“ไม่มีอะไรใหม่” และ “ไม่ใช่ของขวัญสำหรับผู้ประกันตน” : ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ....ฉบับที่กำลังพิจารณาใน สนช.
https://prachatai.org/journal/2014/12/57137
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เขียนถึงการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับ สนช. ระบุไม่อาจกล่าวได้ว่า “เป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ประกันตน” เพราะแท้จริงแล้วปัญหาสำคัญของกองทุนประกันสังคม คือ การบริหารจัดการโดยภาคราชการที่ยังขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตนที่เป็นเจ้าของเงินตัวจริง ไม่มีการกระจายอำนาจตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ยังขาดความเป็นมืออาชีพ รวมถึงไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันการบริหารงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ไม่มีคณะกรรมการการลงทุนที่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ นี้ยังไม่ต้องพูดถึงความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคมที่จะไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ที่พร้อมจะเข้ามา “ล้วงลูกและครอบงำการบริหารงานผ่านประธานคณะกรรมการประกันสังคมได้อยู่ตลอดเวลา” ซึ่งประเด็นต่างๆที่เป็น “หัวใจสำคัญ” นี้ กลับไม่ถูกหยิกยกมากล่าวถึงและได้รับความสำคัญในการพิจารณายุค สนช. แม้แต่น้อย
นับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557 ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติวาระ1 รับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....จำนวน 18 คน ได้แก่
(1) พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร และทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษธำรง ทัศนาญชลี
(3) พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์
(4) นายสุรเดช วลีอิทธิกุล
(5) นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์
(6) นายชูศักดิ์ จันทยานนท์
(7) นายมนัส โกศล
(8) พลเอกธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
(9) นายเจตน์ ศิรธรานนท์
(10) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
(11) นายอิสระ ว่องกุศลกิจ
(12) นายโกวิท สัจจวิเศษ
(13) นายประเวศ อรรถศุภผล
(14) นายศุภชีพ ดิษเทศ
(15) นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล
(16) นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา
(17) นายอนุชา รัตนสินธุ์
(18) นางสาวอรุณี ศรีโต
โดยคณะกรรมาธิการฯมีการประชุมมาแล้วรวม 8 ครั้ง คือ วันที่ 7, 10, 17, 24 พฤศจิกายน วันที่ 1, 8, 15, 22 ธันวาคม พ.ศ.2557 และจะมีการประชุมครั้งที่ 9 ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2558
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ที่แตกต่างจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 จากการทบทวนร่างกฎหมายฉบับที่ สนช. รับหลักการวาระ 1 พบว่ามี 23 ข้อ ดังนี้
(1) มีการขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ รวมถึงครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นคนกลุ่มนี้ไว้)
(2) แก้ไขคำว่า “ลูกจ้าง” ให้มีความหมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นลูกจ้างที่ทำงานบ้านอันมิได้ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย)
(3) แก้ไขคำว่า “ทุพพลภาพ” ให้หมายถึง การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ (กฎหมายเดิมระบุเพียงว่าต้องไม่สามารถทำงานได้เพียงเท่านั้น)
(4) แก้ไขคำว่า “ว่างงาน” ให้จำกัดเฉพาะกรณีการถูกเลิกจ้างเท่านั้น (กฎหมายเดิมรวมทุกกรณีที่สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง)
(5) เพิ่มเติมคำว่า “ภัยพิบัติ” ให้มีขอบเขตที่ชัดเจนขึ้น โดยหมายถึงทั้งภัยธรรมชาติและมีผู้ทำให้เกิดขึ้น เพื่อกำหนดขอบเขตการได้รับลดหย่อนการออกเงินสมทบ (กฎหมายเดิมไม่มี)
(6) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการประกันสังคม ให้ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 6 คน ที่มาจากการเลือกตั้งตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และให้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้กรรมการต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน (กฎหมายเดิมกำหนดผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 5 คน และไม่ได้ระบุเรื่องที่มาจากการเลือกตั้งไว้ รวมทั้งกรรมการไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน)
(7) กำหนดให้คณะกรรมการประกันสังคมมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงวุฒิเป็นที่ปรึกษาไม่เกิน 7 คน โดยการสรรหาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี ในด้านการเงินการคลัง ด้านระบบงานประกันสังคม ด้านการบริหารการลงทุน ด้านบริหารจัดการ ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและด้านเศรษฐศาสตร์ (กฎหมายเดิมกำหนดผู้ทรงวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน และมาจากด้านประกันสังคม แรงงาน การแพทย์ กฎหมาย และอื่นๆ)
(8) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการแพทย์ ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 16 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ หรือในด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขหรือด้านการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล โดยให้ผู้แทนสำนักงานประกัน สังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี (กฎหมายเดิมกำหนดเพียงรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆเท่านั้น)
