โดย : สาวิตรี รินวงษ์
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
น้องใหม่ในวงการอสังหาฯแต่ชื่อ'สิงห์' เป็นแต้มต่อได้หลายขุมโดยCEO หน้าเก่า 'นริศ เชยกลิ่น' นำทัพสู่ความยิ่งใหญ่
“อยากให้มาสร้างธุรกิจด้วยกัน !!” นี่เป็นประโยคเอ่ยปากชวนของ “หนู ชญานิน เทพาคำ” กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หลานหัวแก้วหัวแหวนของ "สันติ ภิรมย์ภักดี" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ออกปากชวน มีอิทธิพต่อการโยกย้ายสายงาน “ขุนคลัง” ของอดีตบมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น อย่าง “นริศ เชยกลิ่น” ผู้ซึ่งทำงานกับ “ยักษ์ใหญ่ค้าปลีก” เบอร์ 1 ของไทย มานานถึง 16 ปีครึ่ง
ทว่า...วันนี้เขาขอมาสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้วงการธุรกิจ ภายใต้ชายคา “บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด(มหาชน)” ในเครือบุญรอด หลังจากใช้เวลาหลายเดือนเพื่อขบคิดก่อนตัดสินใจ บ๊ายบายบ้านเก่า เพื่อมาอยู่ “สิงห์” พร้อมนั่งเก้าอี้ใหม่ที่มีบทบาทมากขึ้นในตำแหน่ง “ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” แม่ทัพคนสำคัญที่กุมบังเหียนธุรกิจ “อสังหาริมทรัพย์” 1 ใน 5 เสาหลักธุรกิจของกลุ่มบุญรอด
“คุณชญานิน เป็นคนชวนผมมาทำงานที่นี่ ตอนนั้นเขาพูดประโยคที่ว่า อยากให้มาสร้างธุรกิจด้วยกัน คืออสังหาริมทรัพย์ บุญรอดเองก็อยากทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว ถ้ามีโอกาสทำอะไรอย่างที่อยากทำ ก็เลยตัดสินใจมา และหากดูโครงสร้างของที่นี่ ก็ให้ Free hand (อิสระ) ค่อนข้างมาก” นริศให้เหตุผล ก่อนจะขยายความว่า
ทำงานกับซีพีเอ็นมานาน เรียกว่ารู้หมดทุกเรื่องแล้ว ไม่มีอะไรที่ยังไม่รู้ และไม่ตื่นเต้นแล้ว นั่นคืออีกหนึ่ง "จุดเปลี่ยน"
ระยะเวลา 8-9 เดือนของ “ผู้นำ” ได้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นกับธุรกิจอสังหาฯของบุญรอด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปซื้อกิจการและเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบมจ.รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สิงห์ เอสเตท” ในภายหลัง จนมากถึงการประกาศวิสัยทัศน์ธุรกิจอย่างเป็นทางการ เมื่อไม่นานมานี้
นริศ ใช้พื้นที่โรงแรมหรูอย่างเซนต์ รีจิส เป็นสถานที่แถลงข่าว เขาปรากฏตัวบนเวทีและฉายเดี่ยวเล่าทิศทางธุรกิจอสังหาฯ ของสิงห์ เต็มรูปแบบ กับการประกาศแผน 5 ปี (2558-2562) ด้วยการทุ่มงบก้อนโต 1 แสนล้านบาท รุกที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม ค้าปลีก และนิคมอุตสาหกรรม เรียกว่าครบทุกเซ็กเมนท์
โดยโปรเจคที่จะพัฒนาไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม เจาะตลาดจะล่าง กลาง บน ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้นโยบาย “Best in class” ดีที่สุดและเหนือกว่า “คู่แข่ง” ในทุกตลาดที่จะทำ
“ไม่ว่าจะทำตลาดตรงไหนจะต้องดีที่สุดในคลาสนั้น จะไม่ทำอะไรที่ average จะทำให้สูงกว่าเสมอ” เขาย้ำ
“ผมกับทีมปรึกษากันว่าจะทำอะไรให้เป็นบทใหม่ของอสังหาฯ อยากมาทำสิ่งที่ไม่ใช่ Me too นั่นไม่ใช่สิ่งที่สิงห์ เอสเตทจะทำ ถ้าอยู่ในประเภทเดียวกันเราจะไม่เหมือนคนอื่น จะเป็น Premier lifestyle developer เราจะสร้างโครงการที่มีคุณภาพที่โดดเด่น สำหรับให้ลูกค้า ประชาชนได้อยู่อาศัย ทำงาน ได้พักผ่อน และจับจ่ายใช้สอย นี่คือวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดขึ้นมา”
นี่คือแนวทางที่น้องใหม่จะใช้เป็นหมัดเด็ดแข่งในวงการอสังหาฯ เพราะเขามองว่า ปัจจุบันทั้งตลาดล้วนคลาคล่ำด้วยผู้เล่นมือฉมัง
“การเข้ามาทีหลังไม่ใช่เรื่องง่ายที่สิงห์ เอสเตท จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ !”
