http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/633720
ไขภารกิจ"ปัดฝุ่น" บีทีเอส "อาลีบาบา" จิ๊กซอว์ใหม่
โดย : ชาลินี กุลแพทย์ วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2558
ถอดสมการบีทีเอส ผ่านปฏิบัติการรุกฆาต!กวิน กาญจนพาสน์เปิดภารกิจเร่งด่วน สร้างมูลค่าบริการด้านการเงินและโฆษณา
เมื่อโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและกรุงเทพธนาคม ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง (สายเก่า) ที่ดำเนินการโดย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS กำลังจะหมดสัมปทานในอีก 15 ปีข้างหน้า (อายุสัมปทานสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572) ไม่รวมส่วนต่อขยายใหม่ สายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ และช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า (อายุสัมปทาน 8 พ.ค.2555-2 พ.ค.2585) รวมระยะทางให้บริการ 36.25 กิโลเมตร
“ปฏิบัติการจัดทัพธุรกิจใหม่ เพื่อบริหารความเสี่ยงของ BTS จึงเกิดขึ้นในปี 2557”
ในช่วงเดือนต.ค.2557 "คีรี กาญจนพาสน์" หรือ "หว่อง ท่ง ซัน" ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (ณ วันที่ 27 ต.ค.2558 มีสัดส่วนการถือหุ้น 32.56%) ตัดสินใจเดินหน้า “ภารกิจแรก” ด้วยการบุกตะลุย “ฟื้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”
หลังก่อนหน้านี้มีความพยายามจะมอบหมายหน้าที่ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ทายาทคนโต “กวิน กาญจนพาสน์” แต่เมื่อ “ดีเอ็นเอ” ธุรกิจสื่อโฆษณาของ “บุตรชาย” โดดเด่นกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้เป็นพ่อจึงต้องยอมยกธงขาว พร้อมเบนเข็มหามืออาชีพมาร่วมวงฟื้นธุรกิจดั้งเดิมให้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่ทันที
ก่อนจะลงเอยเกี่ยวก้อยจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท บีทีเอส แสนสิริ โฮลดิ้ง วัน จำกัด เมื่อปลายปี 2557 ด้วยการถือหุ้นฝ่ายละ 50% กับ บมจ.แสนสิริ หรือ SIRI เพื่อร่วมกันเนรมิตที่ดิน 5 ไร่ ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิตเป็นคอนโดมิเนียม แห่งแรกจำนวน 900 ยูนิต มูลค่าโครงการทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
“มังกรคีรี” พยายามเฟ้นหาเพื่อนใหม่ที่มีคุณสมบัติตรงใจ ด้วยการเดินสายเจรจาธุรกิจกับนักอสังหาริมทรัพย์ไซส์ใหญ่หลายราย หากเอ่ยชื่อหลายคนต้องร้อง “อ๋อ” แต่สุดท้าย BTS ก็ตัดสินใจปิดดีลร่วมทุนกับ SIRI หลังผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ ไม่มีความประสงค์จะออกหุ้นเพิ่มทุนให้ BTS ตามที่เสนอ
ทว่าการมีเพียง SIRI อาจไม่ตอบโจทย์ที่ต้องการหวนคืนบัลลังก์ “เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์” ของ “คีรี” เขาจึงออกตระเวนหาธุรกิจที่สามารถสร้าง “รายได้แบบยั่งยืน” สุดท้ายมาจบดีลที่ บมจ.แนเชอรัล หรือ NPARK ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการให้เช่า บริการ จำหน่าย และบริหารอย่างครบวงจร
ด้วยการควักเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือ PP จำนวน 213,000 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 37.06% ราคาหุ้นละ 0.047 บาท รวมถึงซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ (NPARK-W2) ในอัตรา 1 หน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ NPARK ได้ 1 หุ้น ราคาใช้สิทธิ 0.047 บาทต่อหุ้น
