อย่างที่ผมเห็นบ่อย ๆ คือ คำว่า ชีท ที่หมายถึงกระดาษ หรือแผ่นงานที่อาจารย์แจกให้ตามโรงเรียน ทีนี้ มีเพื่อนผมบางคนเขียนว่า ชีส ที่หมายถึงอาหาร หนือคำว่า แบ็คกราวนด์ บางคนก็จะเขียนเป็น แบล็คกราวนด์ เพราะติดกับคำว่า แบล็ค ที่หมายถึง สีดำ อะไรแบบนั้น ส่วนคำอื่นที่พบบ่อยก็เช่น อนุญาต ที่เขียนเป็น อนุญาติ
นอกจากนี้ ตอนนั้นผมเรียนภาษาญี่ปุ่น แล้วก่อนหน้านี้อาจารย์เคยสอนคำว่า ฮะชิ ในความหมายที่แปลว่า ตะเกียบ เพื่อนผมทุกคนก็จำแบบนั้น ต่อมา อาจารย์ได้สอนคำว่า ฮะชิ ที่แปลว่า สะพาน คือพอตอนแรกเพื่อนผมถามว่า ฮะชิ แปลว่าอะไร ผมก็บอกว่า สะพาน เพื่อนถามกลับว่า มันไม่ได้แปลว่าตะเกียบเหรอ เหมือนเขายังไม่เข้าใจว่า คำพ้องรูปพ้องเสียง มันไม่ได้มีแค่ในภาษาไทยเท่านั้น แต่ภาษาอื่น ๆ ก็มีเหมือนกัน
ไม่ได้จะติอะไร แต่เกิด "ความสงสัย"
ทำไมคนไทยมักคิดว่าคำทุกคำ ต้องสะกดได้แค่แบบเดียว หรือมีความหมายได้แค่อย่างเดียว
นอกจากนี้ ตอนนั้นผมเรียนภาษาญี่ปุ่น แล้วก่อนหน้านี้อาจารย์เคยสอนคำว่า ฮะชิ ในความหมายที่แปลว่า ตะเกียบ เพื่อนผมทุกคนก็จำแบบนั้น ต่อมา อาจารย์ได้สอนคำว่า ฮะชิ ที่แปลว่า สะพาน คือพอตอนแรกเพื่อนผมถามว่า ฮะชิ แปลว่าอะไร ผมก็บอกว่า สะพาน เพื่อนถามกลับว่า มันไม่ได้แปลว่าตะเกียบเหรอ เหมือนเขายังไม่เข้าใจว่า คำพ้องรูปพ้องเสียง มันไม่ได้มีแค่ในภาษาไทยเท่านั้น แต่ภาษาอื่น ๆ ก็มีเหมือนกัน
ไม่ได้จะติอะไร แต่เกิด "ความสงสัย"