พระสูตร
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑
บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน
ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ
ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้
เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี
เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน
ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ
ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน
ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต
ไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวน
เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ
ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ
สรุปความ พระสูตร
บริษัทดื้อด้าน
1 ไม่ฟัง พระสูตรที่ตถาคตภาษิต
2 ไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน กลับตั้งใจฟัง พระสูตรที่กวีรจนาไว้ ....... ฯลฯ เป็นสาวกภาษิต
3 เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน แต่ไม่สอบสวน เที่ยวไต่ถาม ใน อรรถะ พยัญชนะ ฯลฯ
บริษัทไม่ดื้อด้าน
1 ไม่ฟัง พระสูตรที่กวีรจนาไว้ ....... ฯลฯ เป็นสาวกภาษิต
2 ไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน แต่ตั้งใจฟัง พระสูตรที่ตถาคตภาษิต
3 เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน และย่อมสอบสวน เที่ยวไต่ถาม ใน อรรถะ พยัญชนะ ฯลฯ
อรรถกถา บางส่วน
บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง.
บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง.
บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร.
บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน.
บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.
ข้อสังเกตและวิจารณ์
1 ขออนุญาตบอกตามตรงว่า ผมไม่ยังไม่แน่ใจว่า เราจะเข้าใจความหมายของคำว่า พาหิรกา สาวกภาษิตา ตรงตามความหมายที่แท้จริงจากพระบาลี หรือไม่ ?
เพราะเมื่อพิจารณาความหมายที่พระอรรถกถาให้ไว้ มันดูเหมือนเป็นความหมายตามเข้าใจของ พระเถระในลังกาสมัยศตวรรษที่สิบ
มากกว่าจะเป็นความหมายในสมัยพุทธกาล นะครับท่าน เช่นว่า อรรถกถาในพระสูตรนี้ บอกว่า พาหิรกา หมายถึง สุตตันตะนอกพระศาสนา
ปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนสำหรับผมก็คือ คำว่า ศาสนา ในที่นี้ ท่านหมายถึงอะไร ?
พจนานุกรมของหลวงปู่ปยุตโต บอกว่าในสมัยก่อน คำว่า ศาสนา หมายถึง คำสอน ซึ่งแตกต่างไปจากการให้ความหมายในสมัยนี้
แล้ว สุตตันตะนอกคำสอน มันหมายถึงอะไรล่ะครับ ?
ถ้าจะคิดแบบง่ายที่สุด ก็คงต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรงข้ามกันในพระสูตรเดียวกันนี้เอง คือ คำสอนในที่นี้ ต้องหมายถึง
(พระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้) ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม
คำว่า นอกคำสอน ก็ต้องหมายถึง พระสูตรที่ตื้น มีอรรถอันตื้น เป็นโลกียะ(มั้งครับ?) ไม่ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม(ปฏิสังยุต แปลว่า ?)
แต่ปัญหาที่ผมยังไม่เข้าใจก็คือ พระอรรถกถา บอกว่า สาวกภาษิตา หมายถึง สาวกของพาหิรกศาสดา ซึ่งเมื่อฟังๆดู เหมือนท่านจะบอกว่าหมายถึง
อัญญเดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนาไปเลย เช่นพวก นิครนถ์ ปริพาชก ฯลฯ อะไรทำนองนั้น ตรงนี้ ผมเห็นว่ามันมีอะไรที่แปลกอยู่พอสมควรนะครับท่าน
เพราะเมื่ออ่านคำอธิบายของหลวงปู่ปยุตโต (ในอีกกระทู้หนึ่ง) คำว่า พาหิรกสูตร ท่านบอกว่า หมายถึงสูตรที่อยู่นอกการสังคายนาสามครั้ง
รวมไปถึงพระสูตรของพวกมหาสังฆิกะ พวกวัชชีบุตร ฯลฯ เป็นต้น คำถาม ก็คือ คำว่า สูตรภายนอก ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง พระสูตรของอัญญเดียรถีย์
แต่หมายถึง พระสูตรของ ภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายอื่น
ดังนั้น ความเข้าใจของผมก็คือ คำว่า นอกศาสนา(พาหิรกา) พระอรรถกถา ไม่ได้หมายถึง อัญญเดียรถีย์ พวก นิครนถ์ ฯลฯ อะไรแบบนั้น
ท่านเพียงหมายถึง ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา แต่ต่างนิกายกันเท่านั้นเอง เว้นไว้เสียแต่ว่า พระอรรถกถา จะเรียกภิกษุต่างนิกายว่า อัญญเดียรถีย์
2 อีกเรื่องหนึ่ง ที่ผมขบคิด อยู่นานพอสมควร ก็คือ กรณีที่กล่าวว่า "แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี ฯลฯ มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้"
ปัญหาที่ผมสงสัยมาแต่แรก ก็คือ ถ้าหากเชื่อว่า พาหิรกา สาวกภาษิตา หมายถึง ภิกษุต่างนิกาย แล้วคำกวีเหล่านี้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีที่มาจากไหน ?
