พนันกันไหมล่ะว่าจากนี้อีก 10 หรือ 20 ปี จะยังมีช่างภาพหน้าใหม่มาตั้งคำถามกันอยู่ดี
ถ่าย RAW ไปทำไมหว่า?
สมัยกล้องฟิล์มเราบันทึกข้อมูลของแสงฉายลงบนฟิล์ม เปรียบได้ว่าฟิล์มนั้นคือ "ไฟล์ภาพดิบ" บทบาทการจัดการภาพหรือโพรเซสทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ทำการล้างอัดด้วยน้ำยาเคมี (ขั้นตอนนั้นคือการโพรเซสจนคนไม่รู้คิดว่าสามารถจบหลังกล้องได้ทั้งที่จริงไม่ใช่เลย) ไม่ว่าจะนำไปล้างอีกกี่ครั้ง ข้อมูลจะยังอยู่บนม้วนฟิล์ม แต่พอเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ฟิล์มได้กลายเป็นเซ็นเซอร์อะไรๆก็เปลี่ยนไป เราไม่ต้องซื้อฟิล์มกันอีก
แต่เราได้ไฟล์ภาพดิบ ที่เรียกว่า RAW เข้ามาแทน...
แต่เนื่องจากว่า RAW ก็เป็นอะไรที่คนทั่วไปไม่อยากรู้จัก อยากจะได้อะไรที่มันเร็วๆด่วนๆ นำไปใช้ได้เลย ผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาซอฟท์แวร์ใส่เข้าไปในกล้องให้ปรับค่าความเข้มข้น ปรับค่าความสว่างหรืออะไรต่อมิอะไรลงไปได้ เรียกว่าถ่ายช็อตเดียวแปลงมาเป็น JPEG ได้พร้อมสรรพ
"กล้องถ่ายภาพดิจิตอลหลายๆตัวที่ถ่ายมาเป็น JPEG ได้อย่างเดียวนั้น.."
"...ความจริงแล้วมันถ่าย RAW ได้นะ.."
"แต่ผู้พัฒนาได้ปิดส่วนนี้ไม่ให้ใครเข้าไปยุ่งต่างหากเล่า...."
RAW จึงเป็นโลกของฝั่งช่างภาพตัวจริง พวกเขาเชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ดีกว่าซอฟท์แวร์ที่ติดมากับกล้อง (หรือกำลังพยายามอยู่ก็แล้วแต่)
มาดูความหมายของ RAW กับ JPEG สักนิด แล้วผมจะแถมเรื่องของ Tiff ให้ในตอนท้ายคับ
ไฟล์ภาพดิบ (RAW Format) >>
เป็นไฟล์ต้นฉบับจากกล้อง ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทันทีแต่จะต้องทำการปรับแต่งเสียก่อน (ด้วยโปรแกรมจัดการบิทแมปพวก RAW Converter อย่าง Adobe Lightroom, Adobe Camera RAW, Aperture, Capture One Pro 8, Iridient Developer, etc.) ซึ่งโปรแกรมแต่ละค่ายก็อ่านค่าที่เซ็นเซอร์เก็บได้ไม่เหมือนกันอีกอันนี้แล้วแต่วิจารณญาณของท่านนะครับ ข้อมูลมากมายไม่ใช่แค่พิกเซลยังอยู่ครบถ้วน วันเวลา, ค่ารูรับแสง ฯลฯ และค่าแสงที่เก็บมาได้กว้างมากๆ ที่ 12-14 บิท เรียกว่าถ่ายมาแสงเพี้ยนยังไงก็แก้ได้ และรายละเอียดยังอยู่ในภาพครบถ้วน เป็นไฟล์ที่เกิดมาเพื่อให้แก้ไขจิมๆ
ไฟล์ RAW และนามสกุลที่ต่างกันไปตามเทคโนโลยีของแต่ละค่าย
เครดิท : thecustomizewindows.com
ไฟล์ JPEG (JPEG Format) >>
