรัม Dicalciumphosphate 750 กิโลกรัม และตัวตรึงแร่ธาตุ 60 กิโลกรัม (www.topwheel 4x4.com/forums/showthread.phe?t=83) สำหรับ Dicalciumphosphae นับเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัส แต่มีราคาค่อนข้างแพง
ขั้นตอนในการจัดทำโป่งเทียม
การจัดทำโป่งเทียมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุกแห่งนั้น ชมรมหรือคณะผู้จัดทำจะต้องทำหนังสือขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก่อนทุกครั้ง เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจึงจะสามารถดำเนินการได้โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ที่มา :
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.dnp.go.th/wildlife/wildlifeyearbook/abstract/2552/3.1%20%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1.pdf
----------------------------
ป.ล. ใครที่เพิ่งเข้ามา สามารถติดตามเหตุการณ์ (เกลือ) หิมะเทียมได้ที่นี่ครับ
1. ## เกลือ ปริมาณขนาดนี้ ### มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อย่างไรบ้างครับ
(
http://ppantip.com/topic/33008382)
2. ###เรียนคุณตันครับ### ช่วยบอกวิธีการการจัดการ (เกลือ) หิมะเทียม ที่ทางคุณและทีมงานสร้างขึ้นมา
(
http://ppantip.com/topic/33010229)
3. ####เรียนคุณตัน#### (2) ช่วยชี้แจงวิธีการและขั้นตอนการจัดการ (เกลือ) หิมะเทียมด้วยครับ
(
http://ppantip.com/topic/33018462)
4. #####คุณตัน##### (3) เรื่อง (เกลิอ) หิมะเทียม !! เหตุใดจึงไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ?
(
http://ppantip.com/topic/33032260)
5. ######คุณตัน###### (4) ขอบคุณที่ยกเลิกงาน (เกลือ) หิมะเทียม
(
http://ppantip.com/topic/33050916)
6. ###คุณตัน### (5) สภาพแวดล้อมของคืนสุดท้าย ใน งาน (เกลือ) หิมะเทียม
(
http://ppantip.com/topic/33054654)
7. ####คุณตัน#### (จบ) ทำอะไร ? หลังจบงาน (เกลือ) หิมะเทียม
(
http://ppantip.com/topic/33056498)
-----------------------
ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุน สนใจ และใส่ใจกับ ผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าครับ หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นกรณีที่ควรศึกษาอย่างยิ่งของผู้ประกอบธุรกิจต่างๆให้ใส่ใจในเรื่องนี้มากขึ้นครับ
ขอบพระคุณมากครับ
### "แค่คนไม่ทาน สัตว์ป่าก็ไม่ควรจะกิน" ### ความรู้เรื่อง "เกลือกับดินโป่ง" กรณีเทศกาล "หิมะเทียม"โดยคุณตันและทีมงาน
สุดท้ายนี้ เพื่อทำความเข้าใจกับเกลือชนิดนี้ และวิธีการทำดินโป่ง ขออนุญาตแชร์ความรู้ จาก สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกของไทย ให้ทุกคนได้ทราบและเข้าใจตรงกัน ดังนี้ครับ
เหตุและผลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (ใครที่ร่วมกิจกรรมทำโป่งกับเรา ส่งเสียงหน่อยยยยย) ติดตามย้อนหลังได้ในรายการ ขยายข่าว ทิน โชคกมลกิจ ทางTNN24 นะครับ https://www.youtube.com/watch?v=6POWIeEHu7Q#t=15
ขอชื่นชมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนครับ กับความมุ่งมั่นและตั้งใจ ในการนำเกลือ Refined Salt ที่เสร็จสิ้นจากการจัดนิทรรศการ มาใช้ประโยชน์ต่อกับสัตว์ป่า ด้วยแนวคิด นำมาทำโป่งให้สัตว์ป่า เดิมที่เราก็ไม่รู้จักหรอกว่าเกลือชนิดนี้คือเกลืออะไร แต่พอมาดู ก็รู้ว่า Refined Salt เป็นเกลือที่ผลิตเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมันคือ Sodium chloride บริสุทธิ์ ที่มีความเข้มข้นสูง ไม่มีอะไรเจือปนเหมือนเกลือสมุทร หรือ เกลือสินเธาว์ ที่เอามากินกัน จึงไม่ได้เอามากินกัน ถ้าคนไม่กิน สัตว์ป่าก็ไม่ควรนำมากิน
