สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ไม่ใช่เพราะเอกชนแพงหรอกครับ เพียงแต่รพ.รัฐไม่ได้บอกตัวเลขค่ารักษาจริงๆ ให้คนไข้ทราบต่างหาก
จริง ๆ ค่ารักษาในรพ.รัฐก็ไม่ใช่ถูกนะครับ ผ่าไส้ติ่งถ้าไม่มีสิทธิบัตรทอง ไม่มีบัตรประกันอะไรเลย ค่ารักษาก็สามหมื่นอัพได้ครับ
ซึ่งถ้าไปเอกชนก็จะเพิ่มค่าบริการ ค่าหมอไปอีกเป็น 5-6 หมื่น ซึ่งก็ต่างกันประมาณ 2-3 เท่าปกติ
เพียงแต่รพ.รัฐ มีรัฐบาลตามไปจ่ายให้ ทำให้คนไข้จ่ายแค่สามสิบบาท เลยมองว่าเอกชนมันแพงครับ
อย่างก้างปลาติดคอ ถ้าไม่ลึกมาก ก็อ้าปาก หมอทั่วไปก็ใช้คีมคีบออก
แต่ถ้ายาก ก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ กล้องส่องท่ออาหาร ตัวละ 2 ล้าน
ถ้าเอกชนลงทุน เค้าก็ต้องหารแล้วว่าส่องกี่คนถึงจะคุ้ม 2 ล้าน
และถ้าส่องกล้องยาว ก็ต้องดมยาสลบ ตรงนี้ก็มีค่าเครื่องมืออีก
อยากได้ของดี บริการดี มันก็มีราคาครับ
รพ.รัฐ ไปรพ.อำเภอไม่มีเครื่องมือ หมอให้อ้าปาก พยายามคีบ
คนไข้อ๊วกอีก ก็มาโวยวายอีกว่า 30 บาทไม่มีมาตรฐาน
ถ้าจะไปใช้เครื่องมือส่องกล้อง ก็มีเฉพาะรพ.ใหญ่ ๆ เครื่องมือส่องทางเดินอาหารตัวละ 2 ล้าน
ไม่ใช่รพ.รัฐทุกที่ที่มี และถึงมีก็ต้องรอคิวอีก ตัวเดียวใช้กับคนไข้ทั้งจังหวัด
อันนี้ไปเอกชน ตรวจปุ๊บ คีบเลย ถ้าอยากสะดวกก็ต้องแบบนี้แหละครับ
และถ้าเคสดุ่ม ๆ เข้าไปรพ.รัฐ ไม่มีใบส่งตัว ผมว่ารพ.รัฐก็ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นครับ
สำหรับดมยาสลบส่องกล้องคีบออก
เพียงแต่ทุกวันนี้เราคิดว่าทุกโรค 30 บาทต่างหาก เลยมองว่าเอกชนแพงมหาศาล
ทำให้ตรงนี้แหละที่ทำให้หลวงถังแตก ใช้งบปีละหลายแสนล้านและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
แต่ก็ไม่กล้าบอกประชาชนกลัวเสียคะแนนเสียง และกลายเป็นมาบีบเอากับหมอ
ให้ใช้ยาในประเทศ จ่ายยาครั้งละไม่เกิน 500 บาท จ่ายยาครั้งละไม่เกินสองอาทิตย์
ลองถามพวกแพทย์ที่อยู่ในรพ.รัฐได้ ว่าเห็นประกาศฉบับนี้ไหม
แต่คนไข้ไม่เข้าใจก็หาว่าหมอห่วย เลี้ยงไข้ นัดบ่อย รักษาไม่ดี
ซึ่งถามว่ามันแพงอะไร ก็ต้องตอบว่าค่าวัสดุ ค่าแรง ค่ายา ต่าง ๆ มันก็ปรับขึ้นทุกปีครับ
ขนาดค่าแรงยังปรับเป็นสามร้อย ก๋วยเตี๋ยวชาม 15 ตอนนี้ชามละ 50 แล้ว ดังนั้นของก็แพงขึ้นทุกอย่างครับ
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการพยายามปรับปรุงให้มีการร่วมจ่ายในคนที่พอมี มีมากจ่ายมาก มีน้อยจ่ายน้อย
แต่ก็มีคนพยายามดราม่าว่าไม่เห็นหัวคนจนมั่ง สองมาตรฐานมั่ง กดขี่คนข้างล่างมั่ง
