คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
อันดับแรก ก๊าซ หรือ แก๊ส เรียกได้ 2 แบบ ไม่มี ก๊าส นะครับ
ตอบ
1. ผลผลิตหลังจากการสันดาป hydrogen กับ oxygen คือ น้ำ ครับ
2. ตามคำตอบที่ 1
เพิ่มเติม
กระบวนการผลิต hydrogen ไม่มีใครใช้การแยกน้ำด้วยไฟฟ้ากันนะครับ เป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองพลังงานและไม่คุ้มค่าเลย
เค้าใช้วิธีการ steam reforming ซึ่งใช้สารประกอบ hydrocarbon จากปิโตรเลียมมาทำปฏิกิริยาน้ำเปล่าที่อุณหภูมิ 700-1,000C
ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาพวก copper, nickel มีปฎิกิริยาดังนี้ครับ
CxHy + x H2O -> x CO + (y/2 + x) H2
ตามด้วย water gas-shift reaction ที่อุณหภูมิที่ต่ำลง ประมาณ 200-500C
คือเอา CO ที่เกิดขึ้นมาทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำคล้ายๆเดิมอีกทอดนึงนั่นเอง
CO + H2O -> CO2 + H2
ปฏิกิริยานี้มีมานานแล้วครับหากใครอยู่ในวงการโรงกลั่นปิโตรเลียมหรือโรงแยกแก๊สธรรมชาติคงคุ้นๆกระบวนการนี้กันดี
แต่ในอนาคตเค้าจะเปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบตั้งต้นครับ จากปิโตรเลียมเป็น biomass
เดิมทีปิโตรเลียมเค้านิยมเอา methane มาผลิตเป็น hydrogen เพราะ methane มูลค่าต่ำกว่า hydrogen พอสมควร
แต่หากในอนาคต เรื่องสิ่งแวดล้อมมาแรง หรือราคาแก๊สธรรมชาติแพงเกินไป
ที่คิดไว้คือน้ำกระบวนการ steam reforming ไปรวมเข้ากับกระบวนการ gasification ของ biomass
gascification หากดูรากศัพท์รู้ก็จะพอแปลออกได้ว่าเป็นกระบวนการผลิตแก๊สนั่นเอง
แต่จะใช้พวก biomass นี่แหละนำมาเผาที่อุณหภูมิสูง 900-1,200C ให้ biomass สลายเป็นแก๊ส
ซึ่งแก๊สที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็น hydrogen, methane, carbon monoxide
hydrogen ก็จะถูกแยกออก แก๊ส methane กับ carbon monoxide ก็จะไปผ่านกระบวนการ steam reforming
ให้ได้ hydrogen อีกที
นอกจากนี้ยังมีการพยายามประยุกต์เอาไอร้อนที่ได้จากการทำ gasification ไปให้พลังงาน
กับโรงไฟฟ้าประเภท combined cycle อีกด้วย
เรียกได้ว่ารีดประสิทธิภาพจาก biomass กันแบบสุดๆเลยทีเดียว
ตอบ
1. ผลผลิตหลังจากการสันดาป hydrogen กับ oxygen คือ น้ำ ครับ
2. ตามคำตอบที่ 1
เพิ่มเติม
กระบวนการผลิต hydrogen ไม่มีใครใช้การแยกน้ำด้วยไฟฟ้ากันนะครับ เป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองพลังงานและไม่คุ้มค่าเลย
เค้าใช้วิธีการ steam reforming ซึ่งใช้สารประกอบ hydrocarbon จากปิโตรเลียมมาทำปฏิกิริยาน้ำเปล่าที่อุณหภูมิ 700-1,000C
ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาพวก copper, nickel มีปฎิกิริยาดังนี้ครับ
CxHy + x H2O -> x CO + (y/2 + x) H2
ตามด้วย water gas-shift reaction ที่อุณหภูมิที่ต่ำลง ประมาณ 200-500C
คือเอา CO ที่เกิดขึ้นมาทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำคล้ายๆเดิมอีกทอดนึงนั่นเอง
CO + H2O -> CO2 + H2
ปฏิกิริยานี้มีมานานแล้วครับหากใครอยู่ในวงการโรงกลั่นปิโตรเลียมหรือโรงแยกแก๊สธรรมชาติคงคุ้นๆกระบวนการนี้กันดี
แต่ในอนาคตเค้าจะเปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบตั้งต้นครับ จากปิโตรเลียมเป็น biomass
เดิมทีปิโตรเลียมเค้านิยมเอา methane มาผลิตเป็น hydrogen เพราะ methane มูลค่าต่ำกว่า hydrogen พอสมควร
แต่หากในอนาคต เรื่องสิ่งแวดล้อมมาแรง หรือราคาแก๊สธรรมชาติแพงเกินไป
ที่คิดไว้คือน้ำกระบวนการ steam reforming ไปรวมเข้ากับกระบวนการ gasification ของ biomass
gascification หากดูรากศัพท์รู้ก็จะพอแปลออกได้ว่าเป็นกระบวนการผลิตแก๊สนั่นเอง
แต่จะใช้พวก biomass นี่แหละนำมาเผาที่อุณหภูมิสูง 900-1,200C ให้ biomass สลายเป็นแก๊ส
ซึ่งแก๊สที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็น hydrogen, methane, carbon monoxide
hydrogen ก็จะถูกแยกออก แก๊ส methane กับ carbon monoxide ก็จะไปผ่านกระบวนการ steam reforming
ให้ได้ hydrogen อีกที
นอกจากนี้ยังมีการพยายามประยุกต์เอาไอร้อนที่ได้จากการทำ gasification ไปให้พลังงาน
กับโรงไฟฟ้าประเภท combined cycle อีกด้วย
เรียกได้ว่ารีดประสิทธิภาพจาก biomass กันแบบสุดๆเลยทีเดียว
แสดงความคิดเห็น
รบกวนถามเรื่องก๊าสไฮโดรเจน
1.ก๊าสไฮโดรเจนที่ใช้การสันดาบในเครื่องยนต์ ก๊าสไอเสียที่เกิดขึ้นจะเป็นก๊าสอะไร
2.ก๊าสไฮโดรเจนที่ถูกใช้ในสันดาบเครืองยนต์ สามารถกลับกลายเป็นน้ำได้อีกหรือไม่