ทว่า..โชคดีที่ยังมี “ความได้เปรียบ” หลายด้านไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งด้านเงินทุน ผลมาจากการสั่งสมความมั่งคั่งในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของบุญรอดฯ มากว่า 80 ปี จนรั้งแชมป์ “เบียร์เบอร์1” ในไทย
“ชื่อเสียง” ที่มีมายาวนานของสิงห์ ยังช่วยต่อยอดให้ธุรกิจ โดยเฉพาะ "การแสวงหาพันธมิตร" ที่จะเข้ามาร่วมทุนในอนาคต ซึ่งโมเดลการ “ผนึกพาร์ทเนอร์” การซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions: M&A) จะเป็นอีก “ทางลัด” หนุนการเติบโต ดังนั้นการมีชื่อชั้นกระฉ่อน จะมีอิทธิสร้างแรงดึงดูดให้ทุนต่างๆ สนใจบริษัทมากขึ้น
นั่นทำให้บริษัทวางเป้าหมายในการตั้งโต๊ะเจรจาและปิดดีลให้ได้ 2-3 รายการต่อปี ที่สำคัญเงินทุนแสนล้านนั้น ถูกปันมาใช้เพื่อการนี้มากถึง 50% หรือตีเป็นก้อนกลมๆ ถึง 5 หมื่นล้านบาท
ประเดิมดีลที่จะเห็นคือการซื้อโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวเป็นเจ้าของแบบเบ็ดเสร็จ 100% มูลค่า 3,000 ล้านบาท ตามด้วย ร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่เป็นผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบระดับกลางบนแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัทลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) เรียบร้อยแล้ว มูลค่าดีลดังกล่าวไล่เลี่ยดีลแรกที่ 3,000 ล้านบาท เพียงแต่สิงห์ เอสเตท ถือหุ้น 50%
แต่ที่ต้องจับตาเห็นจะเป็นดีลการซื้อโรงแรม อาคารสำนักงานใน 2 เมืองใหญ่ในพม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการทำ due diligence (วิเคราะห์สถานะทรัพย์สิน) ขององค์กร ปีหน้าคงเห็นภาพชัด !
