โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ช่วย“มาสเตอร์ แอด”ขายโฆษณาขนาดเล็ก หน้าที่ใหม่ของ“วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย” ในฐานะหุ้นใหญ่ พร้อมรับประกันรายได้
“ปีหน้า (2558) เรามีโปรเจคมากมายที่จะทำร่วมกับ บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI ในฐานะหุ้นใหญ่อันดับ 1 ที่เพิ่งเข้ามาซื้อหุ้นเรา เมื่อเดือนพ.ค.2557 ในสัดส่วน 24.43 เปอร์เซ็นต์ ราคาหุ้นละ 9 บาท มูลค่ารวม 661.50 ล้านบาท” “ตั้ม-นพดล ตัณศลารักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.มาสเตอร์ แอด หรือ MACO ผู้ผลิตสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัยรายใหญ่ เปิดใจกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week”
ได้ข่าวว่า VGI อยากได้หุ้น MACO เพิ่มเติม? เขาตอบคำถามนี้ว่า ถ้าอยากได้จริงๆ คงต้องไปหาซื้อในกระดาน หรือไม่ก็มาขอซื้อกับผม (เขาพูดทีเล่นทีจริง) ที่ผ่านมายังไม่เคยคุยเรื่องนี้กัน ถ้ามีจะมาเล่าให้ฟัง (หัวเราะ) หน้าที่ของผมในฐานะผู้บริหาร MACO คือ ต้องให้ข้อมูลนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อยในทิศทางเดียวกัน ผมไม่อยากให้รายย่อยมาตำหนิว่า ทำไมต้องให้สิทธิเฉพาะคนพิเศษ
วันนี้ผมยังคงถือหุ้น MACO เท่าเดิม (ณ วันที่ 14 ต.ค.2557 สัดส่วน 3.44 เปอร์เซ็นต์) หากราคาหุ้น MACO ถูกรับรองเข้าไปเก็บเพิ่มแน่นอน ผมทำงานอยู่ย่อมรู้ดีว่า ที่ผ่านมาบริษัทให้ผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ในระดับเท่าไหร่ แม้ปี 2557 เราจะมีรายได้เพียง 600 ล้านบาท และมีกำไรลดลงจากปี 2556 จากสถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติในช่วงที่ผ่านมา แต่เชื่อเถอะว่า บริษัทจะยังคงจะจ่ายเงินปันผล 2 ครั้งต่อปีเหมือนเดิม ที่สำคัญปีนี้จะจ่ายเป็นเงินสดด้วย
ปัจจุบัน MACO มี “แฟนพันธุ์” เป็นนักลงทุนรายใหญ่หลายคน ส่วนใหญ่ถือลงทุนมานานมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “นเรศ งามอภิชน” คนนี้เป็น “เซียนหุ้นไซด์บิ๊ก” นอกจากนั้นยังมี “วันชัย พันธ์วิเชียร” ขานี้รู้จักกันมานานกว่า 10 ปี นอกจากเขาจะเป็นผู้ถือหุ้นแล้วยังเป็นซัพพลายเออร์ คอยจัดหาสินค้าในลักษณะ made to order ให้กับบริษัทด้วย
ส่วน “พีรนาถ โชควัฒนา” คนนี้เป็นรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว เขายังเป็นคนตรวจสอบป้ายของ MACO (หัวเราะ) เวลามีป้ายไหนมีปัญหา เขาชอบยกหูมาบอกเรา ทุกครั้งที่มีการประชุมผู้ถือหุ้น เขาไม่พลาด ชอบ MACO มากแค่ไหนไม่รู้ แต่ “พีรนาถ” ลงทุนทั้งในนามส่วนตัว และในนามบริษัท หลานปู่ จำกัด และบริษัท พีรธร จำกัด ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนของตระกูลโชควัฒนา
“การที่เรามีนักลงทุนรายใหญ่ถือหุ้น ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเขามักมีไอเดียในการทำธุรกิจและมีมุมมองที่เราคาดไม่ถึง”
“ชายวัย 54” เล่าถึงแผนงานที่จะทำร่วมกับ VGI ว่า ในปี 2558 เขาจะเข้ามาช่วยเราขายโฆษณามากขึ้น ซึ่ง VGI เชี่ยวชาญเรื่องสื่อโฆษณาขนาดเล็ก หลักๆเขาจะช่วยบริหารสื่อโฆษณาบริเวณถนน (Street Furniture) และสื่อโฆณษสถานีขนส่งและยานพาหนะ หรือ Transit โดยจะเน้นบริเวณเสาตอม่อใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS ,เสาตอม่อสะพานข้ามแยกสำคัญๆในกรุงเทพฯ,บริเวณด่านเก็บเงินทางด่วน และสถานีขนส่งหมดชิตใหม่ เป็นต้น ซึ่งการมี VGI มาช่วยขายของจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น อย่าลืมว่า VGI ขายสื่อโฆษณษเก่งนะ..