ไฟล์ภาพผ่านการบีบอัดและสูญเสียข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าตอนเป็น RAW จะเก็บข้อมูลมาได้สูงขนาดไหนพอกลายเป็น JPEG ข้อมูลจะเหลือเพียงแค่ 8 บิท (2x2x2x2x2x2x2x2 = 256) แถมทุกครั้งที่เซฟแก้ไขภาพจะสูญเสียคุณภาพลงไปเรื่อยๆอีกต่างหาก แต่มันเป็นภาพที่พร้อมใช้งานจึงพบได้ทั่วไปอย่างแพร่หลายบนอินเตอร์เน็ตเพราะเว็บบราวเซอร์สามารถแสดงผลได้
ไฟล์ TIFF (TIFF Format) >>
อีกนามสกุลหนึ่งที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้ล้างอัด ใช้แลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง Windows และ Mac ได้ แต่เนื่องจากที่มันไม่มีการบีบอัดเลยไฟล์จึงมีขนาดใหญ่มาก และพบได้ในงานพิมพ์คุณภาพสูง จุข้อมูลภาพได้สูงถึง 16 บิท (บางร้านไม่รับไฟล์ประเภทนี้เพราะมันหนัก หรือไม่ก็ไม่ได้เคร่งคุณภาพมาก)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทำไมจึงต้องถ่าย RAW?
1. RAW แสงกว้างกว่าเห็นๆ
จากตัวอย่างทางด้านซ้าย โดยการเปิดภาพประเภทเดียวกันแต่ต่างนามสกุล ด้านซ้ายคือ RAW แต่ด้านขวาคือ JPEG จะพบว่าช่วงความกว้างของแสงจากปลั๊กอิน Adobe Camera RAW นั้นด้านของ (RAW มีค่า Temp ตั้งแต่ 2000 ถึง 50000 และ Tint มีค่าตั้งแต่ -150 ถึง +150 ส่วน JPEG : Temp -100 ถึง +100 และ Tint ก็ -100 ถึง +100 หน่วยเช่นเดียวกัน)
RAW ให้สมดุลแสงขาวที่กว้างกว่ามหาศาล
2. RAW เก็บค่าความสว่างไว้ได้สูงมาก
ถ้า RAW เก็บข้อมูลได้ 12-14 บิท หมายความว่าแถบสีดำไล่ไปขาวแถมหนึ่งจะแบ่งออกได้ 4,096 หรือ 10,384 ช่อง ซึ่งมากกว่า JPEG ซึ่งเก็บได้เพียง 256 ช่อง การบีบอัดโทนสว่างหรือมืดด้วย Level หรือ Curve ย่อมไม่ส่งผลอะไรมากกับ RAW อยู่แล้ว ในขณะที่ JPEG สีอาจแตกลายได้
เปรียบเทียบได้ราวๆนี้
3. RAW ให้รายละเอียดของภาพที่ดีกว่า
เพราะ RAW ไม่มีการปรับแต่งอะไรมาเลย ในปลั๊กอิน Adobe Camera RAW จึงต้องบวกค่าความคมชัดเอาไว้เริ่มต้นที่ 25 หน่วย ในขณะที่ JPEG นั้นได้ปรับคมจากตัวกล้องมาเรียบร้อยแล้ว และผู้ใช้จะได้เริ่มแก้ไข RAW ด้วยการปรับคมที่เป็นของตัวเอง มากกว่า JPEG ที่ทำอะไรไม่ได้มาก
RAW เปิดโอกาสให้ปรับคมเองได้
นอกจากนี้ RAW ยังมีข้อดีอื่นๆอีกมาก แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ เช่น กล้องแต่ละค่ายไม่ยอมทำนามสกุลกลางทำให้มีปัญหาถ้าหากว่าวันหนึ่งไม่มีโปรแกรมซัพพอร์ทนามสกุล RAW เหล่านั้นขึ้นมา ตรงนี้เราอาจจะต้องกล่าวถึงไฟล์นามสกุล DNG กันอีก ซึ่งจะละไว้ในโอกาสถัดไป
Photoshop Guide to Luminosity Mask : 3. ไฟล์ภาพดิบ (RAW, JPEG & TIFF)
ถ่าย RAW ไปทำไมหว่า?