โดย BTS จะขายหุ้นบริษัทย่อยให้ NPARK เพื่อแลกกับค่าตอบแทน ประกอบด้วย 1.บริษัท บีทีเอส แอสเสทส์ จำกัด หรือ BTSA ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 800 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ (พาร์) 100 บาท ในฐานะเจ้าของโรงแรม อีสติน แกรนด์ สาทร ติดกับสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ สูง 33 ชั้น จำนวนห้องพัก 390 หน่วย
ขณะเดียวกันยังเป็นเจ้าของที่ดินย่านพหลโยธิน ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต จำนวน 63 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวมประมาณ 4,444.8 ตารางวา โดย ณ สิ้นเดือนมี.ค.2557 “บีทีเอส แอสเสทส์” มีรายได้จำนวน 685 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 117.43 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 673 ล้านบาท
2.บริษัท ก้ามกุ้ง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 375 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ (พาร์) 100 บาท ในฐานะเจ้าของที่ดินบริเวณพญาไท ติดกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท จำนวน 9 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวมประมาณ 2,000.42 ตารางวา โดย ณ สิ้นเดือนมี.ค.2557 ก้ามกุ้ง มีผลขาดทุนสุทธิ 14.79 ล้านบาท
“บีทีเอส แอสเสทส์ และ ก้ามกุ้ง พร็อพเพอร์ตี้ ถือครองที่ดินรวมกันประมาณ 18 ไร่ มูลค่าตามราคาตลาด 8,000 -10,000 ล้านบาท”
“ภารกิจต่อไปของ BTS คืออะไร?
“กวิน กาญจนพาสน์” หรือเควิน กรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTSและประธานกรรมการบริหาร บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI (BTS และบริษัทในเครือถือหุ้นใหญ่ VGI ประมาณ 65%) บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ว่า ปัจจุบัน BTS ทำธุรกิจหลักอยู่ 4 กลุ่ม นั่นคือ ธุรกิจระบบขนส่งขนมวลชน ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการ
โดยในปี 2557 บริษัทได้เดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปเรียบร้อย ถือเป็นการดำเนินการที่น่าพอใจ ส่วนธุรกิจตัวต่อไปที่ BTS จะลงมือปรับโมเดลใหม่ นั่นคือ “ธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์” หรือ e-money” ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการของ BTS รวมถึง “ธุรกิจสื่อโฆษณา”
เมื่อถามรายละเอียดของโมเดลธุรกิจบริการด้านการเงิน? “เควิน” อธิบายภาพคร่าวๆ ว่า ปัจจุบัน BTS ได้มอบหน้าที่ให้บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ “บีเอสเอส โฮลดิ้งส์” หรือ BSS ซึ่ง BTS ถือหุ้น 90% และธนาคารกรุงเทพถือหุ้น 10% เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ แต่ตอนนี้เรามีความคิดที่จะจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ สมมุติชื่อ ABC เพื่อให้เข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง
“เมื่อจัดตั้งบริษัทใหม่แล้วเสร็จ BSS จะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของบริษัทที่จัดตั้งใหม่ ขณะที่ทุกบริษัทร่วมทุนที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทแห่งนี้”
ตอนนี้ BTS ยังไม่ตกผลึกทางความคิดที่ว่า บริษัทแห่งใหม่จะชื่ออะไร และจะนิยามธุรกิจนี้ว่าอะไร เรารู้เพียงว่า ต้องเชิญธนาคารกรุงเทพมาร่วมถือหุ้นด้วย เพื่อนเก่งขนาดนี้ไม่ชวนมาได้อย่างไร พร้อมหันหน้าไปมอง “โทนี่-ชาติศิริ โสภณพนิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ที่ยืนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอยู่ข้างๆ
