######คุณตัน###### (4) ขอบคุณที่ยกเลิกงาน (เกลือ) หิมะเทียม

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ดินโป่ง" จาก กรณี "เกลือ" (หิมะเทียม) ของคุณตัน โดย ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตวป่า ที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ดังนี้

     การทำดินโป่งให้สัตว์ใช้เกลือเป็นส่วนประกอบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และต้องใช้เกลือหลายชนิด
ดร.ทรงธรรมอธิบายว่า "โป่ง" เป็นที่รวมอาหารของสัตว์จึงต้องมีส่วนผสมของแร่ธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ซึ่ง โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือไม่ได้มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสัตว์ แต่ใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อดึงดูดสัตว์ให้มากินโป่ง ดังนั้นตนจึงมองว่าเกลือปริมาณ 40 ตันจากงานนิมมาน สโนว์ เฟสติวัล มีปริมาณมากเกินไปที่จะนำมาทำโป่งให้สัตว์ป่า และยังอาจมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บเกลืออีกด้วย


"หากจะนำเกลือเข้าออกพื้นที่หรือนำมาใช้ทำโป่งให้สัตว์ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็ต้องอนุญาตก่อน" ดร.ทรงธรรมระบุและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้เคยมีผู้บริจาคเกลือให้ปศุสัตว์ที่เขาใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ทำโป่งให้สัตว์ป่า แต่ในปริมาณน้อยกว่านี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่พบปัญหาในการจัดเก็บ เพราะมีช้างป่าได้กลิ่นเกลือจึงเข้ามาพังโรงเก็บเกลือ

ที่มา : thaipbs.or.th
--------------------

http://ppantip.com/topic/33010229
http://ppantip.com/topic/33018462
http://ppantip.com/topic/33032260

จากข้อเรียกร้อง 3 กระทู้ดังข้างต้น

จากวันที่ 21 ธันวาคม 2557 จึงถึงวันนี้ วันเริ่มต้นของปี 1 มกราคม 2558 คุณตัน ได้แจ้งยกเลิกงานดังกล่าวในวันที่ 3 เป็นต้นไป ...