สมัยกล้องฟิล์มเราบันทึกข้อมูลของแสงฉายลงบนฟิล์ม เปรียบได้ว่าฟิล์มนั้นคือ "ไฟล์ภาพดิบ" บทบาทการจัดการภาพหรือโพรเซสทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ทำการล้างอัดด้วยน้ำยาเคมี (ขั้นตอนนั้นคือการโพรเซสจนคนไม่รู้คิดว่าสามารถจบหลังกล้องได้ทั้งที่จริงไม่ใช่เลย) ไม่ว่าจะนำไปล้างอีกกี่ครั้ง ข้อมูลจะยังอยู่บนม้วนฟิล์ม แต่พอเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอลที่ฟิล์มได้กลายเป็นเซ็นเซอร์อะไรๆก็เปลี่ยนไป เราไม่ต้องซื้อฟิล์มกันอีก
แต่เราได้ไฟล์ภาพดิบ ที่เรียกว่า RAW เข้ามาแทน...
แต่เนื่องจากว่า RAW ก็เป็นอะไรที่คนทั่วไปไม่อยากรู้จัก อยากจะได้อะไรที่มันเร็วๆด่วนๆ นำไปใช้ได้เลย ผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาซอฟท์แวร์ใส่เข้าไปในกล้องให้ปรับค่าความเข้มข้น ปรับค่าความสว่างหรืออะไรต่อมิอะไรลงไปได้ เรียกว่าถ่ายช็อตเดียวแปลงมาเป็น JPEG ได้พร้อมสรรพ
"กล้องถ่ายภาพดิจิตอลหลายๆตัวที่ถ่ายมาเป็น JPEG ได้อย่างเดียวนั้น.."
"...ความจริงแล้วมันถ่าย RAW ได้นะ.."
"แต่ผู้พัฒนาได้ปิดส่วนนี้ไม่ให้ใครเข้าไปยุ่งต่างหากเล่า...."
RAW จึงเป็นโลกของฝั่งช่างภาพตัวจริง พวกเขาเชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ดีกว่าซอฟท์แวร์ที่ติดมากับกล้อง (หรือกำลังพยายามอยู่ก็แล้วแต่)
มาดูความหมายของ RAW กับ JPEG สักนิด แล้วผมจะแถมเรื่องของ Tiff ให้ในตอนท้ายคับ
ไฟล์ภาพดิบ (RAW Format) >>
เป็นไฟล์ต้นฉบับจากกล้อง ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทันทีแต่จะต้องทำการปรับแต่งเสียก่อน (ด้วยโปรแกรมจัดการบิทแมปพวก RAW Converter อย่าง Adobe Lightroom, Adobe Camera RAW, Aperture, Capture One Pro 8, Iridient Developer, etc.) ซึ่งโปรแกรมแต่ละค่ายก็อ่านค่าที่เซ็นเซอร์เก็บได้ไม่เหมือนกันอีกอันนี้แล้วแต่วิจารณญาณของท่านนะครับ ข้อมูลมากมายไม่ใช่แค่พิกเซลยังอยู่ครบถ้วน วันเวลา, ค่ารูรับแสง ฯลฯ และค่าแสงที่เก็บมาได้กว้างมากๆ ที่ 12-14 บิท เรียกว่าถ่ายมาแสงเพี้ยนยังไงก็แก้ได้ และรายละเอียดยังอยู่ในภาพครบถ้วน เป็นไฟล์ที่เกิดมาเพื่อให้แก้ไขจิมๆ
ไฟล์ RAW และนามสกุลที่ต่างกันไปตามเทคโนโลยีของแต่ละค่าย
เครดิท : thecustomizewindows.com
ไฟล์ JPEG (JPEG Format) >>