“เบื้องต้น VGI การันตีรายได้จากการบริหารสื่อโฆษณาให้ MACO ที่ตัวเลขประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี หากเขาทำได้มากกว่านั้นค่อยมาทำ Revenue Sharing หรือ ส่วนแบ่งรายได้กัน”
เขา เล่าต่อว่า เป้าหมายรายได้ในปี 2558 ของ MACO อยู่ที่ระดับ 800-900 ล้านบาท ซึ่งเราได้ VGI ช่วยแล้ว 300 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะมาจากไหน แน่นอนเรามีเรื่องเตรียม “เซอร์ไพรส์” แฟนคลับเพียบ!! แต่ตอนนี้จะขอพูดเพียงเรื่องที่พอเปิดเผยได้ก่อน
วันนี้บริษัทมีพื้นที่สื่อโฆษณา 80,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น สื่อป้ายโฆษณากลางแจ้ง หรือ Billboard ประมาณ 60,000 ตารางเมตร สื่อบริเวณถนน หรือ Street Furniture 10,000 ตารางเมตร ส่วนที่เหลือเป็นสื่อบริเวณสถานีขนส่งและยานพาหนะ หรือ Transit
ปี 2558 บริษัทตั้งใจจะขยายพื้นที่สื่อโฆษณาเป็น 100,000 ตารางเมตร ตัวเลขนี้ถือเป็นเรื่องท้าทายของแต่ละหน่วยงาน เป้าหมายการทำงานของแต่ละหน่วย คือ ต้องมีรายได้เติบโตหน่วยงานละ 15 เปอร์เซ็นต์ หากทำได้มากกว่านั้น ถือเป็นผลพลอยได้
MACO จะขยายพื้นที่สื่อโฆณาในสื่อประเภทไหนบ้าง? แน่นอนสื่อโฆษณาหลัก 3 ประเภท ยังคงเดินหน้าขยายพื้นที่ต่อไป แต่เราจะเพิ่มสื่อโฆษณาประเภทที่ 4 นั่นคือ สื่อดิจิตอล วิธีการ คือ พื้นที่สื่อโฆษณาเดิมที่มีอยู่แล้ว 80,000 ตารางเมตร หากบริษัทเห็นว่า พื้นที่ไหนควรเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิตอลเราจะทำทันที ส่วนพื้นที่ใหม่ 20,000 ตารางเมตร เราจะดูทำเลและความเหมาะสมอีกครั้ง ถ้าพบว่า “คุ้มค่า” เราจะทำเป็นเลย
จริงอยู่สื่อดิจิตอลมักมีการลงทุนที่สูง แต่หากบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพรับรองจะมีกำไรขั้นต้นอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเฉลี่ยกำไรขั้นต้นน่าจะเพิ่มขึ้นอีก 5-10 เปอร์เซ็นต์ เบื้องต้นวางเป้าหมายรายได้สื่อดิจิตอลในปี 2558 ที่ระดับ 50 ล้านบาท พิจารณาตัวเลขเหมือนไม่มาก แต่อย่าลืมว่าการติดตั้งสื่อดิจิตอลต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน
ฉะนั้นในปี 2559 น่าจะมีรายได้จากส่วนนี้เฉลี่ย “หลักร้อยล้าน” ขึ้นไป ช่วงแรกๆ รายได้จากสื่อดิจิตอลมักทำได้ง่ายเฉลี่ยการเติบโตปีละ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจาก 2-3 ปีไปแล้วคงขยายตัวประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
“นพดล” เล่าต่อว่า งานอีกส่วนที่จะมาช่วยผลักดันรายได้ในปี 2558 คือ การเข้าไปทำสื่อ โฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.ซึ่งเป็นแบรนด์ Jiffy เดิม จำนวน 147 สถานี ที่ผ่านมาเราเข้าไปซื้อหุ้น บริษัท โอเพ่น เพลย์ จำกัด สัดส่วน 80 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทดังกล่าวได้รับสัมปทานในการบริหารพื้นที่สื่อโฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.