เกี่ยวกับปัญหานี้ ผู้รู้บางท่าน ได้กรุณาอธิบายให้ผมฟังว่า บทกวีเหล่านี้ อาจมีที่มาจาก คณะสงฆ์ของเรานี่เอง ไม่เว้นแต่ในสมัยพุทธกาล
เพราะปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้าม ภิกษุ นำคำสอนของพระองค์ มาแต่งเป็นคำฉันท์ในภาษาสันสกฤต โดยทรงปรับอาบัติเบา
แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่า เป็นสิกขาบทอะไร และปรับอาบัติอะไร นะครับท่าน (ท่านใดทราบ กรุณาบอกด้วยนะครับ)
ตามความเข้าใจของผมก็คือ ถ้ามีสิกขาบทนี้อยู่จริง และทรงปรับอาบัติเบา ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีภิกษุแต่งคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยบทกวี
และอาจเป็นที่นิยมชื่นชอบของพวก บริษัทดื้อด้าน มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แม้จะทรงห้ามไม่ให้ทำแบบนี้ ก็ตาม (ก็ดื้อด้านนี่ครับท่าน)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนครับท่าน ?
3 เรื่อง ควรฟัง หรือไม่ควรฟังคำสาวก ถ้าพิจารณาจากพระสูตรนี้ ผมเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ควรฟังคำสาวก นะครับท่าน
และคำว่า สาวก ในพระสูตรนี้ ก็หมายถึง ภิกษุในพระพุทธศาสนานี่แหละ แต่ คำสาวก ที่ตรัสว่าไม่ควรฟังนี้ ต้องหมายถึง พระสูตรที่
(1) กวีได้รจนาไว้
(2) เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร
(3) มีพยัญชนะวิจิตร
(4) มีในภายนอก คือ นอกคำสอน หมายถึง พระสูตรที่ตื้น มีอรรถอันตื้น เป็นโลกียะ(หรือปล่าว?) ไม่ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม
(5) เป็นสาวกภาษิต หมายถึง ภิกษุต่างนิกาย ตามความหมายของพระอรรถกถา และ/หรือ หมายถึง ภิกษุในคณะสงฆ์ ตามความหมายจากพระวินัย
ตอนนี้ ผมคิดได้เท่านี้ นะครับท่าน เอาไว้คิดเรื่องอื่นได้อีก ผมจะมานำเสนอใหม่ นะครับ ส่วนที่ว่า มันจะ ผิดถูกอย่างไร ?