การซื้อกิจการยังไม่จบแค่นี้ เพราะโอกาสที่รออยู่เบื้องหน้าคือกิจการโรงแรมที่ “ร่อแร่” ผลพวงทางการเมืองในไทยที่ลากยาว กระทบอัตราการเข้าพักและรายได้ เลยมีนายทุนรอขายกิจการทอดตลาด แต่สิงห์จะโฟกัสซื้อโรงแรมที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสุดฮอต อัตราการเข้าพักดี ซึ่งเล็งเจรจา 7-8 แห่ง
“3 ปีแรกจะเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วจากการทำ M&A” เขามุ่งมั่น
อีกแนวทางที่น่าจับตาคือ การพัฒนาโครงการอสังหาฯประเภทค้าปลีก ที่จะได้เห็นการพลิกทำเลทองในภูธร โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ โดยสิงห์ จะอาศัยที่ดินของ "เครือข่ายเอเย่นต์จำหน่ายเบียร์" ที่มีอยู่มากมายทั่วประเทศ หากที่ดินใดปล่อยทิ้งไว้เปล่าประโยชน์ ก็พร้อมจะงัดแลนด์แบงก์มาต่อยอดสร้างโอกาสธุรกิจทันที
ไม่นับที่ดินสะสมของกลุ่มบุญรอด ที่มีอยู่ “หลายพันไร่” ทั่วประเทศ ก็ต้องพูดคุยกับเจ้าของที่ดินอย่าง “สันติ” ก่อนนำเข้ามาเสริมพอร์ต “เอเย่นต์เบียร์ของบุญรอด 200 รายทั่วประเทศ เป็นจัดแข็งหนึ่ง เพราะทุกคนมีความสัมพันธ์อันดีและยาวนานกับบุญรอดฯมา 70-80 ปี เขามีที่ดินเปล่าสามารถนำมาสร้าง Value เพื่อโตร่วมกัน”
แม้จะเป็นเลือดใหม่ในค่ายสิงห์ แต่นริศ ก็รับเอาดีเอ็นเออย่างหนึ่งของการทำธุรกิจขององค์กรนี้มา นั่นคือคำยืนยันในการผนึกพันธมิตร จะไม่กินรวบเพื่อโตคนเดียว แต่จะเติมเต็มสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างขาดให้สมบูรณ์เพื่อ Win win เพราะคุ้นเคยกับบ้านเก่า เขายังฉายภาพความเป็นไปได้ในการผนึกกลุ่มเซ็นทรัล พัฒนาห้างค้าปลีกในอนาคตด้วย
ส่วนโปรเจคแรกซึ่งถือเป็น “มาสเตอร์พีช” นั่นคือ “สิงห์ คอมเพล็กซ์” มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท (รวมมูลค่าที่ดิน) บริเวณสถานทูตญี่ปุ่นเดิม หัวมุมถนนอโศก-เพชรบุรี ที่จะถูกเนรมิตให้เป็นโครงการแบบผสมผสานทั้งอาคารสำนักงาน ค้าปลีก โรงแรมบูทีก ขนาด 22 ห้อง สถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ต 4,000 ที่นั่ง รองรับการทำมิวสิค มาร์เก็ตติ้งของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มในแต่ละปีมีมากมาย
ส่วนยอดตึกนั้นจะถูกจัดสรรให้บรรดา “แม่ทัพ” สิงห์เข้ามาทำงานบัญชาการในที่เดียวกันทั้งหมด ปี 2560 คงได้ยลโฉมกัน
วางหมากเดินเกมเชิงรุกขนาดนี้ ยักษ์อสังหาฯรายใด คือโมเดล เขาตอบทันทีว่า
“ในประเทศไม่มี แต่เราอยากเป็นเหมือนแคปปิตอลแลนด์ ของสิงคโปร์ ที่พัฒนาอสังหาฯ ทุกประเภททั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย ค้าปลีก เว้นแต่นิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ทำ”
แล้วอะไรคือเป้าหมายของคนทำงานในบ้านหลังใหม่...คำตอบฉายความมุ่งมั่นว่า..
“ผมอยู่ซีพีเอ็นมา 16 ปีครึ่ง และมาอยู่ที่นี่ได้ 8-9 เดือน หวังที่จะมาสร้างที่นี่ให้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้บริษัทเดิม (ซีพีเอ็น) นั่นคือสิ่งที่แอบฝันไว้เล็กๆ เพราะนี่จะเป็นโอกาสในการสร้างบริษัทดีๆขึ้นมาอีกหนึ่งบริษัท เป็นผลงานที่ดีในชีวิต”
ในฐานะซีอีโอ เขายอมรับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง แต่ก็มั่นใจในเครดิตของบุญรอดที่มี ผลงานเป็นประจักษ์และยอมรับ จึงพร้อมที่จะปลุกปั้นองค์กรแห่งนี้ให้ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า
ตามปรัชญาการทำงานขององค์กร “From Good to be GREAT” บนเป้าหมายการผลักดันยอดขายใน 5 ปีที่วางไว้ 2 หมื่นล้านบาท ติด 1 ใน 5 อสังหาฯไทย เบียดยักษ์ใหญ่อสังหาฯ ทั้ง แลนด์แอนด์เฮ้าส์ แสนสิริ และพฤกษาฯ
'นริศ เชยกลิ่น'นำทัพ สิงห์ เอสเตท ผงาดบิ๊กอสังหาฯ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
