สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -17 ธ.ค. 57 12:18 น.
เป็นที่แน่นอนว่า ในขณะนี้ทุกสายตากำลังจับจ้องไปยังสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินในรัสเซียอย่างไม่วางสายตา หลังจากเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางรัสเซียตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 10.5% เป็น 17% เพื่อพยุงค่าเงินรูเบิลไม่ให้อ่อนค่าลงอีก ขณะที่ก่อนหน้านี้ได้ใช้เงินในทุนสำรองระหว่างประเทศแล้ว 90 พันล้านดอลลาร์ในการแทรกแซงค่าเงินรูเบิล แต่ทว่าการพยุงค่าเงินฯ ดังกล่าวทำได้เพียงช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น โดยค่าเงินรูเบิลแข็งค่าขึ้นได้เกือบ 10% หลังการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ให้หลังเพียงหนึ่งวัน เงินรูเบิลกลับอ่อนค่าลงอีกเกือบ 20% รวมในปีนี้อ่อนค่าลงแล้วกว่า 40% ผลที่จะตามมานับจากนี้จะใหญ่หลวงเพียงใด และจะลุกลามถึงขึ้นเกิดวิกฤตการเงินเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 1997-1998 หรือไม่ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะประเมิน แต่ทว่าผลกระทบเบื้องต้นที่ปรากฎออกมาและพอจะเห็นได้ว่า ปัญหาใดกำลังจะตามมา ก็ดูจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกได้มากพอควร การอ่อนค่าลงอย่างหนักของเงินรูเบิลเบื้องต้นย่อมทำให้ต้นทุนทางการเงินของรัสเซีย และภาระหนี้ต่างประเทศของรัสเซียเพิ่มขึ้นตามอัตราการอ่อนค่าลงนั่นเอง ถึงแม้ว่ารัสเซียจะมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยมีอยู่กว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แม้การล้มละลายจะไม่เกิดขึ้นทันที เหมือนเช่นกรณีประเทศไทยในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่หากเงินรูเบิลอ่อนค่าลงอยู่ต่อไปโดยปราศจากแนวรับ ความเสียหายที่ร้ายแรงย่อมจะเกิดขึ้นแก่ภาคการเงินและเศรษฐกิจของรัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนั่นอาจส่งผลต่อประเทศเจ้าหนี้และประเทศคู่ค้าของรัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เป็นที่ทราบดีว่ารัสเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดิอาระเบีย และมีรายได้หลักจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อราคาน้ำมันลดลงจากการทำสงครามราคาน้ำมันระหว่างสหรัฐฯ และโอเปก รัสเซียย่อมจะได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่รุนแรง ทั้งเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากพันธมิตรตะวันตก ยิ่งได้รับแรงกดดันทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ซึ่งรัฐบาลรัสเซียคาดว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจอาจคิดเป็นมูลค่ากว่า 140 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่ใช่จำนวนที่น้อย ดังนั้น ตราบที่ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่องจนถึงปีหน้า ความหวังที่เงินรูเบิลของรัสเซียจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นย่อมเลือนลาง และหากเป็นเช่นนี้เนิ่นนานไป วิกฤตการเงินตลาดเกิดใหม่ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 1997-1998 ย่อมจะปรากฎภาพชัดขึ้นก็เป็นได้ จริงอยู่สกุลเงินรูเบิลของรัสเซียนั้นไม่มีบทบาทสำคัญเท่าไรในตลาดเงินตลาดทุนโลก และไม่ใช่สกุลเงินหลักในทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เพราะเหตุนี้วิกฤตการเงินโลกจะไม่เกิดขึ้น เพราะได้พิสูจน์มาแล้วในประวัติการณ์ภาคการเงินว่า เงินบาทของไทย ซึ่งไม่ใช่สกุลเงินหลักของโลกเช่นกัน