(1) กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมสามารถดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการจัดหาผลประโยชน์ เพื่อประโยชน์ของกองทุนได้ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(2) ขยายความคุ้มครองให้แรงงานนอกระบบกลุ่มต่างๆสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้มากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมเรื่องการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน (กฎหมายเดิมกำหนดไว้แค่เฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 เท่านั้นที่จะสมัครเข้ามาตรา 40 ได้ และไม่มีการกำหนดอัตราเงินสมทบของรัฐบาลว่าจะต้องสมทบจำนวนเท่าใด)
(3) รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนได้ ในกรณีท้องที่หนึ่งท้องที่ใดประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(4) กำหนดการคำนวณเงินเพิ่มที่นายจ้างค้างชำระเงินสมทบทั้งในส่วนของตนเองและส่วนของลูกจ้าง โดยกำหนดให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องจำนวนเงินสมทบสุทธิที่นายจ้างต้องจ่าย)
(5) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน ไม่เป็นการตัดสิทธิจากกฎหมายอื่นๆที่ต้องได้รับอยู่แล้วด้วย และสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพื่อให้หลักประกันที่มั่นคงแก่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(6) ขยายระยะเวลาในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเป็น 2 ปี (กฎหมายเดิมกำหนดไว้เพียง 1 ปี)
(7) แก้ไขอัตราจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ สำหรับการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (กฎหมายเดิมเป็นการนำค่าจ้างสูงสุด 3 เดือนภายในระยะเวลา 9 เดือน มาคำนวณ แต่กฎหมายใหม่แก้ไขจาก 9 เดือน เป็น 15 เดือน)
(8) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนหรือคู่สมรสหรือบุตรของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจงใจทำให้ตนเองหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ตนเองประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ หรือตาย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมและเป็นมาตรฐานเดียวกันกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นเรื่องนี้ไว้)
(9) ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้ครอบคลุมถึงค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย (กฎหมายเดิมไม่มีเรื่องค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค)
(10)ในกรณีที่ผู้ประกันตนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และการทุพพลภาพนั้นมีระดับความสูญเสียรุนแรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิต (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(11)กำหนดประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรจำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้บุตรดังกล่าวต้องไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น (กฎหมายเดิมระบุว่าต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น กฎหมายใหม่ตัดประโยค “ชอบด้วยกฎหมาย” ออกไป)
(12)กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยสามารถเลือกใช้สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ เมื่อไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(13)ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาทและเสียชีวิตลงก่อนที่ตนเองจะได้รับประโยชน์ทดแทนชราภาพ สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(14)ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(15)ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและเสียชีวิต มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีเสียชีวิต (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ ระบุเพียงเรื่องทุพพลภาพเท่านั้น)
ทั้งนี้ภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณามาแล้วรวม 8 ครั้ง พบว่า มีข้อเสนอที่แตกต่างจากฉบับที่รับหลักการในวาระ 1 รวม 13 ประเด็น ดังนี้
(1) มีการเพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่ม (นอกเหนือจาก 2 กลุ่มเดิมในข้างต้น) คือ กลุ่มลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและต้องไปประจำทำงานในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างคนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศสามารถเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายไทยลูกจ้างจะได้รับมากกว่ากองทุนประกันจากต่างประเทศ (กฎหมายฉบับ 2533 ได้ยกเว้นคนกลุ่มนี้ไว้)
(2) แก้ไขนิยามคำว่า “ว่างงาน” โดยแก้ไขใหม่เป็นว่า เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้างหรือเหตุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(3) องค์ประกอบของคณะกรรมการประกันสังคม ให้เพิ่มเติมผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้ามาอีก 1 ตำแหน่งจากองค์ประกอบเดิมที่ระบุไว้แล้ว เพราะเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบในการส่งเสริมดูแลเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ และสำหรับในส่วนผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ให้เพิ่มเป็นฝ่ายละ 7 คน (เนื่องจากมีการเพิ่มตัวแทนจากภาครัฐเป็น 7 คน ทำให้ต้องเพิ่มตัวแทนจากฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเข้าไปด้วย) อีกทั้งผู้แทนทั้ง 2 กลุ่มนี้ที่มาจากการเลือกตั้งให้คำนึงถึงผู้ที่มีส่วนร่วมในการประกันสังคมอย่างแท้จริงร่วมด้วย
เนื้อหาทั้งหมดที่ ...