สรุปก็ต้องอยู่กันไปงี้แหละครับ รพ.รัฐก็มีไว้สำหรับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานจริง ๆ คือดึงทุกคนลงมารักษาเท่ากันแบบพื้นฐานสุดๆเท่าที่รัฐจะมีเงินให้
ส่วนเอกชนก็เปิดไว้เพื่อรองรับคนที่พอมีเงินและอยากได้การบริการที่ดีกว่า มียาดี ๆ ให้ใช้มากกว่าครับ
หลายคนชอบบอกว่าหมอเกลียด 30 บาท เพราะนโยบายนี้จะทำให้เอกชนเจ๊ง คลีนิคล่ม บลาๆ
แต่จริง ๆ ก็คือตั้งแต่มีนโยบาย 30 บาท เอกชนยิ่งขยายตัวพรวดพลาด รพ.กรุงเทพหุ้นจะทะลุแสนล้าน หมอประเสริฐกลายเป็นบุคคลรวยหุ้นที่สุดแห่งปีทรัพย์สิน 50000 ล้านแล้ว เงินเดือนหมอก็เพิ่มกว่าสมัยก่อนมี 30 บาทด้วยซ้ำ
รพ.เอกชน เปิดกันแทบทุกหัวถนน คลีนิคเปิดมากกว่าเดิม
เพราะทุกคนกลัวตายกับระบบสุขภาพขั้นพื้นฐานสุดๆ ที่รพ.รัฐแหละครับ
จริง ๆ ค่ารักษาในรพ.รัฐก็ไม่ใช่ถูกนะครับ ผ่าไส้ติ่งถ้าไม่มีสิทธิบัตรทอง ไม่มีบัตรประกันอะไรเลย ค่ารักษาก็สามหมื่นอัพได้ครับ
ซึ่งถ้าไปเอกชนก็จะเพิ่มค่าบริการ ค่าหมอไปอีกเป็น 5-6 หมื่น ซึ่งก็ต่างกันประมาณ 2-3 เท่าปกติ
เพียงแต่รพ.รัฐ มีรัฐบาลตามไปจ่ายให้ ทำให้คนไข้จ่ายแค่สามสิบบาท เลยมองว่าเอกชนมันแพงครับ
อย่างก้างปลาติดคอ ถ้าไม่ลึกมาก ก็อ้าปาก หมอทั่วไปก็ใช้คีมคีบออก
แต่ถ้ายาก ก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ กล้องส่องท่ออาหาร ตัวละ 2 ล้าน
ถ้าเอกชนลงทุน เค้าก็ต้องหารแล้วว่าส่องกี่คนถึงจะคุ้ม 2 ล้าน
และถ้าส่องกล้องยาว ก็ต้องดมยาสลบ ตรงนี้ก็มีค่าเครื่องมืออีก
อยากได้ของดี บริการดี มันก็มีราคาครับ
รพ.รัฐ ไปรพ.อำเภอไม่มีเครื่องมือ หมอให้อ้าปาก พยายามคีบ
คนไข้อ๊วกอีก ก็มาโวยวายอีกว่า 30 บาทไม่มีมาตรฐาน
ถ้าจะไปใช้เครื่องมือส่องกล้อง ก็มีเฉพาะรพ.ใหญ่ ๆ เครื่องมือส่องทางเดินอาหารตัวละ 2 ล้าน
ไม่ใช่รพ.รัฐทุกที่ที่มี และถึงมีก็ต้องรอคิวอีก ตัวเดียวใช้กับคนไข้ทั้งจังหวัด
อันนี้ไปเอกชน ตรวจปุ๊บ คีบเลย ถ้าอยากสะดวกก็ต้องแบบนี้แหละครับ
และถ้าเคสดุ่ม ๆ เข้าไปรพ.รัฐ ไม่มีใบส่งตัว ผมว่ารพ.รัฐก็ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นครับ
สำหรับดมยาสลบส่องกล้องคีบออก
เพียงแต่ทุกวันนี้เราคิดว่าทุกโรค 30 บาทต่างหาก เลยมองว่าเอกชนแพงมหาศาล
ทำให้ตรงนี้แหละที่ทำให้หลวงถังแตก ใช้งบปีละหลายแสนล้านและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
แต่ก็ไม่กล้าบอกประชาชนกลัวเสียคะแนนเสียง และกลายเป็นมาบีบเอากับหมอ
ให้ใช้ยาในประเทศ จ่ายยาครั้งละไม่เกิน 500 บาท จ่ายยาครั้งละไม่เกินสองอาทิตย์