แต่เมื่อลอยตัวค่าเงินบาทแล้วเท่านั้น กลับก่อให้เกิดวิกฤตการเงินลุกลามเป็นโดมิโน ดังนั้น จึงไม่ควรวางใจต่อกรณีวิกฤตค่าเงินรัสเซียครั้งนี้เช่นกัน ปัญหาที่คาดว่า จะเกิดขึ้นหลังเงินรูเบิลอ่อนค่าลงหนักอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ที่เห็นได้ชัดคงจะเป็นความเสี่ยงที่ภาคธุรกิจรัสเซียจะผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากต้นทุนหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น และความเสี่ยงที่รัสเซียจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงสู่ระดับตราสารขยะ ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกคงจะได้เตรียมการพิจารณาลดอันดับความน่าเชื่อถือรัสเซียไว้แล้ว รอเพียงการประกาศออกมาเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าหนี้ผู้ถือพันธบัตรและตราสารหนี้ของรัสเซียย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วยไม่มากก็น้อย และมีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดภาวะตึงตัวของภาคการเงินตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ย่อมลดลง ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ออกตราสารทั้งที่เป็นภาครัฐและภาคเอกชนในตลาดเกิดใหม่ให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะนี้มีคำเตือนจากผู้บริหารกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ เฮดจ์ฟันด์ที่เคยผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งมาแล้วระบุว่า วิกฤตค่าเงินรูเบิลมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตลาดเงิน ตลาดทุนโลก โดยระบุว่า 'เป็นความเจ็บปวดที่ต้องเตรียมรับมือ' ซึ่งก็ยังต้องติดตามว่าความเจ็บปวดที่จะตามมานั้นจะเป็นไปในลักษณะใด และจะรุนแรงเพียงใด ผู้ที่ให้คำเตือนดังกล่าวคือ นาย'สตีเฟ่น เจน' ผู้บริหารกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ เฮดจ์ฟันด์ที่ชื่อว่า เอสแอลเจแมคโครพาร์ทเนอร์ในลอนดอน โดยเตือนว่า วิกฤตค่าเงินรูเบิลมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตลาดเงิน ตลาดทุนโลก โดยประเมินจากประสบการณ์ที่เคยประสบมา ในช่วงต้นเดือนมกราคมปี 1997 เขาได้ทำงานในตำแหน่งนักกลยุทธ์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่มอร์แกนสแตนเลย์ ภูมิภาคเอเชีย และได้เห็นสถานการณ์ในขณะนั้นมีลักษณะคล้ายกับที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งขณะนั้นนักลงทุนต่างเก็งกำไรค่าเงิน สกุลเงินที่คาดว่าจะมีการประกาศลดค่าเงิน เริ่มจากเงินบาทของไทย ก่อนขยายไปยังสกุลเงินเรียลของบราซิล และเงินรูเบิลของรัสเซีย และได้แสดงความกังวลว่า นักวิเคราะห์ในตลาดเกิดใหม่ขณะนี้อาจมีประสบการณ์น้อย และยังอยู่ในวัยเยาว์ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินปี 1998 ทำให้จำเหตุการณ์ในขณะนั้นไม่ได้ แต่ทันเหตุการณ์เฉพาะในช่วงที่กลุ่ม BRIC หรือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีนมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจขึ้นมามากแล้ว นักวิเคราะห์หลายคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเกิดใหม่หลังจาก BRIC เริ่มก่อตั้งขึ้นแล้ว จึงไม่รู้ว่าเกิดวิกฤตร้ายแรงอะไรขึ้นก่อนหน้านั้น ในช่วงนั้น นักวิเคราะห์เหล่านั้นอาจยังศึกษาอยู่ในโรงเรียน ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ท่านนี้เห็นว่า วิกฤตการเงินปี 1997-1998 อาจกำลังจะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง ดังจะเห็นได้ว่า ค่าเงินรูเบิลยังคงอ่อนค่าแม้ธนาคารกลางรัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 