อัพเดตวันที่ 29/12/14 ดูเพิ่มเติมที่ คห. 142-143-144-145
----------------------------------------------
http://ppantip.com/topic/33010229
http://ppantip.com/topic/33018462
สืบเนื่องมาจาก 2 กระทู้ด้านบน ที่เรียกร้องขอให้ทางคุณตันและทีมงาน แจ้งถึงวิธีการจัดการ (เกลือ) หิมะเทียม ว่าจะดำเนินการดูแล รักษาอย่างไร ระหว่างดำเนินงานและหลังจบงาน ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้มีประกาศ ขอความร่วมมือให้ทางคุณและทีมงาน แจ้งถึง มาตราการหรือแผนบริหารจัดการเหลือ หลังจากงานดังกล่าวแล้ว จะนำไปดำเนินการอย่างไร และให้ นำเสนอต่อสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานงานสาธารณะสุขจังหวัดเชียงใหม่ ภายในวันที่ 26 ธันวาคม 2557
จนกระทั่งล่วงเลยวันดังกล่าว ยังไม่ได้รับคำตอบจากทางคุณและทีมงานแต่อย่างได เหตุไฉน ท่านจึงเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง ที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐเองและสังคมส่วนใหญ่ กังวลถึงผลกระทบที่จะตามมาระหว่างการจัดงานและหลังจบงาน
--------------------------------------
อัพเดตเพิ่มเติมประกาศ
การติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 26 ธันวานคม 2556 โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
ภาพจาก FB กฎหมาย สิ่งแวดล้อม
วันนี้ (26 ธ.ค.) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 1 ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ได้เผยแพร่การตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 2 กรณีการจัดงาน Nimman Snow Festival ณ บริเวณธิงก์ปาร์ก สี่แยกรินคำ ถนนนิมมานเหมินทร์ อ.เมืองเชียงใหม่ ที่ใช้เกลือ Refined Salt ตกแต่งสถานที่ให้คล้ายหิมะ หรือหิมะเทียม โดยได้จัดงานมาตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 57 เป็นต้นมา
โดยงานดังกล่าวได้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างในสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรั่วไหลและแพร่กระจายของเกลือที่อาจจะปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ และสร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมขึ้นได้
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทำการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณท่อระบายของเทศบาลนครเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 57 แม้ผลการตรวจวัดปริมาณเกลือในรูปของค่าความนำไฟฟ้าของน้ำในท่อยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน ของกรมชลประทาน
โดยได้ให้คำแนะนำแก่ผู้จัดงานให้ระมัดระวังและป้องกันการแพร่กระจายของเกลือลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะการทำความสะอาดสถานที่และจัดเก็บเกลือต้องทำแบบแห้งเท่านั้น และห้ามทำความสะอาดโดยใช้น้ำล้างเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงที่น้ำจะไหลลงท่อระบายน้ำ
แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 57 ได้ปรากฏภาพตามสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีการล้างทำความสะอาดพื้นผิวทางเท้าและถนนในบริเวณจัดงาน เหตุการณ์นี้เป็นการจุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ให้ประชาชนขึ้นมาอีกครั้ง เพราะกังวลว่าเกลืออาจจะรั่วไหลแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่) ได้ติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและตรวจวัดคุณภาพน้ำ บริเวณท่อระบายน้ำของเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2557 โดยได้เพิ่มจำนวนจุดตรวจวัดบริเวณแนวถนนบริเวณจัดงาน รวมทั้งสิ้น 6 จุด จากท่อระบายน้ำเลียบถนนห้วยแก้วทั้งสองฝั่ง
