[บทความพิเศษ] คน-รถ-ถนน-ทางข้าม : จะฝันถึงอุดมคติไปทำไม? ในเมื่อมันไม่มีทางเป็นจริง!!!
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
ไม่รู้จะกลายเป็นกระแสอะไรกันนักหนา กับกระทู้หนึ่งในเว็บไซต์
ppantip.com กรณีที่มีคนเขียนบทความ
“คนไทยถูกหลอกให้ใช้สะพานลอย” แล้วก็มีการแชร์กันต่อๆ ไป ( แน่นอนว่าบนหน้าเพจ Facebook ผมก็มี ) ใจความก็คือตาคนเขียนบอกว่า ในประเทศโลกที่ 1 ของท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทางม้าลายถือเป็น
“พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” ที่ยานพาหนะทุกชนิดต้องหยุดให้คนข้าม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีสัญญาณไฟก็ตาม แล้วก็เปรียบเทียบว่าทำไมบ้านเราไม่เป็นแบบนั้นบ้าง
.
ผมจำได้ว่าเรื่องวุ่นวายของการจราจรในเมืองไทย ทั้งในแง่อุบัติเหตุและในแง่รถติดจนขยับไปไหนไม่ได้ ก็เคยมีผู้เสนอความเห็นอย่างหนึ่งไว้พอสมควร แต่ไม่ว่าจะผ่านไปสักกี่ปี แนวคิดนี้ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้กันจริงๆ และเชื่อว่าในอนาคตก็จะยังเป็นแบบนี้ต่อไป
.
นั่นคือ “การลดและจำกัดอำนาจของยานพาหนะ”!!!
.
หลายท่านอาจจะลืมไปแล้วว่า ครั้งหนึ่งเคยมีนายตำรวจใหญ่บางท่าน เสนอนโยบายห้ามนำรถเก่าอายุ 7 ปีขึ้นไปเข้ามาวิ่งใน กทม. และผลก็คือผู้เสนอถูกสังคมรุมประณาม จนท้ายที่สุดนโยบายนั้นต้องพับไป
[1] และนี่อาจเป็นไม่กี่เรื่อง ในช่วงเวลาที่บ้านเมืองแตกเป็น 2 สี ที่แม้กระทั่งคนฝั่งสีที่เชื่อว่าตำรวจอยู่ข้างพวกตน ก็ยังออกมาก่นด่าตำรวจว่าทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง เพราะทุกคนเสียภาษี จึงมีสิทธิ์ใช้ถนนร่วมกัน
.
ทั้งที่จริงๆ ในญี่ปุ่น จำกัดอายุรถยนต์ไว้แค่ 4-5 ปีเท่านั้น
[2] ขณะที่เพื่อนบ้านอาเซียนอย่างสิงคโปร์ จำกัดอายุรถยนต์ไว้เพียง 10 ปีเท่านั้น
[3] ยังไม่นับสารพัดกฎระเบียบที่มีทั้งใน 2 ชาตินี้ และชาติที่เจริญแล้วอื่นๆ เช่น การสอบใบขับขี่ที่ยากแสนยาก ดังที่เราเห็นในหนังฮอลลีวู้ดบางเรื่องแหละครับ ว่าการสอบใบขับขี่ในสหรัฐอเมริกานี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตคนอเมริกันเลยทีเดียว ไหนจะเรื่องที่จอดรถในบ้านว่ามีไหม? ไหนจะการจำกัดความเร็วในเมือง แล้วขับเข้าเมืองจะไปจอดมั่วๆ ซั่วๆ ก็ไม่ได้ ผิดกฎหมายครับ
.
ส่วนบ้านเราก็เห็นๆ กันอยู่ว่าอะไรที่โลกที่ 1 เขาทำไม่ได้ บ้านเราทำได้หมด ทีนี้ถามว่าอะไรที่ทำให้เราไม่อาจก้าวไปถึงตรงนั้น? บางคนอาจจะบอกว่ากฎหมายไม่ดี บางคนบอกกฎหมายดีแล้วแต่ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ดี หรือบางคนก็บอกว่าเพราะคนทั้งสังคมไทยมีแต่คนไม่ดีมากกว่าคนดี และผู้บังคับใช้กฎหมายก็เป็นคนๆ หนึ่งในสังคม เมื่อผู้นำกับผู้ตามต่างคนต่างไม่ดี มันก็พากันเละไปทั้งชาติ..แต่สำหรับผมแล้ว ที่บ่นๆ กันมานี่ เป็นแค่
“ยอดของภูเขาน้ำแข็ง” เท่านั้นแหละครับ ( ขอใช้สำนวนเท่ๆ หน่อยนะ นานๆ ที ) ที่ลึกลงไปแล้ว มันมีเรื่องที่น่ากลัว ที่บอกว่าน่ากลัวเพราะมีพัวพันกับผลประโยชน์มหาศาล และเป็นผลประโยชน์แบบนานาชาติซ่อนอยู่
.