10.5% เป็น 17% เวเนซูเอล่าเสี่ยงเป็นประเทศผิดนัดชำระหนี้ และดัชนีตลาดหุ้นไทยและบราซิลลดลงอย่างหนักในช่วงไม่กี่วันที่ผ่าน ทั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดยังไม่ทันจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายด้วยซ้ำ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่คล้ายคลึงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงินภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกันหลายคนกังวลว่า ความเดือดร้อนที่รัสเซียกำลังเผชิญอยู่นี้เป็นผลที่เกิดจากการออกแบบโดยสหรัฐฯ ซึ่งต้องการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียอย่างหนักเพื่อลดเขี้ยวเล็บในภูมิภาคยุโรปตะวันออก และให้เลิกแทรกแซงกิจการภายในของยูเครน จึงได้ใช้ราคาน้ำมันกดดันรัสเซีย ซึ่งกำลังกลายเป็นภาพของสงครามเย็นทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ยังไม่ปรากฎออกมาจากทางรัสเซียคือ การตอบโต้สหรัฐฯ ความเงียบนี้เองคือความเสี่ยงที่น่ากังวล เพราะเป็นไปไม่ได้ที่รัสเซียจะยอมถูกกระทำฝ่ายเดียว แต่ทว่ายังคาดเดาไม่ได้เท่านั้นว่า รัสเซียจะใช้มาตรการใดตอบโต้ ซึ่งต้องภาวนาว่า ขออย่าให้เป็นมาตรการยั่วยุทางทหาร หรือ มาตรการใดๆที่จะทำให้เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งกันเลย จริงอยู่ว่า การสร้างความขัดแย้งยั่วยุทางการทหารจะช่วยให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวได้อย่างเห็นผล แต่ทั้งโลกย่อมภาวนาว่า ขอให้รัสเซียมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านั้น เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่เพียงสึนามิทางการเงิน แต่อาจจะลุกลามถึงขนาดเป็นสึนามิทางความมั่นคงของโลกนั่นเอง
ทีมข่าวต่างประเทศ eFinanceThai.com
จับตาวิกฤตค่าเงินรูเบิล : สึนามิลูกใหม่ตลาดเงินตลาดทุนโลก
เป็นที่แน่นอนว่า ในขณะนี้ทุกสายตากำลังจับจ้องไปยังสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินในรัสเซียอย่างไม่วางสายตา หลังจากเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางรัสเซียตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 10.5% เป็น 17% เพื่อพยุงค่าเงินรูเบิลไม่ให้อ่อนค่าลงอีก ขณะที่ก่อนหน้านี้ได้ใช้เงินในทุนสำรองระหว่างประเทศแล้ว 90 พันล้านดอลลาร์ในการแทรกแซงค่าเงินรูเบิล แต่ทว่าการพยุงค่าเงินฯ ดังกล่าวทำได้เพียงช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น โดยค่าเงินรูเบิลแข็งค่าขึ้นได้เกือบ 10% หลังการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ให้หลังเพียงหนึ่งวัน เงินรูเบิลกลับอ่อนค่าลงอีกเกือบ 20% รวมในปีนี้อ่อนค่าลงแล้วกว่า 40% ผลที่จะตามมานับจากนี้จะใหญ่หลวงเพียงใด และจะลุกลามถึงขึ้นเกิดวิกฤตการเงินเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 1997-1998 หรือไม่ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะประเมิน แต่ทว่าผลกระทบเบื้องต้นที่ปรากฎออกมาและพอจะเห็นได้ว่า ปัญหาใดกำลังจะตามมา ก็ดูจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกได้มากพอควร การอ่อนค่าลงอย่างหนักของเงินรูเบิลเบื้องต้นย่อมทำให้ต้นทุนทางการเงินของรัสเซีย และภาระหนี้ต่างประเทศของรัสเซียเพิ่มขึ้นตามอัตราการอ่อนค่าลงนั่นเอง ถึงแม้ว่ารัสเซียจะมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยมีอยู่กว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แม้การล้มละลายจะไม่เกิดขึ้นทันที เหมือนเช่นกรณีประเทศไทยในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่หากเงินรูเบิลอ่อนค่าลงอยู่ต่อไปโดยปราศจากแนวรับ ความเสียหายที่ร้ายแรงย่อมจะเกิดขึ้นแก่ภาคการเงินและเศรษฐกิจของรัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนั่นอาจส่งผลต่อประเทศเจ้าหนี้และประเทศคู่ค้าของรัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เป็นที่ทราบดีว่ารัสเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดิอาระเบีย และมีรายได้หลักจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อราคาน้ำมันลดลงจากการทำสงครามราคาน้ำมันระหว่างสหรัฐฯ และโอเปก รัสเซียย่อมจะได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่รุนแรง ทั้งเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากพันธมิตรตะวันตก ยิ่งได้รับแรงกดดันทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ซึ่งรัฐบาลรัสเซียคาดว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจอาจคิดเป็นมูลค่ากว่า 140 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่ใช่จำนวนที่น้อย ดังนั้น ตราบที่ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่องจนถึงปีหน้า ความหวังที่เงินรูเบิลของรัสเซียจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นย่อมเลือนลาง และหากเป็นเช่นนี้เนิ่นนานไป วิกฤตการเงินตลาดเกิดใหม่ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 1997-1998 ย่อมจะปรากฎภาพชัดขึ้นก็เป็นได้ จริงอยู่สกุลเงินรูเบิลของรัสเซียนั้นไม่มีบทบาทสำคัญเท่าไรในตลาดเงินตลาดทุนโลก และไม่ใช่สกุลเงินหลักในทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เพราะเหตุนี้วิกฤตการเงินโลกจะไม่เกิดขึ้น เพราะได้พิสูจน์มาแล้วในประวัติการณ์ภาคการเงินว่า เงินบาทของไทย ซึ่งไม่ใช่สกุลเงินหลักของโลกเช่นกัน แต่เมื่อลอยตัวค่าเงินบาทแล้วเท่านั้น กลับก่อให้เกิดวิกฤตการเงินลุกลามเป็นโดมิโน ดังนั้น จึงไม่ควรวางใจต่อกรณีวิกฤตค่าเงินรัสเซียครั้งนี้เช่นกัน ปัญหาที่คาดว่า จะเกิดขึ้นหลังเงินรูเบิลอ่อนค่าลงหนักอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ที่เห็นได้ชัดคงจะเป็นความเสี่ยงที่ภาคธุรกิจรัสเซียจะผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากต้นทุนหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น และความเสี่ยงที่รัสเซียจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงสู่ระดับตราสารขยะ ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกคงจะได้เตรียมการพิจารณาลดอันดับความน่าเชื่อถือรัสเซียไว้แล้ว รอเพียงการประกาศออกมาเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าหนี้ผู้ถือพันธบัตรและตราสารหนี้ของรัสเซียย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วยไม่มากก็น้อย และมีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดภาวะตึงตัวของภาคการเงินตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ย่อมลดลง ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ออกตราสารทั้งที่เป็นภาครัฐและภาคเอกชนในตลาดเกิดใหม่ให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะนี้มีคำเตือนจากผู้บริหารกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ เฮดจ์ฟันด์ที่เคยผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งมาแล้วระบุว่า วิกฤตค่าเงินรูเบิลมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตลาดเงิน ตลาดทุนโลก โดยระบุว่า 'เป็นความเจ็บปวดที่ต้องเตรียมรับมือ' ซึ่งก็ยังต้องติดตามว่าความเจ็บปวดที่จะตามมานั้นจะเป็นไปในลักษณะใด และจะรุนแรงเพียงใด