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ขอยกเลิกการจัดงาน Snow Festival @Think Park ตั้งแต่วันที่ 3 มกรา เป็นต้นไป ในช่วงวันปีใหม่ที่ผ่านมา ผมนั่งทบทวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้งานนี้จะมีผู้เข้าชมงานจำนวนมาก สร้างความสุขและรอยยิ้มกับผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะเด็กๆที่ไม่มีประสบการณ์กับเที่ยวหิมะ แต่ก็มีบางกลุ่มที่เป็นห่วงว่า”เกลือ”ที่ใช้ในงานจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แม้จะมั่นใจว่า จะมีการเตรียมและป้องกันปัญหาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผมก็เคารพในความเห็นต่างๆที่เกิดขึ้น
รวมถึงข้อเสนอของบางกลุ่มที่ขอให้ยกเลิกในงานนี้ ผมก็นำมาคิดอย่างจริงจังในเมื่อผมจัดงานนี้ด้วยเจตนารมณ์ที่ดีและไม่ได้เก็บค่าบัตรผ่านประตู ค่าเช่าพื้นที่ และค่าสปอนเซอร์ จะเลิกก็ไม่เสียหายอะไร มองโลกในแง่ดี คนที่เสนอให้เรายกเลิกก็ไม่ได้อะไรสักบาท มีแต่ความปราถนาดีต่อเชียงใหม่ทั้งนั้น
แต่ในมุมของผม เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่อง”แพ้”หรือ”ชนะ”
หากเป็นเรื่องความสบายใจของคนที่รักเชียงใหม่เหมือนกัน เพียงแต่คิดต่างกัน
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ ผมคงจะเชิญผู้ที่คัดค้านมาดูการเตรียมงานของเราตั้งแต่แรก และจะสื่อสารเรื่องกระบวนการป้องกันปัญหาของเราเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ
แต่เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปได้ การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องการถกเถียงว่าใครถูก-ใครผิด หากเป็นการทำอย่างไรให้ทุกฝ่าย”สบายใจ”ที่สุด
ดังนั้น ผมจึงขอยกเลิกการจัดงานตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมนี้เป็นต้นไป เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าผมรับฟังความเห็นของทุกท่านด้วยความเคารพจริงๆ ผมยอมรับว่า2วันแรก ผมคาดไม่ถึงว่าคนจะมาเยอะทำให้เกลือหลุดลอดไปที่ฟุตบาทสาธารณะแต่เราก็จัดการแก้ไขให้เสร็จทันทีภายใน 6 โมงเช้าวันรุ่งขึ้น และผมขอโทษที่ไม่ได้ปรึกษาหารือหน่วยงานอื่นๆ เพราะคิดว่าจัดอยู่ในที่ของตัวเองและใช้เงินของตัวเอง ผมจะเก็บประสบการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียนในครั้งต่อไป
พรุ่งนี้ผมจะบินไปเชียงใหม่ และสัญญาว่าจะเก็บ”เกลือ”ในพื้นที่ของเราให้ดีที่สุด และในการเข้าพบท่านผู้ว่าฯเชียงใหม่เมื่อวันก่อน ท่านได้ขอ”เกลือ”ทั้งหมดนี้ไว้เพื่อนำไปเป็น”ดินโป่ง”ให้กับสัตว์ป่าในพื้นที่เชียงใหม่
ผมจึงขอส่งมอบเกลือนี้เพื่อให้ทางจังหวัดนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ผมขอโทษอีกครั้งหากใครตั้งใจไปงาน2วันสุดท้าย แต่ยังไงผมก็อยู่ต้อนรับถ่ายรูปร่วมกับทุกท่านที่หน้าโรงแรมอีสตินตันครับ เที่ยวปีใหม่แล้วขอให้เดินทางกลับบ้านด้วยความปลอดภัยกันทุกคน
ตัน ภาสกรนที


------------------------------------------------
ในเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้ขอเกลือทั้งหมด 230 ตัน โดยประมาณ เอาไปใช้ประโยชน์ ก็หวังว่าทางคุณตันและส่วนราชการ จะดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ในการใช้ประโยชน์จากเกลือทั้งหมด ถ้าเป็นไปได้ควรชี้แจงให้สังคมได้รับทราบว่าจะนำไปทำโป่งเทียมที่ไหน อย่างไร ? (จำนวนเกลือต่อ 1 โป่งเทียม)  แล้ว เกลือของคุณตัน Refined Salt ทำโป่งเทียมได้จริงๆเหรอ (เกลือบริสุทธิ์ไม่มีไอโอดีน)

ขอบคุณที่ยังมีจิตสำนึกและตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นและมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม  ถึงแม้ว่าจะช้าไปบ้างก็ตาม แต่คุณตันก็ควรชี้แจงข้อมูลให้มากกว่านี้ครับ ข้อมูลเพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอต่อข้อสังสัยของสังคมได้ครับ

ขอฝากกรณีนี้ถึงผู้ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ว่าการดำเนินธุรกิจ ควรดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  เพราะถ้าหากสิ่งแวดล้อมเสียหายไปแล้วก็ยากที่จะเอากลับคืนมาให้เหมือนเดิม ซึ่งถ้าธุรกิจของคุณสามารถเป็นแบบอย่างให้กับธุรกิจอื่นได้ คุณก็จะได้รับการยอมรับและสรรเสริญอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจากสังคมอย่างแน่นอน


ป.ล. ไม่ได้ตำหนิความตั้งใจของคุณเอง แต่ในเมื่อวิธีการจัดการของคุณไม่มืออาชีพ คุณก็ควรที่จะถูกตำหนิจากสังคม