https://prachatai.org/journal/2014/12/57137
การเมือง ความไม่จริงใจ ผลประโยชน์ ประชาชน (ทุกสี) ***เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่มนุษย์เงินเดือน
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เขียนถึงการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ฉบับ สนช. ระบุไม่อาจกล่าวได้ว่า “เป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ประกันตน” เพราะแท้จริงแล้วปัญหาสำคัญของกองทุนประกันสังคม คือ การบริหารจัดการโดยภาคราชการที่ยังขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตนที่เป็นเจ้าของเงินตัวจริง ไม่มีการกระจายอำนาจตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ยังขาดความเป็นมืออาชีพ รวมถึงไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันการบริหารงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ไม่มีคณะกรรมการการลงทุนที่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ นี้ยังไม่ต้องพูดถึงความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคมที่จะไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ที่พร้อมจะเข้ามา “ล้วงลูกและครอบงำการบริหารงานผ่านประธานคณะกรรมการประกันสังคมได้อยู่ตลอดเวลา” ซึ่งประเด็นต่างๆที่เป็น “หัวใจสำคัญ” นี้ กลับไม่ถูกหยิกยกมากล่าวถึงและได้รับความสำคัญในการพิจารณายุค สนช. แม้แต่น้อย
นับตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557 ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติวาระ1 รับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....จำนวน 18 คน ได้แก่
(1) พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร และทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษธำรง ทัศนาญชลี
(3) พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์
(4) นายสุรเดช วลีอิทธิกุล
(5) นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์
(6) นายชูศักดิ์ จันทยานนท์
(7) นายมนัส โกศล
(8) พลเอกธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
(9) นายเจตน์ ศิรธรานนท์
(10) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
(11) นายอิสระ ว่องกุศลกิจ
(12) นายโกวิท สัจจวิเศษ
(13) นายประเวศ อรรถศุภผล
(14) นายศุภชีพ ดิษเทศ
(15) นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล
(16) นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา
(17) นายอนุชา รัตนสินธุ์
(18) นางสาวอรุณี ศรีโต
โดยคณะกรรมาธิการฯมีการประชุมมาแล้วรวม 8 ครั้ง คือ วันที่ 7, 10, 17, 24 พฤศจิกายน วันที่ 1, 8, 15, 22 ธันวาคม พ.ศ.2557 และจะมีการประชุมครั้งที่ 9 ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2558
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ที่แตกต่างจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 จากการทบทวนร่างกฎหมายฉบับที่ สนช. รับหลักการวาระ 1 พบว่ามี 23 ข้อ ดังนี้
(1) มีการขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ รวมถึงครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นคนกลุ่มนี้ไว้)
(2) แก้ไขคำว่า “ลูกจ้าง” ให้มีความหมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นลูกจ้างที่ทำงานบ้านอันมิได้ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย)
(3) แก้ไขคำว่า “ทุพพลภาพ” ให้หมายถึง การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ (กฎหมายเดิมระบุเพียงว่าต้องไม่สามารถทำงานได้เพียงเท่านั้น)
(4) แก้ไขคำว่า “ว่างงาน” ให้จำกัดเฉพาะกรณีการถูกเลิกจ้างเท่านั้น (กฎหมายเดิมรวมทุกกรณีที่สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง)
(5) เพิ่มเติมคำว่า “ภัยพิบัติ” ให้มีขอบเขตที่ชัดเจนขึ้น โดยหมายถึงทั้งภัยธรรมชาติและมีผู้ทำให้เกิดขึ้น เพื่อกำหนดขอบเขตการได้รับลดหย่อนการออกเงินสมทบ (กฎหมายเดิมไม่มี)
(6) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการประกันสังคม ให้ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 6 คน ที่มาจากการเลือกตั้งตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และให้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้กรรมการต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน (กฎหมายเดิมกำหนดผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 5 คน และไม่ได้ระบุเรื่องที่มาจากการเลือกตั้งไว้ รวมทั้งกรรมการไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน)
(7) กำหนดให้คณะกรรมการประกันสังคมมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงวุฒิเป็นที่ปรึกษาไม่เกิน 7 คน โดยการสรรหาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี ในด้านการเงินการคลัง ด้านระบบงานประกันสังคม ด้านการบริหารการลงทุน ด้านบริหารจัดการ ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและด้านเศรษฐศาสตร์ (กฎหมายเดิมกำหนดผู้ทรงวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน และมาจากด้านประกันสังคม แรงงาน การแพทย์ กฎหมาย และอื่นๆ)
(8) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการแพทย์ ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 16 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ หรือในด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขหรือด้านการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล โดยให้ผู้แทนสำนักงานประกัน สังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี (กฎหมายเดิมกำหนดเพียงรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆเท่านั้น)
