จากมติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์ในช่วงปลายปี 2557 ว่า
จากข้อมูลพบว่าหลายสถานประกอบการมีการจ่ายโบนัสลดลง โดยในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556-25 ธันวาคม 2557 นั้น พบสถานประกอบการมีสถานการณ์คือ
1.มีข้อเรียกร้องในสถานประกอบการเกิดขึ้น 168 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้อง 101,711 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 66 แห่ง คือมีข้อเรียกร้องถึง 234 แห่ง
2.มีข้อพิพาทแรงงานในสถานประกอบการจำนวน 50 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 32,660 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 15 แห่ง ที่มีข้อพิพาท 65 แห่ง
3.มีข้อขัดแย้ง 31 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้อง 21,249 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 11 แห่ง ที่มีข้อขัดแย้ง 42 แห่ง
4.มีการผละงาน 7 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 2,710 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 4 แห่งที่มีการผละงานจำนวน 3 แห่ง ไม่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน รวมแล้วมีการจดทะเบียนข้อตกลงและสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจำนวน 161 ฉบับ รวมสิทธิประโยชน์จำนวนกว่า 8,655 ล้านบาท
นายสุวิทย์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาลูกจ้างส่วนมากจะใช้วิธีในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องเงินค่าตอบแทนพิเศษประจำปีหรือเงินโบนัส จากนายจ้าง ทำให้นายจ้างมองว่าลูกจ้างใช้กฎหมู่ ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ต้องคอยแนะนำลูกจ้างว่าอย่ารวมตัวชุมนุม เนื่องจากอาจทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ตามกฎหมายแรงงาน ฐานจงใจก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างและลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยกับนายจ้างขอให้เข้าใจลูกจ้าง โดยนายจ้างส่วนมากให้โอกาสลูกจ้าง แต่มีบางส่วนที่คาดโทษไว้
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากนี้สถานการณ์น่าจะยุติเนื่องจากผ่านช่วงเวลาจ่ายโบนัสไปแล้ว แต่ทาง กสร.ก็ยังเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไปเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจยังมีความน่าเป็นห่วง จนอาจนำมาสู่การปรับโครงสร้างการทำงานในหลายสถานประกอบการ
เตือนลูกจ้างชุมนุมเรียก"โบนัส" อาจถูกเลิกจ้าง-ไม่ได้เงินชดเชย!
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์ด้านแรงงานสัมพันธ์ในช่วงปลายปี 2557 ว่า
จากข้อมูลพบว่าหลายสถานประกอบการมีการจ่ายโบนัสลดลง โดยในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556-25 ธันวาคม 2557 นั้น พบสถานประกอบการมีสถานการณ์คือ
1.มีข้อเรียกร้องในสถานประกอบการเกิดขึ้น 168 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้อง 101,711 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 66 แห่ง คือมีข้อเรียกร้องถึง 234 แห่ง
2.มีข้อพิพาทแรงงานในสถานประกอบการจำนวน 50 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 32,660 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 15 แห่ง ที่มีข้อพิพาท 65 แห่ง
3.มีข้อขัดแย้ง 31 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้อง 21,249 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 11 แห่ง ที่มีข้อขัดแย้ง 42 แห่ง
4.มีการผละงาน 7 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 2,710 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจำนวน 4 แห่งที่มีการผละงานจำนวน 3 แห่ง ไม่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน รวมแล้วมีการจดทะเบียนข้อตกลงและสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจำนวน 161 ฉบับ รวมสิทธิประโยชน์จำนวนกว่า 8,655 ล้านบาท
นายสุวิทย์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาลูกจ้างส่วนมากจะใช้วิธีในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องเงินค่าตอบแทนพิเศษประจำปีหรือเงินโบนัส จากนายจ้าง ทำให้นายจ้างมองว่าลูกจ้างใช้กฎหมู่ ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ต้องคอยแนะนำลูกจ้างว่าอย่ารวมตัวชุมนุม เนื่องจากอาจทำให้นายจ้างเลิกจ้างได้ตามกฎหมายแรงงาน ฐานจงใจก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างและลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยกับนายจ้างขอให้เข้าใจลูกจ้าง โดยนายจ้างส่วนมากให้โอกาสลูกจ้าง แต่มีบางส่วนที่คาดโทษไว้
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากนี้สถานการณ์น่าจะยุติเนื่องจากผ่านช่วงเวลาจ่ายโบนัสไปแล้ว แต่ทาง กสร.ก็ยังเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไปเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจยังมีความน่าเป็นห่วง จนอาจนำมาสู่การปรับโครงสร้างการทำงานในหลายสถานประกอบการ