จุดแรกเป็นจุดตรวจวัดบริเวณเหนือจุดจัดงาน จุดที่ 2 เป็นจุดตรวจวัดใต้จุดจัดงานประมาณ 20 เมตร และจุดที่อยู่ห่างจากบริเวณจัดงานออกไป จนถึงสถานีสูบน้ำเสีย สุดท้ายที่จะสูบไปยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครเชียงใหม่
ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่าจุดที่ 2 บริเวณท่อระบายน้ำใต้ธิงก์ปาร์ก 20 เมตร เป็นจุดเดียวกันกับที่เคยตรวจวัดเมื่อครั้งที่แล้ว (22 ธ.ค.) มีค่าความนำไฟฟ้า 742 ไมโครโมส์ต่อเซนติเมตร (เดิมตรวจวัดได้ 472 ไมโครโมส์ต่อเซนติเมตร) ค่าความเค็ม 0.4 ppt (เดิมตรวจวัดได้ 0.2 ppt) ค่าของแข็งที่ละลายได้ (TDS) 475 มิลลิกรัมต่อลิตร (เดิมตรวจวัดได้ 335 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดครั้งที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีค่าสูงกว่าเดิมทุกพารามิเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความนำไฟฟ้าและค่าความเค็มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า
ส่วนจุดเก็บที่ 1 ท่อระบายน้ำเหนือธิงก์ปาร์ก เป็นจุดเดียวกันกับที่เคยตรวจไปเมื่อครั้งที่แล้ว และจุดตรวจวัดที่ 4 ท่อระบายใต้ธิงก์ปาร์ก ก่อนถึงโรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว พบว่ามีค่าความนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายได้สูงในปริมาณใกล้เคียงกับบริเวณจุดที่ 2
ส่วนจุดเก็บที่ 3 ท่อระบายน้ำฝั่ง MAYA และจุดที่ 5 คูเมืองแจ่งหัวริน และจุดที่ 6 หน้าสถานีสูบน้ำเสียที่ 8 พบว่ามีความนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าจุดอื่นๆ
จากผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ได้เมื่อนำมาเทียบเคียงกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน ของกรมชลประทาน พบว่า ทุกจุดตรวจวัดมีคุณภาพน้ำยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน
แต่จากผลการตรวจวัดจุดที่ 1, 2 และ 4 ซึ่งเป็นท่อระบายน้ำในฝั่งที่มีการจัดงานพบว่า มีค่าการนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายน้ำสูงกว่าเดิมมาก และไม่น่าจะเป็นลักษณะของน้ำเสียในท่อระบายน้ำตามปกติ และเมื่อเทียบกับลักษณะน้ำเสียในท่อระบายน้ำฝั่งตรงข้ามสถานที่จัดงาน และลักษณะน้ำเสียในท่อระบายน้ำที่ได้ตรวจวัดไปก่อนหน้านี้ จึงน่าเชื่อได้ว่าเริ่มจะมีการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของเกลือในบริเวณจัดงานออกสู่ภายนอกและลงสู่ท่อระบายน้ำในบริเวณดังกล่าวแล้ว และยังอาจจะแสดงว่ามาตรการการจัดการเพื่อป้องกันการรั่วไหลและแพร่กระจายของเกลือหิมะของผู้จัดงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ทั้งนี้ จากการสังเกตโดยรอบสถานที่จัดงาน ยังพบว่ามีเกลือแพร่กระจายตามทางเดินเท้า บริเวณด้านนอกสถานที่จัดงานซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ บริเวณฝาท่อระบายน้ำเสียบางจุดยังมีช่องรูโหว่ไม่มีการปิดอย่างสนิทเกลือสามารถปนเปื้อนลงไปได้ ด้วยเหตุนี้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ จึงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือให้ผู้จัดงาน ทบทวนเกี่ยวกับมาตรการการรั่วไหลของหิมะเกลือออกสู่ภายนอกบริเวณ โดยขอให้พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. ควบคุมการเข้า-ออกผู้ที่จะเข้ามาเที่ยวชมให้เป็นทางเดียว