เราตั้งใจจะติดตั้งสื่อโฆษณา Light Box (กล่องไฟ) จำนวน 300 ป้าย ใน 147 สถานี คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนมี.ค.2558 อนาคตหากทางปตท.เห็นว่า ป้ายกล่องไฟของเรามีความปลอดภัย เขาอาจเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิตอลก็ได้ คงใช้เวลาดูความเหมาะสม 6 เดือน ถึง 1 ปี การมีโฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.ถือเป็นครั้งแรกของเขา
“เรากำลังเจรจากับปตท.เพื่อขอเพิ่มป้ายโฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.เบื้องต้นอยากได้เพิ่มอีก 500 ป้าย ปัจจุบันปตท.มีสถานีบริการน้ำมันประมาณ 1,000 กว่าแห่ง หากได้งานนี้ต้องใช้เวลาติดตั้ง 6 เดือน และคงไปรับรายได้ในปีถัดไป”
งานอีกอย่างที่ MACO ทำควบคู่มาตลอด คือ การไปเสนอตัวช่วยผู้ประกอบการรายเล็กๆขายโฆษณาในช่วงที่เขาขายไม่ได้ เพราะป้ายโฆษณาของผู้ประกอบการรายเล็กที่มีอยู่ประมาณ 300-400 ราย ส่วนใหญ่มีทำเลที่ดีจนถูกใจลูกค้าบางรายของเรา ตอนนี้กำลังคุยกับเจ้าของป้ายหลายราย โดยไม่จำกัดว่า ผู้ประกอบการรายนั้นต้องเป็นเจ้าของกี่ป้าย
“เปลี่ยน “ซัพพลายเออร์” เป็น “พาร์ทเนอร์” คือ เรื่องที่เราต้องทำ วันนี้เรามีซัพพลายเออร์ประมาณ 20-30 ราย”
การทำงานในลักษณะนี้จะมี “กำไรขั้นต้น” เฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ สิ้นปี 2557 บริษัทบริหารป้ายให้ผู้ประกอบการรายเล็กประมาณ 30 ป้าย แต่ปี 2558 อยากมีเพิ่มเป็น 50-60 ป้าย ถามว่าทำไมลูกค้าไม่ติดต่อขอซื้อโฆษณากับเจ้าของป้ายโดยตรง คำตอบ คือ ลูกค้ากลัวหาตัวเจ้าของไม่เจอ หากป้ายมีปัญหา ที่สำคัญ คือ เขาไว้ใจเรา เพราะ MACO คือ มืออาชีพ ปี 2557 เรามีรายได้จากการบริหารป้ายประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์
“บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานใหม่ของรัฐบาลและเอกชน ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีต่อโครงการควรยืนระดับ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ปี 2557 เราทำผลตอบแทนได้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนงานภาครัฐบาลและภาคเอกชน 50:50 เปอร์เซ็นต์”
เมื่อถามถึงแผนธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2558-2560) ? “แม่ทัพใหญ่” บอกว่า รายได้เฉลี่ยต้องเติบโตประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวเลขภายในที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ คือ ต้องขยายตัวมากกว่านี้ (แอบบอกตัวเลข) เราขอคิดใหญ่ไว้ก่อน เนื่องจากวันนี้เรามีงานอยู่ในมือ 10 โปรเจค คิดเป็นพื้นที่สื่อโฆษณาประมาณ 50,000 ตารางเมตร โดยจะเป็นทั้งงานของภาครัฐและเอกชน มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะสรุปได้ 2-3 โปรเจคต่อปี
“เรื่องเงินลงทุนไม่ต้องเป็นห่วง ปัจจุบันเรามีเงินสดประมาณ 300 ล้านบาท มีวงเงินกู้จากธนาคาร 300-400 ล้านบาท และสามารถออกหุ้นกู้ได้ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเราขอผู้ถือหุ้นไว้เรียบร้อยแล้ว”
“นพดล” เล่าเรื่อง “โกอินเตอร์” ให้ฟังว่า แม้งานต่างประเทศจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการเติบโต แต่ที่ผ่านมามีโอกาสเดินทางไปคุยกับผู้ประกอบการสื่อโฆษณาขนาดกลางในแถบ AEC หลายแห่ง เช่น พม่า มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นต้น โดยเราได้ให้ “ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์” หรือ PWC เป็นผู้ช่วยหาดีลให้ บริษัทว่าจ้างเขาปีละ 2 ล้านบาท
แต่เท่าที่ดูๆ บริษัทที่เข้ารอบน่าจะเป็นผู้ประกอบการของประเทศมาเลเซีย เนื่องจากวัฒนธรรม ระบบการทำงาน และกลุ่มลูกค้า ใกล้เคียงกัน ที่สำคัญความต้องการสื่อโฆษณายังไม่สูงมาก แต่เราจะไปช่วยให้ความต้องการมากขึ้น เพราะสินค้าที่โฆษณาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ของเมืองไทย
ตอนนี้ติดปัญหาเรื่องราคาหุ้น เพราะเขาเสนอราคามาแพงเกินไป ซึ่งรูปแบบการลงทุนของ MACO คือ จะเข้าไปถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ถามว่าจะได้ข้อสรุปช่วงไหน บอกตรงๆ หากเขาขายแพงมากคงไม่เสี่ยงที่จะลงทุน ฉะนั้นยังไม่สามารถให้คำตอบได้ ขอต่อลองราคาก่อน..