ไฟล์ภาพผ่านการบีบอัดและสูญเสียข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าตอนเป็น RAW จะเก็บข้อมูลมาได้สูงขนาดไหนพอกลายเป็น JPEG ข้อมูลจะเหลือเพียงแค่ 8 บิท (2x2x2x2x2x2x2x2 = 256) แถมทุกครั้งที่เซฟแก้ไขภาพจะสูญเสียคุณภาพลงไปเรื่อยๆอีกต่างหาก แต่มันเป็นภาพที่พร้อมใช้งานจึงพบได้ทั่วไปอย่างแพร่หลายบนอินเตอร์เน็ตเพราะเว็บบราวเซอร์สามารถแสดงผลได้
ไฟล์ TIFF (TIFF Format) >>
อีกนามสกุลหนึ่งที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้ล้างอัด ใช้แลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง Windows และ Mac ได้ แต่เนื่องจากที่มันไม่มีการบีบอัดเลยไฟล์จึงมีขนาดใหญ่มาก และพบได้ในงานพิมพ์คุณภาพสูง จุข้อมูลภาพได้สูงถึง 16 บิท (บางร้านไม่รับไฟล์ประเภทนี้เพราะมันหนัก หรือไม่ก็ไม่ได้เคร่งคุณภาพมาก)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทำไมจึงต้องถ่าย RAW?
1. RAW แสงกว้างกว่าเห็นๆ
จากตัวอย่างทางด้านซ้าย โดยการเปิดภาพประเภทเดียวกันแต่ต่างนามสกุล ด้านซ้ายคือ RAW แต่ด้านขวาคือ JPEG จะพบว่าช่วงความกว้างของแสงจากปลั๊กอิน Adobe Camera RAW นั้นด้านของ (RAW มีค่า Temp ตั้งแต่ 2000 ถึง 50000 และ Tint มีค่าตั้งแต่ -150 ถึง +150 ส่วน JPEG : Temp -100 ถึง +100 และ Tint ก็ -100 ถึง +100 หน่วยเช่นเดียวกัน)
RAW ให้สมดุลแสงขาวที่กว้างกว่ามหาศาล
2. RAW เก็บค่าความสว่างไว้ได้สูงมาก
ถ้า RAW เก็บข้อมูลได้ 12-14 บิท หมายความว่าแถบสีดำไล่ไปขาวแถมหนึ่งจะแบ่งออกได้ 4,096 หรือ 10,384 ช่อง ซึ่งมากกว่า JPEG ซึ่งเก็บได้เพียง 256 ช่อง การบีบอัดโทนสว่างหรือมืดด้วย Level หรือ Curve ย่อมไม่ส่งผลอะไรมากกับ RAW อยู่แล้ว ในขณะที่ JPEG สีอาจแตกลายได้
เปรียบเทียบได้ราวๆนี้
3. RAW ให้รายละเอียดของภาพที่ดีกว่า
เพราะ RAW ไม่มีการปรับแต่งอะไรมาเลย ในปลั๊กอิน Adobe Camera RAW จึงต้องบวกค่าความคมชัดเอาไว้เริ่มต้นที่ 25 หน่วย ในขณะที่ JPEG นั้นได้ปรับคมจากตัวกล้องมาเรียบร้อยแล้ว และผู้ใช้จะได้เริ่มแก้ไข RAW ด้วยการปรับคมที่เป็นของตัวเอง มากกว่า JPEG ที่ทำอะไรไม่ได้มาก
RAW เปิดโอกาสให้ปรับคมเองได้
นอกจากนี้ RAW ยังมีข้อดีอื่นๆอีกมาก แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ เช่น กล้องแต่ละค่ายไม่ยอมทำนามสกุลกลางทำให้มีปัญหาถ้าหากว่าวันหนึ่งไม่มีโปรแกรมซัพพอร์ทนามสกุล RAW เหล่านั้นขึ้นมา ตรงนี้เราอาจจะต้องกล่าวถึงไฟล์นามสกุล DNG กันอีก ซึ่งจะละไว้ในโอกาสถัดไป