อาจกำหนดทางเข้า-ออก ได้จากด้านในของสถานที่จัดงาน จัดให้มีจุดบริเวณเฉพาะและอุปกรณ์ทำความสะอาดเกลือที่จะติดไปกับรองเท้า ระหว่างทางเชื่อมของบริเวณที่จัดงานกับพื้นที่สาธารณะ เศษของเกลือที่อาจหลงเหลือตกค้างจากกระบวนการทำความสะอาดที่ตกบนพื้นจะต้องนำเข้าผ่านระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการฯ เพราะถึงแม้โครงการฯ จะอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการของระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครเชียงใหม่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการอนุญาตให้เชื่อมท่อเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของโครงการที่จะต้องบำบัดน้ำเสียของเสียที่เกิดขึ้นให้น้ำทิ้งมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนถึงจะปล่อยออกมาสู่รางระบายสาธารณะได้
2. จัดให้มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตและดูแลพื้นที่บริเวณงานโดยรอบตลอดเวลาที่จัดงาน เพื่อจัดเก็บหิมะเกลือที่แพร่กระจายออกมาสู่ด้านนอกในการทำความสะอาดสถานที่และจัดเก็บเกลือต้องดำเนินการทุกวัน หรือต้องดำเนินการโดยทันที เมื่อพบว่ามีการเล็ดลอดกระจายออกมาภายนอกพื้นที่สาธารณะ
3. ป้องกันดูแลการอุด ปิดฝา ท่อระบายน้ำบริเวณที่จัดงาน ไม่ให้หิมะเกลือรั่วไหลปนเปื้อนลงไปได้ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จึงขอให้ผู้จัดงานดำเนินตามมาตรการที่แจ้งไปแล้วอย่างเคร่งครัด โดยขอเน้นว่าในทางปฏิบัติการทำความสะอาดต้องทำแบบแห้งเท่านั้น และห้ามทำความสะอาดโดยใช้น้ำล้างเด็ดขาด
(ข้อความข่าวจาก manager.co.th )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000148636
-------------------------------------------
จากผลจากการการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าง บ่งชี้ได้ว่าปัญหาเริ่มเกิดขึ้นจนเห็นได้ชัดเจนแล้ว จากการที่ทางคุณและทีมงานไม่ได้มีมาตราการล่วงหน้าใดๆรับมือจากปัญหาที่จะเกิดขึ้น จนหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ท่านก็ยังไม่มีมาตราการการจัดการที่ดีพอ ตามที่ได้แจ้งแต่อย่างใด จนอาจนำไปสู่ปัญหาและผลกระทบขึ้นในอนาคต
ภาพอัพเดตจากงาน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมาครับ
ห้างที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของสถานที่จัดงาน
ภาพทั้งหมดจากผู้ไม่สงค์ออกนาม
ภาพแสดงถึงการจัดการ เกลือ ของทางคุณและทีมงานมืออาชีพ ยังไม่ดีพอตามที่ได้แจ้งไว้ครับ
-------------------------
อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ทางคุณและทีมงานปรับปรุงวิธีการดูแล รักษา ระหว่างการดำเนินงาน ตามประกาศของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1
และถ้าทางคุณและทีมงานได้จัดแผนการบริหารจัดการเกลือแล้ว ควรชี้แจงให้กับสังคมทราบด้วยว่าจะดำเนินการจัดการอย่างไร ถึงขั้นตอนการจัดการหลังจบงาน ว่าเกลือทั้งหมด จะถูกนำไปที่ไหน อย่างไร และย้ำอีกครั้งนึงว่า .. คำตอบที่คุณตอบมาแล้วนั้นยังไม่เพียงพอต่อข้อสงสัยของสังคมได้ครับ หวังว่าคุณตันเองตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นและมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จากการดำเนินธุรกิจของคุณ ผมและคนอีกหลายๆคน ยังคงรอคำตอบของคุณอยู่นะครับ
ด้วยความเคารพอีกครั้ง อีกครั้งและอีกครั้ง
#####คุณตัน##### (3) เรื่อง (เกลิอ) หิมะเทียม !! เหตุใดจึงไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ?