ผู้ที่ให้คำเตือนดังกล่าวคือ นาย'สตีเฟ่น เจน' ผู้บริหารกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ เฮดจ์ฟันด์ที่ชื่อว่า เอสแอลเจแมคโครพาร์ทเนอร์ในลอนดอน โดยเตือนว่า วิกฤตค่าเงินรูเบิลมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตลาดเงิน ตลาดทุนโลก โดยประเมินจากประสบการณ์ที่เคยประสบมา ในช่วงต้นเดือนมกราคมปี 1997 เขาได้ทำงานในตำแหน่งนักกลยุทธ์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่มอร์แกนสแตนเลย์ ภูมิภาคเอเชีย และได้เห็นสถานการณ์ในขณะนั้นมีลักษณะคล้ายกับที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งขณะนั้นนักลงทุนต่างเก็งกำไรค่าเงิน สกุลเงินที่คาดว่าจะมีการประกาศลดค่าเงิน เริ่มจากเงินบาทของไทย ก่อนขยายไปยังสกุลเงินเรียลของบราซิล และเงินรูเบิลของรัสเซีย และได้แสดงความกังวลว่า นักวิเคราะห์ในตลาดเกิดใหม่ขณะนี้อาจมีประสบการณ์น้อย และยังอยู่ในวัยเยาว์ในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินปี 1998 ทำให้จำเหตุการณ์ในขณะนั้นไม่ได้ แต่ทันเหตุการณ์เฉพาะในช่วงที่กลุ่ม BRIC หรือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีนมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจขึ้นมามากแล้ว นักวิเคราะห์หลายคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดเกิดใหม่หลังจาก BRIC เริ่มก่อตั้งขึ้นแล้ว จึงไม่รู้ว่าเกิดวิกฤตร้ายแรงอะไรขึ้นก่อนหน้านั้น ในช่วงนั้น นักวิเคราะห์เหล่านั้นอาจยังศึกษาอยู่ในโรงเรียน ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ท่านนี้เห็นว่า วิกฤตการเงินปี 1997-1998 อาจกำลังจะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง ดังจะเห็นได้ว่า ค่าเงินรูเบิลยังคงอ่อนค่าแม้ธนาคารกลางรัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 10.5% เป็น 17% เวเนซูเอล่าเสี่ยงเป็นประเทศผิดนัดชำระหนี้ และดัชนีตลาดหุ้นไทยและบราซิลลดลงอย่างหนักในช่วงไม่กี่วันที่ผ่าน ทั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดยังไม่ทันจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายด้วยซ้ำ เหล่านี้เป็นสัญญาณที่คล้ายคลึงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการเงินภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกันหลายคนกังวลว่า ความเดือดร้อนที่รัสเซียกำลังเผชิญอยู่นี้เป็นผลที่เกิดจากการออกแบบโดยสหรัฐฯ ซึ่งต้องการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียอย่างหนักเพื่อลดเขี้ยวเล็บในภูมิภาคยุโรปตะวันออก และให้เลิกแทรกแซงกิจการภายในของยูเครน จึงได้ใช้ราคาน้ำมันกดดันรัสเซีย ซึ่งกำลังกลายเป็นภาพของสงครามเย็นทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ยังไม่ปรากฎออกมาจากทางรัสเซียคือ การตอบโต้สหรัฐฯ ความเงียบนี้เองคือความเสี่ยงที่น่ากังวล เพราะเป็นไปไม่ได้ที่รัสเซียจะยอมถูกกระทำฝ่ายเดียว แต่ทว่ายังคาดเดาไม่ได้เท่านั้นว่า รัสเซียจะใช้มาตรการใดตอบโต้ ซึ่งต้องภาวนาว่า ขออย่าให้เป็นมาตรการยั่วยุทางทหาร หรือ มาตรการใดๆที่จะทำให้เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งกันเลย จริงอยู่ว่า การสร้างความขัดแย้งยั่วยุทางการทหารจะช่วยให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวได้อย่างเห็นผล แต่ทั้งโลกย่อมภาวนาว่า ขอให้รัสเซียมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านั้น เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่เพียงสึนามิทางการเงิน แต่อาจจะลุกลามถึงขนาดเป็นสึนามิทางความมั่นคงของโลกนั่นเอง
ทีมข่าวต่างประเทศ eFinanceThai.com