☆ สามบ่วง ☆

กระทู้สนทนา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2486&Z=2514&pagebreak=0


นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก
ทำด้วยไม้ และทำด้วยหญ้า ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่น

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความความรักใคร่พอใจนักในแก้วมณีและกุณฑล
และความห่วงอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลายว่า เป็นเครื่องจองจำที่มั่น
เป็นเครื่องจำที่หย่อนๆ (ไม่ได้แข็งเป็นเหล็ก) แต่ปลดเปลื้องได้ยาก

นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำแม้เช่นนั้นออกบวช
เป็นผู้ไม่มีความห่วงอาลัย ละกามสุขเสียแล้ว







มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว......พันคอ
ทรัพย์ผูกบามาคลอ......หน่วงไว้
ภรรยาเยี่ยงบ่วงปอ.......รึงรัด มือนา
สามบ่วงใครพ้นได้.......จึ่งพ้นสงสาร๚ะ๛
(โคลงโลกนิติ-สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร)



“บาศ”
บาลีเป็น “ปาส” (ปา-สะ) สันสกฤตเป็น “ปาศ” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “บาศ” คำแปลที่คุ้นกันคือ “บ่วง”

ในภาษาไทยมีคำว่า “บ่วงบาศ” น่าจะเป็นคำซ้อน “บ่วง” คือ “บาศ” และ “บาศ” ก็คือ “บ่วง”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“บ่วงบาศ : (คำนาม) บ่วงสําหรับโยนไปคล้อง.”

“ปาส” ในบาลียังแปลอย่างอื่นได้อีก คือ บ่วงแร้ว, กับดัก, เครื่องผูกรัด, โซ่ตรวน, มวยผม, รูลูกดุม
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/756487527778320


กาม เป็นสิ่งที่ละได้ยาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่