จขกท เห็นว่าเป็นข่าวดีที่น่าชื่นชมฝีมือทีมสถาปนิกไทยที่คว้าเหรียญทองการออกแบบที่ยั่งยืน รางวัลโฮลซิม ปี 2014 เป็นโปรเจกชื่อว่า "บ้านฟื้นนก"
เลยขอนำรายละเอียดมาฝากเพื่อนๆ พี่น้องชาวพันทิป เผื่อท่านใดกำลังสนใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่นะครัช...
ที่มาเนื้อหาและภาพ: http://www.holcimfoundation.org/Article/a14ap-th-mediarelease?backTo=/Projects/protective-wing_articleId_1e54e81f-d8f9-4223-87d6-bbfe3ec665bd
นางจริยาวดี เลขะวัฒนะ จาก Architectkidd, ผศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ, นายจักร เชิดสถิรกุล จาก "เก๊าไม้ล้านนารีสอร์ทในเชียงใหม่ และทีมงาน
ในพิธีมอบรางวัลที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีซียเมื่อคืนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา กรรมการตัดสินการประกวดและอาจารย์ด้านสถาปัตย์ Donald Bates (ออสเตรเลีย) แสดงความยินดีกับผู้ชนะรางวัลเหรียญทองโฮลซิม สำหรับแนวคิดริเริ่มในการจัดการผลกระทบที่เลวร้ายของการค้านกกับการอยู่รอดของชีวิตสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ “โครงการนี้มีแนวทางสอดคล้องกับหลักการที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) สนับสนุน และได้นำคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมมาผสมผสานกับการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การค้นคว้าวิจัย และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้อย่างลงตัวและน่าเชื่อถือ” เขากล่าว
นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้รับรางวัลชมเชยสำหรับเอเชียแปซิฟิกของโฮลซิมด้วย โดยผู้ได้รับรางวัลนี้คือ สันติ สมบัติวิชาธร จาก D I Designs และทีมงานระบบขนส่งมวลชนทางน้ำในกรุงเทพฯ ที่เสนอโครงการฟื้นฟูคลองสายเก่าในเมือง เพื่อสร้างเครือข่ายเส้นทางทางน้ำที่ทันสมัย และเพื่อเสริมระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีอยู่
โครงการที่ได้รับรางวัลอื่นๆ เป็นโครงการที่มาจากเนปาล (เหรียญเงิน) ศรีลังกา (เหรียญทองแดง) โดยรางวัลชมเชยและรางวัล “คนรุ่นใหม่” มอบให้แก่ผลงานจากบังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเชีย ญี่ปุ่น คิริบาส และสิงคโปร์
คณะกรรมการอิสระที่เป็นผู้พิจารณาผลรางวัลโฮลซิมได้คัดเลือกโครงการที่ชนะรางวัลทั้งหมด 13 โครงการ จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดเกือบ 1000 โครงการในเอเชียแปซิฟิก โดยใช้ "ประเด็นเป้าหมาย" เพื่อการก่อสร้างที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย "ประเด็นหลักสามประการ" ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังต้องมีความเลิศทางด้านสถาปัตยกรรมและสามารถเปลี่ยนให้เป็นรูปธรรมได้จริง โครงการที่ชนะรางวัลทั้งหมดได้รับเงินรางวัลรวม 330,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับ "บ้านฟื้นนก" ที่ได้รางวัลเหรียญทองโฮลซิม 2557 เอเชียแปซิฟิก (Holcim Awards Gold 2014 Asia Pacific)
ปีกที่พร้อมปกป้อง – ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์นก เชียงใหม่ ประเทศไทย
แต่ละปีมีการลักลอบนำนกเข้าและออกจากประเทศไทยหลายพันตัว เนื่องจากความงามของสีสันและเสียงร้องที่ไพเราะ เพื่อขายในตลาดมืดระดับโลกที่กำลังเติบโต นกที่ได้รับการช่วยเหลือมักจะตายในที่กักขัง เพราะถูกจำกัดให้อยู่ในกรงนานถึงห้าปีเพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีกับผู้ลักลอบค้าสัตว์ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์นก ในเชียงใหม่ซึ่งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นทั้งศูนย์ให้ความรู้และศูนย์ฟื้นฟูพันธุ์นก พร้อมกับมีโรงแรมที่พักขนาดเล็กและหอชมนกให้บริการ ในพื้นที่ที่จำลองสภาพความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของนก มีการนำเส้นใยปาล์มซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเปลือกหุ้มสิ่งก่อสร้าง – ซุ้มที่เป็นที่อยู่และแหล่งอาหารสำหรับนกในพื้นที่ทั้งหมด
คณะกรรมการให้ความสำคัญกับแนวคิดทางการเมืองที่โครงการนี้ต้องการสื่ออย่างมาก เกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายของการค้านกที่มีต่อการอยู่รอดของชีวิตสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ แนวคิดของผู้เสนอโครงการสอดคล้องกับหลักการที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
----------------
Protective Wing: Bird sanctuary ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์นก เชียงใหม่ คว้าเหรียญทองการออกแบบที่ยั่งยืน รางวัลโฮลซิม ปี 2014
เลยขอนำรายละเอียดมาฝากเพื่อนๆ พี่น้องชาวพันทิป เผื่อท่านใดกำลังสนใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่นะครัช...
