พวกท่านเคยสงสัยไหมครับ ว่าคนที่เขามั่งคั่งกันนั้น เขามีสมการความมั่งคั่งอย่างไรกันบ้าง?
ทำไมคนที่เขามีเงิน เขาก็มีเงินเข้ามาเรื่อยๆ คนที่มีน้อยนั้น ก็เลือดตาแทบกระเด็นกว่าจะได้เงินมาสักบาท
..
วันนี้ผมจะมาเฉลยครับ
เผื่อทุกท่านจะได้มีประโยชน์จากสมการเหล่านี้
โดยถ้าเราแบ่งสมการของผู้ที่มีความมั่งคั่งต่างกันในแต่ละประเภทของมนุษย์เงินเดือน เราสามารถแบ่งได้ดังนี้
..
1) กลุ่มที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง
รายจ่าย >> เงินเดือน
กลุ่มนี้ไม่ต้องสงสัยเลยครับ ว่าเป็นอย่างไร เพราะว่า คิดจะใช้จ่ายอย่างเดียว โดยไม่คิดถึงเรื่องรายรับเลย
..
2) กลุ่มที่พอกินพอใช้
เงินเดือน - รายจ่าย = เงินฝากธนาคาร
กลุ่มนี้ดีขึ้นมาหน่อย คือ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายบ้าง และพยายามให้เงินเหลือ ซึ่งเงินที่เหลือนั้นก็จะเป็นเงินเก็บ โดยทั่วๆไปนั้น ก็จะเอาเงินเก็บนั้น ไปฝากธนาคารหรือซื้อฉลากออมสิน ตามค่านิยมทั่วไป
..
3) กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง
เงินฝากธนาคาร = เงินเดือน - รายจ่าย
กลุ่มนี้ดีขึ้นมากครับ คือ ตั้งใจไว้เลยว่า เงินเก็บแต่ละเดือนจะต้องมีเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็ควบคุมค่าใช้จ่ายและหารายได้เพื่อให้ถึงเป้านั้นๆ
แต่น่าเสียดายที่เงินเก็บเหล่านั้นส่วนใหญ่ จะนำไปฝากธนาคารหรือซื้อฉลากออมสินแบบเดิมๆ
..
4) กลุ่มที่มีฐานะมั่งคั่ง
เงินลงทุน = เงินเดือน + รายได้จากการลงทุน + รายได้อื่นๆ - รายจ่าย
กลุ่มนี้ดีขึ้นมากที่สุดครับ คือ ตั้งใจไว้เลยว่า จะต้องกันเงินไว้ลงทุนเท่าไหร่ในแต่ละเดือน หลังจากนั้นก็ควบคุมค่าใช้จ่ายและหารายได้เพื่อให้ถึงเป้านั้นๆ
กลุ่มนี้จะไม่มีรายได้ทางเดียวจากเงินเดือน โดยเงินที่กันไว้ไปลงทุนนั้น สุดท้ายจะออกดอกออกผล (หลังจากที่ลองผิดลองถูก ผ่านประสบการณ์มาหลากหลาย)
ทำให้สุดท้ายแล้ว กลุ่มนี้จะมีรายได้จากการลงทุน มากกว่า เงินเดือน และ สุดท้ายก็เรียกตัวเองว่า "กลุ่มที่มีอิสระภาพทางการเงิน"
..
สิ่งเดียวที่ควรระวังคือ "หลุมพรางของฐานะ" เนื่องจากหลายท่านๆพอมีรายได้ที่สูงขึ้นแล้ว ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามฐานะนั้นๆ ทำให้สุดท้ายแล้วก็ต้องตกอยู่ในวงจรของมนุษย์เงินเดือนต่อไป
..
การเป็นมนุษย์เงินเดือนไม่ได้ผิดอะไร แต่สิ่งที่เราควรพึงกระทำคือรู้สถานะของตนเอง และมีความรับผิดชอบทางการเงินต่อตนเอง, ครอบครัว และสังคมครับ
..