“BTS อาจเรียกธุรกิจนี้ว่า “ไมโครเพย์เมนท์” (Micro Payment) ก็ได้ เชื่อว่า ไม่เกิน 3 เดือน คงได้ข้อสรุป”
เป้าหมายของบริษัทย่อยแห่งนี้ คือ ไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า ขนาดธุรกิจต้องใหญ่กว่า บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จากนั้นจะเริ่มเดินตามรอย VGI นั่นคือ การเข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งก่อนจะเข้าตลาดหุ้น เราอาจเห็นบริษัทนี้ทำงานร่วมกับ VGI ซึ่งจะช่วยให้ VGI มีช่องทางในการทำเงินมากขึ้น
“ปัจจุบัน BTS มีสินทรัพย์จำนวนมากที่ยังไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเราจะทยอยทำไปเรื่อยๆ” ทายาทมังกรคีรี บอกเช่นนั้น
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัจจุบัน BTS มีบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจำนวนมาก โดยธุรกิจสื่อโฆษณาที่มี VGI เป็นหัวเรือใหญ่ มีบริษัทย่อย7 แห่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีบริษัทย่อย 14 บริษัท ธุรกิจบริการมีบริษัทย่อย 9 บริษัท
ขณะเดียวกัน BTS ยังถือหุ้นในสัดส่วน 10% ขึ้นไปใน 2 บริษัท นั่นคือ บริษัท ช้างคลานเวย์ ผู้ประกอบการโรงแรมและภัตตาคาร และบริษัท จัดการทรัพย์สินและชุมชน ผู้บริหารจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์
“กวิน” ฉายภาพธุรกิจต่อว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะอยู่ในรูปบัตรแรบบิท หรือ Rabbit ประกอบด้วย 1.บัตรแรบบิทมาตรฐาน หรือ Standard Rabbit 2.บัตรแรบบิทธุรกิจ หรือ Corporate Rabbit 3.บัตรแรบบิทพิเศษ หรือ Special Rabbit
สุดท้าย คือ 4.บัตรแรบบิทร่วม หรือ Co-branded Rabbit ซึ่งบัตรดังกล่าวจะออกโดยสถาบันการเงินหรือองค์กรต่างๆ ปัจจุบันเราได้ทำบัตรแรบบิท ร่วมกับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบัตรเอไอเอส เอ็มเพย์ แรบบิท ซิมการ์ด
ที่ผ่านมาบัตรแรบบิทยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แม้วันนี้จะมีผู้ถือบัตรอยู่ในตลาดแล้วกว่า 3.5 ล้านใบ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของปี 2558 (งบสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.2558) ที่ตั้งไว้ระดับ 3 ล้านใบ ฉะนั้นเมื่อเราต้องการให้บัตรแรบบิทเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็จำเป็นต้องหาเพื่อนเก่งๆ มาช่วยทำงาน
ก้าวสำคัญของธุรกิจนี้ เริ่มต้นจากการจับมือกับบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) เพื่อจัดตั้งบริษัทนิติบุคคล โดย BTS ถือหุ้น 51% อิออน 49% เพื่อร่วมกันทำบัตรสมาชิกอิออน แรบบิท เป้าหมายของบริษัทร่วมทุน คือ ภายใน 3 ปีข้างหน้า ต้องมียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 5,000 ล้านบาท และต้องให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 9% ต่อปี
สตอรี่ต่อไปของธุรกิจบริการด้านการเงินคืออะไร ?
เขาเฉลยคำตอบสั้นๆ เพื่อให้ติดตามต่อว่า ตอนนี้ “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” หรือ e-commerce กำลังมาแรง!! ฉะนั้น BTS มีแนวคิดจะลงไปคลุกคลีในธุรกิจนี้ แต่เนื่องจากเราไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ดังนั้นต้องหาคนเก่งมาช่วยทำงาน เขาย้ำ
เพื่อนใหม่!! ใช่ “แจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้งอาลีบาบา ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแห่งแดนมังกรหรือไม่ ? เขาตอบว่า เมื่อปีก่อน บริษัท อาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ “อาลีบาบา” ได้ช่วย BTS ขายบัตรแรบบิทในเมืองจีน เพื่อให้นักท่องเที่ยวจีน นำมาใช้ขึ้นรถไฟฟ้า BTS ในเมืองไทย ซึ่งเขาสามารถขายบัตรได้มากถึงวันละ 1,000 ใบ