ว่ากันอย่างตรงๆ..จะมีคนไทยสักกี่คน ที่รู้ว่าธุรกิจรถยนต์เป็น “ผลประโยชน์มหาศาล” ของกลุ่มทุนนานาชาติ!!!
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..เป็นผลประโยชน์ของพวกชาติโลกที่ 1 ที่บรรดาผู้ดีทั้งหลาย “โหยหา” นั่นแหละ!!!
.
ผมไม่ได้พูดลอยๆ หรอกครับ ก่อนอื่นเรามาดูตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์กันก่อน คร่าวๆ นะครับ ผมขอใช้สถิติแค่ 3 ปี คือ 2554-2556 ก่อน ( ปี 2557 ข้อมูลขณะเขียนบทความนี้ ยังขาดเดือน พ.ย. กับ ธ.ค. จึงยังไม่ขออ้างอิง ) ส่วนใครสนใจอย่างละเอียดไปดูได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในนั้นมีข้อมูลที่ย้อนไปได้ถึงปี 2543 และระบุกันละเอียดเป็นรายเดือน รวมทั้งจำแนกชนิดรถประเภทต่างๆ
[4] ข้อมูลแบงก์ชาติ บอกว่าในปี 2554 มียอดจำหน่ายรถยนต์ไป 368,956.28 คัน ในปี 2555 จำหน่ายไป 668,565.68 คัน และในปี 2556 จำหน่ายไป 639,893.20 คัน
.
และต้องย้ำว่า..นี่เป็นเพียงยอดจำหน่าย
“รถยนต์นั่งส่วนบุคคล” ( รถเก๋ง-รถกระบะ ) เท่านั้น ยังไม่นับมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ประเภทอื่นๆ ที่จำนวนมากไม่แพ้กัน ซึ่งเมื่อไปเทียบกับแถลงการณ์ของค่ายรถยอดนิยมเบอร์ 1 ของคนไทย ที่บอกว่าปี 2556 ปีเดียว ขายรถในประเทศไทยได้ 445,464 คัน แถมยังบอกอีกว่านี่ยังถือว่ายอดตกกว่าที่คาดไว้ประมาณร้อยละ 7.4
[5] ขณะที่ค่ายรถยนต์หรูสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง ก็ยังบอกว่าปี 2556 ขายได้ตั้ง 10,144 คัน
[6]
.
เห็นไหมครับว่ารถยนต์กับคนไทยเป็นของคู่กันจริงๆ แล้วถ้าตัวเลขการจำหน่ายเท่านี้ยังไม่ชัดเจนพอ เรามาดูกันดีกว่าว่าประเทศไทยที่บอกว่า GDP หลักทุกวันนี้มาจากภาคอุตสาหกรรมนั้นมาจากอุตสาหกรรมใดบ้าง ตรงนี้ขออ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยประเภทสินค้าส่งออกของไทย พบว่า ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา
รถยนต์และชิ้นส่วน คือภาคการส่งออกอันดับ 1 ของไทย และหากย้อนไปมากกว่านั้น จะพบว่ารถยนต์และชิ้นส่วนถือเป็นภาคการผลิตที่มาแรง เพราะยึดอันดับ 2 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยมาตั้งแต่ปี 2547 ก่อนจะขึ้นอันดับ 1 ในปี 2555
[7]
.
ก็ต้องยอมรับละครับว่าภาคการผลิตรถยนต์นี่ผูกติดกับสังคมไทยอย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้ ขนาดรัฐบาลไทยเมื่อช่วงน้ำท่วมในปี 2554 ก็ยังกลัวกันว่าการที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งจมน้ำนานนับเดือน จนส่งผลต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ จะเป็นเหตุให้นักลงทุนในธุรกิจนี้ถอนการลงทุนไปที่อื่น ทำให้ต้องหามาตรการมาเหนี่ยวรั้งไว้กันใหญ่
[8]
( มีต่อ )
[บทความพิเศษ] คน-รถ-ถนน-ทางข้าม : จะฝันถึงอุดมคติไปทำไม? ในเมื่อมันไม่มีทางเป็นจริง!!!
