“ ทฤษฎีใยแมงมุม ” ( อันเป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่ )
สาระของทฤษฎีโดยสรุปก็คือ...ปีใดก็ตามที่สินค้าเกษตรมีราคาดี เกษตรกรขายพืชผลได้กำไรมากๆ ก็จะเป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรผลิต หรือปลูกพืชผลมากขึ้นอีกในปีถัดไป
ครั้นเมื่อเกษตรกรเข้ามาปลูกมากๆในปีต่อไป ผลผลิตก็จะล้นตลาด มีสินค้ามากกว่าความต้องการ ราคาสินค้าเกษตรก็จะพุ่งดิ่งลงมา
เกษตรกรจึงจำเป็นจะต้องขายผลิตผลในราคาตํ่านำไปสู่ภาวะการขาดทุนอย่างยับเยิน
ปีถัดมาเกษตรกรที่หมดเนื้อหมดตัวก็จะยุติการปลูก หรือไม่ก็ลดพื้นที่การปลูกลง ทำให้ผลผลิตลดฮวบลง
ครั้นพอผลผลิตลดลงมาก แต่ความต้องการยังมีอยู่ ก็จะฉุดให้ราคาขึ้นไปสูงปรี๊ดอีกครั้ง
ทีนี้พอราคาดี...ก็จะยั่วใจ ให้ปีหน้ามีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ราคาตกลงมาอีก
ขึ้นๆลงๆสลับไปสลับมาอยู่อย่างนี้ เมื่อเอามาพล็อตเป็นรูปกราฟแล้วมันจะเป็นวงๆหมุนวนไปมาเหมือนใยแมงมุม
จึงเรียกกันว่า “ทฤษฎีใยแมงมุม” ด้วยประการฉะนี้
ทฤษฎีใยแมงมุมจึงเป็นทฤษฎีที่แสดงถึงความขมขื่นของผู้ที่มีอาชีพเกษตรกร รวมไปถึงประเทศเกษตรกรรมทั้งหลายที่ตกอยู่ในบ่วงกรรมของเส้นใยแมงมุมที่ขึ้นๆลงๆของราคาสินค้าเกษตร
รัฐบาลจะเข้าไปช่วยพยุง หรือแทรกแซงราคาให้สูงนักก็ไม่ได้เพราะจะทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตมากขึ้นในปีถัดไป ซึ่งจะเป็นภาระที่หนักอึ้งยิ่งขึ้นของรัฐบาล
แต่ครั้นจะไม่ช่วยอะไรเลยก็เหมือนรัฐบาลใจดำ ไม่เห็นใจเกษตรกรที่มักยากจนหรือมีฐานะอ่อนด้อยกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ
รัฐบาลทั่วๆไปจึงมักจะเข้าช่วยแต่พอหอมปากหอมคอ เพื่อแสดงน้ำจิตน้ำใจเท่านั้น เพราะตระหนักดีว่า การเข้าไปช่วยอุ้มทั้งหมดจะช่วยไม่ไหว และจะพังทั้งระบบ
นโยบายการเกษตรจึงมิใช่เรื่องที่จะคิดง่ายๆ แล้วก็ทำง่ายอย่างที่หลายๆคนพยายามคิด พยายามทำ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง จนเกิดปัญหาดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้.
****** ราชดำเนินติวเตอร์ ตอน " ทฤษฎีใยแมงมุม " // ตามคำเรียกร้องนะครัช ******* ( อินทรีเเดง รีเทิร์นส )
สาระของทฤษฎีโดยสรุปก็คือ...ปีใดก็ตามที่สินค้าเกษตรมีราคาดี เกษตรกรขายพืชผลได้กำไรมากๆ ก็จะเป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรผลิต หรือปลูกพืชผลมากขึ้นอีกในปีถัดไป
ครั้นเมื่อเกษตรกรเข้ามาปลูกมากๆในปีต่อไป ผลผลิตก็จะล้นตลาด มีสินค้ามากกว่าความต้องการ ราคาสินค้าเกษตรก็จะพุ่งดิ่งลงมา
เกษตรกรจึงจำเป็นจะต้องขายผลิตผลในราคาตํ่านำไปสู่ภาวะการขาดทุนอย่างยับเยิน
ปีถัดมาเกษตรกรที่หมดเนื้อหมดตัวก็จะยุติการปลูก หรือไม่ก็ลดพื้นที่การปลูกลง ทำให้ผลผลิตลดฮวบลง
ครั้นพอผลผลิตลดลงมาก แต่ความต้องการยังมีอยู่ ก็จะฉุดให้ราคาขึ้นไปสูงปรี๊ดอีกครั้ง
ทีนี้พอราคาดี...ก็จะยั่วใจ ให้ปีหน้ามีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ราคาตกลงมาอีก
ขึ้นๆลงๆสลับไปสลับมาอยู่อย่างนี้ เมื่อเอามาพล็อตเป็นรูปกราฟแล้วมันจะเป็นวงๆหมุนวนไปมาเหมือนใยแมงมุม
จึงเรียกกันว่า “ทฤษฎีใยแมงมุม” ด้วยประการฉะนี้
ทฤษฎีใยแมงมุมจึงเป็นทฤษฎีที่แสดงถึงความขมขื่นของผู้ที่มีอาชีพเกษตรกร รวมไปถึงประเทศเกษตรกรรมทั้งหลายที่ตกอยู่ในบ่วงกรรมของเส้นใยแมงมุมที่ขึ้นๆลงๆของราคาสินค้าเกษตร
รัฐบาลจะเข้าไปช่วยพยุง หรือแทรกแซงราคาให้สูงนักก็ไม่ได้เพราะจะทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตมากขึ้นในปีถัดไป ซึ่งจะเป็นภาระที่หนักอึ้งยิ่งขึ้นของรัฐบาล
แต่ครั้นจะไม่ช่วยอะไรเลยก็เหมือนรัฐบาลใจดำ ไม่เห็นใจเกษตรกรที่มักยากจนหรือมีฐานะอ่อนด้อยกว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ
รัฐบาลทั่วๆไปจึงมักจะเข้าช่วยแต่พอหอมปากหอมคอ เพื่อแสดงน้ำจิตน้ำใจเท่านั้น เพราะตระหนักดีว่า การเข้าไปช่วยอุ้มทั้งหมดจะช่วยไม่ไหว และจะพังทั้งระบบ
นโยบายการเกษตรจึงมิใช่เรื่องที่จะคิดง่ายๆ แล้วก็ทำง่ายอย่างที่หลายๆคนพยายามคิด พยายามทำ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง จนเกิดปัญหาดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้.