เขา ทิ้งท้ายว่า เราจะเดินธุรกิจด้วย 2 สื่อ นั่นคือ สื่อประเภท MACO Space ได้แก่ ป้ายโฆษณากลางแจ้ง สื่อบริเวณถนน สื่อบริเวณสถานีขนส่งและยานพาหนะ และสื่อดิจิตอล โดยจะมีรายได้จากสื่อประเภทนี้ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ คือ สื่อประเภท Non MACO Space เน้นผลิตสื่อตามความต้องการของลูกค้า แม้ว่าการทำสื่อตาม Made To Order จะไม่ใช่งานหลัก แต่สามารถต่อยอดธุรกิจได้
“ปี 2558 พื้นฐาน MACO จะดีกว่าปี 2557 แน่นอน และก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ” “นพดล ตัณศลารักษ์” พูดยืนยัน
VGI+MACO กินรวบสื่อนอกบ้าน
ช่วย“มาสเตอร์ แอด”ขายโฆษณาขนาดเล็ก หน้าที่ใหม่ของ“วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย” ในฐานะหุ้นใหญ่ พร้อมรับประกันรายได้
“ปีหน้า (2558) เรามีโปรเจคมากมายที่จะทำร่วมกับ บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI ในฐานะหุ้นใหญ่อันดับ 1 ที่เพิ่งเข้ามาซื้อหุ้นเรา เมื่อเดือนพ.ค.2557 ในสัดส่วน 24.43 เปอร์เซ็นต์ ราคาหุ้นละ 9 บาท มูลค่ารวม 661.50 ล้านบาท” “ตั้ม-นพดล ตัณศลารักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.มาสเตอร์ แอด หรือ MACO ผู้ผลิตสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัยรายใหญ่ เปิดใจกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week”
ได้ข่าวว่า VGI อยากได้หุ้น MACO เพิ่มเติม? เขาตอบคำถามนี้ว่า ถ้าอยากได้จริงๆ คงต้องไปหาซื้อในกระดาน หรือไม่ก็มาขอซื้อกับผม (เขาพูดทีเล่นทีจริง) ที่ผ่านมายังไม่เคยคุยเรื่องนี้กัน ถ้ามีจะมาเล่าให้ฟัง (หัวเราะ) หน้าที่ของผมในฐานะผู้บริหาร MACO คือ ต้องให้ข้อมูลนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อยในทิศทางเดียวกัน ผมไม่อยากให้รายย่อยมาตำหนิว่า ทำไมต้องให้สิทธิเฉพาะคนพิเศษ
วันนี้ผมยังคงถือหุ้น MACO เท่าเดิม (ณ วันที่ 14 ต.ค.2557 สัดส่วน 3.44 เปอร์เซ็นต์) หากราคาหุ้น MACO ถูกรับรองเข้าไปเก็บเพิ่มแน่นอน ผมทำงานอยู่ย่อมรู้ดีว่า ที่ผ่านมาบริษัทให้ผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ในระดับเท่าไหร่ แม้ปี 2557 เราจะมีรายได้เพียง 600 ล้านบาท และมีกำไรลดลงจากปี 2556 จากสถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติในช่วงที่ผ่านมา แต่เชื่อเถอะว่า บริษัทจะยังคงจะจ่ายเงินปันผล 2 ครั้งต่อปีเหมือนเดิม ที่สำคัญปีนี้จะจ่ายเป็นเงินสดด้วย
ปัจจุบัน MACO มี “แฟนพันธุ์” เป็นนักลงทุนรายใหญ่หลายคน ส่วนใหญ่ถือลงทุนมานานมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “นเรศ งามอภิชน” คนนี้เป็น “เซียนหุ้นไซด์บิ๊ก” นอกจากนั้นยังมี “วันชัย พันธ์วิเชียร” ขานี้รู้จักกันมานานกว่า 10 ปี นอกจากเขาจะเป็นผู้ถือหุ้นแล้วยังเป็นซัพพลายเออร์ คอยจัดหาสินค้าในลักษณะ made to order ให้กับบริษัทด้วย
