หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก

[๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง
หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
.....ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า
มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางที่บัณฑิตเกลียดและเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ
ท่านไม่ควรเสพหนทางนั้น  ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง
หรือแม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
....ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์นั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ
เป็นทางผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ
ท่านย่อมไม่ควรเสพหนทางนั้น  ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น ฯ


----------------


วีณาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๕๒๗๕ - ๕๒๘๙.  หน้าที่  ๒๒๗ - ๒๒๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5275&Z=5289&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=343
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่