-------------------------------------------------------------------------
ถามผู้รู้และผู้ที่เคยทำ ดินโป่ง โป่งเทียม ด้วยเกลือนะครับ



เกลือของคุณตัน Refined Salt ทำโป่งเทียมได้จริงๆเหรอครับ (เกลือบริสุทธิ์ที่ไม่มีไอโอดีน)




ส่วนใหญ่เขาใส่เกลือแกงกัน มีแร่ธาตุไอโอดีน
แล้วต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่ครับถึงจะรองรับเกลือที่มีความเข้มข้นสูงนี้ทั้งหมด

วิธีการทำโป่งเทียมที่ถูกต้อง คุณและทีมงานได้ศึกษาหรือยัง?
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ที่มา : http://feelthai.blogspot.com/2012/05/artificial-salt-lick-for-wildlife-at.html
       : http://www.oknation.net/blog/Hoopoeman/2009/03/27/entry-1

--------------------------------------------------------
แนวทางการจัดทำโป่งเทียม
ในความจริงแล้วองค์ประกอบของดินในพื้นที่แต่ละแห่งย่อมมีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันไป เป็นเหตุให้พืชอาหารของสัตว์กินพืชเหล่านั้นในแต่ละพื้นที่มีปริมาณแร่ธาตุแตกต่างกันด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อสังเกตที่ว่าสัตว์ป่าในป่าภาคใต้จะเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่จัดทำโป่งเทียมน้อยมาก (Bumpakphan, 1997) ดังนั้นจุดประสงค์ของการทำโป่งเทียม จึงมิได้มุ่งหมายที่จะจัดทำแหล่งแร่ธาตุให้ สัตว์ป่าได้รับแร่ธาตุครบถ้วนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเป้าหมายถึงการสร้างพื้นที่ที่เป็นแหล่งดึงดูดให้สัตว์เข้ามาเพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถได้พบเห็นสัตว์ป่าได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการสร้างโป่งเทียมนั้น มีวิธีการที่แตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ดังนี้

วิธีที่ 1
จากการทดลองศึกษาการทำโป่งเทียมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้พบว่าสัตว์ชอบกินดินโป่งที่มีอัตราส่วนของดิน : กระดูกป่น : เกลือแกง ประมาณ 40 : 2 :1 (แคลเซียม 1,450 ppm และโซเดียม 825 ppm) และในอัตราส่วน 20 : 2 : 1 (แคลเซียม 2900 ppm และโซเดียม 1,650 ppm) มากกว่าสูตรอื่นๆ โดยพบว่าดินโป่งเทียมทั้ง 2 สูตร มีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติ และได้ทำการสร้างโป่งเทียมในพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโป่งธรรมชาติ โดยเลือกพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีสัตว์ป่ามากินเป็นประจำ มีพืชอาหารจำนวนมาก มีลักษณะเป็นเนินเตี้ย มีเนื้อดินร่วนปนดินเหนียว ให้ทำการเปิดหน้าดิน และขุดหน้าดินให้เป็นหน้าตัดในแนวตั้งฉาก ขุดหลุมบริเวณด้านบนของหน้าตัด และนำกระดูกป่นและเกลือแกงผสมกันในอัตราส่วน 2 : 1 ไปผสมกับดินบริเวณที่จัดทำโป่งเทียม โป่งเทียมที่จัดทำขึ้นจะมีขนาดกว้างประมาณ 4 เมตร ยาว 5 เมตร ลึกประมาณ 1.5 เมตร (อนุชยา, 2529)