มีอุตสาหกรรมหลายอย่างที่ต้องใช้เกลืออุตสาหกรรมแบบนี้เช่นใช้ในการฟอกย้อม และเป็นสารเคมีตั้งต้นเพื่อผลิต คลอรีน ใช้ในการฟอกสี และโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาแอช เพื่อกัดโลหะหรือล้างครื่องจักร ล้างท่อที่สกปรก และใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระจก และอุตสาหกรรมอื่นๆอีกหลายชนิด
ซึ่งเกลือชนิดนี้เป็นเกลือที่มีความเข้มข้นสูงมาก สูงถึง 99.60 % สูงกว่าเกลือแกง 97.00 % และละลายน้ำได้ดีกว่า มาลองคิดต่อว่า ถ้าสัตว์ป่ากินเกลือโซเดี่ยมคลอไรด์ที่มีความเข้มข้นสูงๆจะเกิดอะไรขึ้น
• โซเดียมคลอไรด์ที่สัตว์ป่ากินเข้าไปที่สัตว์ป่า จะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารและลำไส้ โซเดียมส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการจะถูกขับออกที่ไต
• ส่วนที่ไม่ถูกขับจะอยู่ในเลือดและเซลล์ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเลือด
• ถ้าสัตว์ป่าบริโภคโซเดียมมากเกินไป ร่างกายอาจขับออกไม่หมด เมื่อขับออกไม่หมด โซเดียมในเลือดมีปริมาณมาก ร่างกายจะต้องการน้ำมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้โซเดียมเข้มข้นเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ และเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สัตว์ป่าออกหากินนอกพื้นที่ป่าเพื่อลงมากินน้ำในแหล่งชุมชน ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ป่าตามมา
• ปริมาณโซเดียมและน้ำที่สัตว์ป่ารับเข้าไปจะทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
• นอกจากนี้โซเดียมยังมีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือด ซึ่งเมื่อหลอดเลือดหดตัว ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ไต ตา ฯลฯ
ซึ่งถ้าเป็นสัตว์เลี้ยง ตรวจร่างกาย หรือแสดงอาการ หมอก็รักษาได้ และถ้าเป็นสัตว์ป่าละ มันคือภัยคุกคามที่แฝงอยู่ในตัว ที่รอวันตายอย่างทรมานเท่านั้น ดังนั้น ด้วยความเข้มข้นที่สูง และแท้จริงตามหลัก Wildlife Nutrition แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับสัตว์จัดเป็น ๒ กลุ่มคือ แร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรอง (ซึ่งมีมากกว่าโซเดียมคลอไรด์ตัวเดียว)
แร่ธาตุหลัก คือแร่ธาตุที่สัตว์จำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก ในการดำเนินชีวิตประจำวันประกอบด้วยแร่ธาตุ ๗ ตัวคือ แคลเชียม ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม ซัลเฟอร์ โซเดียม คลอไรด์ และแม็กนีเซียม ซึ่งธาตุทั้ง ๗ ตัวนี้ในร่างการของสัตว์มีอยู่ประมาณ ๔% ของน้ำหนักตัว
แร่ธาตุรอง คือกลุ่มแร่ธาตุที่สัตว์ไม่ต้องการในปริมาณมากแต่ขาดไม่ได้ เนื่องจากหากขาดกลไกของร่างการจะสะดุดหรือชะงัก ประกอบด้วย ธาตุ ๑๕ ตัวคือ เหล็ก โคบอลท์ นิเกล ทองแดง สังกะสี วานาเดียม โคเมียม แมงกานีส โมลิบดีนัม ซิลิคอน ดีบุก อาเซนิค ซิลิเนียม ฟูโอไล และไอโอดีน ซึ่งธาตุทั้ง ๑๕ ตัวนี้ในร่างการของสัตว์มีอยู่ประมาณ ๐.๐๑% ของน้ำหนักตัว
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว การเสริมโป่งโดยใช้เกลือ Refined Salt เพียงตัวเดียว มีความเข้มข้นของ Sodium Chloride สูงและปริมาณมาก ซึ่งพืชอาหารสัตว์ป่า แหล่งน้ำ แหล่งดินโป่ง ในธรรมชาติ ก็ม็แร่ธาตุชนิดนี้อยู่แล้ว ก็จะมากเกินความจำเป็น (สารอาหารใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน หรือแร่ธาตุ หากขาดก็เกิดปัญหา หากเกินก็เป็นโทษ) และแร่ธาตุที่นำมาเสริมดินโป่งให้กับสัตว์ป่านั้นต้องมีความปลอดภัย ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม ไม่มีการปนเปื้อน
อย่าลืมว่าเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้วมีสิ่งที่ปนเปื้อนและเป็นพาหะนำโรคสู่สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์ สัตว์ป่าตายเป็นจำนวนมากมาแล้ว.....บอบช้ำครับ
"แค่คนไม่ทาน สัตว์ป่าก็ไม่ควรจะกิน โอเคนะ"
ขอบพระคุณมากครับ
ที่มา : FB : Patarapol Lotter Maneeorn [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ z