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
ไม่รู้จะกลายเป็นกระแสอะไรกันนักหนา กับกระทู้หนึ่งในเว็บไซต์ ppantip.com กรณีที่มีคนเขียนบทความ “คนไทยถูกหลอกให้ใช้สะพานลอย” แล้วก็มีการแชร์กันต่อๆ ไป ( แน่นอนว่าบนหน้าเพจ Facebook ผมก็มี ) ใจความก็คือตาคนเขียนบอกว่า ในประเทศโลกที่ 1 ของท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทางม้าลายถือเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” ที่ยานพาหนะทุกชนิดต้องหยุดให้คนข้าม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีสัญญาณไฟก็ตาม แล้วก็เปรียบเทียบว่าทำไมบ้านเราไม่เป็นแบบนั้นบ้าง
.
ผมจำได้ว่าเรื่องวุ่นวายของการจราจรในเมืองไทย ทั้งในแง่อุบัติเหตุและในแง่รถติดจนขยับไปไหนไม่ได้ ก็เคยมีผู้เสนอความเห็นอย่างหนึ่งไว้พอสมควร แต่ไม่ว่าจะผ่านไปสักกี่ปี แนวคิดนี้ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้กันจริงๆ และเชื่อว่าในอนาคตก็จะยังเป็นแบบนี้ต่อไป
.
นั่นคือ “การลดและจำกัดอำนาจของยานพาหนะ”!!!
.
หลายท่านอาจจะลืมไปแล้วว่า ครั้งหนึ่งเคยมีนายตำรวจใหญ่บางท่าน เสนอนโยบายห้ามนำรถเก่าอายุ 7 ปีขึ้นไปเข้ามาวิ่งใน กทม. และผลก็คือผู้เสนอถูกสังคมรุมประณาม จนท้ายที่สุดนโยบายนั้นต้องพับไป [1] และนี่อาจเป็นไม่กี่เรื่อง ในช่วงเวลาที่บ้านเมืองแตกเป็น 2 สี ที่แม้กระทั่งคนฝั่งสีที่เชื่อว่าตำรวจอยู่ข้างพวกตน ก็ยังออกมาก่นด่าตำรวจว่าทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง เพราะทุกคนเสียภาษี จึงมีสิทธิ์ใช้ถนนร่วมกัน
.
ทั้งที่จริงๆ ในญี่ปุ่น จำกัดอายุรถยนต์ไว้แค่ 4-5 ปีเท่านั้น [2] ขณะที่เพื่อนบ้านอาเซียนอย่างสิงคโปร์ จำกัดอายุรถยนต์ไว้เพียง 10 ปีเท่านั้น [3] ยังไม่นับสารพัดกฎระเบียบที่มีทั้งใน 2 ชาตินี้ และชาติที่เจริญแล้วอื่นๆ เช่น การสอบใบขับขี่ที่ยากแสนยาก ดังที่เราเห็นในหนังฮอลลีวู้ดบางเรื่องแหละครับ ว่าการสอบใบขับขี่ในสหรัฐอเมริกานี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตคนอเมริกันเลยทีเดียว ไหนจะเรื่องที่จอดรถในบ้านว่ามีไหม? ไหนจะการจำกัดความเร็วในเมือง แล้วขับเข้าเมืองจะไปจอดมั่วๆ ซั่วๆ ก็ไม่ได้ ผิดกฎหมายครับ
.
ส่วนบ้านเราก็เห็นๆ กันอยู่ว่าอะไรที่โลกที่ 1 เขาทำไม่ได้ บ้านเราทำได้หมด ทีนี้ถามว่าอะไรที่ทำให้เราไม่อาจก้าวไปถึงตรงนั้น? บางคนอาจจะบอกว่ากฎหมายไม่ดี บางคนบอกกฎหมายดีแล้วแต่ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ดี หรือบางคนก็บอกว่าเพราะคนทั้งสังคมไทยมีแต่คนไม่ดีมากกว่าคนดี และผู้บังคับใช้กฎหมายก็เป็นคนๆ หนึ่งในสังคม เมื่อผู้นำกับผู้ตามต่างคนต่างไม่ดี มันก็พากันเละไปทั้งชาติ..แต่สำหรับผมแล้ว ที่บ่นๆ กันมานี่ เป็นแค่ “ยอดของภูเขาน้ำแข็ง” เท่านั้นแหละครับ ( ขอใช้สำนวนเท่ๆ หน่อยนะ นานๆ ที ) ที่ลึกลงไปแล้ว มันมีเรื่องที่น่ากลัว ที่บอกว่าน่ากลัวเพราะมีพัวพันกับผลประโยชน์มหาศาล และเป็นผลประโยชน์แบบนานาชาติซ่อนอยู่
.
