ซูเราะฮฺอัลอะอฺรอฟ บัญญัติที่ 172
وَإِذْ أَخَذَ رَبُّكَ مِنْ بَنِي آدَمَ مِنْ ظُهُورِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ وَأَشْهَدَهُمْ عَلَىٰ أَنْفُسِهِمْ أَلَسْتُ بِرَبِّكُمْ ۖ قَالُوا بَلَىٰ ۛ شَهِدْنَا ۛ أَنْ تَقُولُوا يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِنَّا كُنَّا عَنْ هَٰذَا غَافِلِينَ
อัลกุรอานภาษาไทย สำนวนแปล อะบู อิสรอฟีล อัลฟะฏอนีย์ แปลว่า
{7:172} และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของเธอได้เอาวงศ์วานของอาดัมออกมาจากหลังของบุตรหลานอาดัม และให้พวกเขายืนยันแก่ตัวของเขาเอง (โดยตอบคําถามที่ว่า) "ฉันไม่ใช่พระเจ้าของพวกเธอดอกหรือ?" พวกเขากล่าวว่า "ใช่ขอรับ พวกข้าฯขอยืนยัน" ทั้งนี่เพื่อพวกเธอไม่กล่าวในวันฟื้นคืนชีพว่า "พวกข้าฯไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้"
อัลลอฮ์ทรงบอกให้เรารู้ว่าพระองค์ทรงเรียกประชุมลูกหลานของท่านนบีอดัม และให้เขาเหล่านั้นทำสัญญาและเป็นพยานต่อตัวของพวกเขาเอง โดยพระองค์ทรงตั้งคำถามต่อ พวกเขาว่า “พระองค์(พระเจ้า/อัลลอฮ์) คือพระเจ้าของเขาใช่หรือไม่,พวกเขากล่าวยืนยันว่า พระองค์อัลลอฮ์คือพระเจ้าองค์เดียวของพวกเขาอย่างแท้จริง
อัลลอฮ์ ทรงบอกกับพวกเขาว่าการที่พระองค์ให้พวกเขาทำสัญญาและเป็นพยานในเรื่องนี้ก็เพราะว่าพวกเขาจะต้องกลับไปพบพระองค์อีกในวันตัดสิน และพวกเขาจะปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขาไม่ไเคยได้รับความรู้ในเรื่องพระเจ้ามาก่อน
หรือไม่ก็พวกเขาจะแก้ตัวไม่ได้ว่า,ทั้งนี้เพราะว่าเขาเห็นบิดามารดาของเขากราบบูชาเจว็ดมาก่อน พวกเขาจึงทำตาม เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วพระองค์ไม่ควรจะทรงจะลงโทษพวกเขา เนื่องจากความผิดที่ผู้อื่นได้กระทำการสร้างภาคีมาก่อน, ด้วยเหตุนี่พระองอัลลอฮ์จึงได้อธิบายโองการต่างๆของพระองค์ต่อพวกเขาอย่างชัดแจ้ง (อ้างถึง7:173)
การเรียกประชุมลูกหลานของท่าน นบีอาดัมนี้ นักวิชาการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บางทฤษฎีก็อธิบายว่า เรื่องราวเกิดขึ้นนั้น เกิดชึ้นในขณะที่อยู่บนโลกแห่งจิตวิญญาณ อัลลอฮ์ทรงเรียก ประชุม จิตวิญญาณ ของบรรดาลูกหลานท่านนบีอาดัมก่อนที่จะลงมาจุติในสภาพมนุษย์บนโลกมนุษย์, แต่อีกทฤษฎีหนึ่งก็อธิบายว่า การเรียกประชุมนี้ เกิดหลังจากที่อยู่ในสภาพ เป็นมนุษย์ แล้วในวัยที่เกิดมีความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทฤษฎีนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสภาวะของจิตวิญญาณ เนื่องจาก อัลลอฮ์ จะติดต่อโดยตรงต่อจิตวิญญาณเท่านั้น พระองค์จะไม่มีการติดต่อกับมนุษย์ธรรมดา ทางการสัมผัสด้วยโสตประสาทของมนุษย์