ลองถามพวกแพทย์ที่อยู่ในรพ.รัฐได้ ว่าเห็นประกาศฉบับนี้ไหม
แต่คนไข้ไม่เข้าใจก็หาว่าหมอห่วย เลี้ยงไข้ นัดบ่อย รักษาไม่ดี
ซึ่งถามว่ามันแพงอะไร ก็ต้องตอบว่าค่าวัสดุ ค่าแรง ค่ายา ต่าง ๆ มันก็ปรับขึ้นทุกปีครับ
ขนาดค่าแรงยังปรับเป็นสามร้อย ก๋วยเตี๋ยวชาม 15 ตอนนี้ชามละ 50 แล้ว ดังนั้นของก็แพงขึ้นทุกอย่างครับ
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการพยายามปรับปรุงให้มีการร่วมจ่ายในคนที่พอมี มีมากจ่ายมาก มีน้อยจ่ายน้อย
แต่ก็มีคนพยายามดราม่าว่าไม่เห็นหัวคนจนมั่ง สองมาตรฐานมั่ง กดขี่คนข้างล่างมั่ง
สรุปก็ต้องอยู่กันไปงี้แหละครับ รพ.รัฐก็มีไว้สำหรับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานจริง ๆ คือดึงทุกคนลงมารักษาเท่ากันแบบพื้นฐานสุดๆเท่าที่รัฐจะมีเงินให้
ส่วนเอกชนก็เปิดไว้เพื่อรองรับคนที่พอมีเงินและอยากได้การบริการที่ดีกว่า มียาดี ๆ ให้ใช้มากกว่าครับ
หลายคนชอบบอกว่าหมอเกลียด 30 บาท เพราะนโยบายนี้จะทำให้เอกชนเจ๊ง คลีนิคล่ม บลาๆ
แต่จริง ๆ ก็คือตั้งแต่มีนโยบาย 30 บาท เอกชนยิ่งขยายตัวพรวดพลาด รพ.กรุงเทพหุ้นจะทะลุแสนล้าน หมอประเสริฐกลายเป็นบุคคลรวยหุ้นที่สุดแห่งปีทรัพย์สิน 50000 ล้านแล้ว เงินเดือนหมอก็เพิ่มกว่าสมัยก่อนมี 30 บาทด้วยซ้ำ
รพ.เอกชน เปิดกันแทบทุกหัวถนน คลีนิคเปิดมากกว่าเดิม
เพราะทุกคนกลัวตายกับระบบสุขภาพขั้นพื้นฐานสุดๆ ที่รพ.รัฐแหละครับ
แสดงความคิดเห็น
แชร์ว่อน!! บิลค่ารักษาก้างปลาติดคอ สูงเกือบ 70,000 บาท
วันที่ 5 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีในโลกโซเชียลฯ มีการแชร์ใบเสร็จค่ารักษาก้างปลาติดคอ 2 บิล รวม 68,889 บาท หรือเกือบ 70,000 บาทนั้น เหมือนกับจะเป็นการปล้นกันเลย ทั้งที่ตอนแรกประเมินไว้ไม่เกิน 40,000 บาท จนมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นกันจำนวนมาก
ขณะที่ทางแพทย์ออกมาชี้แจงว่าเป็นการรักษากรณีเคสยาก เนื่องจากรายนี้ก้างปลาไปติดอยู่ที่หลอดอาหาร ต้องใช้แพทย์ดูแลถึง 3 คน เป็นแพทย์หูตาคอจมูก 2 คน และศัลยแพทย์อีก 1 คน อีกทั้งคนไข้ก็มีโรคประจำตัวด้วย
โรงพยาบาลคิดค่ารักษาพยาบาลตามที่แพทยสภากำหนด ซึ่งการรักษามีความซับซ้อน ทำให้การคิดค่ารักษาอาจไม่ตรงกับที่ประเมินในครั้งแรก ทั้งนี้ได้ชี้แจงกับคนไข้และภรรยาจนเข้าใจแล้ว แต่ลูกสาวที่นำไปโพสต์อาจจะยังไม่ทราบ
ข้อมูลสำนักข่าวไทย
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU1EUXlOVGsyTmc9PQ==&subcatid=