ฉะนั้นหากไม่มีอะไรผิดพลาดเร็วๆ นี้ คงได้เห็น BTS จับมือทำงานร่วมกับ “อาลีเพย์” เพื่อขายบัตรแรบบิทการด์บนแอพพลิเคชั่น Alipay Wallet ให้กับนักท่องเที่ยวจีน โดยนักท่องเที่ยวสามารถสั่งซื้อบัตรได้ก่อนเดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองไทย และสามารถรับบัตรได้เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ
“เพื่อนของคุณคีรี เขารู้จักกับ เจ้าของอาลีบาบา (มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีน ขนาดสินทรัพย์ 25,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.31 แสนล้านบาท) ทำให้เรามีโอกาสทำงานร่วมกัน”
“สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ พูดเสริมเรื่องบัตรแรบบิทสั้นๆ ว่า สำหรับเป้าหมายบัตรแรบบิท คือ “10 ล้านใบ ภายใน 5 ปีข้างหน้า” แต่หากตั๋วร่วม BTS-MRT-รถเมล์-ทางด่วน” เกิดขึ้น โอกาสจะเห็นบัตรแรบบิทมากกว่าสิบล้านใบมีแน่นอน
เมื่อถามถึงโมเดลธุรกิจสื่อโฆษณา? “กวิน” บอกว่า ปัจจุบัน BTS ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณาผ่าน บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI ผู้ให้บริการสื่อโฆษณาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส สื่อโฆษณาในโมเดิร์นเทรด สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน สื่อโฆษณาในระบบรถโดยสารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงยังเป็นตัวแทนขายสื่อโฆษณาประเภทจอ LED และการรับผลิตงานโฆษณา
โดย ณ วันที่ 21 ม.ค.2558 บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัทย่อยของ BTS ถือหุ้น VGI ในสัดส่วน 1,750 ล้านหุ้น คิดเป็น 51% ขณะที่ BTS ถือหุ้น VGI จำนวน 497 ล้านหุ้น คิดเป็น 14.49%
ขณะเดียวกัน VGI ยังถือหุ้น 24.43 เปอร์เซ็นต์ ใน บมจ.มาสเตอร์ แอด หรือ MACO ผู้ให้บริการการวางแผนการใช้สื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย และรับจ้างผลิตงานสื่อป้ายโฆษณา ด้วยสื่อป้ายโฆษณาที่มีขนาดใหญ่ เช่น ป้ายบิลบอร์ด และสื่อโฆษณาบริเวณถนน เป็นต้น โดยเมื่อวันที่ 14 ต.ค.2557 ทาง VGI ได้ขอซื้อ MACO จากผู้ถือหุ้นเดิม ในราคาหุ้นละ 9 บาท มูลค่ารวม 661.50 ล้านบาท
เขา แจกแจงว่า สำหรับนโยบายการทำธุรกิจที่ BTS มีต่อ VGI คือ “VGI และ MACO ต้อง synergy กันมากขึ้น ขณะเดียวกัน VGI และ MACO อาจต้องเริ่มสะสมป้ายทางอ้อมมากขึ้น” ซึ่งนโยบายนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีก่อน และจะเห็นเป็นรูปร่างมากขึ้นในปี 2558
สำหรับแผนหาเงินลงทุนในการเทคโอเวอร์ธุรกิจป้ายโฆษณา ในส่วนของ MACO แม้จะมีกระแสเงินสดจำนวนหนึ่ง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ MACO อาจพิจารณากู้เงินแบงก์ควบคู่ไปด้วย เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่อาจให้ VGI เป็นผู้กู้เงิน เขาบอกว่า ก็ต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้ง
แต่ด้วยขนาดสินทรัพย์ และฐานะการเงิน ของ VGI ที่ใหญ่กว่า MACO ก็อาจเป็นไปได้ เพราะถ้าให้ MACO เป็นผู้กู้อาจต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงถึง 8-9% ทั้งนี้เราไม่ลืมที่จะหาเงินลงทุนด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือ TSR แต่ทั้งหมดยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใดยังเป็นเพียงแนวทางที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นหรือไม่..
