โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"กรุงเทพประกันชีวิต" ชู 2 กลยุทธ์ดันธุรกิจ ความน่าเชื่อถือองค์กร และลูกค้ารักษากรมธรรม์ไม่ทิ้งกลางคัน
“กรุงเทพประกันชีวิต” เร่งพัฒนาองค์กร สร้างความก้าวหน้าระยะยาว ชี้ 2 ปัจจัยสนับสนุน ความน่าเชื่อถือองค์กร และลูกค้ารักษากรมธรรม์ไม่ทิ้งกลางคัน ระบุในรอบ 10 ปีมานี้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโตเต็มที่และทวีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับ
นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต เปิดเผยว่า หลังจากประกาศแนวทางการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน เพื่อตั้งเป้าเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจประกันชีวิตแถวหน้าภายในปี 2563 บริษัทก็เดินหน้าปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง
“การที่เราจะก้าวขึ้นไปอยู่ 1 ใน 3 ได้อย่างมั่นคง เราจะต้องเร่งวางรากฐานการจัดการภายใน โดยเฉพาะประเด็นการสร้างคน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ที่ผ่านมากรุงเทพประกันชีวิตเร่งพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ และช่วยกันทำงานเป็นทีม ถัดมาก็ยกระดับมาตรฐานการทำงานของตัวแทนประกันชีวิตและคู่ค้า มาช่วยกันสร้างจุดแข็งต่อยอดการให้บริการที่โดดเด่นมีลักษณะเฉพาะตัว”
ประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่มีผู้เล่นมากรายถึง 24 บริษัท การวางตำแหน่งธุรกิจให้แข็งแรงอยู่ได้ ทุกบริษัทต่างก็เน้นศักยภาพธุรกิจที่แตกต่างกันไป โดยกลยุทธ์หลักๆ ได้แก่ การตอกย้ำความน่าเชื่อถือขององค์กร การออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรภายใน
สำหรับกรุงเทพประกันชีวิต จะมีความโดดเด่นในแง่ของความน่าเชื่อถือเป็นทุนหลักอยู่แล้ว เขาอธิบายว่า เบี้ยประกันเป็นธุรกิจที่ต้องจ่ายเงินก้อนออกไปก่อนแล้วถึงจะได้รับบริการภายหลัง โดยไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกี่ปีข้างหน้า ดังนั้นลูกค้าต้องมั่นใจเต็มร้อยว่าบริษัทมั่นคงและเชื่อถือได้เสมอต้นเสมอปลาย ขณะเดียวกันการผลิตตัวแทนประกันชีวิตให้มีความเป็นมืออาชีพในงานที่ทำ จนได้คุณวุฒิตัวแทนดีเด่นแห่งชาติ (Thailand National Quality Award : TNQA) ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
“หนึ่งในเครื่องมือชี้วัดความสามารถขององค์กรคือ ความยั่งยืนของกรมธรรม์ โดยดูว่าเมื่อลูกค้าซื้อกรมธรรม์ไปแล้วจะรักษาและจ่ายเบี้ยอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เป็นตัวสะท้อนถึงความพึงพอใจในสินค้าและบริการ ประกอบกับการพัฒนาระบบการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้าสูงสุด”
นายโชนกล่าวว่า องค์กรที่ดีและประสบความสำเร็จได้ระยะยาว จะต้องมุ่งมั่นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมถึงธรรมภิบาลซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรยั่งยืน
ปัจจุบันรายได้หลักของกรุงเทพประกันชีวิตมาจากช่องทางจำหน่ายผ่านธนาคาร คิดเป็น 3 ใน 4 ของเบี้ยรับรวม ส่วนที่เหลือมาจากตัวแทนประกันชีวิต และการประกันชีวิตกลุ่ม
หลายปีมานี้แนวโน้มการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต 3 องค์ประกอบแรกที่ยังคงเป็นประเด็นการตัดสินใจคือ 1. ความน่าเชื่อถือของตัวแทนประกันชีวิตที่มานำเสนอ 2. ความเชื่อมั่นในบริษัทประกันฯ และ 3. การตระหนักรับรู้ว่าประกันชีวิตเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสี่ยง และเป็นหลักประกันการดูแลตัวเองในอนาคต