ประวัติ นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ หมอล็อต สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกของไทย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
----------------------------
แนวทางการจัดทำโป่งเทียม
ในความจริงแล้วองค์ประกอบของดินในพื้นที่แต่ละแห่งย่อมมีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันไป เป็นเหตุให้พืชอาหารของสัตว์กินพืชเหล่านั้นในแต่ละพื้นที่มีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อสังเกตที่ว่าสัตว์ป่าในป่าภาคใต้จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่จัดทำโป่งเทียมน้อยมาก (Bumpakphan, 1997) ดังนั้นจุดประสงค์ของการทำโป่งเทียม จึงมิได้มุ่งหมายที่จะจัดทำแหล่งแร่ธาตุให้ สัตว์ป่าได้รับแร่ธาตุครบถ้วนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเป้าหมายถึงการสร้างพื้นที่ที่เป็นแหล่งดึงดูดให้สัตว์เข้ามาเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถได้พบเห็นสัตว์ป่าได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการสร้างโป่งเทียมนั้น มีวิธีการที่แตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ดังนี้
วิธีที่ 1
จากการทดลองศึกษาการทำโป่งเทียมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้พบว่าสัตว์ชอบกินดินโป่งที่มีอัตราส่วนของดิน : กระดูกป่น : เกลือแกง ประมาณ 40 : 2 :1 (แคลเซียม 1,450 ppm และโซเดียม 825 ppm) และในอัตราส่วน 20 : 2 : 1 (แคลเซียม 2900 ppm และโซเดียม 1,650 ppm) มากกว่าสูตรอื่นๆ โดยพบว่าดินโป่งเทียมทั้ง 2 สูตร มีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติ และได้ทำการสร้างโป่งเทียมในพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติ โดยเลือกพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีสัตว์ป่ามากินเป็นประจำ มีพืชอาหารจำนวนมาก มีลักษณะเป็นเนินเตี้ย มีเนื้อดินร่วนปนดินเหนียว ให้ทำการเปิดหน้าดิน และขุดหน้าดินให้เป็นหน้าตัดในแนวตั้งฉาก ขุดหลุมบริเวณด้านบนของหน้าตัด และนำกระดูกป่นและเกลือแกงผสมกันในอัตราส่วน 2 : 1 ไปผสมกับดินบริเวณที่จัดทำโป่งเทียม โป่งเทียมที่จัดทำขึ้นจะมีขนาดกว้างประมาณ 4 เมตร ยาว 5 เมตร ลึกประมาณ 1.5 เมตร (อนุชยา, 2529)
วิธีที่ 2
การจัดทำโป่งเทียมของหน่วยงานหรือชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปจากรูปแบบง่ายๆ ที่นำเอาเกลือแกงเพียงอย่างเดียวเทลงบริเวณโป่งดินที่สัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์แล้วเอาน้ำราดให้เกลือซึมลงดิน ซึ่งก็พบว่ามีสัตว์ป่าจำนวนมากเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนั้น จนถึงวิธีการทำโป่งเทียม ที่อ้างอิงหลักการทางวิชาการของค่ายเยาวชนของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่นำก้อนแร่ธาตุอาหารสัตว์ที่มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมนำมาทุบให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับเกลือแกง และไดแคลเซียมฟอสเฟต ในอัตราส่วน 60 : 20: 20 โดยนำธาตุอาหารที่ผสมแล้วเหล่านี้ไปฝังกลบบริเวณที่ขุดไว้กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ฯลฯ หลังจากเทส่วนผสม ทั้ง 3 ชนิด ลงไปและคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงกลบพร้อมกับราดน้ำให้ชุ่ม เพื่อที่แร่ธาตุจะได้ซึมลงดินและส่งกลิ่นเรียกสัตว์ให้เข้ามาในพื้นที่
วิธีที่ 3
โดยหลักวิชาการเรื่องการให้แร่ธาตุเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์จำพวกวัว ควาย นั้น อาจให้ในรูปของแร่ธาตุก้อน ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำหรับโค กระบือ ที่มีขายตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไป เป็นก้อนทรงกลม หรือสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ขนาด 2 กิโลกรัม สำหรับวางไว้ให้สัตว์เลีย ซึ่งในต่างประเทศจะใช้วิธีการแขวนแท่งเกลือให้สัตว์เลียกิน (นริศ, 2543) แต่สำหรับประเทศไทยที่มีสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้างป่า อาจจะไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากในกรณีที่ก้อนแร่ธาตุละลายมีขนาดเล็กลง ช้างหรือกระทิง วัวแดง อาจกิน ก้อนแร่ธาตุขนาดเล็กทั้งก้อนได้