ส่วน “พีรนาถ โชควัฒนา” คนนี้เป็นรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว เขายังเป็นคนตรวจสอบป้ายของ MACO (หัวเราะ) เวลามีป้ายไหนมีปัญหา เขาชอบยกหูมาบอกเรา ทุกครั้งที่มีการประชุมผู้ถือหุ้น เขาไม่พลาด ชอบ MACO มากแค่ไหนไม่รู้ แต่ “พีรนาถ” ลงทุนทั้งในนามส่วนตัว และในนามบริษัท หลานปู่ จำกัด และบริษัท พีรธร จำกัด ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนของตระกูลโชควัฒนา
“การที่เรามีนักลงทุนรายใหญ่ถือหุ้น ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเขามักมีไอเดียในการทำธุรกิจและมีมุมมองที่เราคาดไม่ถึง”
“ชายวัย 54” เล่าถึงแผนงานที่จะทำร่วมกับ VGI ว่า ในปี 2558 เขาจะเข้ามาช่วยเราขายโฆษณามากขึ้น ซึ่ง VGI เชี่ยวชาญเรื่องสื่อโฆษณาขนาดเล็ก หลักๆเขาจะช่วยบริหารสื่อโฆษณาบริเวณถนน (Street Furniture) และสื่อโฆณษสถานีขนส่งและยานพาหนะ หรือ Transit โดยจะเน้นบริเวณเสาตอม่อใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS ,เสาตอม่อสะพานข้ามแยกสำคัญๆในกรุงเทพฯ,บริเวณด่านเก็บเงินทางด่วน และสถานีขนส่งหมดชิตใหม่ เป็นต้น ซึ่งการมี VGI มาช่วยขายของจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น อย่าลืมว่า VGI ขายสื่อโฆษณษเก่งนะ..
“เบื้องต้น VGI การันตีรายได้จากการบริหารสื่อโฆษณาให้ MACO ที่ตัวเลขประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี หากเขาทำได้มากกว่านั้นค่อยมาทำ Revenue Sharing หรือ ส่วนแบ่งรายได้กัน”
เขา เล่าต่อว่า เป้าหมายรายได้ในปี 2558 ของ MACO อยู่ที่ระดับ 800-900 ล้านบาท ซึ่งเราได้ VGI ช่วยแล้ว 300 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะมาจากไหน แน่นอนเรามีเรื่องเตรียม “เซอร์ไพรส์” แฟนคลับเพียบ!! แต่ตอนนี้จะขอพูดเพียงเรื่องที่พอเปิดเผยได้ก่อน
วันนี้บริษัทมีพื้นที่สื่อโฆษณา 80,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น สื่อป้ายโฆษณากลางแจ้ง หรือ Billboard ประมาณ 60,000 ตารางเมตร สื่อบริเวณถนน หรือ Street Furniture 10,000 ตารางเมตร ส่วนที่เหลือเป็นสื่อบริเวณสถานีขนส่งและยานพาหนะ หรือ Transit
ปี 2558 บริษัทตั้งใจจะขยายพื้นที่สื่อโฆษณาเป็น 100,000 ตารางเมตร ตัวเลขนี้ถือเป็นเรื่องท้าทายของแต่ละหน่วยงาน เป้าหมายการทำงานของแต่ละหน่วย คือ ต้องมีรายได้เติบโตหน่วยงานละ 15 เปอร์เซ็นต์ หากทำได้มากกว่านั้น ถือเป็นผลพลอยได้
MACO จะขยายพื้นที่สื่อโฆณาในสื่อประเภทไหนบ้าง? แน่นอนสื่อโฆษณาหลัก 3 ประเภท ยังคงเดินหน้าขยายพื้นที่ต่อไป แต่เราจะเพิ่มสื่อโฆษณาประเภทที่ 4 นั่นคือ สื่อดิจิตอล วิธีการ คือ พื้นที่สื่อโฆษณาเดิมที่มีอยู่แล้ว 80,000 ตารางเมตร หากบริษัทเห็นว่า พื้นที่ไหนควรเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิตอลเราจะทำทันที ส่วนพื้นที่ใหม่ 20,000 ตารางเมตร เราจะดูทำเลและความเหมาะสมอีกครั้ง ถ้าพบว่า “คุ้มค่า” เราจะทำเป็นเลย