ประธานกรรมการบริหาร บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย ยอมรับว่า ที่ผ่านมามีแผนจะซื้อหุ้น MACO เพิ่มเติม เนื่องจากสัดส่วนที่ถืออยู่ในปัจจุบันถือว่าน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตของ MACO
ถามว่าจะขอซื้อจากผู้ถือเดิมของ MACO อีกหรือ
ไขภารกิจ"ปัดฝุ่น" บีทีเอส "อาลีบาบา" จิ๊กซอว์ใหม่
ไขภารกิจ"ปัดฝุ่น" บีทีเอส "อาลีบาบา" จิ๊กซอว์ใหม่
โดย : ชาลินี กุลแพทย์ วันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2558
ถอดสมการบีทีเอส ผ่านปฏิบัติการรุกฆาต!กวิน กาญจนพาสน์เปิดภารกิจเร่งด่วน สร้างมูลค่าบริการด้านการเงินและโฆษณา
เมื่อโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและกรุงเทพธนาคม ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง (สายเก่า) ที่ดำเนินการโดย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTS กำลังจะหมดสัมปทานในอีก 15 ปีข้างหน้า (อายุสัมปทานสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572) ไม่รวมส่วนต่อขยายใหม่ สายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ และช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า (อายุสัมปทาน 8 พ.ค.2555-2 พ.ค.2585) รวมระยะทางให้บริการ 36.25 กิโลเมตร
“ปฏิบัติการจัดทัพธุรกิจใหม่ เพื่อบริหารความเสี่ยงของ BTS จึงเกิดขึ้นในปี 2557”
ในช่วงเดือนต.ค.2557 "คีรี กาญจนพาสน์" หรือ "หว่อง ท่ง ซัน" ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (ณ วันที่ 27 ต.ค.2558 มีสัดส่วนการถือหุ้น 32.56%) ตัดสินใจเดินหน้า “ภารกิจแรก” ด้วยการบุกตะลุย “ฟื้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”
หลังก่อนหน้านี้มีความพยายามจะมอบหมายหน้าที่ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ทายาทคนโต “กวิน กาญจนพาสน์” แต่เมื่อ “ดีเอ็นเอ” ธุรกิจสื่อโฆษณาของ “บุตรชาย” โดดเด่นกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้เป็นพ่อจึงต้องยอมยกธงขาว พร้อมเบนเข็มหามืออาชีพมาร่วมวงฟื้นธุรกิจดั้งเดิมให้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่ทันที
ก่อนจะลงเอยเกี่ยวก้อยจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท บีทีเอส แสนสิริ โฮลดิ้ง วัน จำกัด เมื่อปลายปี 2557 ด้วยการถือหุ้นฝ่ายละ 50% กับ บมจ.แสนสิริ หรือ SIRI เพื่อร่วมกันเนรมิตที่ดิน 5 ไร่ ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิตเป็นคอนโดมิเนียม แห่งแรกจำนวน 900 ยูนิต มูลค่าโครงการทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท
“มังกรคีรี” พยายามเฟ้นหาเพื่อนใหม่ที่มีคุณสมบัติตรงใจ ด้วยการเดินสายเจรจาธุรกิจกับนักอสังหาริมทรัพย์ไซส์ใหญ่หลายราย หากเอ่ยชื่อหลายคนต้องร้อง “อ๋อ” แต่สุดท้าย BTS ก็ตัดสินใจปิดดีลร่วมทุนกับ SIRI หลังผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ ไม่มีความประสงค์จะออกหุ้นเพิ่มทุนให้ BTS ตามที่เสนอ
ทว่าการมีเพียง SIRI อาจไม่ตอบโจทย์ที่ต้องการหวนคืนบัลลังก์ “เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์” ของ “คีรี” เขาจึงออกตระเวนหาธุรกิจที่สามารถสร้าง “รายได้แบบยั่งยืน” สุดท้ายมาจบดีลที่ บมจ.แนเชอรัล หรือ NPARK ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการให้เช่า บริการ จำหน่าย และบริหารอย่างครบวงจร
ด้วยการควักเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือ PP จำนวน 213,000 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 37.06% ราคาหุ้นละ 0.047 บาท รวมถึงซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ (NPARK-W2) ในอัตรา 1 หน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ NPARK ได้ 1 หุ้น ราคาใช้สิทธิ 0.047 บาทต่อหุ้น