อัพเดตวันที่ 29/12/14 ดูเพิ่มเติมที่ คห. 142-143-144-145
----------------------------------------------
http://ppantip.com/topic/33010229
http://ppantip.com/topic/33018462
สืบเนื่องมาจาก 2 กระทู้ด้านบน ที่เรียกร้องขอให้ทางคุณตันและทีมงาน แจ้งถึงวิธีการจัดการ (เกลือ) หิมะเทียม ว่าจะดำเนินการดูแล รักษาอย่างไร ระหว่างดำเนินงานและหลังจบงาน ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้มีประกาศ ขอความร่วมมือให้ทางคุณและทีมงาน แจ้งถึง มาตราการหรือแผนบริหารจัดการเหลือ หลังจากงานดังกล่าวแล้ว จะนำไปดำเนินการอย่างไร และให้ นำเสนอต่อสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานงานสาธารณะสุขจังหวัดเชียงใหม่ ภายในวันที่ 26 ธันวาคม 2557
จนกระทั่งล่วงเลยวันดังกล่าว ยังไม่ได้รับคำตอบจากทางคุณและทีมงานแต่อย่างได เหตุไฉน ท่านจึงเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง ที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐเองและสังคมส่วนใหญ่ กังวลถึงผลกระทบที่จะตามมาระหว่างการจัดงานและหลังจบงาน
--------------------------------------
อัพเดตเพิ่มเติมประกาศ การติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 26 ธันวานคม 2556 โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
ภาพจาก FB กฎหมาย สิ่งแวดล้อม
วันนี้ (26 ธ.ค.) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 1 ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ได้เผยแพร่การตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 2 กรณีการจัดงาน Nimman Snow Festival ณ บริเวณธิงก์ปาร์ก สี่แยกรินคำ ถนนนิมมานเหมินทร์ อ.เมืองเชียงใหม่ ที่ใช้เกลือ Refined Salt ตกแต่งสถานที่ให้คล้ายหิมะ หรือหิมะเทียม โดยได้จัดงานมาตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 57 เป็นต้นมา
โดยงานดังกล่าวได้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างในสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรั่วไหลและแพร่กระจายของเกลือที่อาจจะปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ และสร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมขึ้นได้
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทำการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณท่อระบายของเทศบาลนครเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 57 แม้ผลการตรวจวัดปริมาณเกลือในรูปของค่าความนำไฟฟ้าของน้ำในท่อยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน ของกรมชลประทาน
โดยได้ให้คำแนะนำแก่ผู้จัดงานให้ระมัดระวังและป้องกันการแพร่กระจายของเกลือลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะการทำความสะอาดสถานที่และจัดเก็บเกลือต้องทำแบบแห้งเท่านั้น และห้ามทำความสะอาดโดยใช้น้ำล้างเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงที่น้ำจะไหลลงท่อระบายน้ำ
แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 57 ได้ปรากฏภาพตามสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีการล้างทำความสะอาดพื้นผิวทางเท้าและถนนในบริเวณจัดงาน เหตุการณ์นี้เป็นการจุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ให้ประชาชนขึ้นมาอีกครั้ง เพราะกังวลว่าเกลืออาจจะรั่วไหลแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่) ได้ติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและตรวจวัดคุณภาพน้ำ บริเวณท่อระบายน้ำของเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2557 โดยได้เพิ่มจำนวนจุดตรวจวัดบริเวณแนวถนนบริเวณจัดงาน รวมทั้งสิ้น 6 จุด จากท่อระบายน้ำเลียบถนนห้วยแก้วทั้งสองฝั่ง
