ก่อนที่จะศึกษาเรื่องการเกิด-ดับของจิต เราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับคำว่า เกิด, ดับ, จิต, วิญญาณ เสียก่อน จึงจะศึกษาแล้วเข้าใจ รวมทั้งยังต้องศึกษาเรื่อง สิ่งปรุงแต่ง อีกด้วย
คือคำว่า เกิด หมายถึง จากที่ไม่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมามีขึ้นทีหลัง
คำว่า ดับ หมายถึง จากที่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมาไม่มีทีหลัง
คำว่า วิญญาณ หมายถึง การรับรู้ของจิต ที่เกิดตามระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย (เช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดการรับรู้รูปหรือการเห็นภาพขึ้น หรือเมื่อมีเสียงมากระทบหู จึงเกิดการได้ยินเสียงขึ้น เป็นต้น)
คำว่า จิต หมายถึง สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ (คือจิตประกอบด้วย วิญญาณหรือการรับรู้, สัญญาหรือการจำสิ่งที่รับรู้ได้, เวทนาหรือความรู้สึก, สังขารหรือการคิดหรือปรุงแต่งของจิต เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า จิต ที่หมายถึง สิ่งที่รู้สึกนึกคิด)
คำว่า ปรุงแต่ง (สังขาร) หมายถึง กิริยาที่ทำให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งจะหมายถึงกิริยาปรุงแต่งก็ได้ หรือหมายถึง สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาก็ได้ อย่างเช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดการปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณหรือการรับรู้ทางตาขึ้น ซึ่งวิญญาณหรือการรับรู้นี้ก็เรียกว่าเป็นสิ่งปรุงแต่ง เพราะมันถูกธรรมชาติทำให้เกิดขึ้น เป็นต้น และเมื่อไม่มีรูปมากระทบตา วิญญาณทางตาก็จะดับหายไป เป็นต้น โดยทุกสิ่ง ยกเว้น ความว่าง กฎของธรรมชาติ และความดับเท่านั้น ที่ไม่เป็นสิ่งปรุงแต่ง นอกนั้นจะเป็นสิ่งปรุงแต่งทั้งสิ้น โดยสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนั้น จะมีความไม่เที่ยง (อนิจจัง) มีสภาะที่ต้องทน (ทุกขัง) และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา)
การศึกษาเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้า จะต้องศึกษาจากจิตของเราเองจริงๆ ไม่ใช่จากการคิดคำนวณหรือคาดเดาเอาตามตำราหรือตามคนอื่น ดังนั้นคำว่า จิต หรือ วิญญาณ หรือ เกิด หรือดับ หรือปรุงแต่ง เราจึงต้องศึกษาจากจิตของเราเองเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูจากจิตของเราเองเราก็จะรู้ได้ว่า จิต ก็คือสิ่งที่มันสามารถรับรู้สิ่งอื่นได้ จำสิ่งที่รับรู้ได้ รู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้ได้ และมีการคิดหรือเกิดความพอใจ ไม่พอใจต่อความรู้สึกได้ ซึ่งสรุปแล้วมันก็คือสิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ซึ่งนี่คือนิยามของคำว่า จิต ที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด
เมื่อจิตคือสิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการรู้สึกนึกคิดได้ขึ้นมาเมื่อไร คือเวลาที่เราตื่น ก็แสดงว่าจิตได้เกิดขึ้นมาแล้ว แต่เมื่อใดที่ไม่มีอาการรู้สึกนึกคิด ก็แสดงว่าจิตได้ดับหายไปแล้ว คือเวลาที่หลับสนิทและไม่ฝัน (แต่เวลาที่หลับแล้วยังฝันอยู่นั้นก็แสดงว่าจิตได้เกิดขึ้นมาแล้วแต่ว่ายังไม่สมบูรณ์หรือยังเกิดความรู้สึกนึกคิดได้ไม่เต็มที่)