น้องใหม่ในวงการอสังหาฯแต่ชื่อ'สิงห์' เป็นแต้มต่อได้หลายขุมโดยCEO หน้าเก่า 'นริศ เชยกลิ่น' นำทัพสู่ความยิ่งใหญ่
“อยากให้มาสร้างธุรกิจด้วยกัน !!” นี่เป็นประโยคเอ่ยปากชวนของ “หนู ชญานิน เทพาคำ” กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หลานหัวแก้วหัวแหวนของ "สันติ ภิรมย์ภักดี" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ออกปากชวน มีอิทธิพต่อการโยกย้ายสายงาน “ขุนคลัง” ของอดีตบมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น อย่าง “นริศ เชยกลิ่น” ผู้ซึ่งทำงานกับ “ยักษ์ใหญ่ค้าปลีก” เบอร์ 1 ของไทย มานานถึง 16 ปีครึ่ง
ทว่า...วันนี้เขาขอมาสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้วงการธุรกิจ ภายใต้ชายคา “บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด(มหาชน)” ในเครือบุญรอด หลังจากใช้เวลาหลายเดือนเพื่อขบคิดก่อนตัดสินใจ บ๊ายบายบ้านเก่า เพื่อมาอยู่ “สิงห์” พร้อมนั่งเก้าอี้ใหม่ที่มีบทบาทมากขึ้นในตำแหน่ง “ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” แม่ทัพคนสำคัญที่กุมบังเหียนธุรกิจ “อสังหาริมทรัพย์” 1 ใน 5 เสาหลักธุรกิจของกลุ่มบุญรอด
“คุณชญานิน เป็นคนชวนผมมาทำงานที่นี่ ตอนนั้นเขาพูดประโยคที่ว่า อยากให้มาสร้างธุรกิจด้วยกัน คืออสังหาริมทรัพย์ บุญรอดเองก็อยากทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว ถ้ามีโอกาสทำอะไรอย่างที่อยากทำ ก็เลยตัดสินใจมา และหากดูโครงสร้างของที่นี่ ก็ให้ Free hand (อิสระ) ค่อนข้างมาก” นริศให้เหตุผล ก่อนจะขยายความว่า
ทำงานกับซีพีเอ็นมานาน เรียกว่ารู้หมดทุกเรื่องแล้ว ไม่มีอะไรที่ยังไม่รู้ และไม่ตื่นเต้นแล้ว นั่นคืออีกหนึ่ง "จุดเปลี่ยน"
ระยะเวลา 8-9 เดือนของ “ผู้นำ” ได้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นกับธุรกิจอสังหาฯของบุญรอด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปซื้อกิจการและเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบมจ.รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สิงห์ เอสเตท” ในภายหลัง จนมากถึงการประกาศวิสัยทัศน์ธุรกิจอย่างเป็นทางการ เมื่อไม่นานมานี้
นริศ ใช้พื้นที่โรงแรมหรูอย่างเซนต์ รีจิส เป็นสถานที่แถลงข่าว เขาปรากฏตัวบนเวทีและฉายเดี่ยวเล่าทิศทางธุรกิจอสังหาฯ ของสิงห์ เต็มรูปแบบ กับการประกาศแผน 5 ปี (2558-2562) ด้วยการทุ่มงบก้อนโต 1 แสนล้านบาท รุกที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม ค้าปลีก และนิคมอุตสาหกรรม เรียกว่าครบทุกเซ็กเมนท์
โดยโปรเจคที่จะพัฒนาไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม เจาะตลาดจะล่าง กลาง บน ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้นโยบาย “Best in class” ดีที่สุดและเหนือกว่า “คู่แข่ง” ในทุกตลาดที่จะทำ
“ไม่ว่าจะทำตลาดตรงไหนจะต้องดีที่สุดในคลาสนั้น จะไม่ทำอะไรที่ average จะทำให้สูงกว่าเสมอ” เขาย้ำ
“ผมกับทีมปรึกษากันว่าจะทำอะไรให้เป็นบทใหม่ของอสังหาฯ อยากมาทำสิ่งที่ไม่ใช่ Me too นั่นไม่ใช่สิ่งที่สิงห์ เอสเตทจะทำ ถ้าอยู่ในประเภทเดียวกันเราจะไม่เหมือนคนอื่น จะเป็น Premier lifestyle developer เราจะสร้างโครงการที่มีคุณภาพที่โดดเด่น สำหรับให้ลูกค้า ประชาชนได้อยู่อาศัย ทำงาน ได้พักผ่อน และจับจ่ายใช้สอย นี่คือวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดขึ้นมา”
นี่คือแนวทางที่น้องใหม่จะใช้เป็นหมัดเด็ดแข่งในวงการอสังหาฯ เพราะเขามองว่า ปัจจุบันทั้งตลาดล้วนคลาคล่ำด้วยผู้เล่นมือฉมัง
“การเข้ามาทีหลังไม่ใช่เรื่องง่ายที่สิงห์ เอสเตท จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ !”