จุดแรกเป็นจุดตรวจวัดบริเวณเหนือจุดจัดงาน จุดที่ 2 เป็นจุดตรวจวัดใต้จุดจัดงานประมาณ 20 เมตร และจุดที่อยู่ห่างจากบริเวณจัดงานออกไป จนถึงสถานีสูบน้ำเสีย สุดท้ายที่จะสูบไปยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครเชียงใหม่
ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ พบว่าจุดที่ 2 บริเวณท่อระบายน้ำใต้ธิงก์ปาร์ก 20 เมตร เป็นจุดเดียวกันกับที่เคยตรวจวัดเมื่อครั้งที่แล้ว (22 ธ.ค.) มีค่าความนำไฟฟ้า 742 ไมโครโมส์ต่อเซนติเมตร (เดิมตรวจวัดได้ 472 ไมโครโมส์ต่อเซนติเมตร) ค่าความเค็ม 0.4 ppt (เดิมตรวจวัดได้ 0.2 ppt) ค่าของแข็งที่ละลายได้ (TDS) 475 มิลลิกรัมต่อลิตร (เดิมตรวจวัดได้ 335 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดครั้งที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีค่าสูงกว่าเดิมทุกพารามิเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความนำไฟฟ้าและค่าความเค็มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า
ส่วนจุดเก็บที่ 1 ท่อระบายน้ำเหนือธิงก์ปาร์ก เป็นจุดเดียวกันกับที่เคยตรวจไปเมื่อครั้งที่แล้ว และจุดตรวจวัดที่ 4 ท่อระบายใต้ธิงก์ปาร์ก ก่อนถึงโรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว พบว่ามีค่าความนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายได้สูงในปริมาณใกล้เคียงกับบริเวณจุดที่ 2
ส่วนจุดเก็บที่ 3 ท่อระบายน้ำฝั่ง MAYA และจุดที่ 5 คูเมืองแจ่งหัวริน และจุดที่ 6 หน้าสถานีสูบน้ำเสียที่ 8 พบว่ามีความนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าจุดอื่นๆ
จากผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ได้เมื่อนำมาเทียบเคียงกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน ของกรมชลประทาน พบว่า ทุกจุดตรวจวัดมีคุณภาพน้ำยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทาน
แต่จากผลการตรวจวัดจุดที่ 1, 2 และ 4 ซึ่งเป็นท่อระบายน้ำในฝั่งที่มีการจัดงานพบว่า มีค่าการนำไฟฟ้า ค่าความเค็ม และค่าของแข็งที่ละลายน้ำสูงกว่าเดิมมาก และไม่น่าจะเป็นลักษณะของน้ำเสียในท่อระบายน้ำตามปกติ และเมื่อเทียบกับลักษณะน้ำเสียในท่อระบายน้ำฝั่งตรงข้ามสถานที่จัดงาน และลักษณะน้ำเสียในท่อระบายน้ำที่ได้ตรวจวัดไปก่อนหน้านี้ จึงน่าเชื่อได้ว่าเริ่มจะมีการรั่วไหล หรือแพร่กระจายของเกลือในบริเวณจัดงานออกสู่ภายนอกและลงสู่ท่อระบายน้ำในบริเวณดังกล่าวแล้ว และยังอาจจะแสดงว่ามาตรการการจัดการเพื่อป้องกันการรั่วไหลและแพร่กระจายของเกลือหิมะของผู้จัดงานยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ทั้งนี้ จากการสังเกตโดยรอบสถานที่จัดงาน ยังพบว่ามีเกลือแพร่กระจายตามทางเดินเท้า บริเวณด้านนอกสถานที่จัดงานซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ บริเวณฝาท่อระบายน้ำเสียบางจุดยังมีช่องรูโหว่ไม่มีการปิดอย่างสนิทเกลือสามารถปนเปื้อนลงไปได้ ด้วยเหตุนี้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ จึงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือให้ผู้จัดงาน ทบทวนเกี่ยวกับมาตรการการรั่วไหลของหิมะเกลือออกสู่ภายนอกบริเวณ โดยขอให้พิจารณาดำเนินการดังนี้