“ประกันชีวิตยังไม่ใช่สินค้าที่ลูกค้าจะคิดไปซื้อเองกับใครก็ได้ แต่เป็นเรื่องของความรู้จัก ความชอบ ความเชื่อใจ และบุคลากรที่มานำเสนอ เราอยู่ในยุคที่ต้องดูแลตัวเองมากขึ้น สวัสดิการพนักงานหรือประกันสุขภาพจากภาครัฐ ให้ได้เพียงขั้นพื้นฐาน แต่ถ้ามากไปกว่านั้นเราต้องดูแลตัวเอง การจูงใจเรื่องสิทธิภาษี หรือความเข้าใจเกี่ยวกับอนาคตของสังคมผู้สูงวัย ทำให้คนไทยเริ่มตื่นตัวมากขึ้น”
ในช่วง 10 ปีมานี้ ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตค่อยๆ เปลี่ยนมุมไปทีละนิด เบี้ยสะสมที่เคยชำระไว้ในอดีต ค่อยๆ ทะยอยออกดอกผล ทั้งจากการเกษียนอายุการทำงาน รวมถึงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
นายโชนกล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตเติบโตขึ้นมาก และลูกค้าเริ่มเห็นประโยชน์ของประกันชีวิตมากขึ้นว่า มันไม่ใช่แค่เบี้ยประกันชีวิต หรือดอกผลกำไรของธุรกิจ แต่เป็นเงินสินไหม หรือเงินครบกำหนด ที่ย้อนกลับมารองรับผู้บริโภคในท้ายที่สุด
“ความชัดเจนจะมีให้เห็นมากขึ้นถึงประโยชน์ของประกันชีวิต เริ่มเป็นกระแสที่กำลังมาแรง แต่ว่ายังต้องใช้เวลา เพราะธุรกิจประกันชีวิตในฟากสถาบันการเงินเพิ่งจะเริ่มในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อายุกรมธรรม์จะกินเวลา 15 ปี พอครบกำหนด ผู้บริโภคก็จะเริ่มเข้าใจว่าทำประกันชีวิตไปทำไม”
ปีนี้กรุงเทพประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยขณะที่ทั้งตลาดโต 15% แต่บริษัทเติบโตมากถึง 40% จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น รวมถึงช่องทางจำหน่ายที่มีศักยภาพ เขามองว่าการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เป้าหมายการเป็นผู้นำชัดเจนมากขึ้นทุกขณะ
'กรุงเทพประกันชีวิต' ชู 2 กลยุทธ์ดันธุรกิจ
"กรุงเทพประกันชีวิต" ชู 2 กลยุทธ์ดันธุรกิจ ความน่าเชื่อถือองค์กร และลูกค้ารักษากรมธรรม์ไม่ทิ้งกลางคัน
“กรุงเทพประกันชีวิต” เร่งพัฒนาองค์กร สร้างความก้าวหน้าระยะยาว ชี้ 2 ปัจจัยสนับสนุน ความน่าเชื่อถือองค์กร และลูกค้ารักษากรมธรรม์ไม่ทิ้งกลางคัน ระบุในรอบ 10 ปีมานี้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโตเต็มที่และทวีบทบาทมากขึ้นเป็นลำดับ
นายโชน โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต เปิดเผยว่า หลังจากประกาศแนวทางการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน เพื่อตั้งเป้าเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจประกันชีวิตแถวหน้าภายในปี 2563 บริษัทก็เดินหน้าปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง
“การที่เราจะก้าวขึ้นไปอยู่ 1 ใน 3 ได้อย่างมั่นคง เราจะต้องเร่งวางรากฐานการจัดการภายใน โดยเฉพาะประเด็นการสร้างคน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ที่ผ่านมากรุงเทพประกันชีวิตเร่งพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ และช่วยกันทำงานเป็นทีม ถัดมาก็ยกระดับมาตรฐานการทำงานของตัวแทนประกันชีวิตและคู่ค้า มาช่วยกันสร้างจุดแข็งต่อยอดการให้บริการที่โดดเด่นมีลักษณะเฉพาะตัว”
ประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่มีผู้เล่นมากรายถึง 24 บริษัท การวางตำแหน่งธุรกิจให้แข็งแรงอยู่ได้ ทุกบริษัทต่างก็เน้นศักยภาพธุรกิจที่แตกต่างกันไป โดยกลยุทธ์หลักๆ ได้แก่ การตอกย้ำความน่าเชื่อถือขององค์กร การออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรภายใน
สำหรับกรุงเทพประกันชีวิต จะมีความโดดเด่นในแง่ของความน่าเชื่อถือเป็นทุนหลักอยู่แล้ว เขาอธิบายว่า เบี้ยประกันเป็นธุรกิจที่ต้องจ่ายเงินก้อนออกไปก่อนแล้วถึงจะได้รับบริการภายหลัง โดยไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกกี่ปีข้างหน้า ดังนั้นลูกค้าต้องมั่นใจเต็มร้อยว่าบริษัทมั่นคงและเชื่อถือได้เสมอต้นเสมอปลาย ขณะเดียวกันการผลิตตัวแทนประกันชีวิตให้มีความเป็นมืออาชีพในงานที่ทำ จนได้คุณวุฒิตัวแทนดีเด่นแห่งชาติ (Thailand National Quality Award : TNQA) ทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
“หนึ่งในเครื่องมือชี้วัดความสามารถขององค์กรคือ ความยั่งยืนของกรมธรรม์ โดยดูว่าเมื่อลูกค้าซื้อกรมธรรม์ไปแล้วจะรักษาและจ่ายเบี้ยอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เป็นตัวสะท้อนถึงความพึงพอใจในสินค้าและบริการ ประกอบกับการพัฒนาระบบการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้าสูงสุด”
นายโชนกล่าวว่า องค์กรที่ดีและประสบความสำเร็จได้ระยะยาว จะต้องมุ่งมั่นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมถึงธรรมภิบาลซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรยั่งยืน
ปัจจุบันรายได้หลักของกรุงเทพประกันชีวิตมาจากช่องทางจำหน่ายผ่านธนาคาร คิดเป็น 3 ใน 4 ของเบี้ยรับรวม ส่วนที่เหลือมาจากตัวแทนประกันชีวิต และการประกันชีวิตกลุ่ม
หลายปีมานี้แนวโน้มการตัดสินใจซื้อประกันชีวิต 3 องค์ประกอบแรกที่ยังคงเป็นประเด็นการตัดสินใจคือ 1. ความน่าเชื่อถือของตัวแทนประกันชีวิตที่มานำเสนอ 2. ความเชื่อมั่นในบริษัทประกันฯ และ 3. การตระหนักรับรู้ว่าประกันชีวิตเป็นเครื่องมือช่วยลดความเสี่ยง และเป็นหลักประกันการดูแลตัวเองในอนาคต
“ประกันชีวิตยังไม่ใช่สินค้าที่ลูกค้าจะคิดไปซื้อเองกับใครก็ได้ แต่เป็นเรื่องของความรู้จัก ความชอบ ความเชื่อใจ และบุคลากรที่มานำเสนอ เราอยู่ในยุคที่ต้องดูแลตัวเองมากขึ้น สวัสดิการพนักงานหรือประกันสุขภาพจากภาครัฐ ให้ได้เพียงขั้นพื้นฐาน แต่ถ้ามากไปกว่านั้นเราต้องดูแลตัวเอง การจูงใจเรื่องสิทธิภาษี หรือความเข้าใจเกี่ยวกับอนาคตของสังคมผู้สูงวัย ทำให้คนไทยเริ่มตื่นตัวมากขึ้น”
ในช่วง 10 ปีมานี้ ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตค่อยๆ เปลี่ยนมุมไปทีละนิด เบี้ยสะสมที่เคยชำระไว้ในอดีต ค่อยๆ ทะยอยออกดอกผล ทั้งจากการเกษียนอายุการทำงาน รวมถึงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
นายโชนกล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตเติบโตขึ้นมาก และลูกค้าเริ่มเห็นประโยชน์ของประกันชีวิตมากขึ้นว่า มันไม่ใช่แค่เบี้ยประกันชีวิต หรือดอกผลกำไรของธุรกิจ แต่เป็นเงินสินไหม หรือเงินครบกำหนด ที่ย้อนกลับมารองรับผู้บริโภคในท้ายที่สุด
“ความชัดเจนจะมีให้เห็นมากขึ้นถึงประโยชน์ของประกันชีวิต เริ่มเป็นกระแสที่กำลังมาแรง แต่ว่ายังต้องใช้เวลา เพราะธุรกิจประกันชีวิตในฟากสถาบันการเงินเพิ่งจะเริ่มในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อายุกรมธรรม์จะกินเวลา 15 ปี พอครบกำหนด ผู้บริโภคก็จะเริ่มเข้าใจว่าทำประกันชีวิตไปทำไม”
ปีนี้กรุงเทพประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยขณะที่ทั้งตลาดโต 15% แต่บริษัทเติบโตมากถึง 40% จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น รวมถึงช่องทางจำหน่ายที่มีศักยภาพ เขามองว่าการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เป้าหมายการเป็นผู้นำชัดเจนมากขึ้นทุกขณะ