แต่ทฤษฎีที่ผมยอมรับไม่ได้ก็คือ คำอธิบายข้างล่างนี้จากผู้เชี่ยวชาญภาษาอรับ ในการอธิบาย บัญญัติ ที่ 2:27 ของผู้เชี่ยวชาญภาษาอรับ,โดยอ้างอิงถึง (*1*)เรื่องราวใน บัญญัติ ที่ 7:172,
โดยแปลความหมายของคำว่า ظُهُورِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ หมายถึง ลูกหลานนบีอาดัมในสภาพตัวอสุจิ ซึ่งผิดทั้งความหมายทางภาษาและบริบทของตัวบัญญัติ
ความว่าดังนี้
http://www.islammore.com/main/printable.php?category=5&id=599
27. คือบรรดาผู้ที่ทำลายสัญญาของอัลลอฮฺหลังจากที่ได้มีสัญญาไว้แก่พระองค์(*1*) และตัดสิ่งที่อัลลอฮฺทรงใช้ให้ต่อ(*2*) และบ่อนทำลายในผืนแผ่นดิน ชนเหล่านี้แหละคือพวกที่ขาดทุน
(1) สัญญาทางธรรมชาติ หรือทางสัญชาติญาณที่จะทำให้พวกเขายอมรับในการเป็นการเป็นพระเจ้าของอัลลอฮฺ ดังที่
พระองค์ได้ทรงถามพวกเขาขณะยังอยู่ในสภาพเชื้อสุจิอยู่ว่า “ข้าไม่ใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ พวกเขาตอบว่า ใช่ขอรับ พวกข้าพระองค์ขอยืนยัน” แต่แล้วพวกเขาก็ทำลายสัญญานั้นเสีย ด้วยการปฏิเสธการเป็นพระเจ้าของพระองค์
(2) ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงใช้
สรุป:
ความหมายที่แท้จริงของบัญญัติก็คือการที่อัลลอฮ์นำความรู้สึกแห่ง สัญชาติญาณ(ทางจิตวิญญาณ)มาจากมนุษย์ทุกคนซึ่งเป็นลูกหลานของมวลมนุษย์แต่ละรุ่น,และทำให้แต่ละคนตระหนักถึงตัวเอง(หรือจิตวิญญาณ) เมื่อแต่ละคนได้เจริญถึงวัยที่มีความรู้สึกรับผิดชอบอย่างเต็มที่แล้ว ทำให้มนุษย์มีความตระหนักถึงผู้สร้างที่ได้นำเขามาสู่ความมีตัวตนบนโลกนี้,การรับรู้นี้มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน,มีผลในการทำให้มนุษย์มีความรับผิดชอบต่ิอความมีศรัทธาหรือไม่มีศรัทธา, การกระทำความดีหรือการกระทำความชั่ว,ซึ่งเมื่อมาถึงวัยนี้มนุษย์แต่ละคนจะมีความคิดเป็นอิสระจากอิทธิพลที่ไม่อาจจะมองเห็นได้ จากการชักชวนของผู้อื่น
หมายเหตุ:
มุสลิมหัวรุนแรงหรือ พวก Muslim extremists อาจจะไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายของผมเนื่องจากผมไม่ได้ใช้ ตำราทาง ประเพณีอรับมาอ้างอิง เป็นคำแปลตามความหมายของบริบทของบัญญัติอัลกุรอานโดยตรง
ผมต้องการให้กำลังใจผู้ที่อยากศึกษาอัลกุรอานแต่ไม่เชี่ยวชาญภาษาอรับ,ความรู้ภาษาอรับมีความจำเป็นในการเข้าใจอัลกุรอาน เพื่อจะได้ไม่ถูกผู้รู้บางคนหลอกลวงได้, แต่การเข้าใจเราจะต้องพยายามใช้เหตุผลในการเข้าใจอัลกุรอาน ทั้งนี้เพราะว่า เราสามารถที่จะ หาอัลกุรอานคำแปลภาษาไทย ที่ตรงไปตรงมา ไม่มีวงเล็บใส่ความนึกคิดของผู้แปลเข้าไป ที่เรียกว่า "ตัฟซิร"
อัลกุรอานภาษาไทย สำนวนแปล อะบู อิสรอฟีล อัลฟะฏอนีย์ จัดว่า ให้ความหมายตรงไปตรงมาดีกว่า "ของสมาคมนักเรียนเก่าอรับ" เป็นอย่างมาก, คำแปลของ"สมาคมนักเรียนเก่าอรับ" อ่านเข้าใจยาก และใช้ภาษาไทยไม่ตรงความหมายในบางครั้ง
“มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณที่รู้จักพระเจ้า”
وَإِذْ أَخَذَ رَبُّكَ مِنْ بَنِي آدَمَ مِنْ ظُهُورِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ وَأَشْهَدَهُمْ عَلَىٰ أَنْفُسِهِمْ أَلَسْتُ بِرَبِّكُمْ ۖ قَالُوا بَلَىٰ ۛ شَهِدْنَا ۛ أَنْ تَقُولُوا يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِنَّا كُنَّا عَنْ هَٰذَا غَافِلِينَ
อัลกุรอานภาษาไทย สำนวนแปล อะบู อิสรอฟีล อัลฟะฏอนีย์ แปลว่า
{7:172} และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของเธอได้เอาวงศ์วานของอาดัมออกมาจากหลังของบุตรหลานอาดัม และให้พวกเขายืนยันแก่ตัวของเขาเอง (โดยตอบคําถามที่ว่า) "ฉันไม่ใช่พระเจ้าของพวกเธอดอกหรือ?" พวกเขากล่าวว่า "ใช่ขอรับ พวกข้าฯขอยืนยัน" ทั้งนี่เพื่อพวกเธอไม่กล่าวในวันฟื้นคืนชีพว่า "พวกข้าฯไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้"
อัลลอฮ์ทรงบอกให้เรารู้ว่าพระองค์ทรงเรียกประชุมลูกหลานของท่านนบีอดัม และให้เขาเหล่านั้นทำสัญญาและเป็นพยานต่อตัวของพวกเขาเอง โดยพระองค์ทรงตั้งคำถามต่อ พวกเขาว่า “พระองค์(พระเจ้า/อัลลอฮ์) คือพระเจ้าของเขาใช่หรือไม่,พวกเขากล่าวยืนยันว่า พระองค์อัลลอฮ์คือพระเจ้าองค์เดียวของพวกเขาอย่างแท้จริง
อัลลอฮ์ ทรงบอกกับพวกเขาว่าการที่พระองค์ให้พวกเขาทำสัญญาและเป็นพยานในเรื่องนี้ก็เพราะว่าพวกเขาจะต้องกลับไปพบพระองค์อีกในวันตัดสิน และพวกเขาจะปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขาไม่ไเคยได้รับความรู้ในเรื่องพระเจ้ามาก่อน หรือไม่ก็พวกเขาจะแก้ตัวไม่ได้ว่า,ทั้งนี้เพราะว่าเขาเห็นบิดามารดาของเขากราบบูชาเจว็ดมาก่อน พวกเขาจึงทำตาม เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วพระองค์ไม่ควรจะทรงจะลงโทษพวกเขา เนื่องจากความผิดที่ผู้อื่นได้กระทำการสร้างภาคีมาก่อน, ด้วยเหตุนี่พระองอัลลอฮ์จึงได้อธิบายโองการต่างๆของพระองค์ต่อพวกเขาอย่างชัดแจ้ง (อ้างถึง7:173)
การเรียกประชุมลูกหลานของท่าน นบีอาดัมนี้ นักวิชาการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บางทฤษฎีก็อธิบายว่า เรื่องราวเกิดขึ้นนั้น เกิดชึ้นในขณะที่อยู่บนโลกแห่งจิตวิญญาณ อัลลอฮ์ทรงเรียก ประชุม จิตวิญญาณ ของบรรดาลูกหลานท่านนบีอาดัมก่อนที่จะลงมาจุติในสภาพมนุษย์บนโลกมนุษย์, แต่อีกทฤษฎีหนึ่งก็อธิบายว่า การเรียกประชุมนี้ เกิดหลังจากที่อยู่ในสภาพ เป็นมนุษย์ แล้วในวัยที่เกิดมีความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทฤษฎีนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสภาวะของจิตวิญญาณ เนื่องจาก อัลลอฮ์ จะติดต่อโดยตรงต่อจิตวิญญาณเท่านั้น พระองค์จะไม่มีการติดต่อกับมนุษย์ธรรมดา ทางการสัมผัสด้วยโสตประสาทของมนุษย์