ก็ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย กรุณา วิพากษ์วิจารณ์ ด้วยนะครับ อะไรขาด อะไรเกิน ก็ขอให้บอกกล่าวด้วยดี นะครับท่าน
โดยเฉพาะท่าน จูกัดเหลียง ที่ได้กรุณา อธิบายบอกกล่าวผมมาด้วยความอดทน และเมตตาเป็นอย่างยิ่ง นะครับท่าน
ถ้าพิจารณาจากพระสูตรนี้ ผมเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ควรฟังคำสาวก นะครับท่าน
[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑
บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน
ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ
ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้
เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี
เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน
ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ
ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน
ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต
ไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวน
เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ
ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ
สรุปความ พระสูตร
บริษัทดื้อด้าน
1 ไม่ฟัง พระสูตรที่ตถาคตภาษิต
2 ไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน กลับตั้งใจฟัง พระสูตรที่กวีรจนาไว้ ....... ฯลฯ เป็นสาวกภาษิต
3 เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน แต่ไม่สอบสวน เที่ยวไต่ถาม ใน อรรถะ พยัญชนะ ฯลฯ
บริษัทไม่ดื้อด้าน
1 ไม่ฟัง พระสูตรที่กวีรจนาไว้ ....... ฯลฯ เป็นสาวกภาษิต
2 ไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน แต่ตั้งใจฟัง พระสูตรที่ตถาคตภาษิต
3 เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน และย่อมสอบสวน เที่ยวไต่ถาม ใน อรรถะ พยัญชนะ ฯลฯ
อรรถกถา บางส่วน
บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง.
บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง.
บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร.
บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน.
บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.
ข้อสังเกตและวิจารณ์
1 ขออนุญาตบอกตามตรงว่า ผมไม่ยังไม่แน่ใจว่า เราจะเข้าใจความหมายของคำว่า พาหิรกา สาวกภาษิตา ตรงตามความหมายที่แท้จริงจากพระบาลี หรือไม่ ?
เพราะเมื่อพิจารณาความหมายที่พระอรรถกถาให้ไว้ มันดูเหมือนเป็นความหมายตามเข้าใจของ พระเถระในลังกาสมัยศตวรรษที่สิบ
มากกว่าจะเป็นความหมายในสมัยพุทธกาล นะครับท่าน เช่นว่า อรรถกถาในพระสูตรนี้ บอกว่า พาหิรกา หมายถึง สุตตันตะนอกพระศาสนา
ปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนสำหรับผมก็คือ คำว่า ศาสนา ในที่นี้ ท่านหมายถึงอะไร ?
พจนานุกรมของหลวงปู่ปยุตโต บอกว่าในสมัยก่อน คำว่า ศาสนา หมายถึง คำสอน ซึ่งแตกต่างไปจากการให้ความหมายในสมัยนี้
แล้ว สุตตันตะนอกคำสอน มันหมายถึงอะไรล่ะครับ ?
ถ้าจะคิดแบบง่ายที่สุด ก็คงต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรงข้ามกันในพระสูตรเดียวกันนี้เอง คือ คำสอนในที่นี้ ต้องหมายถึง
(พระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้) ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม
คำว่า นอกคำสอน ก็ต้องหมายถึง พระสูตรที่ตื้น มีอรรถอันตื้น เป็นโลกียะ(มั้งครับ?) ไม่ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม(ปฏิสังยุต แปลว่า ?)
แต่ปัญหาที่ผมยังไม่เข้าใจก็คือ พระอรรถกถา บอกว่า สาวกภาษิตา หมายถึง สาวกของพาหิรกศาสดา ซึ่งเมื่อฟังๆดู เหมือนท่านจะบอกว่าหมายถึง
อัญญเดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนาไปเลย เช่นพวก นิครนถ์ ปริพาชก ฯลฯ อะไรทำนองนั้น ตรงนี้ ผมเห็นว่ามันมีอะไรที่แปลกอยู่พอสมควรนะครับท่าน
เพราะเมื่ออ่านคำอธิบายของหลวงปู่ปยุตโต (ในอีกกระทู้หนึ่ง) คำว่า พาหิรกสูตร ท่านบอกว่า หมายถึงสูตรที่อยู่นอกการสังคายนาสามครั้ง
รวมไปถึงพระสูตรของพวกมหาสังฆิกะ พวกวัชชีบุตร ฯลฯ เป็นต้น คำถาม ก็คือ คำว่า สูตรภายนอก ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง พระสูตรของอัญญเดียรถีย์
แต่หมายถึง พระสูตรของ ภิกษุในพระพุทธศาสนานิกายอื่น
ดังนั้น ความเข้าใจของผมก็คือ คำว่า นอกศาสนา(พาหิรกา) พระอรรถกถา ไม่ได้หมายถึง อัญญเดียรถีย์ พวก นิครนถ์ ฯลฯ อะไรแบบนั้น
ท่านเพียงหมายถึง ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา แต่ต่างนิกายกันเท่านั้นเอง เว้นไว้เสียแต่ว่า พระอรรถกถา จะเรียกภิกษุต่างนิกายว่า อัญญเดียรถีย์
2 อีกเรื่องหนึ่ง ที่ผมขบคิด อยู่นานพอสมควร ก็คือ กรณีที่กล่าวว่า "แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี ฯลฯ มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้"
ปัญหาที่ผมสงสัยมาแต่แรก ก็คือ ถ้าหากเชื่อว่า พาหิรกา สาวกภาษิตา หมายถึง ภิกษุต่างนิกาย แล้วคำกวีเหล่านี้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีที่มาจากไหน ?
เกี่ยวกับปัญหานี้ ผู้รู้บางท่าน ได้กรุณาอธิบายให้ผมฟังว่า บทกวีเหล่านี้ อาจมีที่มาจาก คณะสงฆ์ของเรานี่เอง ไม่เว้นแต่ในสมัยพุทธกาล
เพราะปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติห้าม ภิกษุ นำคำสอนของพระองค์ มาแต่งเป็นคำฉันท์ในภาษาสันสกฤต โดยทรงปรับอาบัติเบา
แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่า เป็นสิกขาบทอะไร และปรับอาบัติอะไร นะครับท่าน (ท่านใดทราบ กรุณาบอกด้วยนะครับ)
ตามความเข้าใจของผมก็คือ ถ้ามีสิกขาบทนี้อยู่จริง และทรงปรับอาบัติเบา ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีภิกษุแต่งคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยบทกวี
และอาจเป็นที่นิยมชื่นชอบของพวก บริษัทดื้อด้าน มาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แม้จะทรงห้ามไม่ให้ทำแบบนี้ ก็ตาม (ก็ดื้อด้านนี่ครับท่าน)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนครับท่าน ?
3 เรื่อง ควรฟัง หรือไม่ควรฟังคำสาวก ถ้าพิจารณาจากพระสูตรนี้ ผมเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ควรฟังคำสาวก นะครับท่าน
และคำว่า สาวก ในพระสูตรนี้ ก็หมายถึง ภิกษุในพระพุทธศาสนานี่แหละ แต่ คำสาวก ที่ตรัสว่าไม่ควรฟังนี้ ต้องหมายถึง พระสูตรที่
(1) กวีได้รจนาไว้
(2) เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร
(3) มีพยัญชนะวิจิตร
(4) มีในภายนอก คือ นอกคำสอน หมายถึง พระสูตรที่ตื้น มีอรรถอันตื้น เป็นโลกียะ(หรือปล่าว?) ไม่ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม
(5) เป็นสาวกภาษิต หมายถึง ภิกษุต่างนิกาย ตามความหมายของพระอรรถกถา และ/หรือ หมายถึง ภิกษุในคณะสงฆ์ ตามความหมายจากพระวินัย
ตอนนี้ ผมคิดได้เท่านี้ นะครับท่าน เอาไว้คิดเรื่องอื่นได้อีก ผมจะมานำเสนอใหม่ นะครับ ส่วนที่ว่า มันจะ ผิดถูกอย่างไร ?
ก็ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย กรุณา วิพากษ์วิจารณ์ ด้วยนะครับ อะไรขาด อะไรเกิน ก็ขอให้บอกกล่าวด้วยดี นะครับท่าน
โดยเฉพาะท่าน จูกัดเหลียง ที่ได้กรุณา อธิบายบอกกล่าวผมมาด้วยความอดทน และเมตตาเป็นอย่างยิ่ง นะครับท่าน