โดย BTS จะขายหุ้นบริษัทย่อยให้ NPARK เพื่อแลกกับค่าตอบแทน ประกอบด้วย 1.บริษัท บีทีเอส แอสเสทส์ จำกัด หรือ BTSA ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 800 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ (พาร์) 100 บาท ในฐานะเจ้าของโรงแรม อีสติน แกรนด์ สาทร ติดกับสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ สูง 33 ชั้น จำนวนห้องพัก 390 หน่วย
ขณะเดียวกันยังเป็นเจ้าของที่ดินย่านพหลโยธิน ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต จำนวน 63 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวมประมาณ 4,444.8 ตารางวา โดย ณ สิ้นเดือนมี.ค.2557 “บีทีเอส แอสเสทส์” มีรายได้จำนวน 685 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 117.43 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 673 ล้านบาท
2.บริษัท ก้ามกุ้ง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 375 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ (พาร์) 100 บาท ในฐานะเจ้าของที่ดินบริเวณพญาไท ติดกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท จำนวน 9 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวมประมาณ 2,000.42 ตารางวา โดย ณ สิ้นเดือนมี.ค.2557 ก้ามกุ้ง มีผลขาดทุนสุทธิ 14.79 ล้านบาท
“บีทีเอส แอสเสทส์ และ ก้ามกุ้ง พร็อพเพอร์ตี้ ถือครองที่ดินรวมกันประมาณ 18 ไร่ มูลค่าตามราคาตลาด 8,000 -10,000 ล้านบาท”
“ภารกิจต่อไปของ BTS คืออะไร?
“กวิน กาญจนพาสน์” หรือเควิน กรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ BTSและประธานกรรมการบริหาร บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI (BTS และบริษัทในเครือถือหุ้นใหญ่ VGI ประมาณ 65%) บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ว่า ปัจจุบัน BTS ทำธุรกิจหลักอยู่ 4 กลุ่ม นั่นคือ ธุรกิจระบบขนส่งขนมวลชน ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการ
โดยในปี 2557 บริษัทได้เดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปเรียบร้อย ถือเป็นการดำเนินการที่น่าพอใจ ส่วนธุรกิจตัวต่อไปที่ BTS จะลงมือปรับโมเดลใหม่ นั่นคือ “ธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์” หรือ e-money” ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการของ BTS รวมถึง “ธุรกิจสื่อโฆษณา”
เมื่อถามรายละเอียดของโมเดลธุรกิจบริการด้านการเงิน? “เควิน” อธิบายภาพคร่าวๆ ว่า ปัจจุบัน BTS ได้มอบหน้าที่ให้บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ “บีเอสเอส โฮลดิ้งส์” หรือ BSS ซึ่ง BTS ถือหุ้น 90% และธนาคารกรุงเทพถือหุ้น 10% เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ แต่ตอนนี้เรามีความคิดที่จะจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ สมมุติชื่อ ABC เพื่อให้เข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง
“เมื่อจัดตั้งบริษัทใหม่แล้วเสร็จ BSS จะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของบริษัทที่จัดตั้งใหม่ ขณะที่ทุกบริษัทร่วมทุนที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทแห่งนี้”
ตอนนี้ BTS ยังไม่ตกผลึกทางความคิดที่ว่า บริษัทแห่งใหม่จะชื่ออะไร และจะนิยามธุรกิจนี้ว่าอะไร เรารู้เพียงว่า ต้องเชิญธนาคารกรุงเทพมาร่วมถือหุ้นด้วย เพื่อนเก่งขนาดนี้ไม่ชวนมาได้อย่างไร พร้อมหันหน้าไปมอง “โทนี่-ชาติศิริ โสภณพนิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ที่ยืนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอยู่ข้างๆ