จริงอยู่สื่อดิจิตอลมักมีการลงทุนที่สูง แต่หากบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพรับรองจะมีกำไรขั้นต้นอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเฉลี่ยกำไรขั้นต้นน่าจะเพิ่มขึ้นอีก 5-10 เปอร์เซ็นต์ เบื้องต้นวางเป้าหมายรายได้สื่อดิจิตอลในปี 2558 ที่ระดับ 50 ล้านบาท พิจารณาตัวเลขเหมือนไม่มาก แต่อย่าลืมว่าการติดตั้งสื่อดิจิตอลต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน
ฉะนั้นในปี 2559 น่าจะมีรายได้จากส่วนนี้เฉลี่ย “หลักร้อยล้าน” ขึ้นไป ช่วงแรกๆ รายได้จากสื่อดิจิตอลมักทำได้ง่ายเฉลี่ยการเติบโตปีละ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจาก 2-3 ปีไปแล้วคงขยายตัวประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
“นพดล” เล่าต่อว่า งานอีกส่วนที่จะมาช่วยผลักดันรายได้ในปี 2558 คือ การเข้าไปทำสื่อ โฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.ซึ่งเป็นแบรนด์ Jiffy เดิม จำนวน 147 สถานี ที่ผ่านมาเราเข้าไปซื้อหุ้น บริษัท โอเพ่น เพลย์ จำกัด สัดส่วน 80 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทดังกล่าวได้รับสัมปทานในการบริหารพื้นที่สื่อโฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.
เราตั้งใจจะติดตั้งสื่อโฆษณา Light Box (กล่องไฟ) จำนวน 300 ป้าย ใน 147 สถานี คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนมี.ค.2558 อนาคตหากทางปตท.เห็นว่า ป้ายกล่องไฟของเรามีความปลอดภัย เขาอาจเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิตอลก็ได้ คงใช้เวลาดูความเหมาะสม 6 เดือน ถึง 1 ปี การมีโฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.ถือเป็นครั้งแรกของเขา
“เรากำลังเจรจากับปตท.เพื่อขอเพิ่มป้ายโฆษณาในสถานีบริการน้ำมันปตท.เบื้องต้นอยากได้เพิ่มอีก 500 ป้าย ปัจจุบันปตท.มีสถานีบริการน้ำมันประมาณ 1,000 กว่าแห่ง หากได้งานนี้ต้องใช้เวลาติดตั้ง 6 เดือน และคงไปรับรายได้ในปีถัดไป”
งานอีกอย่างที่ MACO ทำควบคู่มาตลอด คือ การไปเสนอตัวช่วยผู้ประกอบการรายเล็กๆขายโฆษณาในช่วงที่เขาขายไม่ได้ เพราะป้ายโฆษณาของผู้ประกอบการรายเล็กที่มีอยู่ประมาณ 300-400 ราย ส่วนใหญ่มีทำเลที่ดีจนถูกใจลูกค้าบางรายของเรา ตอนนี้กำลังคุยกับเจ้าของป้ายหลายราย โดยไม่จำกัดว่า ผู้ประกอบการรายนั้นต้องเป็นเจ้าของกี่ป้าย
“เปลี่ยน “ซัพพลายเออร์” เป็น “พาร์ทเนอร์” คือ เรื่องที่เราต้องทำ วันนี้เรามีซัพพลายเออร์ประมาณ 20-30 ราย”
การทำงานในลักษณะนี้จะมี “กำไรขั้นต้น” เฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ สิ้นปี 2557 บริษัทบริหารป้ายให้ผู้ประกอบการรายเล็กประมาณ 30 ป้าย แต่ปี 2558 อยากมีเพิ่มเป็น 50-60 ป้าย ถามว่าทำไมลูกค้าไม่ติดต่อขอซื้อโฆษณากับเจ้าของป้ายโดยตรง คำตอบ คือ ลูกค้ากลัวหาตัวเจ้าของไม่เจอ หากป้ายมีปัญหา ที่สำคัญ คือ เขาไว้ใจเรา เพราะ MACO คือ มืออาชีพ ปี 2557 เรามีรายได้จากการบริหารป้ายประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์
“บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานใหม่ของรัฐบาลและเอกชน ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีต่อโครงการควรยืนระดับ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ปี 2557 เราทำผลตอบแทนได้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนงานภาครัฐบาลและภาคเอกชน 50:50 เปอร์เซ็นต์”
เมื่อถามถึงแผนธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2558-2560) ? “แม่ทัพใหญ่” บอกว่า รายได้เฉลี่ยต้องเติบโตประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวเลขภายในที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ คือ ต้องขยายตัวมากกว่านี้ (แอบบอกตัวเลข) เราขอคิดใหญ่ไว้ก่อน เนื่องจากวันนี้เรามีงานอยู่ในมือ 10 โปรเจค คิดเป็นพื้นที่สื่อโฆษณาประมาณ 50,000 ตารางเมตร โดยจะเป็นทั้งงานของภาครัฐและเอกชน มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะสรุปได้ 2-3 โปรเจคต่อปี
“เรื่องเงินลงทุนไม่ต้องเป็นห่วง ปัจจุบันเรามีเงินสดประมาณ 300 ล้านบาท มีวงเงินกู้จากธนาคาร 300-400 ล้านบาท และสามารถออกหุ้นกู้ได้ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเราขอผู้ถือหุ้นไว้เรียบร้อยแล้ว”
“นพดล” เล่าเรื่อง “โกอินเตอร์” ให้ฟังว่า แม้งานต่างประเทศจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการเติบโต แต่ที่ผ่านมามีโอกาสเดินทางไปคุยกับผู้ประกอบการสื่อโฆษณาขนาดกลางในแถบ AEC หลายแห่ง เช่น พม่า มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นต้น โดยเราได้ให้ “ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์” หรือ PWC เป็นผู้ช่วยหาดีลให้ บริษัทว่าจ้างเขาปีละ 2 ล้านบาท
แต่เท่าที่ดูๆ บริษัทที่เข้ารอบน่าจะเป็นผู้ประกอบการของประเทศมาเลเซีย เนื่องจากวัฒนธรรม ระบบการทำงาน และกลุ่มลูกค้า ใกล้เคียงกัน ที่สำคัญความต้องการสื่อโฆษณายังไม่สูงมาก แต่เราจะไปช่วยให้ความต้องการมากขึ้น เพราะสินค้าที่โฆษณาส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ของเมืองไทย
ตอนนี้ติดปัญหาเรื่องราคาหุ้น เพราะเขาเสนอราคามาแพงเกินไป ซึ่งรูปแบบการลงทุนของ MACO คือ จะเข้าไปถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ถามว่าจะได้ข้อสรุปช่วงไหน บอกตรงๆ หากเขาขายแพงมากคงไม่เสี่ยงที่จะลงทุน ฉะนั้นยังไม่สามารถให้คำตอบได้ ขอต่อลองราคาก่อน..
เขา ทิ้งท้ายว่า เราจะเดินธุรกิจด้วย 2 สื่อ นั่นคือ สื่อประเภท MACO Space ได้แก่ ป้ายโฆษณากลางแจ้ง สื่อบริเวณถนน สื่อบริเวณสถานีขนส่งและยานพาหนะ และสื่อดิจิตอล โดยจะมีรายได้จากสื่อประเภทนี้ 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ คือ สื่อประเภท Non MACO Space เน้นผลิตสื่อตามความต้องการของลูกค้า แม้ว่าการทำสื่อตาม Made To Order จะไม่ใช่งานหลัก แต่สามารถต่อยอดธุรกิจได้
“ปี 2558 พื้นฐาน MACO จะดีกว่าปี 2557 แน่นอน และก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ” “นพดล ตัณศลารักษ์” พูดยืนยัน