ทว่า..โชคดีที่ยังมี “ความได้เปรียบ” หลายด้านไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งด้านเงินทุน ผลมาจากการสั่งสมความมั่งคั่งในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของบุญรอดฯ มากว่า 80 ปี จนรั้งแชมป์ “เบียร์เบอร์1” ในไทย
“ชื่อเสียง” ที่มีมายาวนานของสิงห์ ยังช่วยต่อยอดให้ธุรกิจ โดยเฉพาะ "การแสวงหาพันธมิตร" ที่จะเข้ามาร่วมทุนในอนาคต ซึ่งโมเดลการ “ผนึกพาร์ทเนอร์” การซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions: M&A) จะเป็นอีก “ทางลัด” หนุนการเติบโต ดังนั้นการมีชื่อชั้นกระฉ่อน จะมีอิทธิสร้างแรงดึงดูดให้ทุนต่างๆ สนใจบริษัทมากขึ้น
นั่นทำให้บริษัทวางเป้าหมายในการตั้งโต๊ะเจรจาและปิดดีลให้ได้ 2-3 รายการต่อปี ที่สำคัญเงินทุนแสนล้านนั้น ถูกปันมาใช้เพื่อการนี้มากถึง 50% หรือตีเป็นก้อนกลมๆ ถึง 5 หมื่นล้านบาท
ประเดิมดีลที่จะเห็นคือการซื้อโรงแรมในเมืองท่องเที่ยวเป็นเจ้าของแบบเบ็ดเสร็จ 100% มูลค่า 3,000 ล้านบาท ตามด้วย ร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่เป็นผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบระดับกลางบนแห่งหนึ่ง ซึ่งบริษัทลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) เรียบร้อยแล้ว มูลค่าดีลดังกล่าวไล่เลี่ยดีลแรกที่ 3,000 ล้านบาท เพียงแต่สิงห์ เอสเตท ถือหุ้น 50%
แต่ที่ต้องจับตาเห็นจะเป็นดีลการซื้อโรงแรม อาคารสำนักงานใน 2 เมืองใหญ่ในพม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการทำ due diligence (วิเคราะห์สถานะทรัพย์สิน) ขององค์กร ปีหน้าคงเห็นภาพชัด !