“BTS อาจเรียกธุรกิจนี้ว่า “ไมโครเพย์เมนท์” (Micro Payment) ก็ได้ เชื่อว่า ไม่เกิน 3 เดือน คงได้ข้อสรุป”
เป้าหมายของบริษัทย่อยแห่งนี้ คือ ไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า ขนาดธุรกิจต้องใหญ่กว่า บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จากนั้นจะเริ่มเดินตามรอย VGI นั่นคือ การเข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งก่อนจะเข้าตลาดหุ้น เราอาจเห็นบริษัทนี้ทำงานร่วมกับ VGI ซึ่งจะช่วยให้ VGI มีช่องทางในการทำเงินมากขึ้น
“ปัจจุบัน BTS มีสินทรัพย์จำนวนมากที่ยังไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเราจะทยอยทำไปเรื่อยๆ” ทายาทมังกรคีรี บอกเช่นนั้น
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัจจุบัน BTS มีบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจำนวนมาก โดยธุรกิจสื่อโฆษณาที่มี VGI เป็นหัวเรือใหญ่ มีบริษัทย่อย7 แห่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีบริษัทย่อย 14 บริษัท ธุรกิจบริการมีบริษัทย่อย 9 บริษัท
ขณะเดียวกัน BTS ยังถือหุ้นในสัดส่วน 10% ขึ้นไปใน 2 บริษัท นั่นคือ บริษัท ช้างคลานเวย์ ผู้ประกอบการโรงแรมและภัตตาคาร และบริษัท จัดการทรัพย์สินและชุมชน ผู้บริหารจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์
“กวิน” ฉายภาพธุรกิจต่อว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะอยู่ในรูปบัตรแรบบิท หรือ Rabbit ประกอบด้วย 1.บัตรแรบบิทมาตรฐาน หรือ Standard Rabbit 2.บัตรแรบบิทธุรกิจ หรือ Corporate Rabbit 3.บัตรแรบบิทพิเศษ หรือ Special Rabbit
สุดท้าย คือ 4.บัตรแรบบิทร่วม หรือ Co-branded Rabbit ซึ่งบัตรดังกล่าวจะออกโดยสถาบันการเงินหรือองค์กรต่างๆ ปัจจุบันเราได้ทำบัตรแรบบิท ร่วมกับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบัตรเอไอเอส เอ็มเพย์ แรบบิท ซิมการ์ด
ที่ผ่านมาบัตรแรบบิทยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แม้วันนี้จะมีผู้ถือบัตรอยู่ในตลาดแล้วกว่า 3.5 ล้านใบ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของปี 2558 (งบสิ้นสุดวันที่ 31 ม.ค.2558) ที่ตั้งไว้ระดับ 3 ล้านใบ ฉะนั้นเมื่อเราต้องการให้บัตรแรบบิทเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็จำเป็นต้องหาเพื่อนเก่งๆ มาช่วยทำงาน
ก้าวสำคัญของธุรกิจนี้ เริ่มต้นจากการจับมือกับบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) เพื่อจัดตั้งบริษัทนิติบุคคล โดย BTS ถือหุ้น 51% อิออน 49% เพื่อร่วมกันทำบัตรสมาชิกอิออน แรบบิท เป้าหมายของบริษัทร่วมทุน คือ ภายใน 3 ปีข้างหน้า ต้องมียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 5,000 ล้านบาท และต้องให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 9% ต่อปี
สตอรี่ต่อไปของธุรกิจบริการด้านการเงินคืออะไร ?
เขาเฉลยคำตอบสั้นๆ เพื่อให้ติดตามต่อว่า ตอนนี้ “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” หรือ e-commerce กำลังมาแรง!! ฉะนั้น BTS มีแนวคิดจะลงไปคลุกคลีในธุรกิจนี้ แต่เนื่องจากเราไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ดังนั้นต้องหาคนเก่งมาช่วยทำงาน เขาย้ำ
เพื่อนใหม่!! ใช่ “แจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้งอาลีบาบา ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแห่งแดนมังกรหรือไม่ ? เขาตอบว่า เมื่อปีก่อน บริษัท อาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ “อาลีบาบา” ได้ช่วย BTS ขายบัตรแรบบิทในเมืองจีน เพื่อให้นักท่องเที่ยวจีน นำมาใช้ขึ้นรถไฟฟ้า BTS ในเมืองไทย ซึ่งเขาสามารถขายบัตรได้มากถึงวันละ 1,000 ใบ