1. ควบคุมการเข้า-ออกผู้ที่จะเข้ามาเที่ยวชมให้เป็นทางเดียว อาจกำหนดทางเข้า-ออก ได้จากด้านในของสถานที่จัดงาน จัดให้มีจุดบริเวณเฉพาะและอุปกรณ์ทำความสะอาดเกลือที่จะติดไปกับรองเท้า ระหว่างทางเชื่อมของบริเวณที่จัดงานกับพื้นที่สาธารณะ เศษของเกลือที่อาจหลงเหลือตกค้างจากกระบวนการทำความสะอาดที่ตกบนพื้นจะต้องนำเข้าผ่านระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการฯ เพราะถึงแม้โครงการฯ จะอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการของระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครเชียงใหม่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการอนุญาตให้เชื่อมท่อเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของโครงการที่จะต้องบำบัดน้ำเสียของเสียที่เกิดขึ้นให้น้ำทิ้งมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนถึงจะปล่อยออกมาสู่รางระบายสาธารณะได้
2. จัดให้มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตและดูแลพื้นที่บริเวณงานโดยรอบตลอดเวลาที่จัดงาน เพื่อจัดเก็บหิมะเกลือที่แพร่กระจายออกมาสู่ด้านนอกในการทำความสะอาดสถานที่และจัดเก็บเกลือต้องดำเนินการทุกวัน หรือต้องดำเนินการโดยทันที เมื่อพบว่ามีการเล็ดลอดกระจายออกมาภายนอกพื้นที่สาธารณะ
3. ป้องกันดูแลการอุด ปิดฝา ท่อระบายน้ำบริเวณที่จัดงาน ไม่ให้หิมะเกลือรั่วไหลปนเปื้อนลงไปได้ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 จึงขอให้ผู้จัดงานดำเนินตามมาตรการที่แจ้งไปแล้วอย่างเคร่งครัด โดยขอเน้นว่าในทางปฏิบัติการทำความสะอาดต้องทำแบบแห้งเท่านั้น และห้ามทำความสะอาดโดยใช้น้ำล้างเด็ดขาด
(ข้อความข่าวจาก manager.co.th )
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
-------------------------------------------
จากผลจากการการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าง บ่งชี้ได้ว่าปัญหาเริ่มเกิดขึ้นจนเห็นได้ชัดเจนแล้ว จากการที่ทางคุณและทีมงานไม่ได้มีมาตราการล่วงหน้าใดๆรับมือจากปัญหาที่จะเกิดขึ้น จนหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ท่านก็ยังไม่มีมาตราการการจัดการที่ดีพอ ตามที่ได้แจ้งแต่อย่างใด จนอาจนำไปสู่ปัญหาและผลกระทบขึ้นในอนาคต
ภาพอัพเดตจากงาน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมาครับ
ห้างที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของสถานที่จัดงาน
ภาพทั้งหมดจากผู้ไม่สงค์ออกนาม
ภาพแสดงถึงการจัดการ เกลือ ของทางคุณและทีมงานมืออาชีพ ยังไม่ดีพอตามที่ได้แจ้งไว้ครับ
-------------------------
อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ทางคุณและทีมงานปรับปรุงวิธีการดูแล รักษา ระหว่างการดำเนินงาน ตามประกาศของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1
และถ้าทางคุณและทีมงานได้จัดแผนการบริหารจัดการเกลือแล้ว ควรชี้แจงให้กับสังคมทราบด้วยว่าจะดำเนินการจัดการอย่างไร ถึงขั้นตอนการจัดการหลังจบงาน ว่าเกลือทั้งหมด จะถูกนำไปที่ไหน อย่างไร และย้ำอีกครั้งนึงว่า .. คำตอบที่คุณตอบมาแล้วนั้นยังไม่เพียงพอต่อข้อสงสัยของสังคมได้ครับ หวังว่าคุณตันเองตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นและมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จากการดำเนินธุรกิจของคุณ ผมและคนอีกหลายๆคน ยังคงรอคำตอบของคุณอยู่นะครับ
ด้วยความเคารพอีกครั้ง อีกครั้งและอีกครั้ง