เกร็ดความรู้ วิธีการบำรุงรักษาแอร์ที่ถูกต้อง ทำยังไง ไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นนะ

เริ่มเรื่องเลยปัญหาคือที่บ้านมีแอร์ 3 ตัว แล้วมีตัวนึงที่มันมีปัญหา ด้วยเป็นคนยุค Gen – C ที่เน้นหาข้อมูลผ่าน Google เป็นหลักเลยไปหาข้อมูลการดูแลแอร์มาอ่าน  
        เออ เห้ย... มีหลายข้อที่ไม่รู้ และหลายข้อที่เรายังใช้งานแอร์แบบผิดๆ ไม่แปลกใจทำไม เป็นหวัดบ่อย ทำไมแอร์ตรูพังเร็ว  เห็นมีประโยชน์ดีเลยเอามาบอกต่อซะหน่อยมาดูทีละข้อกัน

ข้อที่ 1. ล้างแอร์ – สำคัญที่สุดเพราะถ้าไม่ล้างจะ....
-    เปลืองไฟ เพราะแอร์สะสมฝุ่นละอองในแผ่นกรอง ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น
-    เสื่อมสภาพเร็ว แน่นอนของสิ่งไหนทำงานหนักตลอดเวลาย่อมพังง่าย
-    จะทำให้เราป่วยง่าย  อันนี้สำคัญ ฝุ่นมันเยอะเวลาหายใจเข้าไปก็ป่วยสิ ดังนั้นสำคัญที่สุดล้างแอร์บ่อยๆ สัก 6 เดือนครั้ง ช่วยได้เยอะ


ข้อที่ 2. การตั้งอุณหภูมิ หลายๆที่บอก 24 – 26 องศา ก็....จัดตรงกลางเลย 25 องศา ประหยัดไฟ ได้ใจความที่สุดละ [และให้ตั้งระบบพัดลมเป็น auto ครับอ่านไม่ผิดให้ตั้งเป็น Auto เพราะถ้าปรับลมเป็น Low – High ตัวคอมเพรสเซอร์จะประมวณผลหลายๆที ทำให้กินไฟกว่าปกติครับ]


ข้อที่ 3. แอร์มีน้ำหยด – ปัญหาระดับชาติของแอร์เลย ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าหยดที่จุดใด
•    กรณีมีน้ำล้นออกมาด้านข้างหรือด้านหน้าแอร์ โดยมีอัตราการไหลของน้ำค่อนข้างแรง สาเหตุเกิดจากถาดน้ำทิ้งหรือท่อน้ำทิ้งอุดตัน แก้ไขโดยการทำการฉีดล้างแอร์โดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
•    น้ำหยดบริเวณท่อน้ำยาแอร์ สาเหตุเกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำบริเวณท่อแอร์ แก้ไขโดยการเพิ่มความหนาของฉนวนหุ้มท่อให้หนาและมิดชิดขั้น
•    น้ำหยดเกาะที่บริเวณตัวแอร์ สาเหตุเกิดจากการติดตั้งในบริเวณที่มีลมหรือไอร้อนผ่านตลอดเวลาจังก็ทำให้ เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศจนเปลี่ยนสถานะมาเป็นหยดน้ำ วิธีแก้ไขคือไม่น้ำอุปกรณ์ที่ให้ค่าความร้อนวางอยู่ใกล้ๆตัวแอร์
•    กรณีมีน้ำหยดริมๆด้านซ้ายหรือขวาของตัวแอร์ สาเหตุอาจเกิดมาจากการใส่ถาดน้ำทิ้งไม่แน่น อุดตัน หรือไม่เข้าที่


ข้อที่ 4. กลิ่นอับ กลิ่นอับของแอร์นี่มีหลายสาเหตุ แต่หลักๆจะเป็นความชื้นของห้อง ใครเจอ มีวิธีแก้คือก่อนปิดแอร์ให้ตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นสัก 10 นาทีเพื่อไล่ความชื้นก่อน และก็ไปดูตรงท่อน้ำทิ้งของแอร์ว่าไปตรงกับท่อระบายน้ำทิ้งของบ้านรึเปล่านะ กลิ่นมันไหลสวนได้นะเออ


ข้อที่ 5. การติดตั้งคอยล์เย็น – ง่ายๆอย่าติดตั้งเครื่องในมุมอับ กับ พยายามติดตั้งให้คอยล์เย็น ใกล้กับคอยล์ร้อนที่สุด แค่นั้น



ข้อที่ 6. ถ้าใครเดินไฟผ่าน คัตเอาท์ย่อย (เป็นคัตเอาท์ของแอร์โดยตรง) ให้เปิดคัตเอาท์ก่อนกดสวิสต์เปิดแอร์สัก 5 นาที (ให้ระบบไฟมันปกติก่อน ถ้าเปิดคัตเอาท์แล้วกดรีโมตเปิดแอร์เลย ไฟมันกระชากครับอาจพังได้)



จบละ 6 วิธีดูแลแอร์ง่ายๆ ลองเอาไปทำตามดู หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน อย่าลืมนะครับ แอร์ตัวนึงซื้อมาแล้วเราต้องอยู่กับมันไปอีกแสนนาน (อย่างน้อยก็ 5 – 10 ปีละ) การดูแลรักษาแอร์ดีๆนอกจากจะช่วยท่านประหยัดแล้ว ยังช่วยให้ท่านสุขภาพดีด้วย

ขอบคุณทุกท่านที่เสียเวลาอ่าน และ ภาพประกอบจากอากู๋นะจ้ะ  ^^
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่