ว่ากันอย่างตรงๆ..จะมีคนไทยสักกี่คน ที่รู้ว่าธุรกิจรถยนต์เป็น “ผลประโยชน์มหาศาล” ของกลุ่มทุนนานาชาติ!!!
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..เป็นผลประโยชน์ของพวกชาติโลกที่ 1 ที่บรรดาผู้ดีทั้งหลาย “โหยหา” นั่นแหละ!!!
.
ผมไม่ได้พูดลอยๆ หรอกครับ ก่อนอื่นเรามาดูตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์กันก่อน คร่าวๆ นะครับ ผมขอใช้สถิติแค่ 3 ปี คือ 2554-2556 ก่อน ( ปี 2557 ข้อมูลขณะเขียนบทความนี้ ยังขาดเดือน พ.ย. กับ ธ.ค. จึงยังไม่ขออ้างอิง ) ส่วนใครสนใจอย่างละเอียดไปดูได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในนั้นมีข้อมูลที่ย้อนไปได้ถึงปี 2543 และระบุกันละเอียดเป็นรายเดือน รวมทั้งจำแนกชนิดรถประเภทต่างๆ [4] ข้อมูลแบงก์ชาติ บอกว่าในปี 2554 มียอดจำหน่ายรถยนต์ไป 368,956.28 คัน ในปี 2555 จำหน่ายไป 668,565.68 คัน และในปี 2556 จำหน่ายไป 639,893.20 คัน
.
และต้องย้ำว่า..นี่เป็นเพียงยอดจำหน่าย “รถยนต์นั่งส่วนบุคคล” ( รถเก๋ง-รถกระบะ ) เท่านั้น ยังไม่นับมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ประเภทอื่นๆ ที่จำนวนมากไม่แพ้กัน ซึ่งเมื่อไปเทียบกับแถลงการณ์ของค่ายรถยอดนิยมเบอร์ 1 ของคนไทย ที่บอกว่าปี 2556 ปีเดียว ขายรถในประเทศไทยได้ 445,464 คัน แถมยังบอกอีกว่านี่ยังถือว่ายอดตกกว่าที่คาดไว้ประมาณร้อยละ 7.4 [5] ขณะที่ค่ายรถยนต์หรูสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง ก็ยังบอกว่าปี 2556 ขายได้ตั้ง 10,144 คัน [6]
.
เห็นไหมครับว่ารถยนต์กับคนไทยเป็นของคู่กันจริงๆ แล้วถ้าตัวเลขการจำหน่ายเท่านี้ยังไม่ชัดเจนพอ เรามาดูกันดีกว่าว่าประเทศไทยที่บอกว่า GDP หลักทุกวันนี้มาจากภาคอุตสาหกรรมนั้นมาจากอุตสาหกรรมใดบ้าง ตรงนี้ขออ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยประเภทสินค้าส่งออกของไทย พบว่า ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา รถยนต์และชิ้นส่วน คือภาคการส่งออกอันดับ 1 ของไทย และหากย้อนไปมากกว่านั้น จะพบว่ารถยนต์และชิ้นส่วนถือเป็นภาคการผลิตที่มาแรง เพราะยึดอันดับ 2 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยมาตั้งแต่ปี 2547 ก่อนจะขึ้นอันดับ 1 ในปี 2555 [7]
.
ก็ต้องยอมรับละครับว่าภาคการผลิตรถยนต์นี่ผูกติดกับสังคมไทยอย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้ ขนาดรัฐบาลไทยเมื่อช่วงน้ำท่วมในปี 2554 ก็ยังกลัวกันว่าการที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งจมน้ำนานนับเดือน จนส่งผลต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ จะเป็นเหตุให้นักลงทุนในธุรกิจนี้ถอนการลงทุนไปที่อื่น ทำให้ต้องหามาตรการมาเหนี่ยวรั้งไว้กันใหญ่ [8]
( มีต่อ )