แต่ทฤษฎีที่ผมยอมรับไม่ได้ก็คือ คำอธิบายข้างล่างนี้จากผู้เชี่ยวชาญภาษาอรับ ในการอธิบาย บัญญัติ ที่ 2:27 ของผู้เชี่ยวชาญภาษาอรับ,โดยอ้างอิงถึง (*1*)เรื่องราวใน บัญญัติ ที่ 7:172, โดยแปลความหมายของคำว่า ظُهُورِهِمْ ذُرِّيَّتَهُمْ หมายถึง ลูกหลานนบีอาดัมในสภาพตัวอสุจิ ซึ่งผิดทั้งความหมายทางภาษาและบริบทของตัวบัญญัติ
ความว่าดังนี้
http://www.islammore.com/main/printable.php?category=5&id=599
27. คือบรรดาผู้ที่ทำลายสัญญาของอัลลอฮฺหลังจากที่ได้มีสัญญาไว้แก่พระองค์(*1*) และตัดสิ่งที่อัลลอฮฺทรงใช้ให้ต่อ(*2*) และบ่อนทำลายในผืนแผ่นดิน ชนเหล่านี้แหละคือพวกที่ขาดทุน
(1) สัญญาทางธรรมชาติ หรือทางสัญชาติญาณที่จะทำให้พวกเขายอมรับในการเป็นการเป็นพระเจ้าของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ทรงถามพวกเขาขณะยังอยู่ในสภาพเชื้อสุจิอยู่ว่า “ข้าไม่ใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ พวกเขาตอบว่า ใช่ขอรับ พวกข้าพระองค์ขอยืนยัน” แต่แล้วพวกเขาก็ทำลายสัญญานั้นเสีย ด้วยการปฏิเสธการเป็นพระเจ้าของพระองค์
(2) ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงใช้
สรุป:
ความหมายที่แท้จริงของบัญญัติก็คือการที่อัลลอฮ์นำความรู้สึกแห่ง สัญชาติญาณ(ทางจิตวิญญาณ)มาจากมนุษย์ทุกคนซึ่งเป็นลูกหลานของมวลมนุษย์แต่ละรุ่น,และทำให้แต่ละคนตระหนักถึงตัวเอง(หรือจิตวิญญาณ) เมื่อแต่ละคนได้เจริญถึงวัยที่มีความรู้สึกรับผิดชอบอย่างเต็มที่แล้ว ทำให้มนุษย์มีความตระหนักถึงผู้สร้างที่ได้นำเขามาสู่ความมีตัวตนบนโลกนี้,การรับรู้นี้มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน,มีผลในการทำให้มนุษย์มีความรับผิดชอบต่ิอความมีศรัทธาหรือไม่มีศรัทธา, การกระทำความดีหรือการกระทำความชั่ว,ซึ่งเมื่อมาถึงวัยนี้มนุษย์แต่ละคนจะมีความคิดเป็นอิสระจากอิทธิพลที่ไม่อาจจะมองเห็นได้ จากการชักชวนของผู้อื่น
หมายเหตุ:
มุสลิมหัวรุนแรงหรือ พวก Muslim extremists อาจจะไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายของผมเนื่องจากผมไม่ได้ใช้ ตำราทาง ประเพณีอรับมาอ้างอิง เป็นคำแปลตามความหมายของบริบทของบัญญัติอัลกุรอานโดยตรง
ผมต้องการให้กำลังใจผู้ที่อยากศึกษาอัลกุรอานแต่ไม่เชี่ยวชาญภาษาอรับ,ความรู้ภาษาอรับมีความจำเป็นในการเข้าใจอัลกุรอาน เพื่อจะได้ไม่ถูกผู้รู้บางคนหลอกลวงได้, แต่การเข้าใจเราจะต้องพยายามใช้เหตุผลในการเข้าใจอัลกุรอาน ทั้งนี้เพราะว่า เราสามารถที่จะ หาอัลกุรอานคำแปลภาษาไทย ที่ตรงไปตรงมา ไม่มีวงเล็บใส่ความนึกคิดของผู้แปลเข้าไป ที่เรียกว่า "ตัฟซิร"
อัลกุรอานภาษาไทย สำนวนแปล อะบู อิสรอฟีล อัลฟะฏอนีย์ จัดว่า ให้ความหมายตรงไปตรงมาดีกว่า "ของสมาคมนักเรียนเก่าอรับ" เป็นอย่างมาก, คำแปลของ"สมาคมนักเรียนเก่าอรับ" อ่านเข้าใจยาก และใช้ภาษาไทยไม่ตรงความหมายในบางครั้ง