วิธีที่ 4
เป็นการผสมแร่ธาตุผงขึ้นมาเองโดยใช้สูตรแร่ธาตุผงที่พัฒนาสำหรับสัตว์จำพวกวัว ควาย ซึ่งประกอบด้วย กระดูกป่น 50 ส่วน เกลือป่น 50 ส่วน จุนสีป่น 1 ส่วน โคบอลท์ซัลเฟต 0.06 ส่วน (ยอดชาย และไพโรจน์ ศูนย์วิจัยบำรุงพันธุ์สัตว์ จังหวัดตาก) โดยในส่วนของกระดูกป่นซึ่งเป็นแหล่งของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัส อาจะมีราคาแพงจึงอาจนำเปลือกหอยป่น หรือหินปูน ซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมที่อยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต มาผสม เมื่อผสมแร่ธาตุผงได้แล้ว จึงนำแร่ธาตุผงที่ผสมขึ้นมานั้น ไปฝังกลบในดินบริเวณโป่งเดิม ที่เป็นโป่งร้างหรืออาจเลือกพื้นที่เหมาะสมที่ไม่เคยเป็นโป่งมาก่อน แต่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าเข้ามาใช้พื้นที่บ่อยและอยู่ใกล้ลำห้วย ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ที่มีชื่อกลุ่มเหนือล้อ ได้จัดทำโป่งเทียมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน โดยใช้สูตรแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ เกลือสมุทร 1,500 กิโลกรัม เปลือกหอยบดละเอียด 250 กิโลกรัม Dicalciumphosphate 750 กิโลกรัม และตัวตรึงแร่ธาตุ 60 กิโลกรัม (www.topwheel 4x4.com/forums/showthread.phe?t=83) สำหรับ Dicalciumphosphae นับเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัส แต่มีราคาค่อนข้างแพง
ขั้นตอนในการจัดทำโป่งเทียม
การจัดทำโป่งเทียมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุกแห่งนั้น ชมรมหรือคณะผู้จัดทำจะต้องทำหนังสือขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก่อนทุกครั้ง เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจึงจะสามารถดำเนินการได้โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ที่มา : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
----------------------------
ป.ล. ใครที่เพิ่งเข้ามา สามารถติดตามเหตุการณ์ (เกลือ) หิมะเทียมได้ที่นี่ครับ
1. ## เกลือ ปริมาณขนาดนี้ ### มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อย่างไรบ้างครับ
(http://ppantip.com/topic/33008382)
2. ###เรียนคุณตันครับ### ช่วยบอกวิธีการการจัดการ (เกลือ) หิมะเทียม ที่ทางคุณและทีมงานสร้างขึ้นมา
(http://ppantip.com/topic/33010229)
3. ####เรียนคุณตัน#### (2) ช่วยชี้แจงวิธีการและขั้นตอนการจัดการ (เกลือ) หิมะเทียมด้วยครับ
(http://ppantip.com/topic/33018462)
4. #####คุณตัน##### (3) เรื่อง (เกลิอ) หิมะเทียม !! เหตุใดจึงไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ?
(http://ppantip.com/topic/33032260)
5. ######คุณตัน###### (4) ขอบคุณที่ยกเลิกงาน (เกลือ) หิมะเทียม
(http://ppantip.com/topic/33050916)
6. ###คุณตัน### (5) สภาพแวดล้อมของคืนสุดท้าย ใน งาน (เกลือ) หิมะเทียม
(http://ppantip.com/topic/33054654)
7. ####คุณตัน#### (จบ) ทำอะไร ? หลังจบงาน (เกลือ) หิมะเทียม
(http://ppantip.com/topic/33056498)
-----------------------
ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุน สนใจ และใส่ใจกับ ผลกระทบต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าครับ หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นกรณีที่ควรศึกษาอย่างยิ่งของผู้ประกอบธุรกิจต่างๆให้ใส่ใจในเรื่องนี้มากขึ้นครับ
ขอบพระคุณมากครับ