(1) กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมสามารถดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการจัดหาผลประโยชน์ เพื่อประโยชน์ของกองทุนได้ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(2) ขยายความคุ้มครองให้แรงงานนอกระบบกลุ่มต่างๆสามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้มากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมเรื่องการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน (กฎหมายเดิมกำหนดไว้แค่เฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 เท่านั้นที่จะสมัครเข้ามาตรา 40 ได้ และไม่มีการกำหนดอัตราเงินสมทบของรัฐบาลว่าจะต้องสมทบจำนวนเท่าใด)
(3) รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนได้ ในกรณีท้องที่หนึ่งท้องที่ใดประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(4) กำหนดการคำนวณเงินเพิ่มที่นายจ้างค้างชำระเงินสมทบทั้งในส่วนของตนเองและส่วนของลูกจ้าง โดยกำหนดให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องจำนวนเงินสมทบสุทธิที่นายจ้างต้องจ่าย)
(5) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน ไม่เป็นการตัดสิทธิจากกฎหมายอื่นๆที่ต้องได้รับอยู่แล้วด้วย และสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพื่อให้หลักประกันที่มั่นคงแก่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(6) ขยายระยะเวลาในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเป็น 2 ปี (กฎหมายเดิมกำหนดไว้เพียง 1 ปี)
(7) แก้ไขอัตราจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ สำหรับการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (กฎหมายเดิมเป็นการนำค่าจ้างสูงสุด 3 เดือนภายในระยะเวลา 9 เดือน มาคำนวณ แต่กฎหมายใหม่แก้ไขจาก 9 เดือน เป็น 15 เดือน)
(8) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนหรือคู่สมรสหรือบุตรของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจงใจทำให้ตนเองหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ตนเองประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ หรือตาย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมและเป็นมาตรฐานเดียวกันกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นเรื่องนี้ไว้)
(9) ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้ครอบคลุมถึงค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย (กฎหมายเดิมไม่มีเรื่องค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค)
(10)ในกรณีที่ผู้ประกันตนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และการทุพพลภาพนั้นมีระดับความสูญเสียรุนแรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิต (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(11)กำหนดประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรจำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้บุตรดังกล่าวต้องไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น (กฎหมายเดิมระบุว่าต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น กฎหมายใหม่ตัดประโยค “ชอบด้วยกฎหมาย” ออกไป)
(12)กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยสามารถเลือกใช้สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ เมื่อไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(13)ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาทและเสียชีวิตลงก่อนที่ตนเองจะได้รับประโยชน์ทดแทนชราภาพ สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(14)ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(15)ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและเสียชีวิต มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีเสียชีวิต (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ ระบุเพียงเรื่องทุพพลภาพเท่านั้น)
ทั้งนี้ภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณามาแล้วรวม 8 ครั้ง พบว่า มีข้อเสนอที่แตกต่างจากฉบับที่รับหลักการในวาระ 1 รวม 13 ประเด็น ดังนี้
(1) มีการเพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่ม (นอกเหนือจาก 2 กลุ่มเดิมในข้างต้น) คือ กลุ่มลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศและต้องไปประจำทำงานในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างคนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศสามารถเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายไทยลูกจ้างจะได้รับมากกว่ากองทุนประกันจากต่างประเทศ (กฎหมายฉบับ 2533 ได้ยกเว้นคนกลุ่มนี้ไว้)
(2) แก้ไขนิยามคำว่า “ว่างงาน” โดยแก้ไขใหม่เป็นว่า เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้างหรือเหตุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(3) องค์ประกอบของคณะกรรมการประกันสังคม ให้เพิ่มเติมผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้ามาอีก 1 ตำแหน่งจากองค์ประกอบเดิมที่ระบุไว้แล้ว เพราะเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบในการส่งเสริมดูแลเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ และสำหรับในส่วนผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ให้เพิ่มเป็นฝ่ายละ 7 คน (เนื่องจากมีการเพิ่มตัวแทนจากภาครัฐเป็น 7 คน ทำให้ต้องเพิ่มตัวแทนจากฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเข้าไปด้วย) อีกทั้งผู้แทนทั้ง 2 กลุ่มนี้ที่มาจากการเลือกตั้งให้คำนึงถึงผู้ที่มีส่วนร่วมในการประกันสังคมอย่างแท้จริงร่วมด้วย
เนื้อหาทั้งหมดที่ ...https://prachatai.org/journal/2014/12/57137