เพราะล่าสุด ธนาคารกลางรัสเซียประกาศขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 17% เพื่อสกัดการร่วงของค่าเงิน Ruble ที่ไหลลงแรงจากการปรับลดลงของราคาน้ำมันเกือบๆ 50% ภายใน 2 เดือน แต่ค่าเงินยังไหลร่วงยาวจนน่ากลัว
สิ่งนี้ จึงยิ่งทำให้มีคำถามว่า
1. เหตุการณ์ครั้งนี้ จะลุกลามไปเป็นวิกฤตไหม
2. แท้จริง ราคาน้ำมันปรับตัวลงเร็วแบบนี้ เกิดจากอะไร?
จุดเริ่มต้นของตอนนั้นก็คือ Asian financial crisis ในปี 1997 ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทยเรานั้นเองครับ หลังจากนั้นหนึ่งปี ประเทศไหนที่ Fixed ค่าเงินตัวเองเหมือนกับประเทศไทย ก็โดนเล่นงานกันถ้วนหน้า และนั้นก็ตามมาด้วย Russian Financial Crisis จริงๆแล้ว ปัญหาในครั้งนั้น มันไม่ได้เกิดจากการผูกค่าเงินตัวเองกับค่าเงินสกุลหลักๆอย่างดอลล่าร์เพียงอย่างเดียว แต่มันเริ่มจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจาก $26 ในปี 1997 ลดลงเหลือเพียงแค่ $10 ในปี 1998 ทำให้ส่งออกน้ำมันได้น้อยลง และตามมาด้วยการขาดดุลกากรค้าอย่างมหาศาล
ดังนั้น การผิดนัดชำระหนี้ และปล่อยค่าเงิน Ruble ลอยตัวในปี 1998 นั้น เป็นผลพวงมาจากสองปัจจัย คือ เกิดวิกฤต และการชะลอตัวของ Demand ต่อสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศอย่างน้ำมัน และอีกประการก็คือ การมั่นใจกับกลไกระบบเศรษฐกิจตัวเองเกินไป และไม่ปล่อยค่าเงินให้เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ
ดูความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันกับเศรษฐกิจรัสเซียตามภาพด้านล่างครับ
วิกฤตต้มยำกุ้งครั้งนั้น เล่นงานนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยเรียกว่าหนักหนาสาหัส ประกอบกับเหตุการณ์นั้นกระทบไปถึงเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้าง จึงทำให้นักลงทุนในตอนนี้ หวนกลับไปคิดว่า เหตุการณ์ในวันนั้น มันจะซ้ำรอยในวันนี้หรือไม่
ผมมองว่า ณ สถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกมีภูมิคุ้มกันดีกว่า 16 ปีก่อนค่อนข้างมาก
เริ่มจาก นโยบายการเงินที่ปัจจุบัน มีความเสรีมากขึ้น ถึงแม้จะมีการแทรกแซงในบางช่วงจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศ แต่ก็ต้องถือว่า ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดพอสมควร อย่างสมมติ ค่าเงินของประเทศหนึ่งอ่อนค่ามากๆ ก็สามารถส่งออกได้ดีขึ้น เพราะราคาสินค้าถูกลงเมื่ออยู่ในตลาดโลก เป็นต้น ดังนั้น การทุ่มตลาด หรือการเข้ามาพยายามแสวงหาประโยชน์ของ Hedge Fund แบบในอดีตผ่านทางช่องทางนี้ ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ
ระดับหนี้สินต่อจีดีพี ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงจนน่ากลัวเหมือนช่วงวิกฤตครั้งก่อนๆ และทุนสำรองในประเทศ ก็มีการสะสมในรูปแบบสกุลอื่น หรือสินทรัพย์อื่นเพื่อการกระจายความเสี่ยง (แต่ประเด็นนี้ ดันกลายเป็นกับดัก เนื่องจากค่าเงิน USD ยังคงแข็งค่า ในชณะที่ราคาทอง ที่ธนาคารกลางหลายประเทศเฝ้าพยายามสะสมกลับราคาหล่นลงมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา) แต่เอาเป็นว่า ยังมีเงินทุนสำรองเหลือเฟือที่จะยื้อไม่ให้เกิดวิกฤตได้เร็วเหมือนก่อน
ระดับอัตราดอกเบี้ย ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากๆเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตครั้งก่อนๆ ดังนั้น ในแง่ของภาคเอกชน ต้นทุนการกู้ยืม ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวลมากนัก
แต่ในขณะเดียวกัน วิกฤตราคาน้ำมันครั้งนี้ ก็มีอีกมติที่ต้องระวัง
นั้นก็คือ เกมส์พลังงานครั้งนี้ มันเป็น Subset ของเกมส์การเงิน และการพยายามเปลี่ยนขั้วอำนาจพลังงานของโลกเรา ภาพใหญ่นั้น การผลิต Shale Gas และ Shale Oil ในสหรัฐฯได้ ทำให้สหรัฐฯลดการนำเข้าน้ำมัน และทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้นแรงเหมือนก่อนไม่ได้ เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง และทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯเติบโตได้ค่อนข้างดี หากเทคโนโลยี Shale Gas และ Shale Oil สามารถทำให้ตัวเองเป็น Clean Energy และลดต้นทุนการผลิตที่มีอยู่สูงได้ ความน่าสนใจคือ จากเดิม สหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าพลังงานเบอร์หนึ่งของโลก จะเปลี่ยนนโยบายเป็นผู้ส่งออกแทนหรือไม่ (เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ The White House ว่าคิดอะไรอยู่) แต่หากเราลองคิดดูว่า ถ้าสหรัฐฯ เปลี่ยนยุทธศาสตร์พลังงาน เพื่อกุมอำนาจทางพลังงานของโลกจริงๆ ก็หมายความว่า ดุลยภาพด้านพลังงานของโลกกำลังเปลี่ยนไป
ดังนั้น กลุ่ม OPEC ในฐานะผู้กุมกำลังการผลิตเกินกว่า 40% ย่อมไม่อยากให้เกิดภาพนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่รู้เจตนาที่ชัดเจนของสหรัฐฯว่า ต้องการผลิตและเป็นไว้เป็นพลังงานสำรองเพื่อความั่นคงของตัวเอง หรืออยากออกมาเล่นบทคุมอำนาจโลกอีกทาง (นอกจากการเงิน และการทหาร) ก็ต้องวางกลยุทธ์ในการรับมือ
แสดงว่า ...