แต่สาเหตุที่เมื่อจิตเกิดขึ้นมาแล้วยังคงมีความรู้สึกนึกคิดได้เหมือนเดิมก็เพราะเหตุและปัจจัยที่มาร่วมกันปรุงแต่งให้เกิดจิตขึ้นมานั้นมันยังเหมือนเดิม (เหตุให้เกิดจิตก็คือวิญญาณ ส่วนปัจจัยก็คือความทรงจำจากสมอง) ดังนั้นมันจึงยังคงปรุงแต่งให้เกิดจิตที่เหมือนเดิมขึ้นมาได้เรื่อยๆ จนเป็นเหตุให้จิตเกิดความเข้าใจผิดคิดว่ามีตัวตนของมันเอง (อัตตา) อยู่ในร่างกาย และยังเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า เมื่อร่างกายตาย ตัวตนนี้ก็ยังจะเกิดขึ้นมาได้ใหม่อีกเรื่อยไป อันเป็นเหตุให้เกิดความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย รวมทั้งความเชื่อเรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องผี เทวดา นางฟ้า เป็นต้นขึ้นมา ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้เข้ามาปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่นาน และสืบทอดมาจนถึงเราในปัจจุบันโดยที่ชาวพุทธเกือบทั้งหมดไม่รู้ตัว
ถ้าจะมองอย่างหยาบที่สุดก็จะมองว่า เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วตายไปก็จะเรียกว่าจิตเกิดและดับเพียง ๑ ครั้ง แต่ถ้าจะมองให้ละเอียดขึ้นหน่อยก็จะมองว่า เมื่อตื่นก็เรียกว่า จิตเกิด เมื่อหลับหรือสลบก็เรียกว่า จิตดับ แต่ถ้าจะมองอย่างละเอียดที่สุดก็จะมองว่า แม้ขณะที่จิตตื่นอยู่นี้มันก็มีการเกิดและดับอยู่แล้วถี่ยิบ เหมือนกับการที่เราเปิดไฟแล้วเกิดแสงไฟขึ้นมานั้น แสงไฟมันก็มีการเกิดดับต่อเนื่องกันอยู่อย่างรวดเร็ว แต่สายตาเรามองไม่เห็น เราจึงถูกหลอกว่ามีแสงไฟเกิดอยู่ตลอดเวลา
การศึกษาเรื่องการเกิดดับของจิตนี้ก็เพื่อให้เราได้เข้าใจถึงลักษณะของจิตว่ามันเป็นสิ่งปรุงแต่ง ซึ่งสิ่งปรุงแต่งนั้นจะมีความไม่เที่ยง (ไม่เป็นอมตะ) มีสภาวะที่ต้องทน (ต้องทนอยู่) และไม่ใช่ตัวตนของเราหรือของใครๆ (ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง) ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่จัดเป็นปัญญาสำหรับนำมาใช้คู่กับสมาธิโดยมีศีลเป็นพื้นฐาน ในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
จึงขอให้ชาวพุทธสนใจที่จะศึกษาเรื่องการเกิดดับและการปรุงแต่งของจิตนี้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์กันต่อไป
การเกิด-ดับของจิตตามความเป็นจริงโดยไม่ต้องเชื่อใครหรือตำราใดๆ
คือคำว่า เกิด หมายถึง จากที่ไม่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมามีขึ้นทีหลัง
คำว่า ดับ หมายถึง จากที่มีอยู่ก่อน แล้วจึงมาไม่มีทีหลัง
คำว่า วิญญาณ หมายถึง การรับรู้ของจิต ที่เกิดตามระบบประสาททั้ง ๖ ของร่างกาย (เช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดการรับรู้รูปหรือการเห็นภาพขึ้น หรือเมื่อมีเสียงมากระทบหู จึงเกิดการได้ยินเสียงขึ้น เป็นต้น)
คำว่า จิต หมายถึง สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ (คือจิตประกอบด้วย วิญญาณหรือการรับรู้, สัญญาหรือการจำสิ่งที่รับรู้ได้, เวทนาหรือความรู้สึก, สังขารหรือการคิดหรือปรุงแต่งของจิต เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า จิต ที่หมายถึง สิ่งที่รู้สึกนึกคิด)
คำว่า ปรุงแต่ง (สังขาร) หมายถึง กิริยาที่ทำให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งจะหมายถึงกิริยาปรุงแต่งก็ได้ หรือหมายถึง สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาก็ได้ อย่างเช่น เมื่อมีรูปมากระทบตา ก็จะเกิดการปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณหรือการรับรู้ทางตาขึ้น ซึ่งวิญญาณหรือการรับรู้นี้ก็เรียกว่าเป็นสิ่งปรุงแต่ง เพราะมันถูกธรรมชาติทำให้เกิดขึ้น เป็นต้น และเมื่อไม่มีรูปมากระทบตา วิญญาณทางตาก็จะดับหายไป เป็นต้น โดยทุกสิ่ง ยกเว้น ความว่าง กฎของธรรมชาติ และความดับเท่านั้น ที่ไม่เป็นสิ่งปรุงแต่ง นอกนั้นจะเป็นสิ่งปรุงแต่งทั้งสิ้น โดยสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนั้น จะมีความไม่เที่ยง (อนิจจัง) มีสภาะที่ต้องทน (ทุกขัง) และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา)
การศึกษาเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้า จะต้องศึกษาจากจิตของเราเองจริงๆ ไม่ใช่จากการคิดคำนวณหรือคาดเดาเอาตามตำราหรือตามคนอื่น ดังนั้นคำว่า จิต หรือ วิญญาณ หรือ เกิด หรือดับ หรือปรุงแต่ง เราจึงต้องศึกษาจากจิตของเราเองเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูจากจิตของเราเองเราก็จะรู้ได้ว่า จิต ก็คือสิ่งที่มันสามารถรับรู้สิ่งอื่นได้ จำสิ่งที่รับรู้ได้ รู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้ได้ และมีการคิดหรือเกิดความพอใจ ไม่พอใจต่อความรู้สึกได้ ซึ่งสรุปแล้วมันก็คือสิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ซึ่งนี่คือนิยามของคำว่า จิต ที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด
เมื่อจิตคือสิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการรู้สึกนึกคิดได้ขึ้นมาเมื่อไร คือเวลาที่เราตื่น ก็แสดงว่าจิตได้เกิดขึ้นมาแล้ว แต่เมื่อใดที่ไม่มีอาการรู้สึกนึกคิด ก็แสดงว่าจิตได้ดับหายไปแล้ว คือเวลาที่หลับสนิทและไม่ฝัน (แต่เวลาที่หลับแล้วยังฝันอยู่นั้นก็แสดงว่าจิตได้เกิดขึ้นมาแล้วแต่ว่ายังไม่สมบูรณ์หรือยังเกิดความรู้สึกนึกคิดได้ไม่เต็มที่)
แต่สาเหตุที่เมื่อจิตเกิดขึ้นมาแล้วยังคงมีความรู้สึกนึกคิดได้เหมือนเดิมก็เพราะเหตุและปัจจัยที่มาร่วมกันปรุงแต่งให้เกิดจิตขึ้นมานั้นมันยังเหมือนเดิม (เหตุให้เกิดจิตก็คือวิญญาณ ส่วนปัจจัยก็คือความทรงจำจากสมอง) ดังนั้นมันจึงยังคงปรุงแต่งให้เกิดจิตที่เหมือนเดิมขึ้นมาได้เรื่อยๆ จนเป็นเหตุให้จิตเกิดความเข้าใจผิดคิดว่ามีตัวตนของมันเอง (อัตตา) อยู่ในร่างกาย และยังเข้าใจผิดต่อไปอีกว่า เมื่อร่างกายตาย ตัวตนนี้ก็ยังจะเกิดขึ้นมาได้ใหม่อีกเรื่อยไป อันเป็นเหตุให้เกิดความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย รวมทั้งความเชื่อเรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า เรื่องผี เทวดา นางฟ้า เป็นต้นขึ้นมา ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้เข้ามาปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่นาน และสืบทอดมาจนถึงเราในปัจจุบันโดยที่ชาวพุทธเกือบทั้งหมดไม่รู้ตัว
ถ้าจะมองอย่างหยาบที่สุดก็จะมองว่า เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วตายไปก็จะเรียกว่าจิตเกิดและดับเพียง ๑ ครั้ง แต่ถ้าจะมองให้ละเอียดขึ้นหน่อยก็จะมองว่า เมื่อตื่นก็เรียกว่า จิตเกิด เมื่อหลับหรือสลบก็เรียกว่า จิตดับ แต่ถ้าจะมองอย่างละเอียดที่สุดก็จะมองว่า แม้ขณะที่จิตตื่นอยู่นี้มันก็มีการเกิดและดับอยู่แล้วถี่ยิบ เหมือนกับการที่เราเปิดไฟแล้วเกิดแสงไฟขึ้นมานั้น แสงไฟมันก็มีการเกิดดับต่อเนื่องกันอยู่อย่างรวดเร็ว แต่สายตาเรามองไม่เห็น เราจึงถูกหลอกว่ามีแสงไฟเกิดอยู่ตลอดเวลา
การศึกษาเรื่องการเกิดดับของจิตนี้ก็เพื่อให้เราได้เข้าใจถึงลักษณะของจิตว่ามันเป็นสิ่งปรุงแต่ง ซึ่งสิ่งปรุงแต่งนั้นจะมีความไม่เที่ยง (ไม่เป็นอมตะ) มีสภาวะที่ต้องทน (ต้องทนอยู่) และไม่ใช่ตัวตนของเราหรือของใครๆ (ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง) ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่จัดเป็นปัญญาสำหรับนำมาใช้คู่กับสมาธิโดยมีศีลเป็นพื้นฐาน ในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
จึงขอให้ชาวพุทธสนใจที่จะศึกษาเรื่องการเกิดดับและการปรุงแต่งของจิตนี้ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์กันต่อไป