ที่มาเนื้อหาและภาพ: http://www.holcimfoundation.org/Article/a14ap-th-mediarelease?backTo=/Projects/protective-wing_articleId_1e54e81f-d8f9-4223-87d6-bbfe3ec665bd
นางจริยาวดี เลขะวัฒนะ จาก Architectkidd, ผศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ, นายจักร เชิดสถิรกุล จาก "เก๊าไม้ล้านนารีสอร์ทในเชียงใหม่ และทีมงาน
ในพิธีมอบรางวัลที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีซียเมื่อคืนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา กรรมการตัดสินการประกวดและอาจารย์ด้านสถาปัตย์ Donald Bates (ออสเตรเลีย) แสดงความยินดีกับผู้ชนะรางวัลเหรียญทองโฮลซิม สำหรับแนวคิดริเริ่มในการจัดการผลกระทบที่เลวร้ายของการค้านกกับการอยู่รอดของชีวิตสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ “โครงการนี้มีแนวทางสอดคล้องกับหลักการที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) สนับสนุน และได้นำคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมมาผสมผสานกับการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การค้นคว้าวิจัย และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้อย่างลงตัวและน่าเชื่อถือ” เขากล่าว
นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้รับรางวัลชมเชยสำหรับเอเชียแปซิฟิกของโฮลซิมด้วย โดยผู้ได้รับรางวัลนี้คือ สันติ สมบัติวิชาธร จาก D I Designs และทีมงานระบบขนส่งมวลชนทางน้ำในกรุงเทพฯ ที่เสนอโครงการฟื้นฟูคลองสายเก่าในเมือง เพื่อสร้างเครือข่ายเส้นทางทางน้ำที่ทันสมัย และเพื่อเสริมระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีอยู่
โครงการที่ได้รับรางวัลอื่นๆ เป็นโครงการที่มาจากเนปาล (เหรียญเงิน) ศรีลังกา (เหรียญทองแดง) โดยรางวัลชมเชยและรางวัล “คนรุ่นใหม่” มอบให้แก่ผลงานจากบังคลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเชีย ญี่ปุ่น คิริบาส และสิงคโปร์
คณะกรรมการอิสระที่เป็นผู้พิจารณาผลรางวัลโฮลซิมได้คัดเลือกโครงการที่ชนะรางวัลทั้งหมด 13 โครงการ จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดเกือบ 1000 โครงการในเอเชียแปซิฟิก โดยใช้ "ประเด็นเป้าหมาย" เพื่อการก่อสร้างที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย "ประเด็นหลักสามประการ" ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังต้องมีความเลิศทางด้านสถาปัตยกรรมและสามารถเปลี่ยนให้เป็นรูปธรรมได้จริง โครงการที่ชนะรางวัลทั้งหมดได้รับเงินรางวัลรวม 330,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับ "บ้านฟื้นนก" ที่ได้รางวัลเหรียญทองโฮลซิม 2557 เอเชียแปซิฟิก (Holcim Awards Gold 2014 Asia Pacific)
ปีกที่พร้อมปกป้อง – ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์นก เชียงใหม่ ประเทศไทย
แต่ละปีมีการลักลอบนำนกเข้าและออกจากประเทศไทยหลายพันตัว เนื่องจากความงามของสีสันและเสียงร้องที่ไพเราะ เพื่อขายในตลาดมืดระดับโลกที่กำลังเติบโต นกที่ได้รับการช่วยเหลือมักจะตายในที่กักขัง เพราะถูกจำกัดให้อยู่ในกรงนานถึงห้าปีเพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีกับผู้ลักลอบค้าสัตว์ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์นก ในเชียงใหม่ซึ่งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นทั้งศูนย์ให้ความรู้และศูนย์ฟื้นฟูพันธุ์นก พร้อมกับมีโรงแรมที่พักขนาดเล็กและหอชมนกให้บริการ ในพื้นที่ที่จำลองสภาพความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของนก มีการนำเส้นใยปาล์มซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างเปลือกหุ้มสิ่งก่อสร้าง – ซุ้มที่เป็นที่อยู่และแหล่งอาหารสำหรับนกในพื้นที่ทั้งหมด
คณะกรรมการให้ความสำคัญกับแนวคิดทางการเมืองที่โครงการนี้ต้องการสื่ออย่างมาก เกี่ยวกับผลกระทบที่เลวร้ายของการค้านกที่มีต่อการอยู่รอดของชีวิตสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ แนวคิดของผู้เสนอโครงการสอดคล้องกับหลักการที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
----------------