ฉะนั้นหากไม่มีอะไรผิดพลาดเร็วๆ นี้ คงได้เห็น BTS จับมือทำงานร่วมกับ “อาลีเพย์” เพื่อขายบัตรแรบบิทการด์บนแอพพลิเคชั่น Alipay Wallet ให้กับนักท่องเที่ยวจีน โดยนักท่องเที่ยวสามารถสั่งซื้อบัตรได้ก่อนเดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองไทย และสามารถรับบัตรได้เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ
“เพื่อนของคุณคีรี เขารู้จักกับ เจ้าของอาลีบาบา (มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีน ขนาดสินทรัพย์ 25,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.31 แสนล้านบาท) ทำให้เรามีโอกาสทำงานร่วมกัน”
“สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ พูดเสริมเรื่องบัตรแรบบิทสั้นๆ ว่า สำหรับเป้าหมายบัตรแรบบิท คือ “10 ล้านใบ ภายใน 5 ปีข้างหน้า” แต่หากตั๋วร่วม BTS-MRT-รถเมล์-ทางด่วน” เกิดขึ้น โอกาสจะเห็นบัตรแรบบิทมากกว่าสิบล้านใบมีแน่นอน
เมื่อถามถึงโมเดลธุรกิจสื่อโฆษณา? “กวิน” บอกว่า ปัจจุบัน BTS ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณาผ่าน บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย หรือ VGI ผู้ให้บริการสื่อโฆษณาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส สื่อโฆษณาในโมเดิร์นเทรด สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน สื่อโฆษณาในระบบรถโดยสารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงยังเป็นตัวแทนขายสื่อโฆษณาประเภทจอ LED และการรับผลิตงานโฆษณา
โดย ณ วันที่ 21 ม.ค.2558 บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัทย่อยของ BTS ถือหุ้น VGI ในสัดส่วน 1,750 ล้านหุ้น คิดเป็น 51% ขณะที่ BTS ถือหุ้น VGI จำนวน 497 ล้านหุ้น คิดเป็น 14.49%
ขณะเดียวกัน VGI ยังถือหุ้น 24.43 เปอร์เซ็นต์ ใน บมจ.มาสเตอร์ แอด หรือ MACO ผู้ให้บริการการวางแผนการใช้สื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย และรับจ้างผลิตงานสื่อป้ายโฆษณา ด้วยสื่อป้ายโฆษณาที่มีขนาดใหญ่ เช่น ป้ายบิลบอร์ด และสื่อโฆษณาบริเวณถนน เป็นต้น โดยเมื่อวันที่ 14 ต.ค.2557 ทาง VGI ได้ขอซื้อ MACO จากผู้ถือหุ้นเดิม ในราคาหุ้นละ 9 บาท มูลค่ารวม 661.50 ล้านบาท
เขา แจกแจงว่า สำหรับนโยบายการทำธุรกิจที่ BTS มีต่อ VGI คือ “VGI และ MACO ต้อง synergy กันมากขึ้น ขณะเดียวกัน VGI และ MACO อาจต้องเริ่มสะสมป้ายทางอ้อมมากขึ้น” ซึ่งนโยบายนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีก่อน และจะเห็นเป็นรูปร่างมากขึ้นในปี 2558
สำหรับแผนหาเงินลงทุนในการเทคโอเวอร์ธุรกิจป้ายโฆษณา ในส่วนของ MACO แม้จะมีกระแสเงินสดจำนวนหนึ่ง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ MACO อาจพิจารณากู้เงินแบงก์ควบคู่ไปด้วย เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่อาจให้ VGI เป็นผู้กู้เงิน เขาบอกว่า ก็ต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้ง
แต่ด้วยขนาดสินทรัพย์ และฐานะการเงิน ของ VGI ที่ใหญ่กว่า MACO ก็อาจเป็นไปได้ เพราะถ้าให้ MACO เป็นผู้กู้อาจต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงถึง 8-9% ทั้งนี้เราไม่ลืมที่จะหาเงินลงทุนด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือ TSR แต่ทั้งหมดยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใดยังเป็นเพียงแนวทางที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นหรือไม่..
ประธานกรรมการบริหาร บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย ยอมรับว่า ที่ผ่านมามีแผนจะซื้อหุ้น MACO เพิ่มเติม เนื่องจากสัดส่วนที่ถืออยู่ในปัจจุบันถือว่าน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตของ MACO
ถามว่าจะขอซื้อจากผู้ถือเดิมของ MACO อีกหรือ