การซื้อกิจการยังไม่จบแค่นี้ เพราะโอกาสที่รออยู่เบื้องหน้าคือกิจการโรงแรมที่ “ร่อแร่” ผลพวงทางการเมืองในไทยที่ลากยาว กระทบอัตราการเข้าพักและรายได้ เลยมีนายทุนรอขายกิจการทอดตลาด แต่สิงห์จะโฟกัสซื้อโรงแรมที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสุดฮอต อัตราการเข้าพักดี ซึ่งเล็งเจรจา 7-8 แห่ง
“3 ปีแรกจะเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วจากการทำ M&A” เขามุ่งมั่น
อีกแนวทางที่น่าจับตาคือ การพัฒนาโครงการอสังหาฯประเภทค้าปลีก ที่จะได้เห็นการพลิกทำเลทองในภูธร โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ โดยสิงห์ จะอาศัยที่ดินของ "เครือข่ายเอเย่นต์จำหน่ายเบียร์" ที่มีอยู่มากมายทั่วประเทศ หากที่ดินใดปล่อยทิ้งไว้เปล่าประโยชน์ ก็พร้อมจะงัดแลนด์แบงก์มาต่อยอดสร้างโอกาสธุรกิจทันที
ไม่นับที่ดินสะสมของกลุ่มบุญรอด ที่มีอยู่ “หลายพันไร่” ทั่วประเทศ ก็ต้องพูดคุยกับเจ้าของที่ดินอย่าง “สันติ” ก่อนนำเข้ามาเสริมพอร์ต “เอเย่นต์เบียร์ของบุญรอด 200 รายทั่วประเทศ เป็นจัดแข็งหนึ่ง เพราะทุกคนมีความสัมพันธ์อันดีและยาวนานกับบุญรอดฯมา 70-80 ปี เขามีที่ดินเปล่าสามารถนำมาสร้าง Value เพื่อโตร่วมกัน”
แม้จะเป็นเลือดใหม่ในค่ายสิงห์ แต่นริศ ก็รับเอาดีเอ็นเออย่างหนึ่งของการทำธุรกิจขององค์กรนี้มา นั่นคือคำยืนยันในการผนึกพันธมิตร จะไม่กินรวบเพื่อโตคนเดียว แต่จะเติมเต็มสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างขาดให้สมบูรณ์เพื่อ Win win เพราะคุ้นเคยกับบ้านเก่า เขายังฉายภาพความเป็นไปได้ในการผนึกกลุ่มเซ็นทรัล พัฒนาห้างค้าปลีกในอนาคตด้วย
ส่วนโปรเจคแรกซึ่งถือเป็น “มาสเตอร์พีช” นั่นคือ “สิงห์ คอมเพล็กซ์” มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท (รวมมูลค่าที่ดิน) บริเวณสถานทูตญี่ปุ่นเดิม หัวมุมถนนอโศก-เพชรบุรี ที่จะถูกเนรมิตให้เป็นโครงการแบบผสมผสานทั้งอาคารสำนักงาน ค้าปลีก โรงแรมบูทีก ขนาด 22 ห้อง สถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ต 4,000 ที่นั่ง รองรับการทำมิวสิค มาร์เก็ตติ้งของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มในแต่ละปีมีมากมาย
ส่วนยอดตึกนั้นจะถูกจัดสรรให้บรรดา “แม่ทัพ” สิงห์เข้ามาทำงานบัญชาการในที่เดียวกันทั้งหมด ปี 2560 คงได้ยลโฉมกัน
วางหมากเดินเกมเชิงรุกขนาดนี้ ยักษ์อสังหาฯรายใด คือโมเดล เขาตอบทันทีว่า
“ในประเทศไม่มี แต่เราอยากเป็นเหมือนแคปปิตอลแลนด์ ของสิงคโปร์ ที่พัฒนาอสังหาฯ ทุกประเภททั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย ค้าปลีก เว้นแต่นิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ทำ”
แล้วอะไรคือเป้าหมายของคนทำงานในบ้านหลังใหม่...คำตอบฉายความมุ่งมั่นว่า..
“ผมอยู่ซีพีเอ็นมา 16 ปีครึ่ง และมาอยู่ที่นี่ได้ 8-9 เดือน หวังที่จะมาสร้างที่นี่ให้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้บริษัทเดิม (ซีพีเอ็น) นั่นคือสิ่งที่แอบฝันไว้เล็กๆ เพราะนี่จะเป็นโอกาสในการสร้างบริษัทดีๆขึ้นมาอีกหนึ่งบริษัท เป็นผลงานที่ดีในชีวิต”
ในฐานะซีอีโอ เขายอมรับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง แต่ก็มั่นใจในเครดิตของบุญรอดที่มี ผลงานเป็นประจักษ์และยอมรับ จึงพร้อมที่จะปลุกปั้นองค์กรแห่งนี้ให้ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า
ตามปรัชญาการทำงานขององค์กร “From Good to be GREAT” บนเป้าหมายการผลักดันยอดขายใน 5 ปีที่วางไว้ 2 หมื่นล้านบาท ติด 1 ใน 5 อสังหาฯไทย เบียดยักษ์ใหญ่อสังหาฯ ทั้ง แลนด์แอนด์เฮ้าส์ แสนสิริ และพฤกษาฯ