เพิ่งอ่าน ค่านิยม 12 ประการ แต่ทำไมไม่มีการปลูกฝังจิตสำนึกค่านิยมใน"หลักยุติธรรม" "ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการอยู่ร่วมกัน"?

กระทู้สนทนา
มิน่า คนไทยมันจึงเอารัดเอาเปรียบกันโดยไม่คำนึงถึงความ ยุติธรรม  ใช้กฏหมายอย่างอยุติธรรม คดีความก็ออกมาเอียงหลายคดี ก่อให้เกิดแพะรับบาป สร้างความไม่เป็นธรรมให้ราษฏร ประชาชนของตัวเอง

ส่วนข้อ 8  ที่ว่า "ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ "  อันนี้ผมไม่เห็นด้วย   เพราะความเป็นจริง (ที่เห็นกันตามข่าว) เช่น ผู้ใหญ่ข่มขืน ลูก หลาน บางคนถึงกับฆ่าเหยื่อ  คำถาม ผู้ใหญ่แบบนี้ควรให้เด็กเคารพไหม  หรือ ผู้ใหญ่หลอกลวงให้เด็กขายตัว ค้าประเวณี ขายยาเสพติด  หรือผู้ใหญ่ที่เสี้ยมสอนให้เด็กเกลียดชังคนโดยปั้นความเท็จใส่หัวเด็ก เอาไปใส่ร้ายป้ายสีคนแบบมักง่าย ผู้หญ่แบบนี้ควรเคารพไหม  หรือ ผู้ใหญ่ประเภทหน้าไหว้หลังหลอก  หรือผู้ใหญ่ที่ไม่ให้ความยุติธรรมกับเด็ก ควรให้ความเคารพไหม

เรื่องต่างๆที่ยกมานี้ผมสอนให้เด็กไม่ต้องไปเคารพผู้ใหญ่แบบนี้ครับ ให้เถียงไปเลย แต่เถียงด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง เพราะถ้าไปให้ความเคารพ ก็เท่ากับส่งเสริมให้ผู้ใหญ่นิสัยแบบนี้ได้ใจ แล้วก็ย่ามใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น(ทำ) ซึ่งเป็นแบบอย่างไม่ดีแก่เด็กเยาวชนสืบต่อไปไม่จบ เพราะเอาความเป็นผู้ใหญ่มากดทับเด็ก จนเด็กรู้สึกว่าถูกกดดัน กดขี่ ถูกเอารักเอาเปรียบจากผู้ใหญ่อย่างไม่เป็นธรรม

ดังนั้นจะพูดแค่ว่า "ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ " จึงไม่ใช่เสมอไปทั้งนี้ต้องขึ้นกับผู้ใหญ่ด้วยว่าทำตัวให้เด็กเคารพหรือไม่ การปลูกฝังความคิดแบบนี้จึงล้าหลัง ทำให้เด็กตกอยู่ภายใต้อำนาจผู้ใหญ่ที่ไม่ดี ถือเป็นการกดทับเด็กเหมือนในอดีตที่ผ่านๆมาที่ทำกับเด็กแบบนี้กันมาตลอด เช่น (ห้ามเถียง) จนเด็กเก็บกดรู้สึกถูกอำนาจเผด็จการครอบงำ ทำร้ายจิดตใจ จนเด็กเตลิดหนีออกจากบ้าน แล้วก็ตามมาด้วยปัญหาสังคม ไม่จบสิ้น



1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่