วิธีที่ 2
การจัดทำโป่งเทียมของหน่วยงานหรือชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปจากรูปแบบง่ายๆ ที่นำเอาเกลือแกงเพียงอย่างเดียวเทลงบริเวณโป่งดินที่สัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์แล้วเอาน้ำราดให้เกลือซึมลงดิน ซึ่งก็พบว่ามีสัตว์ป่าจำนวนมากเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนั้น จนถึงวิธีการทำโป่งเทียม ที่อ้างอิงหลักการทางวิชาการของค่ายเยาวชนของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่นำก้อนแร่ธาตุอาหารสัตว์ที่มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมนำมาทุบให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับเกลือแกง และไดแคลเซียมฟอสเฟต ในอัตราส่วน 60 : 20: 20 โดยนำธาตุอาหารที่ผสมแล้วเหล่านี้ไปฝังกลบบริเวณที่ขุดไว้กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ฯลฯ หลังจากเทส่วนผสม ทั้ง 3 ชนิด ลงไปและคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงกลบพร้อมกับราดน้ำให้ชุ่ม เพื่อที่แร่ธาตุจะได้ซึมลงดินและส่งกลิ่นเรียกสัตว์ให้เข้ามาในพื้นที่

วิธีที่ 3
โดยหลักวิชาการเรื่องการให้แร่ธาตุเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์จำพวกวัว ควาย นั้น อาจให้ในรูปของแร่ธาตุก้อน ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำหรับโค กระบือ ที่มีขายตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไป เป็นก้อนทรงกลม หรือสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ขนาด 2 กิโลกรัม สำหรับวางไว้ให้สัตว์เลีย ซึ่งในต่างประเทศจะใช้วิธีการแขวนแท่งเกลือให้สัตว์เลียกิน (นริศ, 2543) แต่สำหรับประเทศไทยที่มีสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้างป่า อาจจะไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากในกรณีที่ก้อนแร่ธาตุละลายมีขนาดเล็กลง ช้างหรือกระทิง วัวแดง อาจกิน ก้อนแร่ธาตุขนาดเล็กทั้งก้อนได้

วิธีที่ 4
เป็นการผสมแร่ธาตุผงขึ้นมาเองโดยใช้สูตรแร่ธาตุผงที่พัฒนาสำหรับสัตว์จำพวกวัว ควาย ซึ่งประกอบด้วย กระดูกป่น 50 ส่วน เกลือป่น 50 ส่วน จุนสีป่น 1 ส่วน โคบอลท์ซัลเฟต 0.06 ส่วน (ยอดชาย และไพโรจน์ ศูนย์วิจัยบำรุงพันธุ์สัตว์ จังหวัดตาก) โดยในส่วนของกระดูกป่นซึ่งเป็นแหล่งของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัส อาจะมีราคาแพงจึงอาจนำเปลือกหอยป่น หรือหินปูน ซึ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมที่อยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต มาผสม เมื่อผสมแร่ธาตุผงได้แล้ว จึงนำแร่ธาตุผงที่ผสมขึ้นมานั้น ไปฝังกลบในดินบริเวณโป่งเดิม ที่เป็นโป่งร้างหรืออาจเลือกพื้นที่เหมาะสมที่ไม่เคยเป็นโป่งมาก่อน แต่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าเข้ามาใช้พื้นที่บ่อยและอยู่ใกล้ลำห้วย ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ที่มีชื่อกลุ่มเหนือล้อ ได้จัดทำโป่งเทียมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน โดยใช้สูตรแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ เกลือสมุทร 1,500 กิโลกรัม เปลือกหอยบดละเอียด 250 กิโลกรัม Dicalciumphosphate 750 กิโลกรัม และตัวตรึงแร่ธาตุ 60 กิโลกรัม (www.topwheel 4x4.com/forums/showthread.phe?t=83) สำหรับ Dicalciumphosphae นับเป็นแหล่งของแคลเซียมและฟอสฟอรัส แต่มีราคาค่อนข้างแพง

ขั้นตอนในการจัดทำโป่งเทียม
การจัดทำโป่งเทียมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุกแห่งนั้น ชมรมหรือคณะผู้จัดทำจะต้องทำหนังสือขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก่อนทุกครั้ง เมื่อได้รับหนังสืออนุญาตแล้วจึงจะสามารถดำเนินการได้โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ที่มา : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่