ผมเชื่อว่า ราคาน้ำมันปรับตัวลงรุนแรงรอบนี้ ไม่ได้เกิดตามกลไกธรรมชาติ และมีความพยายามกดราคา และรัสเซียแค่เข้าไปอยู่ในเกมส์ระหว่าง สหรัฐฯ และ กลุ่ม OPEC ในช่วงเวลาที่ตัวเองเปราะบางอยู่แล้ว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ทีจะโดนหนัก แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป เราจะเห็นว่า ผู้ใดได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้จริงๆ
ปัญหาคือ กว่าเราจะเห็นว่าผู้ใดได้ประโยชน์ และเป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ความผันผวน หรือ Side Effect ของมัน จะไปทำให้ปัญหาที่ไหนที่ซุกไว้ใต้พรม โผล่ขึ้นมาจนกลายเป็น Domino เหมือนรอบก่อนๆรึเปล่า
ในฐานะนักลงทุน เราคงต้องย้อนกลับไปมองที่ Valuation ของบริษัท และรักษาวินัยในการลงทุน บวกกับถือเงินสดในมือไว้ เพราะในทุกวิกฤต มันมีโอกาสอยู่เสมอ
---------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ
$$... วิกฤตน้ำมันครั้งนี้ จะเหมือนตอนรัสเซียผิดนัดชำระหนี้ปี 1998 หรือเปล่า? ...$$
สิ่งนี้ จึงยิ่งทำให้มีคำถามว่า
1. เหตุการณ์ครั้งนี้ จะลุกลามไปเป็นวิกฤตไหม
2. แท้จริง ราคาน้ำมันปรับตัวลงเร็วแบบนี้ เกิดจากอะไร?
จุดเริ่มต้นของตอนนั้นก็คือ Asian financial crisis ในปี 1997 ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทยเรานั้นเองครับ หลังจากนั้นหนึ่งปี ประเทศไหนที่ Fixed ค่าเงินตัวเองเหมือนกับประเทศไทย ก็โดนเล่นงานกันถ้วนหน้า และนั้นก็ตามมาด้วย Russian Financial Crisis จริงๆแล้ว ปัญหาในครั้งนั้น มันไม่ได้เกิดจากการผูกค่าเงินตัวเองกับค่าเงินสกุลหลักๆอย่างดอลล่าร์เพียงอย่างเดียว แต่มันเริ่มจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจาก $26 ในปี 1997 ลดลงเหลือเพียงแค่ $10 ในปี 1998 ทำให้ส่งออกน้ำมันได้น้อยลง และตามมาด้วยการขาดดุลกากรค้าอย่างมหาศาล
ดังนั้น การผิดนัดชำระหนี้ และปล่อยค่าเงิน Ruble ลอยตัวในปี 1998 นั้น เป็นผลพวงมาจากสองปัจจัย คือ เกิดวิกฤต และการชะลอตัวของ Demand ต่อสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศอย่างน้ำมัน และอีกประการก็คือ การมั่นใจกับกลไกระบบเศรษฐกิจตัวเองเกินไป และไม่ปล่อยค่าเงินให้เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ
ดูความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันกับเศรษฐกิจรัสเซียตามภาพด้านล่างครับ
วิกฤตต้มยำกุ้งครั้งนั้น เล่นงานนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยเรียกว่าหนักหนาสาหัส ประกอบกับเหตุการณ์นั้นกระทบไปถึงเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้าง จึงทำให้นักลงทุนในตอนนี้ หวนกลับไปคิดว่า เหตุการณ์ในวันนั้น มันจะซ้ำรอยในวันนี้หรือไม่
ผมมองว่า ณ สถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกมีภูมิคุ้มกันดีกว่า 16 ปีก่อนค่อนข้างมาก
เริ่มจาก นโยบายการเงินที่ปัจจุบัน มีความเสรีมากขึ้น ถึงแม้จะมีการแทรกแซงในบางช่วงจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศ แต่ก็ต้องถือว่า ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดพอสมควร อย่างสมมติ ค่าเงินของประเทศหนึ่งอ่อนค่ามากๆ ก็สามารถส่งออกได้ดีขึ้น เพราะราคาสินค้าถูกลงเมื่ออยู่ในตลาดโลก เป็นต้น ดังนั้น การทุ่มตลาด หรือการเข้ามาพยายามแสวงหาประโยชน์ของ Hedge Fund แบบในอดีตผ่านทางช่องทางนี้ ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ
ระดับหนี้สินต่อจีดีพี ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงจนน่ากลัวเหมือนช่วงวิกฤตครั้งก่อนๆ และทุนสำรองในประเทศ ก็มีการสะสมในรูปแบบสกุลอื่น หรือสินทรัพย์อื่นเพื่อการกระจายความเสี่ยง (แต่ประเด็นนี้ ดันกลายเป็นกับดัก เนื่องจากค่าเงิน USD ยังคงแข็งค่า ในชณะที่ราคาทอง ที่ธนาคารกลางหลายประเทศเฝ้าพยายามสะสมกลับราคาหล่นลงมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา) แต่เอาเป็นว่า ยังมีเงินทุนสำรองเหลือเฟือที่จะยื้อไม่ให้เกิดวิกฤตได้เร็วเหมือนก่อน
ระดับอัตราดอกเบี้ย ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากๆเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตครั้งก่อนๆ ดังนั้น ในแง่ของภาคเอกชน ต้นทุนการกู้ยืม ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวลมากนัก
แต่ในขณะเดียวกัน วิกฤตราคาน้ำมันครั้งนี้ ก็มีอีกมติที่ต้องระวัง
นั้นก็คือ เกมส์พลังงานครั้งนี้ มันเป็น Subset ของเกมส์การเงิน และการพยายามเปลี่ยนขั้วอำนาจพลังงานของโลกเรา ภาพใหญ่นั้น การผลิต Shale Gas และ Shale Oil ในสหรัฐฯได้ ทำให้สหรัฐฯลดการนำเข้าน้ำมัน และทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้นแรงเหมือนก่อนไม่ได้ เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง และทำให้กำไรบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯเติบโตได้ค่อนข้างดี หากเทคโนโลยี Shale Gas และ Shale Oil สามารถทำให้ตัวเองเป็น Clean Energy และลดต้นทุนการผลิตที่มีอยู่สูงได้ ความน่าสนใจคือ จากเดิม สหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าพลังงานเบอร์หนึ่งของโลก จะเปลี่ยนนโยบายเป็นผู้ส่งออกแทนหรือไม่ (เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ The White House ว่าคิดอะไรอยู่) แต่หากเราลองคิดดูว่า ถ้าสหรัฐฯ เปลี่ยนยุทธศาสตร์พลังงาน เพื่อกุมอำนาจทางพลังงานของโลกจริงๆ ก็หมายความว่า ดุลยภาพด้านพลังงานของโลกกำลังเปลี่ยนไป
ดังนั้น กลุ่ม OPEC ในฐานะผู้กุมกำลังการผลิตเกินกว่า 40% ย่อมไม่อยากให้เกิดภาพนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่รู้เจตนาที่ชัดเจนของสหรัฐฯว่า ต้องการผลิตและเป็นไว้เป็นพลังงานสำรองเพื่อความั่นคงของตัวเอง หรืออยากออกมาเล่นบทคุมอำนาจโลกอีกทาง (นอกจากการเงิน และการทหาร) ก็ต้องวางกลยุทธ์ในการรับมือ
แสดงว่า ...
ผมเชื่อว่า ราคาน้ำมันปรับตัวลงรุนแรงรอบนี้ ไม่ได้เกิดตามกลไกธรรมชาติ และมีความพยายามกดราคา และรัสเซียแค่เข้าไปอยู่ในเกมส์ระหว่าง สหรัฐฯ และ กลุ่ม OPEC ในช่วงเวลาที่ตัวเองเปราะบางอยู่แล้ว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ทีจะโดนหนัก แต่สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป เราจะเห็นว่า ผู้ใดได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้จริงๆ
ปัญหาคือ กว่าเราจะเห็นว่าผู้ใดได้ประโยชน์ และเป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้ ความผันผวน หรือ Side Effect ของมัน จะไปทำให้ปัญหาที่ไหนที่ซุกไว้ใต้พรม โผล่ขึ้นมาจนกลายเป็น Domino เหมือนรอบก่อนๆรึเปล่า
ในฐานะนักลงทุน เราคงต้องย้อนกลับไปมองที่ Valuation ของบริษัท และรักษาวินัยในการลงทุน บวกกับถือเงินสดในมือไว้ เพราะในทุกวิกฤต มันมีโอกาสอยู่เสมอ
---------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