- โชคดีครับ -
credit:
http://www.facebook.com/SustainW
"- สมการของคนมั่งคั่งอย่างยั่งยืน -"
ทำไมคนที่เขามีเงิน เขาก็มีเงินเข้ามาเรื่อยๆ คนที่มีน้อยนั้น ก็เลือดตาแทบกระเด็นกว่าจะได้เงินมาสักบาท
..
วันนี้ผมจะมาเฉลยครับ
เผื่อทุกท่านจะได้มีประโยชน์จากสมการเหล่านี้
โดยถ้าเราแบ่งสมการของผู้ที่มีความมั่งคั่งต่างกันในแต่ละประเภทของมนุษย์เงินเดือน เราสามารถแบ่งได้ดังนี้
..
1) กลุ่มที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง
รายจ่าย >> เงินเดือน
กลุ่มนี้ไม่ต้องสงสัยเลยครับ ว่าเป็นอย่างไร เพราะว่า คิดจะใช้จ่ายอย่างเดียว โดยไม่คิดถึงเรื่องรายรับเลย
..
2) กลุ่มที่พอกินพอใช้
เงินเดือน - รายจ่าย = เงินฝากธนาคาร
กลุ่มนี้ดีขึ้นมาหน่อย คือ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายบ้าง และพยายามให้เงินเหลือ ซึ่งเงินที่เหลือนั้นก็จะเป็นเงินเก็บ โดยทั่วๆไปนั้น ก็จะเอาเงินเก็บนั้น ไปฝากธนาคารหรือซื้อฉลากออมสิน ตามค่านิยมทั่วไป
..
3) กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง
เงินฝากธนาคาร = เงินเดือน - รายจ่าย
กลุ่มนี้ดีขึ้นมากครับ คือ ตั้งใจไว้เลยว่า เงินเก็บแต่ละเดือนจะต้องมีเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็ควบคุมค่าใช้จ่ายและหารายได้เพื่อให้ถึงเป้านั้นๆ
แต่น่าเสียดายที่เงินเก็บเหล่านั้นส่วนใหญ่ จะนำไปฝากธนาคารหรือซื้อฉลากออมสินแบบเดิมๆ
..
4) กลุ่มที่มีฐานะมั่งคั่ง
เงินลงทุน = เงินเดือน + รายได้จากการลงทุน + รายได้อื่นๆ - รายจ่าย
กลุ่มนี้ดีขึ้นมากที่สุดครับ คือ ตั้งใจไว้เลยว่า จะต้องกันเงินไว้ลงทุนเท่าไหร่ในแต่ละเดือน หลังจากนั้นก็ควบคุมค่าใช้จ่ายและหารายได้เพื่อให้ถึงเป้านั้นๆ
กลุ่มนี้จะไม่มีรายได้ทางเดียวจากเงินเดือน โดยเงินที่กันไว้ไปลงทุนนั้น สุดท้ายจะออกดอกออกผล (หลังจากที่ลองผิดลองถูก ผ่านประสบการณ์มาหลากหลาย)
ทำให้สุดท้ายแล้ว กลุ่มนี้จะมีรายได้จากการลงทุน มากกว่า เงินเดือน และ สุดท้ายก็เรียกตัวเองว่า "กลุ่มที่มีอิสระภาพทางการเงิน"
..
สิ่งเดียวที่ควรระวังคือ "หลุมพรางของฐานะ" เนื่องจากหลายท่านๆพอมีรายได้ที่สูงขึ้นแล้ว ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามฐานะนั้นๆ ทำให้สุดท้ายแล้วก็ต้องตกอยู่ในวงจรของมนุษย์เงินเดือนต่อไป
..
การเป็นมนุษย์เงินเดือนไม่ได้ผิดอะไร แต่สิ่งที่เราควรพึงกระทำคือรู้สถานะของตนเอง และมีความรับผิดชอบทางการเงินต่อตนเอง, ครอบครัว และสังคมครับ
..
- โชคดีครับ -
credit: http://www.facebook.com/SustainW